วิเคราะห์แนวโน้มตลาด : บล.กรุงไทย เอ็กซ์สปริง Weekly Strategy & US Jolt Jobs
ทางเทคนิค คาด SET Index ปรับตัวสูงขึ้น แนวต้าน 1,353/1,359 จุด (EMA 10 วัน) แนวรับ 1,340/1,330 จุด โดยมีโมเมนตัมบวก จากการฟื้นตัวของตลาดหุ้นโลก หลังจากยิลด์พันธบัตรสหรัฐฯ และค่าเงินดอลล์สหรัฐฯ กลับมาอ่อนตัว
เพราะเฟดมีโอกาสปรันลดดอกเบี้ยปีนี้สูงขึ้น หลังจากตัวเลขเงินเฟ้อเดือน พ.ค. มีสัญญาณชะลอตัว ภาพใหญ่ดัชนีฯ จะเปลี่ยนเป็นสัญญาณขาลง หากดัชนีฯ หลุดร่วงต่ำกว่าระดับต่ำสุดเดิม 1,330 จุดโดยมีแนวรับต่อไปที่ 1,300/1,320 จุด ส่วนภาพระยะสั้น มีลุ้นปรับตัวสูงขึ้นต่อเนื่อง หลังจากเมื่อวันศุกร์ สามารถสร้าง Higher High และ Higher Low ทำให้ดัชนีฯ วันนี้มีโอกาสปรับตัวสูงขึ้น และจะกลับมาเป็นสัญญาณขาขึ้นได้ใหม่ หากดัชนีฯ สามารถทะลุบริเวณ 1,370 จุด (EMA 50 วัน)
ประเด็น Event สำคัญ วันนี้
TH Opp. Day: TPIPP PJW KJL PTL CRC IG VGI TMC ALLY UBE
CH ครบรอบ 35 ปีของเหตุการณ์เทียนอันเหมิน
Weekly Strategy: มุมมองต่อ SET Index
สัปดาห์นี้ ความเสี่ยงระยะสั้น จากกระแสเงินทุนต่างชาติไหลออกเพิ่มสูงขึ้น จากแนวโน้มดอลลาร์สหรัฐฯ แข็งค่า (โอกาส ECB ลดดอกเบี้ยครั้งแรก) และเสถียรภาพการเมืองไทยที่ยังสร้างความกังวลให้กับนักลงทุนต่างชาติต่อเนื่อง สะท้อนจากอัตราส่วนดอลลาร์สหรัฐฯ เทียบเงินบาท ที่ลดลง 5 Bps. WoW มาที่ 2.85 เท่า บ่งชี้ว่าค่าเงินบาทอ่อนค่า จากปัจจัยภายในเป็นหลัก แต่อย่างไรก็ตาม ด้วยปัจจัยหนุนจากการกลับมาปรับประมาณการ EPS ที่สูงขึ้นต่อเนื่อง +0.3% WoW มาที่ 96.64 บาท/หุ้น ซึ่งสอดคล้องกับการเบิกจ่ายงบลงทุนของภาครัฐที่กลับมาเร่งตัวแรง ประกอบกับ การปรับฐานของดัชนี SET หนุน SET MRP เพิ่มขึ้นมาที่ค่าเฉลี่ยเคลื่อนที่ 90 วัน ของ SET MRP ที่ 4.37% ซึ่งเป็นระดับที่เราประเมินว่า “ผลตอบแทนจะอยู่ในจุดที่คุ้มค่าความเสี่ยง” ทำให้ความเสี่ยงขาลงจำกัด
นักลงทุนต่างชาติยังเสี่ยงไหลออกจากตลาดหุ้นไทย แต่ก็มองว่า Momentum คงไม่แรงนัก เงินบาท/ดอลลาร์สหรัฐฯ ยังอยู่ในทิศทางอ่อนค่า (1.6% WoW) มาอยู่ที่ 36.9 บาท ซึ่งถูกกดดันด้วยปัจจัยแวดล้อมทั้งใน (เสถียรภาพทางการเมืองไทย) และต่างประเทศ (เฟดส่งสัญญาณอัตราดอกเบี้ยสูงยาวนานกว่าคาด และโอกาสที่ ECB จะปรับลดดอกเบี้ยในสัปดาห์นี้) แต่ด้วยเงินบาทอ่อนค่าใกล้แตะระดับค่าเฉลี่ย 60 วัน +2.0 S.D. (37.2 บาท/ดอลลาร์สหรัฐฯ) ซึ่งเครื่องมือ KTX USDTHB Momentum (Figure 1) บ่งชี้ถึงการอ่อนค่ามากเกินไป (Oversold) และมักเป็นจุดที่เกิดการทำกำไรระยะสั้น (Cover short) ช่วยจำกัดความเสี่ยงเชิงลบต่อตลาดหุ้นไทยจากการไหลออกของเงินทุนต่างชาติ
กลยุทธ์การลงทุนสัปดาห์นี้: เรายังคงคำแนะนำ “ซื้อ” หลังจากดัชนีต่ำกว่า 1,345 จุด (ซึ่งเป็นจุดที่ให้ MRP สูงกว่าค่าเฉลี่ยเคลื่อนที่ 90 วัน ที่ 4.37%) โดยแนะนำหุ้นที่ได้อานิสงส์จากมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจภาครัฐ และการฟื้นตัวของ GDP ไทย
ตัวเลขเศรษฐกิจสำคัญ:
TH ภาคการผลิตเดือน พ.ค. Consensus คาดลดลงเป็น 48.5 (Vs เดือน เม.ย. 48.6) โดยคาดว่าจะอยู่ในภาวะหดตัว (<50 จุด) ต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 10 สะท้อนเศรษฐกิจไทยยังคงอ่อนแอ
US รายงานจ้างงานเดือน เม.ย. JOLT’s Job Openings คาดลดลงเป็น 8.35 ล้าน (Vs เดือน มี.ค. 8.488 ล้าน) และ Job Quits คาดลดลงเป็น 3.2 ล้าน (Vs เดือน มี.ค. 3.329 ล้าน) ทั้งนี้ Traading Economics คาด ณ สิ้นเดือน ธ.ค. 2024 Job Openints จะลดลงเป็น 8.2 ล้าน
US รายงาน Factory Orders เดือน เม.ย. Consensus คาดเติบโตลดลง +0.6% MoM (Vs เดือน มี.ค. +1.6% MoM)
EU รายงานคาดการณ์เงินเฟ้อ Consumer Inflation Expectations เดือน เม.ย. คาดลดลงเป็น +2.8% YoY (จาก 3% YoY ในเดือน มี.ค.)
กลยุทธ์ลงทุน แนะนำ หุ้นที่มีประเด็นข่าวเชิงบวก ได้แก่ BEM CK CPALL
Strategic daily picks
BEM ปิด 7.85 บาท/แนวรับ 7.50 บาท แนวต้าน 8.25 บาท
บริษัทคาดรายได้ปี 2024 จะอยู่ที่ 1.8 หมื่นล้านบาท เพิ่มขึ้น 10% YoY หลัก ๆ มาจากธุรกิจขนส่งมวลชน สำหรับโครงการรถไฟฟ้าสายสีส้มนั้น บริษัทคาดว่าศาลน่าจะมีคำพิพากษาเรื่องการเปิดประมูลออกมาในเดือน มิ.ย.-ก.ค. 2024 ซึ่งหากรัฐบาลไม่มีข้อสงสัย ก็น่าจะสามารถเซ็นสัญญาได้ภายใน 4Q24 ทั้งนี้ Bloomberg Consensus ประมาณการกำไรสุทธิปี 2024 ที่ 3.91 พันล้านบาท (+12.28% YoY) และมูลค่าเหมาะสมที่ 10.40 บาท
CK ปิด 22.30 บาท/แนวรับ 21.80 บาท แนวต้าน 23.10 บาท
ปัจจุบันมีปริมาณงานในมือ (Backlog) เฉลี่ยราว 1.3 แสนล้านบาท ซึ่งในเบื้องต้นคาดว่าจะสามารถสร้างรายได้เฉลี่ยต่อปีกว่า 3.6 หมื่นล้านบาท พร้อมกันนี้ยังมีโครงการที่บริษัทในเครือ อาทิ BEM ที่จะสามารถส่งต่องานให้กับ CK รวมมูลค่าราว 2 แสนล้านบาท ทั้งนี้ Bloomberg Consensus ประมาณการกำไรสุทธิปี 2024 ที่ 1.85 พันล้านบาท (+23.25% YoY) และมูลค่าเหมาะสมที่ 26.83 บาท
CPALL ปิด 57.50 บาท/แนวรับ 55.00 บาท แนวต้าน 59.50 บาท
KTX คาดยอดขายธุรกิจค้าปลีกร้านสะดวกซื้อปี 2024E โต 6.5% เป็น 4.26 แสนล้านบาท ภายใต้สมมติฐาน SSSG 4.1% (1Q24 +4.9%) การขยายสาขาร้านสะดวกซื้อเพิ่ม 5% YoY เป็น 15,377 สาขา ณ สิ้นปี 2024E และคาดอัตรากำไรขั้นต้นจากการขายเพิ่มเป็น 28.6% จาก 28.2% ในปี 2023 ทั้งนี้ KTX ประเมินมูลค่าเหมาะสม 60.94 บาท ด้วยอัตราผลตอบแทนคาดหวัง 4.23%