วิเคราะห์แนวโน้มตลาด : บล.กรุงไทย เอ็กซ์สปริง ลุ้นตัวเลข ภาคบริการ & จ้างงาน JOLT’s Job Opening ของสหรัฐฯ
ทางเทคนิค คาด SET Index เคลื่อนไหว Sideways Down แนวรับ 1,366/1,360 จุด แนวต้าน 1,379/1,385 จุด ภาพระยะกลางอยู่ในรูปแบบ Sideways กรอบใหญ่ 1,273-1,716 จุด
ส่วนแนวโน้มระยะสั้นยังคงอยู่ในอิทธิพลของรูปแบบขาลง Rounding Top (U คว่ำ) โดยมีเป้าหมายลุ้น รีบาวนด์ที่ 1,360 จุด สำหรับกลยุทธ์รายสัปดาห์ แนะนำ ซื้อ อิงอัตราผลตอบแทนจากการลงทุนในตลาดยังคงน่าสนใจ โดยเฉพาะกลุ่มธนาคารและกลุ่มประกัน
ประเด็น Event สำคัญวันนี้
US สุนทรพจน์ของ Fed Richmond Thomas Barkin (Non Voter) จับตาสัญญาณแนวโน้มดอกเบี้ยเฟด
US NVIDIA CEO นาย Jensen Huang มีสุนทรพจน์ในงานเทคโนโลยี CES2025 ที่ลาสเวกัส คาดเป็นโมเมนตั้มบวกต่อราคาหุ้นกลุ่มเทคฯวันนี้
TH ผลประชุมครม. หารือเรื่องการจัดทางบประมาณรายจ่ายประจำปี 2026
ตัวเลขเศรษฐกิจสำคัญ
EU Inflation Rate เดือน ธ.ค. คาด +0.2% MoM/2.4% YoY Vs เดือน พ.ย. -0.3% MoM/+2.2% YoY ส่วน Core Inflation Rate เดือน ธ.ค. คาด +2.7% YoY Vs เดือน พ.ย. +2.7% YoY
US รายงานภาคบริการเดือน ธ.ค. ISM คาดดีขึ้นเป็น 53.5 Vs 52.1 ในเดือน พ.ย. (สนับสนุนการขยายตัวของ 4Q24E GDP Growth); US Trade Balance เดือน พ.ย. คาด ขาดดุลเพิ่มขึ้นเป็น -USD77.5bn. Vs –USD73.8bn. ในเดือน ต.ค.
US การจ้างงานเดือน พ.ย. อิง JOLT’s Job Openings ยังคงอยู่ในแนวโน้มลดลง คาด +7.65mn Vs +7.744mn ในเดือน ต.ค. และ Job Quits อยู่ที่ 3.31mn Vs 3.326mn ในเดือน ต.ค. KTX คาด Job openings เริ่มฟื้นตัวได้ สนับสนุนดอกเบี้ยขาลงระยะสั้นของเฟด อาจสิ้นสุดเร็วกว่าที่คิด แม้ว่า คาดการณ์ตำแหน่งเปิดรับงานใหม่จะมีแนวโน้มอ่อนตัวลงเล็กน้อยจากเดือนก่อน (Consensus คาด 7.69 ล้านตำแหน่ง Vs 7.74 ล้านตำแหน่ง) แต่จะทำให้ค่าเฉลี่ยของ 4Q24E (เดือน ต.ค.- พ.ย.) ฟื้นตัวขึ้นมาที่ 7.72 ล้านตำแหน่ง จาก 3Q24 ที่ 7.67 ล้านตำแหน่ง (Figure 1) ทั้งนี้ ตำแหน่งงานเปิดรับใหม่ที่ฟื้นตัว ถือเป็นดัชนีชี้นำ อัตราการว่างงานให้ผ่อนคลายลง (มีค่าสหสัมพันธ์ –75% และ –87% ตามลำดับ) ตามกฎของ Beveridge curve เมื่อผนวกกับ ความเสี่ยงด้านสูงของอัตราเงินเฟ้อที่มีสัญญาณเร่งตัวแรงขึ้นทั้งในด้าน
ของเงินเฟ้อต้นทุนจากราคาก๊าซธรรมชาติ ซึ่งคิดเป็นสัดส่วน 3.12% ของอัตราเงินเฟ้อสหรัฐฯ และ คิดเป็น 47.6% ของอัตราเงินเฟ้อสหรัฐฯ ในตระกร้าพลังงาน ที่เร่งตัวขึ้นถึง 24.4% QTD มาที่ USD3.6MMBtu (Figure 2) และเงินเฟ้ออุปสงค์ จากความเข้มแข็งของเศรษฐกิจ ผ่านการดำเนินนโยบายการคลังแบบขยายตัว (ลดภาษี)
ดังนั้น หากอิงพัฒนาการของข้อมูลในปัจจุบัน (Data depending) ด้วยหลักการดำเนินนโยบายการเงินของเฟดที่เน้นการจ้างงานสูงสุด ไปพร้อมกับการรักษาเสถียรภาพด้านราคา (Dual Mandate) เราจึงมองเห็นโอกาสที่อัตราดอกเบี้ยขาลงระยะสั้นอาจสิ้นสุดเร็วกว่าคาดได้ ปัจจัยนี้สนับสนุน US Bond yields ปรับตัวสูงขึ้น