วิเคราะห์แนวโน้มตลาด : บล.ยูโอบี เคย์ เฮียนฯ ติดตามการประชุม BOJ และอาจผันผวนจาก FTSE rebalancing
ตลาดตอบรับเชิงบวกต่อการลดดอกเบี้ยของเฟดจากความกังวลเศรษฐกิจถดถอยที่น้อยลง แม้สถิติในอดีตบ่งชี้ว่าการเริ่มปรับลดดอกเบี้ยของเฟดครั้งแรก 0.50% มีความเสี่ยงที่จะตามมาด้วยเศรษฐกิจถดถอย อย่างไรก็ตามตลาดรอบนี้กังวลความเสี่ยงดังกล่าวน้อยลง
ซึ่งเราประเมินว่ามาจาก 1) การปรับลดดอกเบี้ยมาพร้อมกับการปรับเพิ่ม GDP ปี 2567 เล็กน้อย 2) เฟดส่งสัญญาณ เปลี่ยนจากเหมายเงินเฟ้อเป็นเศรษฐกิจ (ดูแลการจ้างงาน) 3) ค่าเงินเยนที่อ่อนค่าลง ทำให้ความกังวลเกี่ยวกับการขายสินทรัพย์เสี่ยงเพื่อคืนเงินกู้ยืมสกุลเยน (Unwind Yen Carry Trade) ลดลง // ปัจจัยโดยรวมข้างต้นทำให้บรรยากาศลงทุนระยะสั้นยังโน้มเอียงไปในเชิงบวก โดยวันนี้ติดตามการประชุมธนาคารกลางญี่ปุ่น (BOJ) ตลาดคาดยังมีการขึ้นดอกเบี้ยเพิ่มเติม แต่การส่งสัญญาณเกี่ยวกับความเร็วในการดำเนินนโยบาย จะส่งผลต่อบรรยากาศเก็งกำไรในภาพรวมได้
วันนี้อาจผันผวนช่วงท้ายตลาดจาก FTSE rebalancing ผลจากช่วงที่ผ่านมาหุ้นไทยเคลื่อนไหวแย่กว่าโลก ทำให้การปรับดัชนี (rebalancing) รอบนี้ หุ้นส่วนใหญ่ถูกลดระดับ (downgraded) ไปยังดัชนีระดับรองลงมา ส่งผลให้ภาพรวมเป็นการลดน้ำหนักหุ้นไทย โดย1) หุ้นขนาดใหญ่ (Large cap) ที่ถูกปรับลดลงมาดัชนีหุ้นกลาง (Mid cap) ได้แก่ CRC, EA, MINT, PTTGC, OR; 2) หุ้นกลางถูกปรับลงไปหุ้นเล็ก BLA โดยมี CPNREIT ถูกนำไปคำนวณเพิ่ม 3) หุ้นเล็ก ถูกปรับลงไปหุ้นเล็กมาก (Micro cap) ได้แก่ ITD กับ ORI; 4) หุ้นเข้าใหม่กลุ่มเล็กมาก (Micro cap) DITTO, FPT, FUTUREPF, ITD, ORI, RBF, SPRIME, SAPPE, SJWD, SYMC, CREDIT, WHART, WICE; 5) หุ้นที่หลุดจากดัชนีหุ้นเล็กมาก (Micro cap) ได้แก่ 2S, AJ, AMANAH, AMATAV, AS, B-WORK, CCET, CIMBT, CV, DEMCO, EP, GJS, GEL, MICRO, MILL, MONO, NCAP, PJW, POLY, PYLON, QHHR, S11, SABUY, SA, SCAP, STI, TRU, TWPC, THREL, TRC, UAC, ZEN
ภาพรวมกลยุทธ์ เลือกเก็งกำไรรายตัว และระวังแรงขายทำกำไรหุ้นธนาคารและสื่อสารหลังหมดระยะเวลาขอใบอนุญาต Virtual Bank (19 ก.ย.) ขณะที่ระวังแรงขายทำกำไรระยะสั้นกลุ่มคล้ายพันธบัตร อาทิ ไฟฟ้า รีทส์ หลังผลตอบแทนพันธบัตรสหรัฐฯ อาจดีดตัวจากภาวะขายมากเกิน แต่ภาพรวมการลดลงเป็นโอกาสสะสม// อาจเลือกหุ้นที่ผลประกอบการเข้าสู่ช่วง high season อย่างกลุ่มท่องเที่ยว และการแพทย์ เราชอบ AOT, ERW, CENTEL, SPA, VRANDA
แนวรับ: 1,425-1,445 / แนวต้าน : 1,490 จุด
สัดส่วนลงทุน: เงินสด 40% vs พอร์ตหุ้น 60%
หุ้นแนะนำ (* หมายถึง หุ้นทางกลยุทธ์ นักลงทุนควรพิจารณาตั้งจุดตัดขาดทุน 3-5% ของราคาเข้าซื้อ)
• SCGP* (31) : ผลการดำเนินงานเข้า high season ไตรมาส 3 ขณะที่การเข้าซื้อบริษัทบรรจุภัณฑ์ในอินโดนีเซียที่ยังขาดทุน มีแนวโน้มทยอยดีขึ้นในครึ่งปีหลัง ตัดขาดทุน 26.50 บาท
• AWC* (4.50) : ผลการดำเนินงานไตรมาส 3-4 ได้อานิสงค์จากปัจจัยด้านฤดูกาล ขณะที่บริษัทแสดงความสนใจเข้าร่วมประมูล Entertainment complex ตัดขาดทุน 3.60 บาท
• VRANDA* (7) : ผลการดำเนินงานปีนี้ turnaround ได้แรงหนุนจากนักท่องเที่ยวที่เพิ่มขึ้น การไม่มีขาดทุนของธุรกิจอาหาร และการโอนโครงการอสังหาฯ ตัดขาดทุน 5.30 บาท
• SAMART* (8) : ผลการดำเนินงานผ่านจุดต่ำสุดไปแล้ว และคาดฟื้นตัวต่อเนื่อง จากการกลับมาของรายจ่ายภาครัฐฯ และการลงทุนด้าน IT/AI ตัดขาดทุน 6.60 บาท
ประเด็นที่น่าสนใจ
- BoE ประกาศคงดอกเบี้ยที่ 5% ตามคาด
- เงินเฟ้อยูโรโซนชะลอตัวลง แตะ 2.2% ในเดือนส.ค. ตามคาด
- "เยลเลน" ชี้เฟดหั่นดอกเบี้ย 0.50% ส่งสัญญาณบวกต่อเศรษฐกิจ
- สหรัฐเผยตัวเลขผู้ขอสวัสดิการว่างงานต่ำกว่าคาด%
- ศูนย์ข้อมูลอสังหาฯ เผยครึ่งปีแรกต่างชาติยังซื้อต่อเนื่องทดแทนในประเทศชะลอ จีน-เมียนมา-รัสเซียขึ้น Top 3
- แหล่งข่าวเผย BTS-BBL จับมือกลุ่ม Shopee-สหพัฒน์-ไปรษณีย์ไทย ยื่นชิง Virtual Bank
- OR เปิดพอร์ตลงทุนเข้าถือหุ้น 20% ร่วม KTB-GULF ลุย Virtual Bank
- กบข. ไม่ลงทุนเพิ่มใน "วายุภักษ์ หนึ่ง" เผยยื่นไถ่ถอนหน่วยลงทุนแล้ว
- TISCO แนะนำ ถือ เป้า 98 บาท
ปัจจัยที่ต้องติดตาม
23 ก.ย. – TH New Car Sales (Aug)
25 ก.ย. – TH Exports (Aug)