วิเคราะห์แนวโน้มตลาด : บล.กรุงไทย เอ็กซ์สปริง BoJ Meeting & FTSE Rebalance
ทางเทคนิค คาด SET Index ปรับตัวสูงขึ้น แนวต้าน 1,460/1,470 จุด แนวรับ 1,446/1,439 จุด ภาพระยะกลางอยู่ในรูปแบบ Sideways กรอบใหญ่ 1,274-1,696 จุด โดยมีแนวต้านสาคัญที่ 1,489 จุด (EMA 50 เดือน)
ส่วนในระยะสั้น เคลื่อนไหวในทิศทางขาขึ้นต่อเนื่อง ผ่านการทำ Higher High, Higher Low เป็นวันที่ 6 และสร้างจุดสูงสุดใหม่รอบ 11 เดือน นับตั้งแต่วันที่ 6 ต.ค. 2023 โดยมีเป้าหมายใหญ่ที่ 1,470/1,489 จุด เรา แนะนำ เลือกเก็งกำไรเป็นรายตัว อิงโมเมนตัมบวกจากกองทุนวายุภักษ์เป็นปัจจัยสนับสนุน
ประเด็น Event สำคัญวันนี้
TH: การเปิดขายหน่วยลงทุนประเภท ก ให้กับนักลงทุนทั่วไประหว่างวันที่ 16-20 ก.ย. (ประกาศการจัดสรรในวันที่ 25 ก.ย.)
TH อัตราค่าจ้างขั้นต่ำ: ปลัดกระทรวงแรงงาน นัดประชุมคณะกรรมการค่าจ้าง (บอร์ดค่าจ้าง) อีกครั้งวันนี้ โดยมีข้อเสนอปรับขึ้นอัตราค่าจ้าง 400 บาท สำหรับ 77 จังหวัดทั่วประเทศ หลังจากกลุ่มคณะกรรมการนายจ้าง ไม่ได้เข้าร่วมประชุมเมื่อวันจันทร์ที่ผ่านมา
FTSE Rebalance Index มีผลต่อราคาปิดในวันที่ 6 ก.ย.: คาดส่งผลเชิงลบต่อหุ้นที่ถูกถอดหุ้นออกจากการคำนวณดัชนี ใน FTSE Large Cap และส่งผลลบทางอ้อมต่อตลาดหุ้นไทยช่วงปลายตลาด
ตัวเลขเศรษฐกิจสำคัญ
JP: BoJ Meeting โดยตลาดคาดมีมติคงดอกเบี้ยนโยบายที่ระดับเดิม 0.25% แต่ส่งสัญญาณสนับสนุนปรับขึ้นดอกเบี้ยต่อเนื่องในอนาคต (Trading Economics คาดปรับขึ้นดอกเบี้ยอีกครั้งในการประชุมเดือน มี.ค. 2025 อีก 15 bps เป็น 0.4%) โดยคงคาดการณ์เงินเฟ้ออยู่ที่ 2% สาหรับ FY2025 และ FY2026 ส่วน Core Inflation Rate คาดลดลงมาที่ 2.5%YoY ใน FY2024 ส่วนการเติบโต 2024E GDP คาดเติบโต 0.6% และปรับขึ้นเป็น 1.0% ใน FY2025 และ FY2026 ขณะที่ KTX คาดแม้ข้อมูลเศรษฐกิจจะเอื้อให้ BoJ ปรับขึ้นดอกเบี้ย แต่ Consensus ยังคงคาดการณ์ BoJ จะมีมติคงดอกเบี้ยในการประชุมสัปดาห์นี้ ภาวะเศรษฐกิจญี่ปุ่นเริ่มมีสัญญาณฟื้นตัว อิง GDP Growth Annualized 2Q24 ที่กลับมาขยายตัว 2.9% YoY (Vs 1Q24 -2.4% YoY) จากแรงหนุนของการบริโภคภาคเอกชนที่กลับมาเร่งขึ้นตามค่าจ้างที่ปรับตัวสูงขึ้น
หนุนการเร่งตัวของเงินเฟ้ออุปสงค์ที่แฝงอยู่ในอัตราเงินเฟ้อพื้นฐาน(Core CPI) อิง Consensus คาดเร่งตัวขึ้นต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 5 มาที่ 2.8% YoY และเงินเฟ้อทั่วไปที่ 3.0% YoY ในเดือน ส.ค. (ประกาศวันที่ 20 ก.ย.) สูงกว่าเงินเฟ้อเป้าหมายที่ 2.0% YoY กดดันให้อัตราดอกเบี้ยแท้จริงอยู่ในระดับต่ำถึง -2.75% มีนัยถึงระดับอัตราดอกเบี้ยนโยบายปัจจุบันสนับสนุนการเร่งตัวของเงินเฟ้อมากเกินไป เอื้อให้ BoJ ดำเนินนโยบายเข้มงวด (ขึ้นอัตราดอกเบี้ย, ลดระดับการสนับสนุนทางการเงิน) เพิ่มขึ้นในอนาคต อย่างไรก็ตาม Consensus ยังคงคาดการณ์ BoJ จะคงอัตราดอกเบี้ยนโยบายไว้ที่เดิม (0.25%) ในการประชุมวันที่ 20 ก.ย. 2024
CN: Loan Prime Rate ประเภท 1 ปี และ 5 ปี คาดคงดอกเบี้ยที่ระดับเดิม 3.35% และ 3.85% ตามลำดับ โดย Trading Economics คาด PBOC จะปรับลดดอกเบี้ยอีก 20 bps เป็น 3.15% และ 3.65% ในเดือน ธ.ค. 2024 เพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจ
หุ้นแนะนำ: หุ้นที่มีประเด็นบวก WHART SPALI TTB
Strategicdaily picks
WHART ปิด 10.60 บาท/แนวรับ 10.30 บาท แนวต้าน 11.20 บาท
กำไรจากการลงทุนสุทธิใน 1H24 (-3% YoY เป็น 1.3 พันล้านบาท) คิดเป็น 50% ของประมาณการกำไรทั้งปี 2024 ที่ 2.6 พันล้านบาท (ทรงตัว YoY) โดยคาดการเจรจาสัญญาเช่ากับผู้เช่ารายใหม่ (ประมาณ 7%) จะผลักดันให้อัตราการเช่าพื้นที่เร่งตัวขึ้นไปสู่ประมาณการของ KTX ที่ 88% ได้ใน 2H24E ทั้งนี้ KTX ประเมินมูลค่าเหมาะสม 12M FWD ที่ 10.00 บาท (Bloomberg Consensus ประเมินที่ 11.10 บาท)
SPALI ปิด 20.20 บาท/แนวรับ 19.50 บาท แนวต้าน 21.10 บาท
SPALI คาดยอดโอนกรรมสิทธิ์ในช่วง 2H24 จะดีกว่า 1H24 เนื่องจากจะมีการส่งมอบโครงการคอนโดมิเนียมมากขึ้น รวมถึงโครงการแนวราบที่จะเริ่มทยอยโอนกรรมสิทธิ์เช่นเดียวกัน ส่วนแผนการลงทุนซื้อ JV เพิ่มใหม่ 12 โครงการในออสเตรเลีย ล่าสุดเซ็นสัญญากับ Stockland Communities Partnership (บริษัทย่อยของ Stockland Corp) คาดจะได้ข้อสรุปใน 3Q24 หรือต้น 4Q24 ทั้งนี้ Bloomberg Consensus ประมาณการกำไรสุทธิ 3Q24 ที่ 1.93 พันล้านบาท (+61.75% YoY) และมูลค่าเหมาะสม 20.29 บาท
TTB ปิด 1.91 บาท/แนวรับ 1.84 บาท แนวต้าน 2.06 บาท
KTX คาดกำไรของ TTB จะเติบโตปีละ 7% ในช่วงปี 2024-26E โดยมีปัจจัยหนุนจาก 1) อัตราผลตอบแทนจากดอกเบี้ยสุทธิ (NIM) ทรงตัวที่ระดับ 3.3% 2) การตั้งสำรองคาดว่าจะลดลงอยู่ที่ 1.40-1.55% อย่างไรก็ตาม KTX คาดการเติบโตของพอร์ตสินเชื่อจะหดตัวราว 3% ในปี 2024E ก่อนจะกลับมาขยายตัว 1-2% ในปี 2025-26E ทั้งนี้ KTX ประเมินมูลค่าเหมาะสม 12M FWD ที่ 2.10 บาท