วิเคราะห์แนวโน้มตลาด : บล.ยูโอบี เคย์ เฮียนฯ มีมุมมองเชิงบวกต่อการลงทุนปี 68 แม้อาจผันผวนช่วงต้นม.ค.

วิเคราะห์แนวโน้มตลาด : บล.ยูโอบี เคย์ เฮียนฯ มีมุมมองเชิงบวกต่อการลงทุนปี 68 แม้อาจผันผวนช่วงต้นม.ค.

มีมุมมองเชิงบวกต่อแนวโน้มการลงทุนครึ่งแรกปี 2568 โดยมีปัจจัยสนับสนุนที่สำคัญมาจาก 1) การเติบโตทางเศรษฐกิจปี 2568 มีแนวโน้มสมดุลมากขึ้น 2) นโยบายภาครัฐ สนับสนุนการฟื้นตัวของกิจกรรมทางเศรษฐกิจ โดยเฉพาะการบริโภค

3) วัฏจักรดอกเบี้ยโลกที่เป็นขาลง ช่วยลดแรงกดดันต้นทุนทางการเงิน และ 4) ประเทศไทยเริ่มเข้าสู่วัฏจักรการลงทุนรอบใหม่ ที่ผลักดันผ่านการย้ายฐานการผลิต, การลงทุนใน Data center และการพัฒนา Entertainment complex // เราให้เป้าหมายดัชนีที่ 1,585 จุด อิง PER 16 เท่า และคาดการณ์กำไรต่อหุ้น (EPS) ที่ 99 บาท คิดเป็นการเติบโต 11% โดยมีหุ้นเด่นคือ KBANK, MTC, AMATA, TRUE, CPALL, CPN, CK, AOT, KTC, RATCH

LTF / ภาวะการณ์คลังสหรัฐฯ / นโยบายของผู้นำใหม่สหรัฐฯ อาจกดดันตลาดช่วง ม.ค.: ตลาดหุ้นไทยช่วงม.ค.อาจเผชิญความผันผวน ซึ่งเรามองเป็นโอกาสซื้อ โดยปัจจัยติดตามที่สำคัญมีดังนี้  1) แรงขายจากการครบกำหนดถือลงทุน 7 ปีของ LTF ที่ลงทุนในช่วงปี 2018-19 ซึ่งมีเม็ดเงินลงทุนรวมราว 1.5 แสนล้าน อย่างไรก็ตามการต้องถือครบระยะเวลาตามปีปฏิทิน ทำให้แรงขายน่าจะเป็นลักษณะทยอยขาย ซึ่งอาจทำให้ผันผวน แต่น่าจะไม่กระทบรุนแรงต่อตลาด 2) ปัญหาเพดานหนี้สหรัฐฯ ที่จะถึงขีดจำกัดภายใน 14-23 ม.ค.25 อย่างไรก็ตามรัฐบาลสหรัฐฯ ยังอาจใช้มาตรการพิเศษเพื่อขยายเวลาถึงขีดจำกัดดังกล่าวไปอีกระยะ และ 3) การเปลี่ยนแปลงนโยบายเศรษฐกิจและการค้าของสหรัฐฯ เนื่องจากการเปลี่ยนผู้นำ ซึ่งโดนัลด์ ทรัมป์ มีกำหนดสาบานตนรับตำแหน่ง 20 ม.ค.25 // อย่างไรก็ตาม ผลการดำเนินงานที่น่าจะแข็งแกร่ง เริ่มโดยกลุ่มธนาคาร คาดจะเป็นปัจจัยทำให้ตลาดเริ่มเคลื่อนไหวมีทิศทาง   

ภาพรวมกลยุทธ์ ความผันผวนช่วงม.ค.เป็นโอกาสในการซื้อ โดยยังมองกลุ่ม Earnings momentum play ใน 4Q67-1Q68 มีความน่าสนใจ โดยเราชอบ หุ้นในกลุ่มท่องเที่ยว, การแพทย์, ค้าปลีก และอาหาร ขณะที่คาดธนาคาร และการเงิน จะเป็นกลุ่มช่วยประคองบรรยากาศรวม 

แนวรับ: 1,390   แนวต้าน : 1,420 จุด

สัดส่วนลงทุน: เงินสด 40% vs พอร์ตหุ้น 60%

 

 

หุ้นแนะนำ  (* หมายถึง หุ้นทางกลยุทธ์ นักลงทุนควรพิจารณาตั้งจุดตัดขาดทุน 3-5% ของราคาเข้าซื้อ)

•    BLA* (23.50): ผลตอบแทนพันธบัตรที่ทรงตัวในระดับสูงเป็นบวกต่อการเติบโตของผลประกอบการ ขณะที่หุ้นซื้อขายด้วย PER เพียง 11.62 เท่า ตัดขาดทุน 19.80 บาท
•    SNNP (14) : ราคาปรับลดลงจนซื้อขายด้วย PER เพียง 18 เท่า ขณะที่ต้นทุนการผลิตปีหน้ามีแนวโน้มปรับลงลง หนุนหุ้นมีโอกาสฟื้นตัว  ตัดขาดทุน 11.30 บาท
•    BTG (21) : คาดกำไร 4Q67F เพิ่มขึ้นทั้ง qoq และ yoy จากต้นทุนการผลิตที่ปรับลดลง ส่งผลให้อัตรากำไรยังปรับดีขึเนต่อเนื่อง ตัดขาดทุน 17.50 บาท
•    MEB* (29): คาดผลการดำเนินงานใน 4Q67F แข็งแกร่ง จากการเข้าสู่ช่วง High season และปีหน้าได้แรงส่งจาก Easy E-Receipt ตัดขาดทุน 24 บาท  

ประเด็นที่น่าสนใจ 

-    ต่างชาติท่องเที่ยวไทยปี 67 ทะลุ 35 ล้าน จีนครองแชมป์ ไทยเที่ยวไทย 197 ล้านคน/ครั้ง
-    30 บาทรักษาทุกที่ ทั่วไทยแล้ว จ่ายเงินหน่วยเอกชน ทุกวันพุธ
-    สี จิ้นผิง” มั่นใจ GDP จีนโต 5% ปีนี้ สั่งจนท.เร่งใช้มาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจเชิงรุก
-    อินโดฯ ขึ้น VAT สินค้าหรูเป็น 12% หวังกระตุ้นเศรษฐกิจ ย้ำไม่กระทบสินค้าจำเป็น
-    ศาลเกาหลีใต้ไฟเขียวออกหมายจับ “ยุน ซอกยอล” หลังปฏิเสธหมายเรียกสามครั้ง
-    เกาหลีใต้ส่งออกทะยานทำสถิติใหม่ในปี 2567 รับดีมานด์เซมิคอนดักเตอร์
-    ก.ล.ต.-ThaiBMA ร่วมปรับปรุงข้อกำหนดสิทธิผู้ออกหุ้นกู้-ผู้ถือหุ้นกู้ เริ่มใช้ 1 เม.ย.68
-    MEDEZE พุ่ง 7.64% หลัง สธ.ประกาศยอมรับสเต็มเซลล์เป็นยาภายใต้ ATMPs แพทย์สภายันไม่ขวาง
-    บทวิเคราะห์วันนี้ : แนะนำ OVERWEIGHT กลุ่มธนาคาร

ปัจจัยที่ต้องติดตาม

2 ม.ค. – Initial Jobless Claims 
3 ม.ค. – US ISM Manufacturing PMI
6 ม.ค. – TH CPI
7 ม.ค. – EU CPI, US Exports, ISM Service PMI, JOLTs Job Openings 
8 ม.ค. – FOMC Minutes

 

 

 

วิเคราะห์แนวโน้มตลาด : บล.ยูโอบี เคย์ เฮียนฯ มีมุมมองเชิงบวกต่อการลงทุนปี 68 แม้อาจผันผวนช่วงต้นม.ค. วิเคราะห์แนวโน้มตลาด : บล.ยูโอบี เคย์ เฮียนฯ มีมุมมองเชิงบวกต่อการลงทุนปี 68 แม้อาจผันผวนช่วงต้นม.ค.