วิเคราะห์แนวโน้มตลาด : บล.ยูโอบี เคย์ เฮียนฯ การเก็งกำไรให้น้ำหนักกับผลประกอบการมากขึ้น
สหรัฐฯ ญี่ปุ่นมีแรงทำกำไร ขณะจับตาการแถลงนโยบายกระตุ้นเศรษฐกิจเพิ่มเติมจากทางจีน หุ้นสหรัฐฯ และญี่ปุ่นเริ่มมีแรงขายทำกำไรสลับ โดยมีปัจจัยมาจาก
1) อัตราผลตอบแทนพันธบัตรสหรัฐฯ อายุ 10 ปี ที่ปรับขึ้นเกิน 4% หลังนักลงทุนมองตัวเลขการจ้างงานที่แข็งแกร่งที่ประกาศไปเมื่อวันศุกร์จะทำให้การปรับลดดอกเบี้ยของสหรัฐฯ เกิดในอัตราที่ช้าลง โดยมุมมองของนักลงทุนที่ประเมินผ่าน FedWatch Tool ให้น้ำหนัก 86% ที่เฟดจะปรับลดดอกเบี้ยเพียง 0.25% ในการประชุม พ.ย.นี้ 2) ราคาน้ำมันดิบที่เริ่มกลับมาปรับเพิ่มขึ้น จากสถานการณ์ในตะวันออกกลาง // วันนี้ติดตามการแถลงข่าวของ คณะกรรมการพัฒนาและปฏิรูปแห่งชาติจีน (NDRC) ในเวลา 10.00 น. (เวลาไทย 9.00 น.) ว่าจะมีมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจเพิ่มเติมที่ทำให้ตลาดตื่นเต้นหรือไม่
การเก็งกำไรจากนี้จะเริ่มมีน้ำหนักของผลประกอบการมากขึ้น ในช่วง ก.ย.ที่ผ่านมา ตลาดมีแรงเก็งกำไรเชิงบวกจากหลายปัจจัย อย่างไรก็ตามเมื่อเข้าสู่ ต.ค. ซึ่งเป็นช่วงใกล้ประกาศผลประกอบการ จะทำให้บรรยากาศเก็งกำไรในหลายกลุ่มชะลอตัวเพื่อลดความเสี่ยง ขณะที่นักลงทุนรอดูพัฒนาการของผลประกอบการเมื่อเทียบกับราคาหุ้นที่ปรับขึ้นแรงในช่วงที่ผ่านมา ทำให้จำเป็นต้องให้น้ำหนักกับผลประกอบการในการเข้าลงทุนหรือเก็งกำไรช่วงนี้มากขึ้น โดยกลุ่มแรงกที่จะประกาศผลประกอบการในช่วง 2 สัปดาห์หน้า ได้แก่ กลุ่มธนาคารพาณิชย์ ซึ่งเราคาดจะรายงานกำไรไตรมาส 3/67 ที่ 5.14 หมื่นล้านบาท -4% QoQ แต่ +2% YoY ทั้งนี้แรงหนุนสำคัญในช่วง 1-2 ไตรมาสหน้า ยังมาจาก การตั้งสำรองที่ลดลง และต้นทุนสินเชื่อที่คาดว่าจะปรับลดลงต่อเนื่อง โดยธนาคารที่คาดจะรายงานกำไร +YoY ได้แก่ KBANK, KTB, TTB ทั้งนี้เราให้น้ำหนักการลงทุนที่มากกว่าตลาด (Overweight) โดยมีหุ้นเด่นคือ BBL, KBANK และ KTB
ภาพรวมกลยุทธ์ “แกว่งตัวในกรอบ 1,445-1,465 จุด เก็งกำไรหุ้นขนาดกลาง-เล็ก สะสมหุ้นที่เข้าสู่ช่วง high season อย่างกลุ่มท่องเที่ยว การแพทย์ อาหารสัตว์เลี้ยงเราชอบ AOT, ERW, CENTEL, SPA, VRANDA, BCH, BDMS, ITC //หุ้นได้แประโยชน์ Data center: WHA, INSET, ITEL, MFEC, AIT, ICN // หุ้นต่ำมูลค่าทางบัญชี FLOYD, IND
แนวรับ: 1,445 / แนวต้าน : 1,465 จุด
สัดส่วนลงทุน: เงินสด 40% vs พอร์ตหุ้น 60%
หุ้นแนะนำ (* หมายถึง หุ้นทางกลยุทธ์ นักลงทุนควรพิจารณาตั้งจุดตัดขาดทุน 3-5% ของราคาเข้าซื้อ)
• BTG* (24) : กำไรไตรมาส 3/67 คาดฟื้นตัวต่อเนื่อง และเป็น Laggards play ในกลุ่มอาหาร ตัดขาดทุน 21.90 บาท
• SAMART* (8) : ผลการดำเนินงานได้แรงหนุนจากการใช้จ่ายภาครัฐฯ และการได้รับโครงการใหม่ๆ ราคาปัจจุบันต่ำกว่า NAV ที่ 8-10 บาท ตัดขาดทุน 6.90 บาท
• TFG* (5) : ผลการดำเนินงานไตรมาส 3/67 แข็งแกร่ง ขณะที่ไตรมาส 4/67 คาดได้แรงหนุนจากกำลังซื้อที่เพิ่มจากมาตรการการแจกเงิน ตัดขาดทุน 4.08 บาท
• VRANDA* (7) : ผลการดำเนินงานผ่านจุดต่ำสุดไปแล้วในไตรมาส 2/67 ธุรกิจโรงแรมดีขึ้นในช่วงไตรมาส 3/67 ขณะที่การโอนอสังหาริมทรัพย์จะเป็นตัวช่วยผลักดันกำไรช่วงไตรมาส 4/ ตัดขาดทุน 5.15 บาท
ประเด็นที่น่าสนใจ
- พาณิชย์เผย เงินเฟ้อ ก.ย. ขยายตัว 0.61% ลดเป้าทั้งปีเป็น 0.2-0.8%
- EU เคาะแล้ว เตรียมขึ้น ภาษีรถยนต์ไฟฟ้าจีน 45% จ่อบังคับใช้ 5 ปี
- คาดสหรัฐเผยดัชนี CPI +2.3% เดือนก.ย. ชะลอตัวจากเดือนส.ค.
- AEONTS กำไร Q2 ที่ 822 ลบ.ลดลง 2.4% ปันผล 2.55 บาท/หุ้น
- EGCO พร้อมยื่นโซลาร์กว่า 10 โครงการชิงเค้ก RE Big Lot ขายไฟพลังงานหมุนเวียนรอบ 2
- OKJ เผยฟาร์มผักสารภีถูกน้ำท่วมแค่แห่งเดียวในเชียงใหม่ไม่กระทบต่อผลดำเนินงาน
- SJWD รุกโลจิสติกส์โซลูชันสินค้าควบคุมอุณหภูมิทั่วอาเซียนวาง 4 กลยุทธ์ปักหมุดทำเลศักยภาพสูง
- AEONTS แนะนำ “ถือ” เป้า 150 บาท
ปัจจัยที่ต้องติดตาม
10 ต.ค. – FOMC Minutes/ US CPI (Sep)