Financial Sector ดอกเบี้ยขึ้นแบบค่อยเป็นค่อยไปทำให้กลุ่มการเงินบริหารจัดการต้นทุนได้

Financial Sector ดอกเบี้ยขึ้นแบบค่อยเป็นค่อยไปทำให้กลุ่มการเงินบริหารจัดการต้นทุนได้

ธปท. ขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบาย 25 bps เป็น 1% ทำให้ BBL เป็นธนาคารแรกที่ขยับขึ้นดอกเบี้ยเงินกู้และเงินฝากเป็นครั้งแรกในรอบ 3 ปี

การขึ้นดอกเบี้ยในระดับที่บริหารจัดการได้เป็นเรื่องที่ดีกว่าสำหรับทุกฝ่าย

การขึ้นดอกเบี้ยแบบค่อยเป็นค่อยไปจะทำให้อัตราดอกเบี้ยในตลาดเงินค่อย ๆ ขยับ ซึ่งจะดีกว่ากับทุกฝ่าย ทั้งในแง่ของการบริหารจัดการคุณภาพสินทรัพย์โดยธนาคาร และความสามารถในการชำระหนี้ของลูกหนี้ที่อ่อนไหวซึ่งยังไม่สามารถฟื้นธุรกิจกลับไปอยู่ระดับก่อนเกิดโรคระบาดได้ นอกจากนี้ ยังจะส่งผลดีกับบริษัท non-bank ในเชิงแรงกดดันของต้นทุนทางการเงิน เพราะอัตราดอกเบี้ยนโยบายถูกใช้เป็นอัตราอ้างอิงในการออกหุ้นกู้

 

ธนาคารใหญ่คาดว่าจะมีการขึ้นดอกเบี้ยอีกครั้ง 0.25% ในปีนี้

หลังจากที่ ธปท. ขึ้นดอกเบี้ยไปเมื่อวานนี้ สองธนาคารใหญ่ (KTB และ BBL) มองตรงกันว่าจะมีการขึ้นดอกเบี้ยนโยบายอีก 25 bps ในเดือนพฤศจิกายน ทำให้อัตราดอกเบี้ยนโยบายสิ้นปีนี้อยู่ที่ 1.25% โดย BBL คาดว่าจะเพิ่มขึ้นเป็น 1.75% ในปลายปี 2566 ในขณะที่ KTB คาดว่าจะขึ้นไปอยู่ที่ 2% ในปลายปีหน้า นอกจากนี้ ธนาคารต่าง ๆ น่าจะเดินหน้าขึ้นดอกเบี้ยเพื่อชดเชยต้นทุนการประกันเงินฝากที่จะกลับไปอยู่ที่ 0.46% ตั้งแต่ต้นปี 2566 (จาก 0.23%)

Financial Sector ดอกเบี้ยขึ้นแบบค่อยเป็นค่อยไปทำให้กลุ่มการเงินบริหารจัดการต้นทุนได้

 

 

BBL – ธนาคารแรกที่ขึ้นดอกเบี้ยเงินกู้แรงกว่าเงินฝาก
 

BBL ปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยเงินฝากทุกประเภท โดยปรับขึ้นดอกเบี้ยเงินฝากออมทรัพย์ 25 bps และปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยเงินฝากประจำ 6-24 เดือน 30 bps ในขณะเดียวกัน ธนาคารยังปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ในอัตราทที่สูงกว่าเงินฝาก โดยปรับขึ้นดอกเบี้ย MLR 40 bps ปรับขึ้น MOR 37.5 bps และ ปรับขึ้น MRR 30 bps ซึ่งเป็นการสะท้อนถึงการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายสองรอบ (รอบละ 25 bps) ในเดือนสิงหาคม และกันยายน ทั้งนี้ จากวัฏจักรดอกเบี้ยขาขึ้น และ ต้นทุนการประกันเงินฝากที่จะเพิ่มขึ้นในปี 2566 BBL จึงยังคงประมาณการ NIM เอาไว้เท่าเดิมที่ 2.1% และเนื่องจาก BBL เป็นธนาคารแรกที่ขยับขึ้นดอกเบี้ย เราคาดว่าธนาคารอื่น ๆ จะขยับตามในเร็ว ๆ นี้

Financial Sector ดอกเบี้ยขึ้นแบบค่อยเป็นค่อยไปทำให้กลุ่มการเงินบริหารจัดการต้นทุนได้

 

 

Risks

กระแส NPL เกิดใหม่