วิเคราะห์แนวโน้มตลาด : บล.ยูโอบี เคย์ เฮียนฯ ระยะสั้นประเมินหุ้นไทยยังแกว่งลงต่อ
ตัวเลขการจ้างงานสหรัฐฯ ดีกว่าคาด กดดันสินทรัพย์เสี่ยง ประเมินตลาดหุ้นไทยยังมีโอกาสปรับลดลงต่อในระยะสั้น หลังการรายงานตัวเลขการจ้างงานนอกภาคการเกษตรของสหรัฐฯ เดือน ธ.ค. ออกมาเพิ่มขึ้น 2.56 แสนตำแหน่ง
สูงกว่าคาดการณ์ที่ 1.60 แสนตำแหน่งค่อนข้างมาก ส่งผลให้ตลาดกลับมากังวลอีกครั้งว่า Fed อาจปรับลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายสหรัฐฯ เพียงแค่ 1 ครั้ง หรือ อาจไม่ปรับลดลงเลย จากสภาวะเศรษฐกิจที่แข็งแกร่ง หนุนอัตราผลตอบแทนพันธบัตรสหรัฐฯ คงระดับสูง และฉุดตลาดหุ้นสหรัฐฯ ให้ปรับลดลง เรายังคงแนะนำให้เน้นลงทุนในหุ้นรายกลุ่ม/รายตัว เป็นหลัก เรายังชอบกลุ่มที่อิงปัจจัยในประเทศ ที่มีปัจจัยหนุนมากกว่าปัจจัยภายนอก และอาจมีความผันผวนน้อยกว่า อาทิ กลุ่มการแพทย์ ค้าปลีก อาหารและเครื่องดื่ม เป็นต้น
ความกังวลและขาดความเชื่อมั่นทำให้เกิดภาวะ de-rating ทั้งต่อ SET และหุ้นรายตัว: สถานการณ์ที่กำลังดำเนินอยู่ ทำให้เกิดภาวะ de-rating ซึ่งเป็นภาวะที่นักลงทุนให้พรีเมี่ยมกับการซื้อขายลดลง ผ่านการที่หุ้นหลายตัวซื้อขายด้วย PER ที่ลดลง ถึงแม้จะไม่ได้มีประเด็นข่าวร้าย หรือแรงกดดันจากการปรับลดผลประกอบการเข้ามาก็ตาม ในสภาวะดังกล่าวนักลงทุนยิ่งต้องให้ความสนใจกับแนวโน้มผลประกอบการ
เรารู้ว่านักลงทุนกังวล แต่การปรับลดลงแถว 1,300-1,350 จุด เป็นบริเวณที่ต้องกล้า: SET Index มีกรอบการซื้อขายระยะยาว (trading range) ที่ระดับประมาณ 13-15x PER เมื่ออิงจาก คาดการณ์กำไรต่อหุ้นที่ 99 บาท จะได้กรอบ valuation ของตลาดที่ 1,287-1,485 จุด แปลว่าการปรับลดลงในระดับใกล้ 1,300 จุด (หากเกิดขึ้น) จะเป็นจุดซื้อที่มีความเสี่ยงต่ำ (low risk entry level) ขณะที่ในด้านอัพไซด์ ด้วยผลของโมเมนตัมเศรษฐกิจที่ยังมีแรงส่งต่อเนื่อง, แรงกระตุ้นจากมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจของรัฐบาล ตลอดจนวัฏจักรดอกเบี้ยขาลงที่กำลังดำเนินอยู่ สถานการณ์ดังกล่าวทำให้ SET อาจซื้อขายได้ถึง 16x PER ซึ่งเราให้เป้าหมายไว้ที่ 1,585 จุด
ภาพรวมกลยุทธ์ ยังยืนยันความผันผวนช่วงม.ค.เป็นโอกาสในการเลือกซื้อ โดยยังมองกลุ่ม Earnings momentum play ใน 4Q67-1Q68 มีความน่าสนใจ โดยเราชอบ หุ้นในกลุ่มท่องเที่ยว, การแพทย์, ค้าปลีก และอาหาร (เครื่องดื่มและเนื้อสัตว์) ขณะที่คาดธนาคาร และการเงิน จะเป็นกลุ่มช่วยประคองบรรยากาศโดยรวม
แนวรับ: 1,320-1,350 แนวต้าน : 1,371-1,382 จุด
สัดส่วนลงทุน: เงินสด 40% vs พอร์ตหุ้น 60%
หุ้นแนะนำ (* หมายถึง หุ้นทางกลยุทธ์ นักลงทุนควรพิจารณาตั้งจุดตัดขาดทุน 3-5% ของราคาเข้าซื้อ)
• KTB (25) : คาดรายงานกำไรไตรมาส 4/67 ที่ 11,009 ล้านบาท -0.9% QoQ, +21.2% YoY คาดผลตอบแทนปันผลที่ 5% ตัดขาดทุน 20.80 บาท
• CBG* (85): หากมีแล้ว โซนซื้อเพิ่มคือ 71-72 บาท ผลการดำเนินงานมีแนวโน้มฟื้นตัวต่อเนื่อง จากต้นทุนการผลิตที่ปรับลดลง และการสร้างโรงงานที่พม่าบวกต่อการแย่งส่วนแบ่งการตลาด ตัดขาดทุน 70 บาท
• BTG (21) : คาดกำไร 4Q67F เพิ่มขึ้นทั้ง qoq และ yoy จากต้นทุนการผลิตที่ปรับลดลง ส่งผลให้อัตรากำไรยังปรับดีขึ้นต่อเนื่อง ตัดขาดทุน 17.50 บาท
• MEB* (27): ผลการดำเนินงานจะได้ประโยชน์จากการเข้าสู่ High season ใน 4Q67F และ Easy E-receipt ใน 1Q68 ราคาปัจจุบันซื้อขายเพียง 15x PER ตัดขาดทุน 20 บาท
ประเด็นที่น่าสนใจ
- สหรัฐเผยจ้างงานนอกภาคเกษตร +256,000 เดือนธ.ค. สูงกว่าคาดการณ์
- IMF ชี้เศรษฐกิจโลกเผชิญความไม่แน่นอนเพิ่มขึ้นจากนโยบายการค้าของสหรัฐฯ
- UN คาดเศรษฐกิจโลกปี 68 โตเพียง 2.8% เหตุเศรษฐกิจจีน-สหรัฐฯแนวโน้มชะลอตัว
- จีนประกาศ “นโยบายการคลังเชิงรุก” ปี 2568 เพิ่มงบกระตุ้นเศรษฐกิจ รับแรงกดดันภาษีทรัมป์
- เข้า ครม. 13 ม.ค.นี้ ร่าง กม.เอนเตอร์เทนเมนต์ฯ เงินเข้ารัฐ 3.9 หมื่นล้าน/ปี
- ดีอี ดันพ.ร.บ.เกม ขับเคลื่อนเศรษฐกิจดิจิทัล เพิ่มขีดความสามารถแข่งขัน คาดมีผลปลายปี 68
- พาณิชย์ คาดราคาน้ำมันปาล์มขวดทยอยลดลง หลังต้นทุนผลิตลด-สต็อกเข้าสู่ภาวะปกติ
- บทวิเคราะห์วันนี้ : 1H25 Startegy/ กลุ่ม Finance คงน้ำหนัก OVERWEIGHT
ปัจจัยที่ต้องติดตาม
13 ม.ค. – Chat with Tony: Bull Rally of Thai Capital Market
15 ม.ค. – US Inflation (Dec)
16 ม.ค. – US Retail Sales (Dec)