Sideways Up เก็งกำไร BDMS BEM BAFS (29 ก.ย. 2565)

Sideways Up เก็งกำไร BDMS BEM BAFS (29 ก.ย. 2565)

คาดดัชนีฯ Sideways Up แนวต้าน 1,610/1,618 จุด แนวรับ 1,590/1,580 จุด แนะนำ เก็งกำไร BDMS BEM BAFS ทางเทคนิค ระยะสั้นอาจมีการรีบาวนด์ในกรอบจำกัด หลังยิลด์พันธบัตรและค่าเงิน USD กลับมาอ่อนตัวลง ขณะที่ภาพใหญ่ยังคงอยู่ในรูปแบบขาลง Head & Shoulder มีแนวรับเป้าหมายที่ 1,560 จุด

และจะเปลี่ยนเป็นสัญญาณขึ้นใหม่ได้ต่อเมื่อดัชนีฯ กลับมายืนเนือ 1,618 จุด ได้เท่านั้น โมเมนตัมบวก คือ การชะลอการปรับขึ้นของ US Bond Yields และค่าเงิน USD ซึ่งหนุนตลาดหุ้นสหรัฐฯ ฟื้นตัวค่าคืนที่ผ่านมา ซึ่งมีแนวโน้มจะส่งผ่านโมเมนตัมเชิงบวกมายังตลาดหุ้นเอเชีย รวมถึงไทยในเช้าวันนี้  ไฮไลท์วันนี้ คือ 2Q22E US GDP Growth ครั้งสุดท้าย คาด -0.6% QoQ (Vs 1Q22 -1.6% QoQ), 2Q22 Core PCE Price คาด +4.4% QoQ (Vs 1Q22 +5.2% QoQ), Weekly Initial Jobless Claims คาด 215k (Vs สัปดาห์ก่อน 213k), USA สุนทรพจน์ Fed Bullard, Fed Lane, Fed Mester , Fed Daly, Germany เงินเฟ้อ เดือน ก.ย. Prel คาด +1.3% MoM +9.4% YoY (Vs เดือน ส.ค. +0.3% MoM +7.9% YoY), EU Consumer Confidence เดือน ก.ย. final คาด -28.8 (Vs เดือน ส.ค. -25)

 

กลยุทธ์การลงทุน แนะนำ

+ KTX Portfolio: พอร์ต Big Cap แนะนำ GULF CRC AWC TCAP JMT CENTEL BH BEM AOT EA PTG WHA KKP CPN MINT KTB BDMS (ขาย JMART)

+ Daily Recommendations: ASIAN (ปัจจัยบวกจากค่าเงินบาทที่แข็งค่า และการนำบริษัทลูกเข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ฯ) BEM (หุ้นกลุ่ม Defensive อิงการบริโภคในประเทศ ซึ่งได้รับผลกระทบจากปัจจัยลบภายนอกจำกัด) BAFS (แนวโน้มนักท่องเที่ยวเดินทางเข้าประเทศเพิ่มมากขึ้น หนุนปริมาณการเติมน้ำมันสำหรับเครื่องบินพาณิชย์ขยายตัว)

+ หุ้นกลุ่ม Defensive ซึ่งได้รับผลกระทบจากปัจจัยภายนอกจำกัด: BEM BTS BDMS BH

+ หุ้นได้ประโยชน์จากจำนวนนักท่องเที่ยวที่เพิ่มขึ้น: CENTEL ERW AOT BAFS AAV

+ หุ้นกลุ่มได้ประโยชน์จากค่าเงินบาทอ่อนค่า: DELTA SAPPE ASIAN

 

ปัจจัยบวก

+ USA: ตลาดหุ้นสหรัฐฯ เริ่มมีสัญญาณฟื้นตัว หลังจากวานนี้ US Bond Yields 10 ปี ย่อตัว -21 bps อยู่ที่ 3.73% ขณะที่ Bond Yields 2 ปี -14 bps อยู่ที่ 4.12% ขณะที่ Dollar Index ลดลงราว -1.22% ส่งผลให้เกิดแรงซื้อคืนในตลาดหุ้นสหรัฐฯ หลังจากปรับตัวลดลงแรงแตะจุดต่ำสุดรอบปี

 

ปัจจัยลบ

- ผลประชุมกนง.: วานนี้มีมติเอกฉันท์ปรับขึ้นดอกเบี้ย 0.25% เป็น 1.0% ตามคาด แต่ค่าเงินบาท/USD ยังคงอ่อนค่าต่อเนื่อง จากการแข็งค่าของค่าเงินสกุล USD (สัญญาณเร่งขึ้นดอกเบี้ยของเฟด เพื่อสกัดเงินเฟ้อ ส่งผลต่อยิลด์พันธบัตรสหรัฐฯ ยังคงอยู่ในทิศทางขาขึ้น และสนับสนุนการแข็งค่าของเงิน USD) ขณะที่ธนาคารพาณิชย์เริ่มทยอยประกาศปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ ส่งผลบวกต่อ NIM สูงขึ้นระสั้น อย่างไรก็ดี ประเด็นบวกดังกล่าวรับรู้ไปในราคาหุ้นล่วงหน้ามากแล้ว แนะนำ Sell on Fact

 

ประเด็นสำคัญ

- Opportunity Day: AMR SECURE JASIF STP SVT

- TFEX วันครบกำหนดสัญญาเดือน ก.ย. S50U22 คาดนักลงทุนต่างชาติปิดโพสิชั่น เพื่อล็อกกำไร

- USA: 2Q22E GDP Growth ครั้งสุดท้าย คาด -0.6% QoQ (Vs 1Q22-1.6% QoQ), 2Q22 Core PCE Price คาด +4.4% QoQ (Vs 1Q22 +5.2% QoQ), Weekly Initial Jobless Claims คาด 215k (Vs สัปดาห์ก่อน 213k)

- USA: สุนทรพจน์ Fed Bullard, Fed Lane, Fed Mester (Voters), Fed Daly (Non-Voter)

- Germany: เงินเฟ้อเดือน ก.ย. Prel คาด +1.3% MoM, +9.4% YoY (Vs เดือน ส.ค. +0.3% MoM, +7.9% YoY)

- EU: Consumer Confidence เดือน ก.ย. final คาด -28.8 (Vs เดือน ส.ค. -25)

 

Global Market Summary: วันทำการที่ผ่านมา

- ตลาดหุ้นไทยปิดลบเป็นวันที่ 4: ตลาดหุ้นไทยปรับตัวลดลงตามการร่วงลงของตลาดหุ้นภูมิภาค โดยปรับลดลงตั้งแต่เปิดตลาดและแกว่งตัวในแดนลบ ตลอดการซื้อขายกรอบ 1,596.25-1,605.90 จุด ก่อนปิดตลาดที่ 1,599.23 จุด -11.35 จุด วอลุ่มซื้อขาย 6.9 หมื่นล้านบาท นำลงโดยกลุ่มปิโตรเคมีและเคมีภัณฑ์ -2.62% บรรจุภัณฑ์ -2.23% พลังงานและสาธารณูปโภค -1.77% สื่อและสิ่งพิมพ์ -1.44% บริการรับเหมาก่อสร้าง -1.21% ขนส่งและโลจิสติกส์ -0.84% หุ้นบวก >4% TU TAKUNI UMI TIGER STECH AF CI SPACK RT TC KAMART THCOM หุ้นลบ >4% KCE DITTO BEC RCL SCN TSR CEYE W
 

 

+ ตลาดหุ้นสหรัฐฯ และยุโรปปิดบวก: DJIA +1.88% S&P500 +1.97% NASDAQ +2.05% หลังจาก US Bond Yields 2 ปี และ 10 ปี กลับมาลดลง -21 bps และ -14 bps ตามลำดับ หนุนหุ้นทั้ง 11 กลุ่มอุตสาหกรรม ที่คำนวณดัชนี S&P500 ปรับสูงขึ้น นำโดยกลุ่มพลังงาน +4.4% กลุ่ม ICT +3.2% ขณะที่ NASDAQ ได้แรงหนุนเพิ่มเติม จากหุ้น Biogen ซึ่งปิดบวกถึง 40% หลังนักลงทุนเชื่อว่ายาแก้โรค "อัลไซเมอร์" ของบริษัทอาจใกล้สำเร็จแล้ว ส่วนตลาดหุ้นยุโรปปิดบวก CAC40 +0.19% DAX +0.36% FTSE +0.30% รับข่าว BOE ประกาศซื้อพันธบัตรระยะยาวในขนาดที่มีความจำเป็นไปจนถึงวันที่ 14 ต.ค. เพื่อสร้างเสถียรภาพในตลาดการเงิน

+ ราคาน้ำมันดิบและทองคำปิดบวก: WTI +USD3.65 ปิดที่ USD82.15/บาร์เรล Brent +USD3.05 ปิดที่ USD89.32/บาร์เรล หลังจาก EIA เปิดเผยว่า สต็อกน้ำมันดิบสหรัฐฯ ลดลงสูงกว่าคาด โดยลดลง -215,000 บาร์เรล (Vs คาด +443,000 บาร์เรล) และได้รับแรงหนุนจากดอลลาร์สหรัฐฯ ที่กลับมาอ่อนค่า ส่วนราคาทองคำพุ่งแรง ปิดแตะระดับสูงสุดรอบเกือบสัปดาห์ +USD33.80 ปิดที่ USD1,670.00/ออนซ์ จากการอ่อนค่าของค่าเงิน USD และ US Bond Yields ที่กลับมาปรับลดลง

 

ประเด็นสำคัญ

- USA: EIA เปิดเผยว่า สต็อกน้ำมันดิบสหรัฐฯ ลดลง -215,000 บาร์เรล ในสัปดาห์ที่แล้ว สวนทางนักวิเคราะห์ที่คาดว่าเพิ่มขึ้น +443,000 บาร์เรล ส่วนสต็อกน้ำมันเบนซินลดลง 2.4 ล้านบาร์เรล ขณะที่นักวิเคราะห์คาดว่าเพิ่มขึ้น 709,000 บาร์เรล

+ UK: BoE แถลงวานนี้ว่า ทางธนาคารจะทำการรับซื้อพันธบัตรระยะยาวของรัฐบาลอังกฤษจำนวนมากเท่าที่มีความจำเป็นตั้งแต่ขณะนี้จนถึงวันที่ 14 ต.ค. เพื่อสร้างเสถียรภาพในตลาดการเงิน หลังจากนักลงทุนแห่เทขายพันธบัตรรัฐบาลอังกฤษ เนื่องจากรัฐบาลมีการเปิดเผยมาตรการปรับลดภาษีครั้งใหญ่ รวมทั้งมาตรการเยียวยาภาคครัวเรือนและภาคธุรกิจที่ได้รับผลกระทบจากการพุ่งขึ้นของราคาพลังงาน ทำให้หลายฝ่ายเกิดความกังวลต่อสถานะทางการคลังของอังกฤษจากการก่อหนี้เพิ่มขึ้นของรัฐบำล นอกจากนี้ BoE ระบุว่า ทางธนาคารจะเลื่อนแผนการขายพันธบัตรที่มีกำหนดเริ่มต้นในสัปดาห์หน้า และจะทำการขายพันธบัตรทันทีที่ตลาดมีเสถียรภาพ

- Thailand: ธนาคารกรุงเทพ (BBL) ประกาศปรับอัตราดอกเบี้ยเงินฝากและเงินกู้เพิ่มขึ้น โดยอัตราดอกเบี้ยเงินฝากปรับเพิ่มขึ้น 0.15-0.50% ต่อปี ส่วนอัตราดอกเบี้ยเงินให้สินเชื่อเอ็มแอลอาร์ (MLR) หรืออัตราดอกเบี้ยสำหรับลูกค้ารายใหญ่ชั้นดี ประเภทเงินกู้แบบ มีระยะเวลา (Minimum Loan Rate) เพิ่มขึ้น 0.40% ต่อปี, เอ็มโออาร์ (MOR) หรืออัตราดอกเบี้ยสำหรับลูกค้ารายใหญ่ชั้นดี ประเภทเงินเบิกเกินบัญชี (Minimum Overdraft Rate) เพิ่มขึ้น 0.375% ต่อปี และเอ็มอาร์อาร์ (MRR) หรืออัตราดอกเบี้ยลูกค้ารายย่อยชั้นดี (Minimum Retail Rate) เพิ่มขึ้น 0.30% ต่อปี โดยมีผลตั้งแต่วันที่ 29 ก.ย. 2022

- WTO: WTO มีแนวโน้มปรับลดคาดการณ์การขยายตัวของการค้าโลกในปี 2022E ในเดือน ต.ค. หลังจากเดือน เม.ย. ที่ผ่านมา WTO ได้ปรับลดคาดการณ์การขยายตัวของการค้าโลกในปีนี้ลงสู่ระดับ 3% จากตัวเลขคาดการณ์เดิมที่ระดับ 4.7%

- OECD: OECD เปิดเผยรายงานคาดการณ์เศรษฐกิจโลกปี 2023E จะขยายตัว 2.2% ลดลงจากตัวเลขคาดการณ์เดิมที่ระดับ 2.8% เนื่องจากเศรษฐกิจถูกกดดันจากการที่ธนาคารกลางในกลุ่มประเทศพัฒนา แล้วพากันใช้นโยบายคุมเข้มด้านการเงินเพื่อสกัดเงินเฟ้อ

 

กลยุทธ์การลงทุน แนะนำ Trading Buy (โดยมีจุดขายตัดขาดทุน 3%)

หุ้นแนะนำรายสัปดาห์: BBL BLA TFG

หุ้นแนะนำเก็งกำไร: BDMS BEM BAFS

Derivatives: แนะปิด Short ล็อกกำไร และเปิด Long เก็งกำไรภายในวัน