วิเคราะห์แนวโน้มตลาด : บล.โกลเบล็ก CPI สหรัฐลดลง MoM

วิเคราะห์แนวโน้มตลาด : บล.โกลเบล็ก CPI สหรัฐลดลง MoM

วันพุธที่ผ่านมา ดัชนีเคลื่อนไหวในแดนลบตลอดช่วงการซื้อ-ขาย มีแรงขายในกลุ่มยานยนต์ และอสังหาฯ อาทิ NEX LH สาเหตุมาจากผลประกอบการต่ำกว่าที่ตลาดคาด โดยนักลงทุนติดตามการรายงานดัชนี CPI ของสหรัฐฯ ในคืนวันพุธที่ 15 พ.ค.

ส่งผลให้ดัชนี SET Index ปิดตลาดที่ 1,370.44 จุด -6.13 จุด -0.45% มูลค่าการซื้อขาย 49,685.70 ลบ. Program Trading -1,547.17 ลบ. ต่างชาติ -2,638.18 ลบ. TFEX -2,313 สัญญา ตราสารหนี้ +583.76 ลบ.

ปัจจัยบวก    

+ ดัชนีดาวโจนส์ปิดเพิ่มขึ้น 349.89 จุด หรือ +0.88% ขณะที่ดัชนี S&P500 และ Nasdaq ปรับตัวขึ้นกว่า 1% หลังสหรัฐเปิดเผยดัชนีราคาผู้บริโภค (CPI) ที่ต่ำกว่าคาดในเดือนเม.ย. ซึ่งทำให้นักลงทุนมีความหวังว่า FED จะเริ่มปรับลดอัตราดอกเบี้ยในปีนี้
+ สัญญาน้ำมันดิบ WTI เพิ่มขึ้น 61 เซนต์ หรือ +0.78% ปิดที่ 78.63 ดอลลาร์/บาร์เรล หลังสหรัฐเปิดเผยสต็อกน้ำมันดิบรายสัปดาห์ลดลงมากกว่าคาด ซึ่งบ่งชี้ถึงอุปสงค์ที่แข็งแกร่ง และได้แรงหนุนจากดัชนีราคาผู้บริโภค (CPI) ของสหรัฐที่ออกมาต่ำกว่าคาด
+ สหรัฐเปิดเผยว่า ดัชนี CPI ทั่วไปซึ่งรวมหมวดอาหารและพลังงาน ปรับตัวขึ้น 3.4%YoY ในเดือนเม.ย. สอดคล้องกับตัวเลขคาดการณ์ของนักวิเคราะห์ หลังจากที่เพิ่มขึ้น 3.5%YoY ในเดือนมี.ค.
+ FedWatch Tool ของ CME Group บ่งชี้ว่าขณะนี้นักลงทุนให้น้ำหนัก 75.3% ในการคาดการณ์ว่าเฟดจะปรับลดอัตราดอกเบี้ยในการประชุมเดือนก.ย. ซึ่งเพิ่มขึ้นจากระดับ 65.1% ในการสำรวจเมื่อวันอังคารที่ผ่านมา
+ สำนักข่าวบลูมเบิร์กรายงานว่าจีนกำลังพิจารณาโน้มน้าวให้รัฐบาลท้องถิ่นทั่วประเทศซื้อบ้านค้างสต็อกจำนวนหลายล้านหลัง หลังวิกฤติอสังหาริมทรัพย์ที่ยืดเยื้อส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจจีนอย่างหนัก
+/- ธนาคารกลางจีน (PBOC) ประกาศคงอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ระยะกลาง (MLF) ระยะ 1 ปีซึ่งเป็นอัตราดอกเบี้ยนโยบายของจีนไว้ที่ระดับ 2.50% สอดคล้องกับการคาดการณ์ของนักวิเคราะห์ส่วนใหญ่ ซึ่งแสดงว่าธนาคารกลางจีนตั้งใจพยุงเศรษฐกิจให้ฟื้นตัวโดยไม่สร้างแรงกดดันต่อสกุลเงินหยวน

ปัจจัยลบ

 

- กระทรวงพาณิชย์สหรัฐเปิดเผยว่า ยอดค้าปลีกทรงตัวในเดือนเม.ย. ต่ำกว่าที่นักวิเคราะห์คาดว่าเพิ่มขึ้น 0.4%MoM หลังจากเพิ่มขึ้น 0.6%MoM ในเดือนมี.ค.
- กระทรวงพาณิชย์จีนออกแถลงการณ์โจมตีรัฐบาลสหรัฐที่ประกาศขึ้นภาษีนำเข้าสินค้าจากจีนเป็นวงกว้าง และประกาศว่าจะใช้มาตรการตอบโต้ อย่างไรก็ดี กระทรวงพาณิชย์จีนไม่ได้เปิดเผยรายละเอียดเกี่ยวกับมาตรการตอบโต้
- ไต้หวันเปิดเผยว่าตรวจพบเครื่องบินรบของจีนจำนวน 45 ลำรอบไต้หวัน ซึ่งนับเป็นจำนวนสูงสุดภายในวันเดียวของปีนี้ และมีขึ้นในช่วงเวลาไม่ถึงสัปดาห์ก่อนที่ประธานาธิบดีคนใหม่ของไต้หวันจะเข้ารับตำแหน่ง
- GDP ญี่ปุ่นหดตัว 2% ใน Q1/67 หลังการบริโภค-ดีมานด์ต่างประเทศชะลอตัวทำให้ธนาคารกลางญี่ปุ่น (BOJ) เผชิญกับความท้าทายครั้งใหม่ในช่วงเวลาที่กำลังพิจารณาปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย
- อธิการบดีมหาวิทยาลัยหอการค้าไทย และประธานที่ปรึกษาศูนย์พยากรณ์เศรษฐกิจและธุรกิจ รายงานสำรวจดัชนีความเชื่อมั่นของผู้บริโภคเดือน เม.ย.67 อยู่ที่ 62.1 ลดจาก 63.0 ในเดือน มี.ค.67 ลดลงต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 2 ในรอบ 9 เดือน นับตั้งแต่เดือน ส.ค.66

แนวโน้มตลาดวันนี้  

คาดดัชนีในวันนี้มีโอกาสปรับตัวขึ้นตามทิศทางตลาดต่างประเทศ โดยมีแรงหนุนจากสหรัฐเปิดเผยดัชนี CPI ที่ต่ำกว่าคาดในเดือนเม.ย. ส่งผลให้อัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐปรับตัวลง กรอบดัชนีในวันนี้ที่ 1,365-1,375 จุด

กลยุทธ์การลงทุน 

• หุ้นได้ประโยชน์จากอากาศร้อนจัด : TACC SAPPE ICHI PLUS COCOCO MALEE TIPCO
• Digital Wallet : CPALL BJC CRC DOHOME GLOBAL HMPRO
• ไมโครซอฟท์ ลงทุนดาต้าเซ็นเตอร์ : INSET SYMC INET ITEL TKC
• MSCI Rebalance มีผล 31 พ.ค. : Global Standard หุ้นเข้า – หุ้นออก BTS LH MTC Global Small Cap หุ้นเข้า BTS, JTS, LH, MTC หุ้นออก BLAND, DITTO, FORTH, KSL, MAJOR, PSL, RS, SGP, SPCG, WHAUP

 

หุ้นรายงานพิเศษ

CRC ราคาเหมาะสม Bloomberg Consensus 42.60 บาท upside 33%
กำไร 1Q67 ทรงตัว YoY -31%QoQ การบริหารจัดการค่าใช้จ่ายเงินลงทุนได้ดี

วิเคราะห์แนวโน้มตลาด : บล.โกลเบล็ก CPI สหรัฐลดลง MoM

•งวด 1Q67 รายได้รวม 67,255 ล้านบาท เติบโต 6% จากทุกประเทศ (ไทย +6% เวียดนาม +5% อิตาลี +15%) เนื่องจากภาพรวมการท่องเที่ยวและสถานการณ์ธุรกิจฟื้นตัวดีต่อเนื่อง และยอดขาย Omnichannel ซึ่งมีสัดส่วนต่อยอดขาย 19% เพิ่มขึ้น 11% ยอดขายเติบโตดีกว่าช่วงก่อนเกิด COVID-19 ในปี 65 รวมทั้งการควบคุมค่าใช้จ่ายที่ดีทำให้อัตราส่วนค่าใช้จ่ายในการขายและบริการต่อยอดขายลดเหลือ 26.7% จาก 27.5% ใน และ EBITDA margin ปรับดีขึ้นในทุกประเภทสินค้า (Food 9% hardline 11.6% fashion 22%) ส่งผลให้มีกำไรสุทธิ 2,171 ล้านบาท ทรงตัว YoY -31%QoQ ทั้งนี้ SSSG เติบโตในธุรกิจ Fashion +2% และ Food +4% ส่วนธุรกิจ hardline -5% ได้รับผลกระทบจากยอดขายในเวียดนามที่หดตัว 20%

ความเห็น ฝ่ายวิจัยมีมุมมองบวกต่อศักยภาพในการเติบโตจากการฟื้นตัวของยอดขายและการขยายสาขาที่ทำให้เกิดการประหยัดต่อขนาด (economies of scale) ประกอบกับความพยายามควบคุมค่าใช้จ่ายที่มีประสิทธิภาพมากขึ้น ทั้งนี้ Bloomberg Consensus คาดกำไรปี 67 เฉลี่ย 9,058 ล้านบาท +13%YoY ราคาหุ้น -21%YTD ซื้อขายที่ระดับ PBV 24x ต่ำกว่าค่าเฉลี่ยของกลุ่มที่ระดับ 26x ราคาเหมาะสม Bloomberg Consensus 42.60 บาทยังมี upside 33% แนะนำ “ซื้อ”

หุ้นมีข่าว

(+) BJC (Bloomberg consensus 30.00 บาท) กลุ่ม BJC เตรียมนำธุรกิจค้าปลีก "Big C" ยื่นไฟลิ่งในช่วงครึ่งปีหลังนี้ วางเป้าเข้าเทรดในปี 2568 ย้ำแผนลงทุนในภูมิภาคอาเซียน สปป.ลาว เวียดนาม กัมพูชา และไทย สำหรับผลงานกลุ่ม BJC ทั้งปี 2567 คาดเติบโตสองหลัก สอดคล้องสภาพเศรษฐกิจในประเทศ (ที่มา ทันหุ้น)

(+) CHAYO (Bloomberg consensus 5.90 บาท) มั่นใจธุรกิจปล่อยสินเชื่อปีนี้ตั้งเป้ารายได้เติบโต 100% และตั้งเป้าปล่อยสินเชื่อใหม่ไม่ต่ำกว่า 600-1,000 ล้านบาท ด้านธุรกิจบริหารหนี้ วางงบลงทุน 1,000-1,500 ล้านบาท ลุยซื้อหนี้เพิ่มต่อเนื่อง พร้อมยัน CCAP เข้าเทรดปีนี้แน่นอน (ที่มา ทันหุ้น)

(+) IVL (Bloomberg consensus 27.00 บาท) คาดปริมาณขายรายได้-สเปรดผลิตภัณฑ์ ไตรมาส 2/2567 โต จากไตรมาส 1 แรงหนุนธุรกิจ CPET-Indovinya มั่นใจมีกำไรขาย 2 ธุรกิจที่ไม่ใช่ธุรกิจหลัก เหตุเป็นธุรกิจที่แข็งแกร่ง พร้อมเดินหน้าลดหนี้สิน 2.5 พันล้านดอลลาร์ ภายใน 3 ปี ดันหนี้สินต่ออีบิทดาต่ำกว่า 3 เท่า (ที่มา ทันหุ้น)

(+) RBF (Bloomberg consensus 13.00 บาท) กวาดรายได้ไตรมาส 1/2567 ทะลุ 1.1 พันล้านบาท ดันกำไรโต 17% แตะ 172 ล้านบาท รับอานิสงส์กลุ่มผลิตภัณฑ์แป้งและซอสทั้งในและต่างประเทศหนุน คาดไตรมาส 2 อุตสาหกรรม Food Ingredients โดยเฉพาะในเวียดนาม-อินเดียเติบโตโดดเด่น เดินหน้าออกผลิตภัณฑ์ใหม่ หนุนเป้ารายได้ทั้งปีนี้เติบโต (ที่มา ทันหุ้น)