วิเคราะห์ตลาด Quantamental : บล.เคจีไอฯ Valuation หุ้นไทยถูก แม้จะถูกปรับลดประมาณการฯลง
ดัชนี SET Index เดือน พ.ย. ย่อทดสอบแนวรับที่เราประเมินไว้ บริเวณ +/- 1,420 จุด หรือลดลง -2.7% MoM จากแรงขายทำกำไรต่อเนื่องจากเดือน ต.ค. หลังจากขึ้นไปทดสอบแนวต้านสำคัญ +/- 1,500 จุด
ปัจจัยพื้นฐานของตลาดหุ้นไทยอ่อนแอลง หลังจากที่นักวิเคราะห์ส่วนใหญ่ทำการปรับลดประมาณการ EPS ของ SET Index ลง -2.4% MoM ซึ่งเป็นการปรับลดประมาณการฯต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 7 ติดต่อกัน อย่างไรก็ดีแนวโน้มขาลงของอัตราผลตอบแทนพันธบัตรช่วยจำกัด Downside และหนุน Valuation ของตลาดหุ้นไทยให้ยังมีความน่าสนใจ
Value factor: ตลาดหุ้นยังถูกกว่าพันธบัตร
i) Modified yield gap (M-yield gap): M-yield gap ณ สิ้นเดือน พ.ย. อยทูี่ +1.15 จุด เพิ่มขึ้นจาก +0.30 จุด ในเดือนก่อนหน้า ซึ่งสะท้อนว่ามูลค่าของตลาดหุ้นยังคงถูกกว่าตลาดพันธบัตรในประเทศ นักวิเคราะห์ได้ปรับลดการคาดการณ์กำไรของหุ้นส่วนใหญ่ ส่งผลให้ EPS ของดัชนี SET ลดลง -2.4% ซึ่งเป็นแรงกดดันหลักต่อความเชื่อมั่นการลงทุนในเดือน พ.ย. อย่างไรก็ตาม อัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลลดลงอย่างรวดเร็ว โดยเฉพาะในสัปดาห์สุดท้ายของเดือน ทำให้มูลค่าของตลาดหุ้นไทยยังคงน่าสนใจในเชิงเปรียบเทียบ ทั้งนี้ การคาดการณ์กำไรของนักวิเคราะห์มักมีแนวโน้มมองในแง่ดีเกินไปในช่วงต้นปีเราจึงคาดว่า M-yield gap จะเพิ่มสูงขึ้นเมื่อเปลี่ยนการคำนวณเป็นประมาณการกำไรปี 2568 ขณะที่แนวโน้มอัตราดอกเบี้ยน่าจะเคลื่อนไหวทรงตัวหรือลดลงเล็กน้อย
ii) Implied equity risk premium (iERP): iERP ของตลาดหุ้นไทยอยทูี่ 3.93% ซึ่งเปลี่ยนแปลงเล็กน้อย
จากเดือนก่อนหน้าและต่ำกว่าค่าเฉลี่ยระยะยาวที่ 4.3% อัตราส่วนระหว่าง iERP และอัตราดอกเบี้ยไร้ความเสี่ยงอยทูี่ 1.67 เท่า ซึ่งยังสูงกว่าค่าเฉลี่ยระยะยาวที่ 1.48 เท่า เราคาดว่าแนวโน้มอัตราดอกเบี้ยที่ลดลงจะสนับสนุนอัตราส่วนดังกล่าว เพิ่มความน่าสนใจในการลงทุนในตลาดหุ้นในระยะสั้น
iii) Cyclical adjusted PE (CAPE): อัตราส่วน CAPE ปัจจุบันอยทูี่ 17.2 เท่า ซึ่งยังต่า กว่าค่าเฉลี่ยระยะ
ยาวตั้งแต่ปี 2010 (วิกฤตแฮมเบอร์เกอร์) ที่ 19.3 เท่า นอกจากนี้ Excess CAPE Yield (ECY) หรือส่วนต่าง
ระหว่าง 1/CAPE และผลตอบแทนพันธบัตรอยทูี่ 3.6% โดยเรามองว่าผลตอบแทนพันธบัตรมีโอกาสลดลงในช่วงที่เหลือของปี ขณะที่ ECY ของตลาดสหรัฐฯ อยทูี่เพียง 1.2% ซึ่งเป็นระดับต่า ที่สุดตั้งแต่เดือน ก.ย. 2561 อย่างไรก็ตาม ความกังวลหลักคือผลกระทบจากนโยบายเศรษฐกิจของประธานาธิบดีสหรัฐฯ คนที่ 47 โดยตัวอย่างจากการบริหารงานของทรัมป์ (2560-2564) แสดงให้เห็นว่าการลดภาษีนิติบุคคลส่งผลบวกอย่างมากต่อกาไรของบริษัทในสหรัฐฯ และพลิกโฉมตลาดอย่างชัดเจน นโยบายลักษณะนี้ เช่น การทำสงครามการค้าและการปฏิรูปภาษี อาจส่งผลกระทบต่อปัจจัยของโมเดล ECY แม้ว่าการประเมินจากข้อมูลปัจจุบันตลาดหุ้นไทยจะดูน่าสนใจกว่าตลาดหุ้นสหรัฐฯก็ตาม
ความสนใจขายชอร์ตอยู่ในระดับต่ำ ชี้ถึงความเสี่ยงขาลงที่จำกัด
ดัชนี Aggregate Short Interest (ASI) ซึ่งเป็นค่าเฉลี่ยของหุ้นที่ถูกชอร์ตผ่านธุรกิจ SBL มีการเคลื่อนไหว
ทรงตัวในระดับต่ำ ตลอดเดือน พ.ย. และลดลงอย่างชัดเจนในสัปดาห์ล่าสุด ซึ่งสะท้อนว่า Informed
traders ได้ทำการปิดสถานะการขายชอร์ตและไม่ได้เพิ่มสถานะการขายชอร์ต ขณะเดียวกัน ดัชนี
Aggregate Investor Allocation to Equity Index (AIAE) ลดลงเหลือ 28.5 จุด (จาก 29.2 จุดในเดือนก่อน)
ชี้ว่านักลงทุนจัดสรรเงินลงทุนในหุ้นเพียง 28.5% ของเงินทั้งหมด ซึ่งต่ำกว่าค่าเฉลี่ย 10 ปีที่ 32.5%
คงน้ำหนักการลงทุนในหุ้น หรือซื้อในจังหวะย่อตัว (ถ้ามี)
แม้ว่าตัวชี้วัดมูลค่าปัจจุบันจะยังน่าสนใจ เราคงมุมมองระมัดระวังต่อโอกาสขาขึ้นของตลาดหุ้นไทยความเสี่ยงจากนโยบายของประธานาธิบดีสหรัฐฯ คนที่ 47 ที่กำลังมาถึงอาจเปลี่ยนโฉมตลาดอย่างมีนัยสำคัญ โดยเฉพาะในด้านการค้าระหว่างประเทศและนโยบายภาษีนิติบุคคล เราแนะนำให้นักลงทุนคงน้ำหนักการลงทุนในหุ้นไทย หรือซื้อในจังหวะย่อตัวถ้ามีในเชิงเทคนิค ดัชนี SET index มีแนวรับอยู่ที่1,410 และ 1,400 จุด ขณะที่แนวต้านอยู่ที่ 1,440 – 1,460 จุด
เมื่อเดือนที่แล้ว พอร์ต 20 หุ้นเด่นของเราขาดทุน -1.7% อิงการคำนวณด้วยวิธี Equal weight แต่ให้ผลตอบแทน +1.7% อิงการคำนวณด้วยวิธี Market cap weight หุ้นเด่นสำหรับเดือน ธ.ค. สามารถดูได้ในรูปที่ 4