"สินมั่นคง" เผยนักลงทุนรายใหม่ 4 ราย รอเจรจาเพิ่มทุน หลังปรับโครงสร้างหนี้ฯ
สินมั่นคงประกันภัย เผยปัจจุบันมีนักลงทุนรายใหม่ 4 ราย เป็นต่างชาติ 2 ราย-ไทย 2 ราย สนใจเพิ่มทุน รอเจรจา หลังบริษัทมีความชัดเจนในการปรับโครงสร้างหนี้สินไหมโควิด -19 แย้มยังมีนักลงทุนทั้งในประเทศและต่างประเทศที่ให้ความสนใจอีก
บริษัท สินมั่นคงประกันภัย จำกัด (มหาชน) หรือ SMK แจ้งตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (ตลท.) ว่า โดยรายงานสรุปแนวทาง ขั้นตอนการแก้ไข ประเด็นพิจารณา และการดำเนินการที่เกี่ยวข้องกรณีหลักทรัพย์ของบริษัท สินมั่นคงประกันภัย จำกัด (มหาชน) ถูกขึ้นเครื่องหมาย C
สำหรับทางการแก้ไขปัญหาและการกลับมาดำเนินธุรกิจในอนาคต ทางบริษัทฯ จะเร่งแผนเสนอแนวทางการชำระหนี้ให้กับเจ้าหนี้ ซึ่งจากการศึกษาในเบื้องตัน เป็นไปได้หลายแนวทางดังนี้ โดยแนวทางในการชำระหนี้จะได้มีการหารือร่วมกับเจ้าหนี้ในระหว่างการจัดทำแผนฟื้นฟูกิจการต่อไป
1. การหาแหล่งเงินทุนใหม่และปรับโครงสร้างทุน โดยการเพิ่มทุนจากผู้ร่วมทุนใหม่ เพื่อนำมาใช้ในการชำระหนี้ และ/หรือ เพื่อปรับโครงสร้างทุนให้มีอัตราส่วนความเพียงพอของเงินกองทุนเป็นไปตามที่กฎหมายกำหนด
- ปัจจุบันมีนักลงทุนให้ความสนใจ 4 ราย ได้แก่ นักลงทุนต่างชาติ 2 ราย และนักลงทุนไทย 2 ราย ซึ่งนักลงทุนรายใหม่ทั้ง 4 ราย รอการเจรจากับบริษัทฯ ภายหลังที่มีความชัดเจนในการปรับโครงสร้างหนี้สินไหมโควิต-19 และยังมีนักลงทุนที่ให้ความสนใจทั้งในประเทศและต่างประเทศ
2. การเปลี่ยนแปลงเงื่อนไขการชำระหนี้ ขยายระยะเวลาชำระหนี้ ปรับโครงสร้างหนี้ การชำระหนี้ด้วยการแปลงหนี้เป็นทุน
3. ศึกษาและจัดเตรียมแผนและกลยุทธ์ในการดำเนินธุรกิจประกันภัยให้เหมาะสมและมีประสิทธิภาพ
ทั้งนี้ แนวทางการชำระหนี้จะได้มีการหารือ และหาข้อตกลงร่วมกับเจ้าหนี้สินไหมโควิดในระหว่างการจัดทำแผนฟื้นฟูกิจการต่อไป ซึ่งแนวทางดังกล่าวเป็นแนวทางการแก้ไขในส่วนของส่วนของผู้ถือหุ้นน้อยกว่า 50% ของทุนชำระแล้ว
ทั้งนี้ สาเหตุของการเข้าสู่กระบวนการฟื้นฟูกิจการของบริษัท โดยในปี 2564 บริษัทฯ ได้รับประกันกรมธรรม์ประกันภัยการติดเชื้อไวรัสโคโรนา (COVID-19) ประเภทเจอจ่ายจบและประเภททูอินวัน (2 in 1) โดยมีผู้เอาประกันมายื่นเคลมสินไหมทดแทนโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา (COVID-19) คงค้างประมาณ 350,000 ราย คิดเป็นค่าสินไหมประมาณเกือบ 30,000 ล้านบาท
บริษัทฯ ได้ใช้ความพยายามอย่างเต็มที่ในการดูแผู้เอาประกันและจ่ายสินไหม โดยได้นำเงินจากกำไรสะสมทั้งหมดมาจ่ายชำระสินไหมทดแทนโรคติดเชื้อวรัสโคโรนา (COVD-19) ไปแล้วเป็นเงินจำนวนมากกว่า 11,000 ล้านบาท
เมื่อมีจำนวนสินไหมที่มีจำนวนมาก ทำให้นักลงทุนรายใหม่ยังไม่ตัดสินใจเข้าร่วมทุน บริษัทฯ จึงไม่อาจหาแหล่งเงินทุนเพิ่มเติมเพื่อใช้ในการชำระหนี้ใด้หากยังคงมีภาระหนี้เป็นจำนวนสูงเกินความสามารถทางการเงิน
อย่างไรก็ดี ธุรกิจของบริษัทฯ มีพื้นฐานดีและก่อนได้รับผลกระทบจากสถานการณ์ดังกล่าว บริษัทฯ มีความสมารถในการทำกำไรอย่างสม่ำเสมอมาโตยตลอด
ทั้งนี้ บริษัทฯ มีสินทรัพย์ไม่พอกับหนี้สิน (มีหนี้สินสันพ้นตัว โดยตามงบการเงินงวดล่าสุด (งบการเงินไตรมาสที่3/2565) บริษัทฯ มีหนี้สินมากกว่าสินทรัพย์เป็นจำนวนประมาณ 30,905.62 ล้นบาท และการเข้าสู่กระบวนการพื้นฟูกิจการเป็นทางออกที่ดีที่สุด และเป็นวิธีการแก้ปัญหาที่เหมาะสมที่สุดเพียงช่องทางเดียว ซึ่งจะเป็นผลตีต่อบริษัทฯ และผู้ที่เกี่ยวข้องทุกฝ่าย