TKN ฟื้นตัวอย่างแข็งแกร่งมากขึ้นใน 2H65
มาร์จิ้นดีขึ้น และการส่งออกที่เพิ่มขึ้นเป็นตัวขับเคลื่อนการเติบโตของกำไร จากโมเมนตัมกำไรที่เร่งตัวขึ้นใน 1H65 ที่ระดับกำไรสุทธิจาก 63 ล้านบาทใน 1Q65 (+9.2% YoY) เป็น 70 ล้านบาทใน 2Q65 (+218%) และรวมเป็น 133 ล้านบาทใน 1H65 (+70.3%)
ผู้บริหารมองว่ากำไรยังมีแนวโน้มจะเติบโตอย่างแข็งแกร่งต่อเนื่องใน 2H65 ทั้งจากการเติบโตของทั้งยอดขายในประเทศ และการส่งออก และมาร์จิ้นที่เพิ่มขึ้น ทั้งนี้กำไรใน 1H65 เป็นผลจาก 1.) EBIT margin เพิ่มขึ้นจาก 2.5% ใน 1H64 เป็น 7.3% ใน 1Q65 และ 8.3% ใน 2Q65 และ 2) รายได้ที่เพิ่มขึ้น 13% ใน 1H65 (+5% YoY 1Q65 และ +22% YoY ใน 2Q65) ทั้งนี้ รายได้จากการส่งออก (61% ของรายได้รวม) เพิ่มขึ้น 27% ใน 1H65 ในขณะที่รายได้จากยอดขายในประเทศลดลง 3.8% ใน 1H65
...การส่งออกสหรัฐ อินโดนีเซีย มาเลย์เซีย เป็นตัวขับเคลื่อนการเติบโตของยอดขาย
เมื่อพิจารณาเป็นรายตลาด การส่งออกไปยังสหรัฐ อินโดนีเซีย และมาเลเซีย เป็นตัวขับเคลื่อนการเติบโตในงวด 1H65 แต่การส่งออกไปจีนยังทรงตัว ทั้งนี้ รายได้จากตลาดในสหรัฐเพิ่มขึ้นถึงกว่า 130% ใน 1H65 (คิดเป็นสัดส่วนประมาณ 3-4% ของรายได้รวมใน 1H65) จากการเพิ่มช่องทางการจัดจำหน่ายผ่านโมเดรินเทรดขนาดใหญ่ "Costco" ในขณะที่การส่งออกไปอินโดนีเซีย และมาเลเซียฟื้นตัวขึ้นหลังจากที่ใช้กลยุทธ์ทางการตลาดมากขึ้น ซึ่งบริษัทคาดว่าการส่งออกไปยังตลาดดังกล่าวจะเติบโตอย่างแข็งแกร่งใน 2H65 โดยเฉพาะในสหรัฐ จากการนำสินค้าเข้าไปวางจำหน่ายใน "Trader Joe's" (มีเครือข่าย 530 ร้านในสหรัฐ) และ จะได้คำสั่งซื้อจากจีนเพิ่มขึ้น
ต้นทุนที่ลดลงทำให้ margin เพิ่มขึ้น ในขณะที่ยอดขายผ่านช่องทาง on-line เพิ่มขึ้น
บริษัทบริหารต้นทุนได้มีประสิทธิภาพดีขึ้นจาก 1) การลดจำนวนสินค้าคงคลังลงเหลือ < 90 วัน จากดิม 120-150วัน ซึ่งช่วยให้บริษัทสามารถลดต้นทุนการจัดเก็บสินค้าคงคลังลงได้ 2) สาหร่ายต้นทุนสูงในสต็อกหมดลง 3) การเพิ่มระบบเครื่องจักรในสายงานบรรจุภัณฑ์ช่วยลดต้นทุนแรงงานลง 4) การลดคชจ.ตลาดด้วยการผ่านการทำการตลาดผ่านช่องทาง on-line และการตลาดดิจิทัลโดยใช้ผ่านนักแสดง แต่ลดคชจ. ในช่องทางการตลาดแบบดั้งเดิม (off-line) ลง สำหรับในระยะต่อไป การลดต้นทุนยังคงเป็นเรื่องสำคัญอันดับต้น ๆ ของ TKN โดยเฉพาะการลดต้นทุนค่าแรงซึ่งมีแรงงานอยู่ถึง 1,850 คน ผ่านการใช้
เครื่องจักรมากขึ้น และการลดต้นทุนโรงงานด้วยการรวม 2 โรงงานเข้าด้วยกันด้วย และการบริหารค่าใช้จ่ายทางการตลาดที่มีประสิทธิภาพผ่านช่องทาง on-line เพื่อนำไปสู่การเพิ่มรายได้จากช่องทาง online ซึ่งในปัจจุบันคิดเป็นสัดส่วนเพียง <2% ของรายได้เท่านั้น
ต้นทุนแรงงานที่เพิ่มขึ้นใน 3Q65 หักล้างไปกับรายได้ที่เพิ่มขึ้น
ต้นทุนแรงงานคิดเป็นสัดส่วนประมาณ 20% ของต้นทุนการผลิตรวม (ลดลงจาก 21% ในปี 2564 หลังจากที่รวม 2) ซึ่งการขึ้นค่าแรงขั้นต่ำในช่วงที่ผ่านมาทำให้ต้นทุนแรงงานเพิ่มขึ้นประมาณ 1.8-2.0 ล้านบาท/เดือน หรือประมาณ 6-9% ของกำไรทั้งปี นอกจากนี้ ต้นทุนบรรจุภัณฑ์น่าจะเพิ่มขึ้นใน 3Q65 ก่อนที่จะกลับลดลงมาใน 4Q65 ทั้งนี้ บริษัทคาดว่ายอดขายที่เพิ่มขึ้น และการบริหารจัดการต้นทุนสินค้าคงคลังจะช่วยชดเชยต้นทุนแรงงานที่เพิ่มขึ้น
จะกลับมาน่าสนใจอีกครั้ง เมื่อกำไรมีแนวโน้มว่าจะกลับมาเติบโตได้ถึงเท่าตัว
การดำเนินงานของ TKN คล้ายกับ SNNP และ CH ในแง่ของการเป็นผู้ผลิตขนมขบเคี้ยว ซึ่งเน้นที่ธุรกิจส่งออก ทั้งนี้ เมื่ออิงตามประมาณการกำไรของ Bloomberg consensus พบว่าราคาหุ้น TKN ถูกกว่าหุ้นอื่นในกลุ่มอยู่ 7-10% ถ้าหาก TKN สามารถรักษาแนวโน้มการลดต้นทุน และการเติบโตของการส่งออกได้ TKN จะกลับมาน่าสนใจลงทุนอีกครั้ง
Risks
มีการใช้แรงงานในระดับสูง และการส่งออกไม่โตตามคาด