วิเคราะห์แนวโน้มตลาด : บล.กรุงไทย เอ็กซ์สปริง 1Q24 GDP Growth EU & CH ภาคการผลิตและบริการเดือน เม.ย.

วิเคราะห์แนวโน้มตลาด : บล.กรุงไทย เอ็กซ์สปริง 1Q24 GDP Growth EU & CH ภาคการผลิตและบริการเดือน เม.ย.

ทางเทคนิค คาด SET Index ผันผวน แนวต้าน 1,365/1,370 จุด (EMA 10/25 วัน) แนวรับ 1,355/1,350 จุด ภาพใหญ่ของดัชนีฯ อยู่ในรูปแบบ ขาลง กรอบ 1,320-1,410 จุด ส่วนระยะสั้น เริ่มเข้าสู่การปรับฐานในกรอบ 1,355-1,365 จุด หลังจากปรับขึ้นกว่า 34 จุด ในช่วงวันที่ 19-24 เม.ย.

โดยอยู่ระหว่างเลือกข้าง ว่าจะขึ้นไปทดสอบแนวต้านสำคัญที่ 1,370/1,384 จุด ( ½ และ 2/3 ของกรอบ Fibonanci 1,411.46-1,330.24 จุด ที่ทำไว้เมื่อวันที่ 10-19 เม.ย. ที่ผ่านมา) หรือ อ่อนตัวลงมาที่แนวรับเดิม 1,330 จุด โดยมีจุดตัดสินใจ คือ ทะลุ 1,365 จุด หรือร่วงหลุด 1,355 จุด ลงมา

ประเด็น Event สำคัญ วันนี้

1Q24E Earnings Results: จับตารายงานผลกำไรของ US Amazon คาด USD0.84 Vs เดิม USD0.31, AMD คาด USD0.62 Vs เดิม USD0.60, Eli Lilly คาด USD2.46 Vs เดิม USD1.62, McDonalds คาด USD2.72 Vs เดิม USD2.63, Coca-Cola คาด USD0.70 Vs เดิม USD0.68 ฯลฯ UK HSBC Holdings คาด 2.4 Vs เดิม 0.42, CH China Merchant Bank คาด 1.68 Vs เดิม 1.54, PetroChina คาด 0.23 Vs 0.24 ฯลฯ

TH 1Q24 Earnigns Results: จับตารายงานผลประกอบการของหุ้นกลุ่มที่มิใช่สถาบันการเงิน ADVANC HMPRO TAN

 

วิเคราะห์แนวโน้มตลาด : บล.กรุงไทย เอ็กซ์สปริง 1Q24 GDP Growth EU & CH ภาคการผลิตและบริการเดือน เม.ย.

วิเคราะห์แนวโน้มตลาด : บล.กรุงไทย เอ็กซ์สปริง 1Q24 GDP Growth EU & CH ภาคการผลิตและบริการเดือน เม.ย.

ตัวเลขเศรษฐกิจสำคัญ:

+EU 1Q24E GDP Growth คาดดีขึ้นเล็กน้อย +0.1% QoQ, +0.2% YoY (Vs 4Q23 GDP +0% QoQ, +0.1% YoY) และ Inflation Rate เดือน เม.ย. ชะลอลงต่อเนื่อง คาด +0.6% MoM, 2.4% YoY (Vs เดือน มี.ค. +0.8% MoM, +2.4% YoY) Core Inflation เดือน เม.ย. คาด +2.6% YoY (Vs เดือน มี.ค. +2.9% YoY)

-CH รายงานภาคการผลิตและบริการเดือน เม.ย. โดย NBS คาดลดลงเป็น 50.3/52.2 (Vs เดือน มี.ค. 50.8/53 ตามลำดับ) และ CH รายงานภาคบริการเดือน เม.ย. โดย Caixin คาดลดลงเล็กน้อยเป็น 51.0 (Vs เดือน มี.ค. 51.1) สะท้อนเศรษฐกิจจีนอ่อนแอ และอาจมีมาตรการเพิ่มเติมจากรัฐบาลในการกระตุ้นเศรษฐกิจ

-TH Current Account เดือน มี.ค. คาดเกินดุลลดลงเป็น +USD0.4bn. (Vs เดือน ก.พ. +USD2bn.) ทั้งนี้ มีความเสี่ยงที่อาจจะออกมา ต่ำกว่าคาดการณ์ หลังจากดุลการค้าเดือน มี.ค. พลิกเป็นขาดดุลสูงถึง -USD1.16bn. แม้จะมีปัจจัยจากภาคท่องเที่ยวที่เพิ่มขึ้นเป็นปัจจัยสนับสนุน

-US FOMC Meeting (วันพรุ่งนี้) KTX คาดเฟดอาจส่งสัญญาณเข้มงวดนโยบายมากขึ้นในการประชุม FOMC

 

อัตราดอกเบี้ยแท้จริงสหรัฐฯ แม้จะอยู่ในระดับสูง +2.0% แต่ด้วยภาวะเศรษฐกิจที่ยังมีความแข็งแกร่ง GDP Annual growth rate ณ 1Q23 อยู่ที่ +3.0% YoY ซึ่งเป็นปัจจัยสำคัญที่ทำให้อัตราเงินเฟ้อสหรัฐฯ เริ่มฟื้นตัวกลับหนุนเงินเฟ้อด้านอุปสงค์ที่แฝงอยู่ในตระกร้าบริการ (สัดส่วน 60% ของตระกร้าเงินเฟ้อ) ขณะที่ภาวะสงคราม และการกลับมาเติมสต็อกของสินค้าโภคภัณฑ์ที่มากขึ้น หลังตัวเลขเศรษฐกิจโลกมีสัญญาณฟื้นตัว หนุนเงินเฟ้อด้านต้นทุน(สัดส่วน 40%) เช่นกัน เมื่อผนวกกับ ปัจจัยฐานที่ต่ำลงในช่วง 2H23 จึงทำให้อัตราเงินเฟ้อสหรัฐฯ ฟื้นตัวขึ้นมาที่ 3.5%YoY ในเดือน มี.ค. ผลักดันให้ Nominal GDP อยู่ในระดับสูงถึง 6.5% ซึ่งเมื่อเทียบกับอัตราดอกเบี้ยนโยบายที่ 5.5% แล้ว ส่วนต่างยังคง +1.0% สะท้อนว่าอัตราดอกเบี้ย ณ ระดับปัจจุบัน ยังจัดการกับเงินเฟ้ออุปสงค์ได้ไม่ดีพอ (Nominal GDP ยังคงเพิ่มขึ้นต่อเนื่อง) เป็นอุปสรรคสำคัญที่ทำให้เฟดอาจต้องคงระดับความเข้มงวดของการดำเนินนโยบายยาวนานมากขึ้น ดังนั้น ในการประชุม FOMC Meeting ครั้งนี้ KTX ประเมินว่า ความสำคัญจะอยู่ที่การส่งสัญญาณการดำเนินนโยบายดอกเบี้ยของเฟด ที่มีแนวโน้มกลับมาเข้มงวดมากขึ้น ซึ่งจะผลักดันให้ค่าเงินดอลลาร์สหรัฐฯ แข็งค่าต่อเนื่อง (+4.2% YTD) ซึ่งจะส่งผลกระทบต่อการอ่อนค่าของสกุลเงินเปรียบเทียบ โดยเฉพาะกลุ่มประเทศที่ทางเลือกในการคงอัตราดอกเบี้ยมีไม่มาก เช่น ยุโรป อังกฤษ จีน และ ไทย ที่มีแนวโน้มที่ค่าเงินจะอ่อนค่ารุนแรงขึ้น ซึ่งจะสร้างแรงจูงใจในการเก็งกำไรค่าเงินอ่อนค่าต่อเนื่องได้ ทั้งนี้ ค่าเงินสกุลที่อ่อนค่าเมื่อเปรียบเทียบช่วงต้นปี ได้แก่ ญี่ปุ่น (10.4%), ไทย (7.8%), อินโดนีเซีย (5.2%), ยุโรป (3.1%), จีน (2.5%) และ อังกฤษ (1.9%)

กลยุทธ์ลงทุน แนะนำ หุ้นที่มีประเด็นข่าวเชิงบวก ได้แก่ MINT AWC ERW

 

 

 

Strategic daily picks

MINT    ปิด 33.50 บาท/แนวรับ 32.00 บาท แนวต้าน 34.75 บาท

บริษัทวางแผนการเติบโตในช่วง 3 ปี (ปี 2024-26) ในส่วนของรายได้ที่ 8-10% ต่อปี และกำไรสุทธิ 15-20% ต่อปี พร้อมแผนขยายโรงแรมใหม่เป็น 780 แห่ง จากปัจจุบันอยู่ที่ราว 530 แห่ง และร้านอาหารเพิ่มเป็น 3,700 สาขา จากปัจจุบันที่ 2,600 สาขา ทั้งนี้ Bloomberg Consensus ประมาณการกำไรสุทธิ 1Q24 ที่ 62.67 ล้านบาท (พลิกจากขาดทุนสุทธิ 647 ล้านบาท ใน 1Q23) และมูลค่าเหมาะสม 39.93 บาท

AWC    ปิด 4.42 บาท/แนวรับ 4.28 บาท แนวต้าน 4.58 บาท

ปี 2024 บริษัทจะมีการเสริมศักยภาพการเติบโตในปี 2024 มูลค่ารวม 3.6 หมื่นล้านบาท จาก 1) เตรียมเปิดให้บริการ 18 โครงการ ในทุกกลุ่มธุกิจ ทั้งโรงแรม-รีเทล-โฮลเซล-เดสติเนชันแห่งใหม่ มูลค่า 1.9 หมื่นล้านบาท และ 2) เตรียมเข้าลงทุนอีก 3 โครงการใหญ่ มูลค่า 1.7 หมื่นล้านบาท ทั้งนี้ Bloomberg Consensus ประมาณการกำไรสุทธิ 1Q24 ที่ 863 ล้านบาท (-39.31% YoY) และมูลค่าเหมาะสม 5.20 บาท

ERW    ปิด 4.76 บาท/แนวรับ 4.64 บาท แนวต้าน 4.96 บาท

บริษัทคาดผลการดำเนินงาน 1Q24 มีแนวโน้มเติบโตต่อเนื่องเมื่อเทียบกับ QoQ, YoY สะท้อนจากอัตราการเข้าพักเฉลี่ยช่วงเดือน ม.ค.-ก.พ. 2024 อยู่ที่ 82% แม้อัตราการเข้าพักทรงตัวจาก 4Q23 แต่อัตราค่าห้องพักเฉลี่ยช่วง 2M24 เติบโตขึ้นราว 5% ทั้งนี้ Bloomberg Consensus ประมาณการกำไรสุทธิ 1Q24 ที่ 253.50 ล้านบาท (+6.26% YoY) และมูลค่าเหมาะสม 5.97 บาท

 

วิเคราะห์แนวโน้มตลาด : บล.กรุงไทย เอ็กซ์สปริง 1Q24 GDP Growth EU & CH ภาคการผลิตและบริการเดือน เม.ย. วิเคราะห์แนวโน้มตลาด : บล.กรุงไทย เอ็กซ์สปริง 1Q24 GDP Growth EU & CH ภาคการผลิตและบริการเดือน เม.ย.