วิเคราะห์แนวโน้มตลาด : บล.กรุงไทย เอ็กซ์สปริง Weekly Strategy & รายงาน PMI Mfg & Service เบื้องต้นเดือน ธ.ค. ของ JP EU US
ทางเทคนิค คาด SET Index เคลื่อนไหว Sideways Down แนวรับ 1,425/1,421 จุด แนวต้าน 1,437/1,442 จุด (EMA 10 วัน) ภาพระยะกลางอยู่ในรูปแบบ Sideways กรอบใหญ่ 1,273-1,716 จุด
ส่วนแนวโน้มระยะสั้น ยังคงเคลื่อนไหวในรูปแบบสามเหลี่ยม เพื่อรอสัญญาณชี้นำว่าจะเปลี่ยนเป็นแนวโน้มขาขึ้นไปที่ 1,488 จุด (ต้องทะลุ 1,472 จุด) หรือเลือกอ่อนตัวมาที่ 1,421/1,410 จุด (หากหลุดแนวรับ 1,431 จุด) กลยุทธ์ลงทุนรายสัปดาห์ แนะนำ รอซื้อบริเวณต่ำกว่า 1,433 จุด
ประเด็น Event สำคัญวันนี้
- Germany ประชุมสภาฯ โดยฝ่ายค้านเตรียมยื่นญัตติไม่ไว้วางใจ Olaf Scholz และคาดว่าจะมีมติเห็นชอบ ทำให้ต้องมีการเลือกตั้งใหม่ภายใน 60 วัน (คาดเลือกตั้งวันที่ 23 ก.พ.)
- EU สุนทรพจน์ประธานอีซีบี Lagarde, และคณะกรรมการอีซีบี Gediminas Simkus จับตาสัญญาณดอกเบี้ยครั้งต่อไป
- SET สัปดาห์นี้จะประกาศรายชื่อบจ. คำนวณดัชนี SET50/SET100 Index งวด 1H2025 โดยใช้ข้อมูลตั้งแต่วันที่ 1 ธ.ค. 2023–29 พ.ย. 2024 (คาดประกาศต้นหรือกลางสัปดาห์) โดยคาดว่าจะเป็นบวก (ลบ) ต่อหุ้นที่ถูก เพิ่ม (ถอด) ออกจากการคำนวณ ได้แก่ 1. หุ้นถูกเพิ่มคำนวณ (Add) ใน SET50 Index ได้แก่ BANPU SAWAD COM7 CCET 2.หุ้นถูกเพิ่มคำนวณ (Add) ใน SET 100 Index ได้แก่ JTS CCET PR9 COCOCO 3. หุ้นถูกถอดออกจากการคำนวณ (Delete) ใน SET 50 Index ได้แก่ CENTEL BCP TIDLOR EA 4. หุ้นถูกถอดออกจากการคำนวณ (Delete) ใน SET 100 Index ได้แก่ MBK RBF TIPH TOA
ตัวเลขเศรษฐกิจสำคัญ
- JP EU US รายงานภาคการผลิต ภาคบริการ และภาครวมเบื้องต้นเดือน ธ.ค. โดย JP Jibun Bank คาดอยู่ที่ 49.5/51.4/50.2 ดีขึ้น เมื่อเทียบกับเดือน พ.ย. ที่ 49.0/50.5/50.1; EU HCOB คาดอยู่ที่ 45.4/50.7/49.5 ดีขึ้นเมื่อเทียบกับเดือน พ.ย. ที่ 45.2/49.5/48.3 ส่วน US S&P Global คาดอยู่ที่ 50/56/55 (Vs เดือน พ.ย. อยู่ที่ 49.7/56.1/54.9)
- China: รายงานตัวเลขเศรษฐกิจสำคัญเดือน พ.ย. คาดชะลอตัวลงเมื่อเทียบกับเดือน ต.ค. นำโดย Retail Sales คาด +4.6% YoY (Vs เดือน ต.ค. 4.8% YoY) House Price Index คาด –6%YoY (Vs เดือน ต.ค. -5.9% YoY) Industrial Production คาด +5.3% YoY (Vs เดือน ต.ค. 5.3% YoY) Fixed Asset Investment (YTD) คาด +3.5% YoY (Vs เดือน ต.ค. 3.4% YoY) และ Unemployment Rate อยู่ที่ 5.2% (Vs เดือน ต.ค. 5.0%)
Weekly Strategy: เริ่มเข้าซื้อแบบ Selective Buy
การประชุมธนาคารกลางสำคัญของโลกจะทำให้ทิศทางค่าเงินโลกโดยเฉพาะสกุล USD มีความผันผวนเพิ่มขึ้นในสัปดาห์นี้ (US FOMC Meeting อาจมีการปรับ DOT PLOT ใหม่ โดยคาดว่าจะปรับลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายลงเหลือเพียง 2 ครั้ง จากเดิม 4 ครั้ง ซึ่งจะเป็นปัจจัยหนุนค่าเงิน USD แข็งค่า) ขณะที่ BOJ Meeting ของญี่ปุ่น มีโอกาสปรับขึ้นดอกเบี้ย ซึ่งหากเป็นจริงคาดว่าจะหนุนการแข็งค่าของเงินสกุล JPY และกดดันค่าเงิน USD อ่อนค่า (แต่หากไม่ปรับขึ้นดอกเบี้ย ก็จะส่งผลต่อค่าเงินสกุล USD แข็งค่าเพิ่มขึ้น) ซึ่งคาดว่าจะส่งผลต่อกระแสเงินทุน Fund Flows ต่อตลาดหุ้นไทยมีความผันผวนมากขึ้น
ในทางตรงกันข้าม ปัจจัยภายในของไทยมีสัญญาณเชิงบวกมากขึ้น เป็นผลจาก 1) การ Re-rating valuation หลัง Bond yields ยังคงอยู่ในระดับต่ำ 2.30% 2) ประมาณการ Forward EPS 12 เดือนล่วงหน้า เริ่มมีสัญญาณฟื้นตัวกลับขึ้นมาที่ 96.75 บาท (เพิ่มขึ้น +0.1% WoW, +0.5% เมื่อเทียบจากจุดต่ำสุดของ 4Q24) (Figure 1) ทำให้ SET MRP ฟื้นตัวขึ้น 5 bps. มาที่ 4.40% เท่าค่าเฉลี่ย 90 วันที่ 4.39% (Figure 1) มีนัยถึง อัตราผลตอบแทนอยู่ในจุดที่คุ้มค่ากับความเสี่ยง แนะนำซื้อ ทั้งนี้ จุดซื้อ ของดัชนี SET ปรับตัวขึ้นมาที่ 1,445 จุด (Vs 1,433 จุด ในสัปดาห์ก่อน) โดยมีเป้าหมายในการทยอยขายเมื่อดัชนีขึ้นมาในกรอบ 1,499-1,555 จุด
Strategic daily picks
BDMS ปิด 24.50 บาท/แนวรับ 24.00 บาท แนวต้าน 26.25 บาท
ราคาหุ้นปรับฐานลงมาแล้ว 21% (นับจากจุดสูงสุดของ 3Q24) สวนทาง 12M FWD EPS (Consensus) ที่ยังปรับขึ้นต่อเนื่อง +0.2% WoW, +1.4% QTD จนทำให้ ERP ขยายตัวขึ้นแรง มาที่ 2.0% สูงกว่าค่าเฉลี่ย (1.4%) เกิน +2 S.D. บ่งชี้ราคาหุ้นต่ำเกินไป (Oversold) เป็นโอกาสเก็งกำไร (Bloomberg Consensus ประเมินมูลค่าเหมาะสม 35.00 บาท)
CPN ปิด 57.50 บาท/แนวรับ 55.50 บาท แนวต้าน 59.25 บาท
ราคาหุ้นปรับลดลงมาแล้ว 16% จากจุดสูงสุดของ 3Q24 รับปัจจัยลบจากนักท่องเที่ยวที่แนวโน้มอ่อนแอกว่าคาด (ณ 1 ธ.ค. 2024 อยู่ที่ 32 ล้านคน Vs ธปท. คาด 36 ล้านคน) ขณะที่มีปัจจัยหนุนจากการกระตุ้นท่องเที่ยวในช่วง High season (4Q24) อาทิ Thailand Winter Festivals 2024, Amazing Thailand Countdown 2024 หนุนการฟื้นตัวของกำไร ทั้งนี้ ประมาณการ EPS ปรับตัวขึ้น 0.2 %WoW, 2.4% QTD จน ERP เร่งตัวขึ้นมาที่ 4.37% สูงกว่าค่าเฉลี่ยที่ 3.78% (Bloomberg Consensus ประเมินมูลค่าเหมาะสม 79.50 บาท)
MTC ปิด 50.00 บาท/แนวรับ 48.50 บาท แนวต้าน 51.50 บาท
KTX คาดกำไรเติบโตเฉลี่ย 19% ต่อปี ในช่วงปี 2024-26E จากการขยายพอร์ตสินเชื่อและแนวโน้มต้นทุนความเสี่ยงด้านเครดิตที่ลดลง โดยมีปัจจัยหนุนจาก 1) สินเชื่อเติบโตดีที่สุดในกลุ่ม 2) คุณภาพสินทรัพย์ฟื้นตัวต่อเนื่องจากมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจของภาครัฐหนุน collection ดีขึ้น และ 3) แรงกดดันต้นทุนทางการเงินลดลง หลังได้รับเครดิตเรตติ้ง A- (tha) จาก Fitch ช่วยลดต้นทุนการออกหุ้นกู้ใหม่ได้ในอนาคต ทั้งนี้ ประมาณการ EPS ปรับตัวขึ้น 0.4% WoW, 3.6% QTD จน ERP เร่งตัวขึ้นมาที่ 4.34% สูงกว่าค่าเฉลี่ยที่ 4.17% (KTX ประเมินมูลค่าเหมาะสม 66.00 บาท)