วิเคราะห์แนวโน้มตลาด : บล.ยูโอบี เคย์ เฮียนฯ หุ้นไทยถูกกดดันจากภาวะ De-rating (PER ของหุ้นลดลง)

วิเคราะห์แนวโน้มตลาด : บล.ยูโอบี เคย์ เฮียนฯ หุ้นไทยถูกกดดันจากภาวะ De-rating (PER ของหุ้นลดลง)

ปัจจัยกังวลเฉพาะของหุ้นไทยในช่วงที่ผ่านมาโดยรวมเกี่ยวกับการกู้ยืมเพื่อซื้อหลักทรัพย์ (Margin loan) การปรับลดลงแรงของราคาหุ้นหลายตัวในช่วงที่ผ่านมา รวมถึงการบังคับขายหลักทรัพย์หลายรายการ เกิดจากหลายสาเหตุต่างๆ

ไม่ว่าจะเป็น 1) ภาวะตลาดที่ไม่ดี หรือปัจจัยเฉพาะทางด้านธุรกิจของหลักทรัพย์นั้นๆ 2) การกู้ยืมเงินของผู้บริหารหรือผู้ถือหุ้นใหญ่ ที่มีการนำหุ้นไปวางเป็นหลักทรัพย์ค้ำประกันการกู้ยืม 3) การปรับลดวงเงินให้กู้ยืม หรือเรียกวงเงินกู้ยืมคืนจากลูกค้า ของบริษัทหลักทรัพย์ จากการปรับทิศทางธุรกิจ หรือการเข้มงวดมากขึ้น และ 4) ความกังวลต่อมาตรการกำกับดูแล ที่อาจมีผลในการลดสภาพคล่องในการซื้อขายหลักทรัพย์ // ทั้งนี้มีหุ้นถูกวางเป็นหลักประกันการกู้ยืม ในส่วนที่มากกว่า 20% ของหุ้นทั้งหมด จำนวน 23 หลักทรัพย์ และเกิน 15% ของหุ้นทั้งหมด อยู่ 46 หลักทรัพย์ ซึ่งนักลงทุนอาจต้องระวังความผันผวนของหุ้นดังกล่าว

ความกังวลและขาดความเชื่อมั่นทำให้เกิดภาวะ de-rating ทั้งต่อ SET และหุ้นรายตัว: สถานการณ์ที่กำลังดำเนินอยู่ ทำให้เกิดภาวะ de-rating ซึ่งเป็นภาวะที่นักลงทุนให้พรีเมี่ยมกับการซื้อขายลดลง ผ่านการที่หุ้นหลายตัวซื้อขายด้วย PER ที่ลดลง ถึงแม้จะไม่ได้มีประเด็นข่าวร้าย หรือแรงกดดันจากการปรับลดผลประกอบการเข้ามาก็ตาม ในสภาวะดังกล่าวนักลงทุนยิ่งต้องให้ความสนใจกับแนวโน้มผลประกอบการ เพราะหุ้นที่ผล

เรารู้ว่านักลงทุนกังวล แต่การปรับลดลงแถว 1,300-1,350 จุด เป็นบริเวณที่ต้องกล้า: SET Index มีกรอบการซื้อขายระยะยาว (trading range) ที่ระดับประมาณ 13-15x PER เมื่ออิงจาก คาดการณ์กำไรต่อหุ้นที่ 99 บาท จะได้กรอบ valuation ของตลาดที่ 1,287-1,485 จุด แปลว่าการปรับลดลงในระดับใกล้ 1,300 จุด (หากเกิดขึ้น) จะเป็นจุดซื้อที่มีความเสี่ยงต่ำ (low risk entry level) ขณะที่ในด้านอัพไซด์ ด้วยผลของโมเมนตัมเศรษฐกิจที่ยังมีแรงส่งต่อเนื่อง, แรงกระตุ้นจากมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจของรัฐฯบาล ตลอดจนวัฏจักรดอกเบี้ยขาลงที่กำลังดำเนินอยู่ สถานการณ์ดังกล่าวทำให้ SET อาจซื้อขายได้ถึง 16x PER ซึ่งเราให้เป้าหมายไว้ที่ 1,585 จุด 
 

 

ภาพรวมกลยุทธ์ ยังยืนยันความผันผวนช่วงม.ค.เป็นโอกาสในการเลือกซื้อ โดยยังมองกลุ่ม Earnings momentum play ใน 4Q67-1Q68 มีความน่าสนใจ โดยเราชอบ หุ้นในกลุ่มท่องเที่ยว, การแพทย์, ค้าปลีก และอาหาร (เครื่องดื่มและเนื้อสัตว์) ขณะที่คาดธนาคาร และการเงิน จะเป็นกลุ่มช่วยประคองบรรยากาศโดยรวม 

แนวรับ: 1,320-1,350   แนวต้าน : 1,371-1,382 จุด

สัดส่วนลงทุน: เงินสด 40% vs พอร์ตหุ้น 60%

หุ้นแนะนำ  (* หมายถึง หุ้นทางกลยุทธ์ นักลงทุนควรพิจารณาตั้งจุดตัดขาดทุน 3-5% ของราคาเข้าซื้อ)

•    KTB (25) : คาดรายงานกำไรไตรมาส 4/67 ที่ 11,009 ล้านบาท -0.9% QoQ, +21.2% YoY คาดผลตอบแทนปันผลที่ 5% ตัดขาดทุน 20.80 บาท
•    CBG* (85): หากมีแล้ว โซนซื้อเพิ่มคือ 71-72 บาท ผลการดำเนินงานมีแนวโน้มฟื้นตัวต่อเนื่อง จากต้นทุนการผลิตที่ปรับลดลง และการสร้างโรงงานที่พม่าบวกต่อการแย่งส่วนแบ่งการตลาด ตัดขาดทุน 70 บาท
•    BTG (21) : คาดกำไร 4Q67F เพิ่มขึ้นทั้ง qoq และ yoy จากต้นทุนการผลิตที่ปรับลดลง ส่งผลให้อัตรากำไรยังปรับดีขึ้นต่อเนื่อง ตัดขาดทุน 17.50 บาท
•    MEB* (27): ผลการดำเนินงานจะได้ประโยชน์จากการเข้าสู่ High season  ใน 4Q67 และ Wasy E-receipt ใน 1Q68 ราคาปัจจุบันซื้อขายเพียง 15x PER ตัดขาดทุน 20 บาท  

ประเด็นที่น่าสนใจ 

-    "ไบเดน" จ่อจำกัดส่งออกชิป AI ของ "Nvidia" อีกรอบก่อนอำลาตำแหน่ง
-    ยอดขายรถยนต์ในจีน โตต่อเนื่องในปี 67 ท่ามกลางสงครามราคาที่รุนแรง
-    จนท.เฟดประสานเสียงลดดอกเบี้ยอย่างระมัดระวัง ท่ามกลางความไม่แน่นอน
-    คมนาคม เตรียมชงโครงการลงทุนโครงสร้างพื้นฐาน เสนอ ครม.ปี 68
-    ธุรกิจโรงแรมฟื้นตัวตามยอดนักท่องเที่ยว คาดปี 68 แตะ 40 ล้านคน ราคาห้องพักขยับขึ้น
-    CCET เปิดยอดขาย ธ.ค.67 โต 8.9% YoY แต่หด 15.85% จากเดือนก่อนหน้า
-    RS รับผู้บริหารถูก Forced sell กดราคาหุ้นร่วงหนัก
-    บทวิเคราะห์วันนี้ : SCC แนะนำ ถือ เป้า 160 บาท  

 

 

ปัจจัยที่ต้องติดตาม 

10 ม.ค. – US Non Farm Payrolls (Dec)
13 ม.ค. – Chat with Tony: Bull Rally of Thai Capital Market
15 ม.ค. – US Inflation (Dec)
 

วิเคราะห์แนวโน้มตลาด : บล.ยูโอบี เคย์ เฮียนฯ หุ้นไทยถูกกดดันจากภาวะ De-rating (PER ของหุ้นลดลง)