KTX Zoom (19 พฤษภาคม 2566)
ตลาดหุ้น EM มี Negative Sentiment ของผจก.กองทุนโลกเดือน พ.ค.
Today’s dominant ideas
คาด SET Index เคลื่อนไหว Sideways Down แนวต้าน 1,540/1,544 จุด (EMA 10 วัน) แนวรับ 1,517/1,504 จุด ทางเทคนิค การปรับตัวสูงขึ้นวานนี้ ยังไม่เกิดสัญญาณกลับตัว (Reversal Pattern) อย่างมีนัย โดยสัญญาณยืนยันการกลับตัวเป็นขาขึ้น ดัชนีฯ จะต้องขึ้นไปยืนเหนือ 1,544 จุด มิฉะนั้นดัชนีฯ ยังคงมีความเสี่ยงที่จะอ่อนตัวลงลึกไปที่ 1,490/1,450 จุด (อิงรูปแบบสามเหลี่ยมขาลง Descending Triangle)
ประเด็นเศรษฐกิจวันนี้มีจำนวนน้อย และไม่มีนัยต่อตลาด ปัจจัยในประเทศ ยังคงติดตามความเป็นไปได้ที่รัฐบาลผสมนำโดยพรรคก้าวไกล จะได้รับการเห็นชอบในการโหวตของสองสภาหรือไม่ (โมเมนตัมบวกเริ่มเพิ่มขึ้น หลังมี ส.ว.บางรายออกมาสนับสนุน) ส่วนปัจจัยต่างประเทศ ติตตามสุนทรพจน์ของประธานเฟด Powell ในงานสัมนาของเฟดที่วอชิงตันคืนนี้ หลังจากประธานเฟดสาขาต่าง ๆ เริ่มออกมาสนับสนุนการปรับขึ้นดอกเบี้ย 0.25% ในการประชุมวันที่ 14 มิ.ย. (เช้านี้ FedWatch Tool ให้โอกาสสูงถึง 36.2%) และการเจราจาเพิ่มเพดานหนี้สหรัฐฯ ซึ่งตลาดคาดว่าจะเป็นปัจจัยบวกจากการสามารถบรรลุข้อตกลงได้ภายในต้นสัปดาห์หน้า
ประเด็นอื่น ๆ ที่ต้องติดตาม คือ แนวโน้มกระแสเงินทุนต่างชาติ ที่กลับมามีแรงขายตลาดหุ้นไทยเพิ่มขึ้นในช่วง 1-2 สัปดาห์ที่ผ่านมา โดยเฉพาะกลุ่ม Reopeining Plays ซึ่งหากอ้างอิงจากผลสำรวจ ผจก.กองทุนโลก วันที่ 5-11 พ.ค. ของ Bofa พบว่า ผจก.กองทุนโลก ยังคงเน้นการถือสินทรัพย์ปลอดภัย Cash และ Bonds สูงขึ้น เป็นผลจากการกังวลต่อ Credit Crunch และ Global Recession โดย 65% คาดว่าเศรษฐกิจเข้าสู่ภาวะชะลอตัวในช่วง 12 เดือนข้างหน้า –รูปขวา โดย 47% (เท่ากับเดือนก่อนหน้า) คาดว่าจะเกิดภาวะ Recession ( 63% คาดว่าจะเป็น Soft Landing และ 27% คาดเป็น Hard Landing) ขณะที่การลงทุนใน Equities (รูปซ้าย) พบว่ามีการ Rotation โดยเพิ่มน้ำหนักลงทุน กลุ่ม Tech Stocks (น้ำหนักสูงสุดรอบ 17 เดือน นับตั้งแต่เดือน ธ.ค. 2021), EU assets and equities (คาดว่าความเสี่ยงที่เศรษฐกิจ EU จะเข้าสู่ภาวะ Recession ในช่วง 12 เดือนข้างหน้า ลดลงเหลือระดับต่ำสุดรอบปีที่ 37% Vs 58% เดือนก่อนหน้า) และลดน้ำหนักลงทุน กลุ่ม Commodities (+2% OW จาก +13% OW) และกลุ่ม Utilities รวมทั้งลดน้ำหนักลงทุนตลาดหุ้น EM เหลือ 24% OW (จาก 30% OW) ซึ่งเป็นระดับต่ำสุดนับตั้งแต่เดือน ธ.ค. 2022 เนื่องจากจำนวนผจก.กองทุนโลกที่เชื่อว่าเศรษฐกิจจีนเติบโตแข็งแกร่ง ถูกปรับลดลงเหลือ 55% จาก 83%) ขณะที่คำแนะนำลงทุนล่าสุด คือ Long Big Tech Stocks เป็นอันดับแรก 32%, Short Banks 22%, Short USD 16%
กลยุทธ์ลงทุน แนะนำ เราคัดเลือกหุ้นที่ต่างชาติมีการลดน้ำหนักการลงทุนลงในช่วงสิ้นสุดไตรมาส 1 ถึงสัปดาห์ก่อนการเลือกตั้ง แต่กลับมาเพิ่มน้ำหนักมากขึ้น หลังวันเลือกตั้งถึงวันที่ 17 พ.ค. และหุ้นที่ต่างชาติมีการเพิ่มน้ำหนักการลงทุนลงอย่างต่อเนื่องตั้งแต่สิ้นสุดไตรมาส 1 ถึงสัปดาห์หลังการเลือกตั้ง (รูปล่าง) ได้แก่ TTB, CRC และ ADVANC
Strategic daily picks
TTB ปิด 1.47 บาท/แนวรับ 1.43 บาท แนวต้าน 1.53 บาท
TTB รายงานกำไรสุทธิ 1Q23 อยู่ที่ 4,295 ล้านบาท +12% QoQ, +34% YoY แม้สินเชื่อจะหดตัวลง 1.3% YTD เป็นผลจากการปรับ Asset Mix โดยหันไปเพิ่มสินเชื่อรายย่อยที่ให้ผลตอบแทนสูง ทั้งนี้ Consensus มองเป็นบวกต่อการดำเนินกลยุทธ์ของ TTB ที่คาดว่าจะทำให้เติบโตได้อย่างแข็งแกร่ง ด้วยคุณภาพสินทรัพย์ที่ดี บน ROE ที่เพิ่มขึ้นต่อเนื่อง ประกอบกับคาดปี 2023 จะจ่ายปันผลตอบแทนที่น่าสนใจถึง 4.8% หากกำไรสุทธิปี 2023 เป็นตามคาดที่ 1.72 หมื่นล้านบาท และประเมินราคาเป้าหมายปี 2023 ที่ 1.65 บาท อิง 2023 BV 0.7 เท่า
CRC ปิด 43 บาท/แนวรับ 41.25 บาท แนวต้าน 45.75 บาท
CRC รายงานกำไร 1Q23 ที่ 2.2 พันล้านบาท โต 80% YoY จากการฟื้นตัวของเศรษฐกิจและภาคการท่องเที่ยวทั้งในไทยและอิตาลี แต่ลดลง 35% QoQ จาก seasonality ที่ 4Q22 เป็น peak season โดยรายได้รวมอยู่ที่ 5.9 หมื่นล้านบาท โต 12% YoY แต่หดตัว 2% QoQ ทั้งนี้ Consensus ประมาณการกำไรสุทธิปี 2023 ที่ 8.4 พันล้านบาท ขยายตัว 17% YoY โดยเริ่มเห็นการควบคุมค่าใช้จ่ายได้ดีตามผลการดำเนินงานใน 1Q23 แม้จะได้รับผลกระทบของค่าพลังงานที่สูงขึ้น ขณะที่ค่าพลังงานที่จะเริ่มปรับลดลงตั้งแต่ช่วง 2Q23 จะช่วยหนุนผลกำไรฟื้นตัว ทั้งนี้ Consensus ประเมินราคาเป้าหมายที่ 50 บาท อิง 2023 PER 36 เท่า
ADVANC ปิด 211 บาท/แนวรับ 206 บาท แนวต้าน 222 บาท
Consensus ประมาณการกำไรปกติปี 2023 ที่ 2.7 หมื่นล้านบาท (+3% YoY) โดยมีแนวโน้มฟื้นตัวได้จากกิจกรรมทางเศรษฐกิจที่กลับมาดีขึ้น และการแข่งขันที่ลดความรุนแรงลง พร้อมประเมินราคาเป้าหมายปี 2023 ที่ 230 บาท อิง DCF (WACC 8.7%, TG 2%) ทั้งนี้ ในระยะสั้นยังมีปัจจัยหนุนจากดีล TTTBB และ JASIF ซึ่งหากสำเร็จ Consensus ประเมินเป็น Upside ขณะที่ในระยะยาวการใช้งาน Data ที่เพิ่มขึ้นของลูกค้า จะเป็นแรงขับเคลื่อนที่สำคัญ