‘โทเคนไนเซชั่น’อนาคตการเงิน’ดิจิทัล’ เชื่อมสินทรัพย์โลกเก่าสู่โลกใหม่

‘โทเคนไนเซชั่น’อนาคตการเงิน’ดิจิทัล’ เชื่อมสินทรัพย์โลกเก่าสู่โลกใหม่

ทำไมการออกโทเคนจากสินทรัพย์ในโลกแห่งความเป็นจริง หรือ Real-World Asset Tokenization(RWA) จะกลายเป็นอุตสาหกรรมที่มีมูลค่า 16 ล้านล้านดอลลาร์ภายในสิ้นทศวรรษนี้

เริ่มต้นมาจาก "โทเคนไนเซชั่น" คือการออก โทเคนประเภทหนึ่งที่รียกว่า “Investment Token” ที่เป็นตัวแทนสิทธิ์และมูลค่าของสินทรัพย์นั้นๆ ด้วยการเปลี่ยนสินทรัพย์ในโลกจริงให้เป็นสินทรัพย์ดิจิทัล หรือโทเคน โดยใช้เทคโนโลยี “บล็อกเชน” ทำให้เราสามารถแปลงสินทรัพย์อย่าง ทอง อสังหาริมทรัพย์ หรืองานศิลปะให้เป็นโทเคนดิจิทัลได้        

อีกทั้ง ทำให้การซื้อขายสินทรัพย์ก็จะเกิดขึ้นได้ง่ายมากขึ้น ค่าใช้จ่ายถูกลง โอนถ่ายความเป็นเจ้าของได้สะดวก ช่วยให้สภาพคล่องของสินทรัพย์นั้น ๆ ดีขึ้น และยังช่วยเพิ่มโอกาสในการลงทุนอีกด้วย เช่น Asset Backed เป็นอหังสาริมทรัพย์อย่าง RealX Token และ Sirihub Token ที่มี Project Backed เป็นการระดมทุนในการสร้างผลงานที่น่าสนใจ เช่น Destiny Token

‘โทเคนไนเซชั่น’อนาคตการเงิน’ดิจิทัล’ เชื่อมสินทรัพย์โลกเก่าสู่โลกใหม่

การวิจัยโดยบอสตัน คอนซัลติ้ง กรุ๊ป (BCG)  ประเมินอุตสาหกรรมโทเคนไนเซชั่นไว้ว่าเมื่อสิ้นทศวรรษนี้ หรือในปี2573 จะมีมูลค่าเติบโตมากกว่าปัจจุบันถึง 50 เท่า อาจทำให้อุตสาหกรรมมีมูลค่าราว 16 ล้านล้านดอลลาร์ และเป็นโทเคนจากสินทรัพย์ในโลกแห่งความเป็นจริงมากขึ้น เช่น ตราสารทุน พันธบัตร กองทุนรวมเพื่อการลงทุน และเครื่องมือทางการเงินอื่นๆ ซึ่งรวมถึงสินค้าโภคภัณฑ์ เช่น ทองและเงิน และอสังหาริมทรัพย์ ทำให้นักวิเคราะห์คาดการณ์ว่าสิ่งนี้จะกลายเป็นตัวเร่งปฏิกิริยาทำให้การยอมรับ“คริปโท”เพิ่มขึ้น

 

จิตตินันท์ ชาติสีหราช ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท โทเคน เอกซ์ จำกัด หรือ Token X  กล่าวในงาน Blockchain Genesis, Thailand Blockchain Week 2023 ภายใต้หัวข้อ Tokenization หรือ Real-World Assets จะเข้ามาพลิกโฉมโลกคริปโทและการเงินอย่างไร? โดยมองว่า โทเคนไนเซชั่นจะเข้ามาส่งเสริมให้ตลาดคริปโทก้าวไปข้างหน้าได้ทำให้มีสินค้าให้เลือกได้หลากหลายมากขึ้น จากเดิมทีหากกล่าวถึง “ผลตอบแทน” จากการลงทุนในโลกคริปโท ย่อมจะนึกถึงการลงทุนในแพลตฟอร์ม DeFi ที่มีความซับซ้อน 

แต่ในทางกลับกันอินเวสเมนท์โทเคนจะถูกพัฒนาไปสู่รูปแบบโทเคนที่ “สร้างผลตอบแทน”ได้ด้วยตัวเอง หรือYield Generated Token สู่การระดมทุนรูปแบบใหม่ที่แตกต่าง ซึ่งโทเคนทำให้การระดมทุนเป็นเรื่อง“ง่าย”  รวมทั้งเปิดโอกาสให้คนที่มีไอเดียใหม่ๆ หรือธุรกิจรูปแบบใหม่เข้ามาระดมทุนได้ง่ายขึ้น

ธนศักดิ์ กฤษณะเศรณี รักษาการประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท เอ็กซ์สปริง ดอจิทัล จำกัด หรือ XSpring Digital   มองว่าการโทเคนไนเซชั่นยังทำให้นักลงทุนรายย่อยเข้าถึงเครื่องมือทางการเงินที่หลากหลายมากขึ้นได้อย่าง หุ้นนอกตลาด(Private Equity), Public Equity, บอนด์ หรือแม้แต่อสังหาริมทรัพย์ด้วยการ “ลดจำนวนเงินขั้นต่ำ” ลง ทำให้สามารถแบ่งสัดส่วนเข้าไปเป็นเจ้าของโดยไม่ต้องใช้เงินลงทุนมากนัก พร้อมทั้งเปิดให้นักลงทุนทั่วโลกได้เข้าถึงสินทรัพย์ และเกิดการระดมทุนรูปแบบใหม่ๆ นอกจากนี้ การโทเคนไนเซชั่นยังเป็นเพิ่มสภาพคล่องให้กับตลาดอีกด้วย

 

พงศ์ปิติ เอกเธียรชัย กรรมการผู้จัดการ บริษัท ศูนย์ซื้อขายสินทรัพย์ดิจิทัลไทย จำกัด หรือ TDX เปิดเผยว่าในปัจจุบันต่างประเทศเริ่มได้มีการออกกฎหมายกำกับดูแลสินทรัพย์ดิจิทัลแล้ว อย่างสิงคโปร์หรือในยุโรปเอง แต่ทว่าในไทยการกำกับดูแลยังไม่ได้มีความคืบหน้าขนาดนั้น โดยกฎหมายของไทยในตอนนี้รองรับ อินเวสเมนท์โทเคนที่มีสินทรัพย์สำรอง Asset Backed และ Project Backed เท่านั้น 

 

อย่างไรก็ดีผู้ให้บริการเกี่ยวกับ ICO Potal ทั้ง 2 แห่งก็มี “ความหวัง” ว่าอินเวสเมนท์โทเคนจะสามารถเอาไปต่อยอดได้ในโลก DeFi ได้ ทั้งนี้การเข้าไปในโลก  DeFi ต้องเป็นการขยับคนละครึ่งทางโดยต้องมีตัวกลางบางส่วนเหลืออยู่เพื่อความสบายใจของนักลงทุนและหน่วยงานผู้ดูแลตลาดสินทรัพย์ดิจิทัลด้วย ทั้งนี้ยังต้องเหลือช่องให้ความคิดสร้างสรรค์ในการพัฒนาโปรเจกต์การลงทุนได้คิดค้นสิ่งใหม่ๆด้วย

แม้ว่าในตอนนี้มองไม่เห็นภาพที่ชัดเจนว่า อินเวสเมนท์ โทเคนกับ DeFi จะสามารถทำงานร่วมกันได้หรือไม่ แต่มีความเห็นที่อยากจะเห็นอินเวสนเมนท์โทเคน,คริปโท และโลก DeFi เติบโตไปด้วยกัน ถ้าทั้ง 3 สิ่งนี้สามารถทำงานร่วมกันได้ และดึงศักยภาพสูงสุดออกมาได้ คนที่จะได้รับผลประโยชน์มากที่สุด คือนักลงทุนและผู้คนอย่างเรา