วิเคราะห์แนวโน้มตลาด : บล.ยูโอบี เคย์ เฮียนฯ ตัวเลขเศรษฐกิจสหรัฐฯ ที่แข็งแกร่งสร้างแรงกดดันต่อตลาด
ผลตอบแทนพันธบัตรและค่าเงินสหรัฐฯ แข็งค่าขึ้นหลังตัวเลข PMI เม.ย.แข็งแกร่งกว่าคาด โดยดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อภาคอุตสาหกรรม (PMI Manufacturing) ออกมา 50.9 (เทียบกับคาดการณ์ที่ 49.9 และเม.ย.ที่ 50.0)
ขณะที่ดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อภาคบริการ (PMI Manufacturing) ออกมา 54.8 (เทียบกับคาดการณ์ที่ 51.2 และเม.ย.ที่ 51.3) ตัวเลขเศรษฐกิจที่แข็งแกร่งทำให้ตลาดลดความคาดหวังต่อการปรับลดดอกเบี้ยของธนาคารกลางสหรัฐฯ และผลักให้ผลตอบแทนพันธบัตรรวมถึงค่าเงินสหรัฐฯ แข็งค่าขึ้น ซึ่งจะเป็นปัจจัยลบระยะสั้นต่อจิตวิทยาการลงทุนในสินทรัพย์เสี่ยง
กลุ่มได้ประโยชน์จากเงินบาทอ่อนค่าปรับตัวขึ้นดีหลังการรายงานตัวเลขส่งออก เม.ย.ดีกว่าคาด กระทรวงพาณิชย์รายงานยอดส่งออก เดือน เม.ย. 67 เพิ่มขึ้น 6.8% YoY ดีกว่าที่ตลาดคาดว่าจะลดลง 0.2% YoY / สินค้าเกษตรหดตัว 3.8% YoY สินค้าที่โตเด่นได้ดีคือ ข้าว ยางพารา และไก่แปรรูป / สินค้าอุตสาหกรรมเกษตรกลับมาโตที่ 12.7% YoY สินค้าที่เติบโตดีคือ อาหารสัตว์เลี้ยง, สิ่งปรุงรสอาหาร และ อาหารทะเลกระป๋องและแปรรูป / สินค้าอุตสาหกรรมเติบโต 9.2% YoY สินค้าที่เติบโตดีคือเครื่องคอมพิวเตอร์ และส่วนประกอบ, หม้อแปลงไฟฟ้า, เหล็ก, รถยนต์ และเครื่องปรับอากาศ // ปัจจัยดังกล่าวเป็นบวกต่อกลุ่มเนื้อสัตว์และยางพารา CPF, BTG, TFG, GFPT, STA, NER ขณะที่กลุ่มอาหารสัตว์เลี้ยง แม้เติบโต YoY สูง แต่ตัวเลขเม.ย.ชะลอลงจากมี.ค. จะเป็นปัจจัยจำกัดการฟื้นตัวในรอบนี้
หุ้นที่น่าสนใจในการเก็งกำไร 1) กลุ่มที่ผลประกอบการถูกปรับประมาณการขึ้น SCGP, PTTGC, KCE, CPF, BTG 2) ราคาซื้อขายต่ำ NAV หรือ PBV ได้แก่ PTTGC, SAMART, STA, SORKON, TTA, PSL
ภาพรวมกลยุทธ์ บรรยากาศลงทุนโดยรวมอาจได้รับผลกระทบจากการแข็งค่าของเงินดอลลาร์สหรัฐฯ แต่สถานการณ์ดังกล่าวยังเป็นบวกต่อหุ้นที่ได้ประโยชน์จากเงินบาทอ่อนค่า การเก็งกำไรเน้นหุ้นที่ยังขึ้นน้อยกว่าตลาด (laggards) และควรกำหนดจุดตัดขาดทุนรวมถึงเป้าขายทำกำไร
หุ้นแนะนำ: SCGP*, CBG*, BTG*, CK*
แนวรับ: 1,359-1,365 / แนวต้าน : 1,380 จุด
สัดส่วนลงทุน: เงินสด 40% vs พอร์ตหุ้น 60%
ประเด็นการลงทุนที่น่าสนใจ
‘คลัง’ เล็งปรับพอร์ต เคลียร์ ‘หุ้นประสิทธิภาพต่ำ’ มูลค่า 3 หมื่นล้าน - “เผ่าภูมิ” สั่งตั้งคณะกรรมการทบทวนความคุ้มค่าหลักทรัพย์-หุ้น ล็อกเป้า 100 หุ้น กว่า 30,000 ล้าน จากการยึดทรัพย์และนิติเหตุ หวังจัดพอร์ตลงทุนรัฐให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด (กรุงเทพธุรกิจ)
เศรษฐาน้อมรับมติศาลรธน. เตรียมแจงความบริสุทธิ์ใน 15 วัน - เศรษฐา ลั่นน้อมรับมติศาลรัฐธรรมนูญ ไม่หวั่นถูกตรวจสอบ พร้อมชี้แจงข้อมูลใน 15 วัน เตรียมปรึกษาฝ่ายกฏหมาย พร้อมให้มีการตรวจสอบ หากทางฝ่ายนิติบัญญัติ หรือฝ่ายธุรการมีความข้องใจก็เป็นหน้าที่ของฝ่ายบริหารต้องชี้แจง (ข่าวหุ้น)
ดอลล์แข็งค่า หลังรายงานประชุมเฟดส่งสัญญาณตรึงดบ.สูง - ดอลลาร์สหรัฐแข็งค่าเมื่อเทียบกับสกุลเงินหลัก ๆ ในการซื้อขายที่ตลาดปริวรรตเงินตรานิวยอร์ก (22 พ.ค.) หลังจากรายงานการประชุมของธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) บ่งชี้ว่ากรรมการเฟดมีความกังวลเกี่ยวกับเงินเฟ้อ ซึ่งทำให้นักลงทุนคาดการณ์ว่าเฟดอาจจะตรึงอัตราดอกเบี้ยที่ระดับสูงเป็นเวลานาน (อินโฟเควสท์)
สหรัฐเผยยอดขายบ้านใหม่ต่ำกว่าคาดในเดือนเม.ย.–กระทรวงพาณิชย์สหรัฐรายงานว่า ยอดขายบ้านใหม่ลดลง 4.7% สู่ระดับ 634,000 ยูนิตในเดือนเม.ย. ต่ำกว่าที่นักวิเคราะห์คาดการณ์ที่ระดับ 679,000 ยูนิต จากระดับ 665,000 ยูนิตในเดือนมี.ค. (อินโฟเควสท์)
ดัชนี PMI รวมภาคผลิต - บริการสหรัฐพุ่งสูงสุดรอบกว่า 2 ปีในเดือนพ.ค. - เอสแอนด์พี โกลบอลเปิดเผยว่า ดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อ (PMI) รวมภาคการผลิตและภาคบริการเบื้องต้นของสหรัฐ พุ่งขึ้นสู่ระดับ 54.4 ในเดือนพ.ค. ซึ่งเป็นระดับสูงสุดในรอบ 25 เดือน จากระดับ 51.3 ในเดือนเม.ย. (อินโฟเควสท์)
EKH - EKH มั่นใจ Q2/67 แกร่งปักหมุดลุยธุรกิจสุขภาพมั่นใจปั๊มผลงานทั้งปีโตไม่ต่ำกว่า 7% (อินโฟเควสท์) (อินโฟเควสท์)
NEX - บมจ. เน็กซ์ พอยท์ (NEX) ปิดรูด 22% โดน Force Sell ทางบริษัทเปิดเผยว่า บริษัทลงนาม MOU เพื่อลงทุนตั้งไลน์การประกอบรถ Mini SUV ของบริษัท DAYUN แต่เพียงผู้เดียวในประเทศไทย พร้อมเปิดรับดีลเลอร์เพื่อทำการตลาดและขายรถของบริษัท DAYUN เพิ่มเติม (อินโฟเควสท์)
ประเด็นติดตาม: 24 พ.ค. JP Inflation Rate (Apr)/ 31 พ.ค. CN NBS Manifacturing PMI (May)
(* หมายถึง หุ้นทางกลยุทธ์ ซึ่งนักลงทุนควรพิจารณาตั้งจุดตัดขาดทุน 3-5% ของราคาที่เข้าซื้อ)