‘ไบแนนซ์’ชี้ประเทศไทย พร้อมเป็น‘คริปโทฮับ’ได้
'ริชาร์ด’ ซีอีโอไบแนนซ์ เข้าพบ ก.ล.ต. แลกเปลี่นกฎเกณฑ์สินทรัพย์ดิจิทัลระดับสากล สู่โครงสร้างตลาดสินทรัพย์ดิจิทัล ชี้ไทยเป็นคริปโทฮับได้ขึ้นนอยู่กับผู้เล่นในตลาดช่วยกันพลักดันให้ตลาดเกิดการใช้งานจริง
“กัลฟ์ไบแนนซ์” ถือเป็นการร่วมมือของ 2 บริษัทใหญ่ ทั้ง “ไบแนนซ์” (Binance) เบอร์ 1 ในตลาดคริปโทเคอร์เรนซีระดับโลก และ บริษัท กัลฟ์ เอ็นเนอร์จี ดีเวลลอปเมนท์ จำกัด (มหาชน) หรือ GULF ที่เป็น "ผู้นำโครงสร้างพื้นฐาน" ทั้ง พลังงาน และโทรคมนาคม ที่มีความมั่นคง ซึ่งสะท้อนว่ามีความน่าเชื่อถือ รวมทั้งพาร์ตเนอร์ที่สำคัญ อย่าง บริษัท แอดวานซ์อินโฟร์ เซอร์วิส จำกัด (มหาชน) หรือ ADVANC หรือ เอไอเอส เข้ามาช่วยในการขยายตลาดในไทย ให้สามารถเข้าถึงผลิตภัณฑ์ และบริการด้าน "สินทรัพย์ดิจิทัล" มากขึ้น
“ริชาร์ด เทง” ประธานเจ้าหน้าที่บริหารของ Binance เปิดมุมมองให้ฟังว่า สำหรับภาพรวมของไบแนนซ์ในตลาดโลกกับมุมมอง แนวโน้มตลาดสินทรัพย์ดิจิทัลในอนาคต ในฐานะผู้นำของแพลตฟอร์มซื้อขายสินทรัพย์ดิจิทัลที่ใหญ่ที่สุดในโลก โดยมองแนวโน้มราคาบิตคอนย์ในอนาคต ว่า เหตุการณ์ในอดีตไม่สามารถบ่งชี้แนวโน้มในอนาคตได้ !
โดยปกติแล้วราคาบิตคอยน์จะปรับตัวเพิ่มขึ้นหลังจาก Bitcoin Having แต่ครั้งนี้ ราคาบิตคอยน์ทำ "สถิติใหม่" ก่อนเกิดการ Halving ขณะที่ในอนาคตซัพพลายจะลดลง สะท้อนถึงความสนใจที่เพิ่มขึ้น
ทั้งนี้ “กัลฟ์ไบแนนซ์” เพิ่งเปิดตัวในช่วงต้นปีที่ผ่านมา ซึ่ง “กัลฟ์ไบแนนซ์” ถือเป็นผู้เล่นหน้าใหม่ที่ต้องสร้างส่วนแบ่งตลาดผ่านการสร้างประสบการณ์ใหม่ให้ตลาดและผู้ใช้งาน ด้วยเทคโนโลยีซึ่งเป็นเทคโนโลยีเดียวกับไบแนนซ์
ขณะที่ ท่ามกลางการดำเนินงานในอุตสาหกรรมสินทรัพย์ดิจิทัลไทย ตอนนี้มี 3 สิ่งที่ "ริชาร์ด" มองเห็นได้ชัดเจน นั่นคือ 1.ประเทศไทยมีอีโคซิสเต็มที่พร้อมรับสินทรัพย์ดิจิทัล ทั้งนโยบายของรัฐบาลที่สนับสนุน บล็อกเชน การศึกษาเรื่องบล็อกเชน และเวป 3
ถัดมาคือ 2. ประเทศไทยมีการสนับสนุนบล็อกเชนและเวป 3 อย่างเป็นรูปธรรม สะท้อนจากการมีผู้เล่นใหม่ๆ เข้ามาสู่วงการสินทรัพย์ดิจิทัลไทย และสิ่งสำคัญคือ กฎหมายที่เอื้ออำนวยต่อการออกผลิตภัณฑ์ที่เกี่ยวกับสินทรัพย์ดิจิทัล
และสุดท้าย 3. ตอนนี้นักลงทุนในประเทศไทยยังมีความรู้ไม่มากนัก จึงเป็นสิ่งจำเป็นที่ต้องเสริมความเข้าใจ เพื่อเป็นกลไกสำคัญในการพัฒนา “เศรษฐกิจดิจิทัล”
อย่างไรก็ดี ยังมี “ความเสี่ยง” ในตลาดสินทรัพย์ดิจิทัล ซึ่ง "ริชาร์ด" มองเห็นว่า นักลงทุนต้องเริ่มสร้างความตระหนักรู้ด้วยตัวเอง และต้องลงทุนในตลาดสินทรัพย์ดิจิทัลด้วยความเหมาะสมและระมัดระวัง
พร้อมกับย้ำว่า “ไบแนนซ์และกัลฟ์ไบแนนซ์” ดำเนินงานภายใต้กฎระเบียบในประเทศไทย และกฎระเบียบสากลทั่วโลก และคำนึงผู้ใช้เป็นสำคัญ และยังมีความมั่นคงทางการเงิน หลังจากเพิ่งประกาศว่ามีสินทรัพย์ภายใต้การดูแลทั้งหมด 100 ล้านดอลลาร์
ขณะที่ มองว่าการจับมือกับกัลฟ์เป็นเรื่องที่ดี ในแง่ของการซัพพอร์ตไบแนนซ์หลายด้าน แต่ยังมี “ความท้าทาย” ที่กัลฟ์ไบแนนซ์ต้องก้าวข้าม นั่นคือ “การกำกับดูแล” ที่เข้มงวดในตลาดสินทรัพย์ดิจิทัล หลังจากที่ประเทศไทยเคยได้รับผลกระทบจากเรื่องราวที่เกิดขึ้นในวงการคริปโททำให้ “ความเชื่อมั่น” มีส่วนสำคัญต่อกระบวนการกำกับดูแล ซึ่งบางครั้งกฎระเบียบที่รัดกุมเกินไป อาจทำให้การพัฒนาเทคโนโลยีการเงินเกิดขึ้นได้ยาก
ดังนั้น หลังจากที่ "ริชาร์ด" ได้เข้าพบสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) ซึ่งเป็นผู้กำกับดูแลตลาดสินทรัพย์ดิจิทัลไทย พร้อมกับการแชร์มุมมองของการกำกับดูแลทั่วโลกว่า ตอนนี้มีอะไรเกิดขึ้นบ้าง และกฎหมายของทั่วโลกก้าวไปถึงขั้นไหนแล้ว ซึ่งในอนาคตอาจมีโอกาสแก้เกมกฎหมายสินทรัพย์ดิจิทัลไทย เช่น ผลิตภัณฑ์สินทรัพย์ดิจิทัลของไบแนนซ์ที่ได้รับการอนุญาตในต่างประเทศ แต่ไม่ได้รับการอนุญาตในประเทศไทย อาจได้รับการอนุมัติในอนาคต
โดยเชื่อว่าในอนาคตคริปโทจะเติบโตไปพร้อมกับเทคโนโลยี ABCD คือ AI Blockchain could computing และ Digital Asset และจะสนับสนุนให้คริปโทกลายเป็นสินทรัพย์ “กระแสหลัก” สะท้อนจากสถาบันการเงิน 100 อันดับแรกทั่วโลก มีการพูดถึง AI และบล็อกเชน ดังนั้น เชื่อว่า 5 ปีข้างหน้า ตลาดสินทรัพย์ดิจิทัลจะใหญ่กว่า 5 ปีที่ผ่านมา
สำหรับ มุมมองที่ว่า ไทยจะสามารถเป็น “คริปโทฮับ” หรือ ศูนย์กลางของสินทรัพย์ดิจิทัลได้มั้ยนั้น จะขึ้นอยู่กับประเทศไทยว่า ผู้บริโภคในประเทศให้ความสนใจและให้การตอบรับสินทรัพย์ดิจิทัลแบบใด รวมถึงผู้เล่นในตลาดจะมีศักยภาพมากพอที่จะขับเคลื่อนอุตสาหกรรมสินทรัพย์ดิจิทัลในประเทศได้มากน้อยแค่ไหน
โดยสิ่งที่จะทำให้อุตสาหกรรมสินทรัพย์ดิจิทัลเติบโตได้นั้น ต้องขึ้นอยู่กับกฎการกำกับดูแลเป็นสำคัญ สะท้อนจากไบแนนซ์ในต่างประเทศ เช่น ดูไบที่ได้รับการสนับสนุนเป็นอย่างดีจากรัฐบาล ซึ่งได้รับประโยชน์ทางอ้อม คือ การดึงดูดการลงทุนจากต่างประเทศ และบุคลากรที่มีความรู้ความสามารถเข้ามาในประเทศ และอนาคตของไบแนนซ์ในประเทศอื่นๆ ในภูมิภาคเอเชีย ยังอยู่ในการพิจารณาถึงปัจจัยแวดล้อมต่างๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งคือกฎระเบียบ