Daily Strategy : บรรลุข้อตกลงเพดานหนี้ - 29 พฤษภาคม 2566

Daily Strategy : บรรลุข้อตกลงเพดานหนี้ - 29 พฤษภาคม 2566

ตลาดหุ้นวานนี้ SET Index ลดลง 5 จุด จากแรงขายหุ้น น้ำมัน โรงกลั่น และปิโตรฯ ตามราคาน้ำมันดิบที่ร่วงแรง นำลงโดย PTTEP SPRC และ PTTGC

แนวโน้มตลาดหุ้นวันนี้      

ประเมิน SET  ปรับตัวขึ้นแนวต้าน 1,540 / 1,545 จุด ตอบรับสหรัฐบรรลุข้อตกลงในหลักการเพิ่มเพดานหนี้จาก 31.4 ล้านล้านดอลลาร์เป็นเวลา 2 ปี ประกอบกับราคาน้ำมันดิบที่รีบาวนด์ขึ้นซึ่งเป็นบวกต่อทิศทางการลงทุน อย่างไรก็ตาม การใช้จ่ายของผู้บริโภคสหรัฐเพิ่มขึ้นมากกว่าคาดอาจส่งผลให้ FED ขึ้นดอกเบี้ยอีก 0.25% เป็น 5.25-5.50% ในการประชุม 13-14 มิ.ย.ซึ่งจะกดดันให้ดัชนีสลับอ่อนตัวลง

 

กลยุทธ์การลงทุน: Selective Buy

BBL KTB TTB KBANK SCB SAPPE ICHI แนวโน้มกำไร 2Q23 ยังคงเติบโต

PTTEP TOP BCP  ราคาน้ำมันดิบรีบาวนด์ขึ้น

KCE HANA BE8 BBIK อานิสงส์หุ้นกลุ่มเทคฯ NASDAQ ดีดตัวขึ้น

หุ้นที่ได้เข้าคำนวณ MSCI รอบใหม่  Global Standard ( MAKRO ) Global Small Cap ( JMT, TIDLOR, SAPPE, SISB,TU ) มีผล 31 พ.ค.

 

หุ้นแนะนำวันนี้

BCH (ปิด 17.70 ซื้อเก็งกำไร/เป้า 20 บาท) เก็งกำไรแนวโน้มผู้ติดเชื้อโควิด-19 ในประเทศพุ่งขึ้นในช่วงเข้าสู่ฤดูฝนและเป็นช่วงเปิดเทอม เป็นบวกกับกลุ่มโรงพยาบาลที่เน้นผู้ป่วยในประเทศและมีจำนวนเตียงโควิดในสัดส่วนที่สูง อาทิ BCH

SCB (ปิด 102 ซื้อ/เป้า 160 บาท) แนวโน้มกำไรสุทธิ 2Q23 ยังโตต่อเนื่องจาก NIM ที่เพิ่มขึ้นตามการปรับเพิ่มอัตราดอกเบี้ยนโยบายของแบงก์ชาติ ส่วนการตั้งสำรองหนี้ฯ คาดว่าจะปรับลงสู่ระดับปกติที่ระดับ 7-8 พันล้านบาทจาก 9,900 ใน 1Q23

บทวิเคราะห์วันนี้

IE sector

 

ประเด็นสำคัญวันนี้

(+) ปัญหาเพดานหนี้สหรัฐมีข่าวดี ไบเดน กับ แมคคาร์ธี บรรลุข้อตกลงในการเพิ่มเพดานหนี้แล้ว: เมื่อวันเสาร์ที่ผ่านมามีรายงานว่า นายโจ ไบเดน ปธน.สหรัฐ กับนายเควิน แมคคาร์ธี ประธานสภาผู้แทนฯ ได้บรรลุข้อตกลงเพื่อเพิ่มเพดานหนี้แล้ว ลำดับถัดไปคาดว่าจะมีการส่งเรื่องให้สภาคองเกรสลงมติคาดว่าจะทันก่อนกำหนดในวันที่ 1 มิ.ย. 23

(-) PCE ดัชนีชี้วัดเงินเฟ้อของสหรัฐเพิ่มขึ้นเกินคาด: สหรัฐรายงานดัชนี Headline PCE Price Index เดือน เม.ย.เพิ่มขึ้นสู่ระดับ 4.4% จาก 4.2% ในเดือน มี.ค. เช่นเดียวกับ mom เพิ่มขึ้น 0.4% มากกว่าเดือน มี.ค.ที่เพิ่มขึ้น 0.1% ส่วน Core PCE เพิ่มขึ้นสู่ระดับ 4.7% จาก 4.6% ในเดือน มี.ค.และเมื่อเทียบ mom เพิ่มขึ้น 0.4% มากกว่าเดือน มี.ค.ที่เพิ่มขึ้น 0.3%

(+/-) ส่งออกไทยเดือน เม.ย. ภาพรวมยังหดตัวแต่ให้โฟกัสเป็นรายกลุ่มสินค้า: เบื้องต้น Consensus คาดหดตัว 1.9 - 2%yoy  หดตัวติดต่อกันเป็นเดือนที่ 7 อย่างไรก็ตามอยากให้โฟกัสเป็นรายสินค้าเพื่อหาข้อมูลการฟื้นตัวของกลุ่มธุรกิจดังกล่าว อาทิ อาหารสัตว์ รวมถึงกลุ่มที่มีโมเมนตัมโตต่อเนื่อง อาทิ เครื่องดื่ม, เลนส์ และข้าวโพด เป็นต้น