Daily SET50 Index Futures : บล.เคจีไอฯ แกว่งตัวลง น้ำมัน WTI ลงแรง ค่าเงินบาทกลับมาแข็ง

Daily SET50 Index Futures : บล.เคจีไอฯ แกว่งตัวลง น้ำมัน WTI ลงแรง ค่าเงินบาทกลับมาแข็ง

กลยุทธ์ที่เหมาะสมกับสภาวะตลาดปัจจุบัน - กลยุทธ์ระยะสั้น Open Long 893, Take Profit 898/903, Stop Loss 888 เปิด Long สัญญา S50U24 ที่แนวรับ 893

Daily SET50 Index Futures : บล.เคจีไอฯ แกว่งตัวลง น้ำมัน WTI ลงแรง ค่าเงินบาทกลับมาแข็ง

แนวโน้มระยะกลาง

ระยะกลางคาด S50U24 แกว่งตัวขึ้น ระยะสั้นเป็นบวกหลังจากยืนได้เหนือแนวรับ 885 ประเมินแนวรับ 893/885/878 และแนวต้าน 903/912/920/930 หากยืนได้เหนือ 893 อาจแกว่งตัวขึ้นไป แนวต้านที่ 903/912 หากยืนไม่ได้เหนือ 893 อาจแกว่งตัวลงไปแนวรับ 903/893

กลยุทธ์ระยะกลาง (สัปดาห์)

แนะนำเปิด Long สัญญา S50U24 ที่ 893 และปิดสถานะที่แนวต้าน 903/912 โดยให้จุด Stop loss ที่ 888

แนวโน้ม SET50 ฟิวเจอร์สระยะสั้น (ระหว่างวัน)

วานนี้ S50U24 แกว่งตัวลง โดยเด้งฟื้นขึ้นไปทำจุดสูงสุดที่ 902.7 สลับแกว่งตัวลงมาทำจุดต่ำสุดที่ 895.1 และมาปิดที่ 898.8 โดย S50U24 ลบน้อยกว่าดัชนีส่งผลให้ Basis ระหว่าง S50U24 และ SET50 สู่ระดับ-2.98จุด

ประเมินสัญญา S50U24 อาจแกว่งตัวขึ้น หากยืนได้เหนือ 893 อาจสลับเด้งขึ้นไปทดสอบแนวต้านถัดไป 898/903

กลยุทธ์ระยะสั้น(ระหว่างวัน)**

แนะนำเปิด Long สัญญา S50U24 ที่แนวรับ 893 และปิดสถานะที่แนวต้าน 898/903 โดยให้จุด Stop loss ที่ 888

สำหรับคนที่ได้เปิด Long ที่แนวรับ 900 เมื่อวานนี้ แนะนำปิดสถานะที่แนวต้าน 903/908 โดยให้จุด Stop loss ที่ 895

 

 

 

Daily SET50 Index Futures : บล.เคจีไอฯ แกว่งตัวลง น้ำมัน WTI ลงแรง ค่าเงินบาทกลับมาแข็ง

 

 

ปัจจัยสำคัญ

ปัจจัยที่มีผลกระทบต่อ SET50

วานนี้ดาวโจนส์ปิดลบ 92 จุด (-0.23%) ปิดที่ 40,736 จุด จากแรงขายในหุ้นกลุ่มธนาคาร หลังจาก Goldman Sachs และ JP Morgan ออกมาเตือนเรื่องผลประกอบการของกลุ่มธนาคาร รวมทั้งแรงขายในหุ้นกลุ่มพลังงานหลังจากราคาน้ำมัน WTI ลดลงแรงกว่า 4% นอกจากนี้นักลงทุนรอติดตามปัจจัยสำคัญ ได้แก่ดัชนีราคาผู้บริโภค (CPI) สหรัฐในคืนนี้ และผลประชุมธนาคารกลางยุโรปในคืนวันพฤหัสบดี

ด้านทิศทางราคาน้ำมัน WTI เดือนต.ค.ปิดลดลง 2.96 ดอลลาร์สหรัฐ/บาร์เรล (-4.31%) มาอยู่ที่ 65.75 ดอลลาร์สหรัฐ/บาร์เรล หลังจากโอเปคได้ปรับลดคาดการณ์อุปสงค์น้ำมันโลกในปีนี้และปีหน้าลงโดยคาดจะเพิ่มขึ้น 2.03 และ 1.74 ล้านบาร์เรล/วัน จากคาดการณ์เดิมที่คาดจะเพิ่มขึ้น 2.11 และ 1.78 ล้านบาร์เรล/วัน ถือเป็นปัจจัยลบต่อทิศทางราคาน้ำมัน กลบปัจจัยบวกจากรายงานคาดการณ์ว่าพายุโซนร้อนฟรานซีนจะทวีความรุนแรงมากขึ้นขณะพัดผ่านอ่าวเม็กซิโก และอาจส่งผลให้บริษัทหลายแห่งต้องระงับการผลิตน้ำมัน

ด้านทิศทางค่าเงินดอลลาร์สหรัฐ/บาทกลับมาแข็งค่าขึ้น ล่าสุดมาอยู่ที่ 33.58 บาท/ดอลลาร์สหรัฐ

ปัจจัยที่ให้ติดตามในระยะสั้น

คืนนี้ติดตามรายงานสต็อกน้ำมันดิบสหรัฐประจำสัปดาห์ ทั้งนี้สัปดาห์ก่อนลดลง 6.87 ล้านบาร์เรล ปัจจัยสำคัญในสัปดาห์นี้ ได้แก่ ดัชนีราคาผู้บริโภค (CPI) สหรัฐเดือนส.ค. ทั้งนี้ตลาดคาด 2.6%YoY และผลประชุมธนาคารกลางยุโรปในคืนวันพฤหัสบดี ทั้งนี้ตลาดคาดจะปรับลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายลง 0.25%