กลยุทธ์การลงทุน : บล.กรุงศรี ประเทศไทยและความเสี่ยงที่จะเกิดภาวะ disinflation

กลยุทธ์การลงทุน : บล.กรุงศรี ประเทศไทยและความเสี่ยงที่จะเกิดภาวะ disinflation

กระทรวงพาณิชย์รายงานว่าเงินเฟ้อเดือนมิถุนายนลดลงมาอยู่ที่ 0.23% yoy ในเดือนมิถุนายน ซึ่งเป็นระดับที่ต่ำที่สุดในรอบ 21 เดือน แต่หากไม่รวมหมวดอาหาร และพลังงาน อัตราเงินเฟ้อพื้นฐาน (1.32%) ต่ำกว่าที่ตลาดคาดเอาไว้ที่ 1.4% ซึ่งเป็นระดับที่ต่ำที่สุดในรอบ 16 เดือน

ทั้งนี้ สาเหตุสำคัญที่ทำให้อัตราเงินเฟ้อลดลงคือสินค้าหมวดที่ไม่ใช่อาหาร โดยเฉพาะหมวดพลังงานที่ลดลงถึง 9.11% ในเดือนนี้

 

 Analysis

ทีมวิเคราะห์ของเราอยู่ระหว่างการพบกับกลุ่มลูกค้าเพื่อนำเสนอกลยุทธ์การลงทุนใน 3Q23 และหนึ่งในคำถามสำคัญที่พบก็คือ “แนวโน้มอัตราดอกเบี้ยไทยในระยะสั้น” ซึ่งสะท้อนให้เห็นว่าในปัจจุบันยังไม่มีมุมมองที่ชัดเจนของอัตราดอกเบี้ยนโยบายของไทย โดยในรายงานเงินเฟ้อฉบับล่าสุดยังยืนยันมุมมองระยะยาวของเราว่าธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) จะคงอัตราดอกเบี้ยนโยบายเอาไว้ที่ 2% ในช่วงที่เหลือของปีนี้ ทั้งนี้ อัตราเงินเฟ้อทั่วไป และอัตราเงินเฟ้อพื้นฐานกลับลงมาอยู่ต่ำกว่าเป้าของ ธปท. ที่ 2% แล้ว  ซึ่งหมายความว่าธนาคารบรรลุเป้าหมายในการคุมเงินเฟ้อแล้ว เมื่อพิจารณาจาก Fig.2 จะเห็นว่าในปัจจุบันไม่มีความเสี่ยงของเงินเฟ้อทางด้านอุปสงค์ (demand-pulled inflation) อีกต่อไปแล้ว และผลพลอยได้จากประเด็นนี้คืออัตราดอกเบี้ยนโยบายที่แท้จริง (real policy rate) ขยับกลับขึ้นไปอยู่ในแดนบวกแล้ว ซึ่งจะเป็นอุปสรรคต่อภาวะเศรษฐกิจที่กำลังอ่อนแอลง ส่วนในแง่ของการขยายตัว ทั้งดัชนี MPI ของไทย และสัญญาณจากตลาดพันธบัตรชี้ว่าเศรษฐกิจกำลังจะขาดแรงส่ง ดังนั้น จึงไม่มีเหตุผลที่ ธปท. จะเพิ่มแรงกดดันต่อภาวะเศรษฐกิจ และตลาดการเงินขึ้นไปอีก ทั้งนี้ การที่อัตราดอกเบี้ยที่แท้จริงเป็นบวกไม่ดีกับสินทรัพย์เสี่ยง เพราะในภาวะดังกล่าวดัชนี SET มักจะอ่อนแอ 

 

 

 

กลยุทธ์การลงทุน : บล.กรุงศรี ประเทศไทยและความเสี่ยงที่จะเกิดภาวะ disinflation

กลยุทธ์การลงทุน : บล.กรุงศรี ประเทศไทยและความเสี่ยงที่จะเกิดภาวะ disinflation

กลยุทธ์การลงทุน : บล.กรุงศรี ประเทศไทยและความเสี่ยงที่จะเกิดภาวะ disinflation