JPMorgan ยื่นจดทะเบียนการค้า IndexGPT ชูบริการแนะนำการลงทุนด้วย AI

JPMorgan ยื่นจดทะเบียนการค้า IndexGPT  ชูบริการแนะนำการลงทุนด้วย AI

JPMorgan ยื่นจดทะเบียนการค้า IndexGPT ชูบริการแนะนำการลงทุนด้วย AI เพื่อช่วยให้คำแนะนำทางการเงินเกี่ยวกับหลักทรัพย์ การลงทุน และการเงิน

JPMorgan Chase ยักษ์ใหญ่ด้านการเงินกำลังพัฒนาบริการซอฟต์แวร์ที่คล้ายกับ ChatGPT ในรูปแบบของ Generative AI สำหรับวัตถุประสงค์ทางธุรกิจ โดยได้ยื่นคำขอจดทะเบียนทางการค้าสำหรับแชตบอต IndexGPT เมื่อต้นเดือนพฤษภาคม โดยแชตบอตจะถูกนำไปใช้เพื่อช่วยให้คำแนะนำทางการเงินเกี่ยวกับหลักทรัพย์ การลงทุน และการเงิน

จอช เกอร์เบน (Josh Gerben) ทนายความด้านเครื่องหมายการค้ากล่าวถึงความสามารถของ IndexGPT ซึ่งคือ Ai โปรแกรมเพื่อช่วยคัดเลือกหลักทรัพย์ทางการเงิน

โดย IndexGPT เป็นกลไกซอฟต์แวร์คลาวด์คอมพิวติ้งที่ใช้ปัญญาประดิษฐ์สำหรับวิเคราะห์ และเลือกหลักทรัพย์โดยปรับให้เหมาะกับความต้องการของลูกค้า

AI จุดชนวนการแข่งขันด้านอาวุธ

จากการสำรวจของ JP Morgan เมื่อเดือนกุมภาพันธ์ที่ผ่านมา เปิดเผยว่า เทรดเดอร์สถาบันมากกว่าครึ่งที่ทำการสำรวจมองว่าปัญญาประดิษฐ์ (AI) และ Machine Learning จะเป็นเทคโนโลยีที่มีอิทธิพลมากที่สุดในการกำหนดอนาคตของการซื้อขายในอีกสามปีข้างหน้า

 

นับตั้งแต่เปิดตัว ChatGPT ของ OpenAI เมื่อเดือนพฤศจิกายน ปี 2022 และเวอร์ชันล่าสุด GPT-4 ในเดือนมีนาคม บริษัทต่างๆ ทั่วโลกต่างแข่งขันกันพัฒนาเครื่องมือ AI มากขึ้น 

โดย วอร์เรน บัฟเฟตต์ (Warren Buffett) แห่ง Berkshire Hathaway เปรียบเทียบว่าปรากฏการณ์นี้เป็นเสมือน ‘การแข่งขันด้านอาวุธ’ ทำให้อุตสาหกรรมทั้งหมดต่อสู่กับการมาถึงของเทรนด์ Ai ซึ่งเป็นตัวจุดชนวนการแข่งขันด้านอาวุธสำกรับการสร้างเทคโนโลยี และผู้ผลิตชิปในสิ่งที่ถูกมองว่าเป็นนวัตกรรมพื้นฐานต่อไป

 JPMorgan ธนาคารใหญ่รายแรกเริ่มใช้ ChatGPT

จอช เกอร์เบน มองว่าความพร้อมของธนาคารรายใหญ่อาจทำให้ JPMorgan อาจเป็นผู้ครอบครองตลาดการเงินรายแรกที่ตั้งเป้าที่จะเผยแพร่ผลิตภัณฑ์ที่คล้ายกับ GPT ให้กับลูกค้าโดยตรง จากการที่มีผลิตภัณฑ์ที่มีศักยภาพที่จะเปิดตัวในอนาคตอันใกล้นี้

โดย JPMorgan ต้องเปิดตัว IndexGPT ภายใน 3 ปีหลังจากได้รับอนุมัติเครื่องหมายการค้า เพื่อรักษาเครื่องหมายการค้า เนื่องจากโดยทั่วไปแล้วเครื่องหมายการค้าจะใช้เวลานานเกือบหนึ่งปีในการอนุมัติ

อ้างอิง CNBC