วิเคราะห์หุ้น : บล.เคจีไอฯ Industrial Estate Sector ยังดีอยู่

วิเคราะห์หุ้น : บล.เคจีไอฯ Industrial Estate Sector ยังดีอยู่

คณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (BOI) เปิดเผยว่า ยอดยื่นขอสิทธิประโยชน์ BOI ของประเทศไทย ในงวดเก้าเดือนแรกของปีนี้เพิ่มขึ้นเป็น 5.17 แสนล้านบาท (+22% YoY)

; Figure 1 จากการกลับมาเปิดประเทศหลัง COVID-19, การย้ายฐานการผลิตจากประเด็นด้านภูมิรัฐศาสตร์, และกลยุทธ์การลงทุน 5 ปี (ปรับโครงสร้างสู่เศรษฐกิจใหม่) โดยกลุ่มอิเล็กทรอนิกส์มีสัดส่วนสูงที่สุดที่ 40% ของยอดยื่นของ BOI (ในแง่มูลค่าโครงการ) รองลงมาคือกลุ่มเกษตร และอาหารแปรรูป (11%) และยานยนต์ (8%) ทั้งนี้ อุปสงค์การลงทุนใน EEC คิดเป็น 45% ของยอดยื่น BOI ทั้งหมด (Figure 3) โดยโครงการในจังหวัดชลบุรีคิดเป็น 64% ของโครงการทั้งหมดในพื้นที่ EEC (Figure 5) ส่วนยอดอนุมัติสิทธิประโยชน์ BOI ของประเทศไทย ในงวดเก้าเดือนแรกของปีนี้อยู่ที่ 5.33 แสนล้านบาท (+6% YoY); Figure 2 โดยอุปสงค์การลงทุนเน้นที่กลุ่มอิเล็กทรอนิกส์ (31%), เกษตร และอาหารแปรรูป (13%) และยานยนต์ (9%) ทั้งนี้ โครงการในจังหวัดระยอง และชลบุรีที่อยู่ในพื้นที EEC มีสัดส่วนสูงที่สุด โดยคิดเป็น 53% และ 44% ของยอดอนุมัติ BOI ในพื้นที่ EEC ตามลำดับ (Figure 6)

วิเคราะห์หุ้น : บล.เคจีไอฯ Industrial Estate Sector ยังดีอยู่

วิเคราะห์หุ้น : บล.เคจีไอฯ Industrial Estate Sector ยังดีอยู่

 

 

 

 

 

 

วิเคราะห์หุ้น : บล.เคจีไอฯ Industrial Estate Sector ยังดีอยู่

 

 

อุปสงค์การลงทุนเร่งตัวขึ้นจากการลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศ

ยอดยื่นขอ BOI จากการลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศ (FDI) ในงวดเก้าเดือนแรกของปีนี้เพิ่มขึ้นเป็น 3.99 แสนล้านบาท (+43% YoY); Figure 7 และคิดเป็น 77% ของยอดยื่นขอ BOI ของประเทศไทยทั้งหมด ในขณะที่ยอดอนุมัติ BOI จาก FDI ในช่วงเดียวกันอยู่ที่ 3.80 แสนล้านบาท (+70% YoY); Figure 8 คิดเป็น 71% ของยอดอนุมัติ BOI ทั้งหมด โดยการลงทุนจากจีน/สิงคโปร์/ญี่ปุ่น มีมูลค่าที่สุดทั้งในแง่ของยอดยื่นขอ และยอดอนุมัติ BOI จาก FDI (Figure 9 – 10) โดยอุปสงค์การลงทุนรวมจากสามประเทศนี้คิดเป็นสัดส่วนถึงเกือบ 60% ของยอดยื่นขอ BOI และยอดอนุมัติ BOI จาก FDI ทั้งหมด ทั้งนี้ เมื่อแยก
เป็นรายกลุ่ม พบว่ากลุ่มอิเล็กทรอนิกส์มีสัดส่วนสูงที่สุดที่ 52% ของยอดยื่นขอ BOI จาก FDI และ 43%ของยอดอนุมัติ BOI จาก FDI (Figure 11 – 12)

วิเคราะห์หุ้น : บล.เคจีไอฯ Industrial Estate Sector ยังดีอยู่

วิเคราะห์หุ้น : บล.เคจีไอฯ Industrial Estate Sector ยังดีอยู่

วิเคราะห์หุ้น : บล.เคจีไอฯ Industrial Estate Sector ยังดีอยู่

 

อุปสงค์การลงทุนที่แข็งแกร่งจะช่วยหนุนให้เกิดกระแสความต้องการซื้อที่ดิน

เรายังคงมองว่าอุปสงค์การลงทุนที่แข็งแกร่งจะทำให้ยอดขายที่ดินแข็งแกร่งตามไปด้วย แต่เรามองว่ายังมีความท้าทายอยู่บ้างในการที่จะรักษาระดับ/ทำให้ยอดขายที่ดินดีขึ้นไปอีกในปีหน้า โดยยอดขายที่ดินในงวด 9M66 ของ Amata Corporation (AMATA.BK/AMATA TB)* และ WHA Corporation (WHA.BK/WHA TB)* อยู่ที่ 1,200 ไร่ และ 2,000 ไร่ตามลำดับ ซึ่งสูงกว่ายอดขายที่ดินเต็มปี 2565 แล้ว เราคาดว่ายอดขายที่ดินของผู้ประกอบการนิคมอุตสาหกรรมในประเทศไทยจะแข็งแกร่งใน 4Q66 และทำให้ยอดขายที่ดินในปี 2566 ทำสถิติสูงสุดใหม่ในรอบสิบปี อย่างไรก็ตาม การที่ยอดขายที่ดินจะทำสถิติใหม่ให้ได้อีกในปี 2567 ยังคงเป็นความท้าทาย ซึ่งหากยอดขายที่ดินลดลงในปี 2567 ก็หมายความว่ายอดโอนที่ดิน และกำไรจะลดลงในปี 2568 ทั้งนี้ ราคาหุ้นอาจมีโอกาสของการเข้าเก็งกำไรได้จากกระแสเข้าในปัจจุบันที่สนับสนุนความต้องการในการซื้อที่ดิน ในกรณีที่มีการให้ premium บน Valuation ของหุ้นมากขึ้นถึงระดับ +1.5S.D. และ 2.0 S.D จากปัจจุบันที่เราให้อยู่ที่ +1.0 S.D ราคาหุ้นของ AMATA และ WHA อาจมีจังหวะไปถึงราคา 30.0 - 32.0 บาท (สำหรับ AMATA) และ 5.9 – 6.4 บาท (สำหรับ WHA)

 

Valuation & Action

เรายังคงให้น้ำหนักหุ้นกลุ่มนิคมอุตสาหกรรมที่ Neutral และคงคำแนะนำหุ้น AMATA (ถือ ราคาเป้าหมาย 27.00 บาท) และ WHA (ถือ ราคาเป้าหมาย 5.30 บาท) เรามองว่ากำไรที่อาจจะเพิ่มขึ้นทั้งYoY และ QoQ จากยอดโอนที่ดินที่สูงขึ้นจะเปิดโอกาสให้เข้าเก็งกำไรได้บ้าง

 

Risks

ความเสี่ยงด้านภูมิรัฐศาสตร์ (Geopolitical risk), เศรษฐกิจชะลอตัวลง, ภัยธรรมชาติ, การซื้อที่ดิน, การกระจุกตัวของกลุ่มอุตสาหกรรม, เงินทุนไม่เพียงพอ

 

วิเคราะห์หุ้น : บล.เคจีไอฯ Industrial Estate Sector ยังดีอยู่