‘เครดิตบูโร’ หวั่นลบประวัติ’ลูกหนี้’กระทบระบบการเงิน​

‘เครดิตบูโร’ หวั่นลบประวัติ’ลูกหนี้’กระทบระบบการเงิน​

‘สุรพล’ เครดิตบูโร หวั่นลบประวัติลูกหนี้กระทบบามทั้งระบบการเงิน​ ซ้ำรอยวิกฤติการเงินในอดีต ชี้เป็นการปกปิดข้อมูลทางการเงินที่แท้จริง หวั่นแบงก์-ลูดหนี้ขาดความเชื่อมั่นระบบการเงิน

   นายสุรพล โอภาสเสถียร ผู้จัดการใหญ่ บริษัท ข้อมูลเครดิตแห่งชาติ จำกัด โพสต์ผ่าน Facebook ส่วนตัวว่า  ตามที่มีการประกาศนโยบายยกเลิกแบล๊คลิสต์​และเสนอแนวทางการใช้​เครดิตสกอร์​ริ่งมาแทนในระบบสินเชื่อ​

      ผมใคร่ขอนำเสนอข้อมู​ลเพื่อให้ท่านผู้อ่านได้ลองพิจารณา​ดูนะครับ​ ชอบ, ไ​ม่ชอบ​ เชื่อ,ไม่เชื่อ​ เห็นด้วย,เห็นต่าง​ เป็นเรื่องปกติในระบบประชาธิปไตย​ที่เราทุกคนได้รับการรับรองสิทธิ​ในการแสดงออก​ ดังคำพระที่ว่า​ อย่าเชื่อแต่จงใช้สติ​และปัญญามาพิจารณา​ให้ถ่องแท้
 

 

 

 

      1.แบล๊คลิสต์​มีอยู่ในรายงานเครดิตบูโร​หรือไม่​ คำตอบคือไม่มีส่วนใดในรายงานเครดิตบูโร​ที่จะระบุว่า​ บุคคลที่เป็นเจ้าของบัญชีสินเชื่อและประวัติการชำระหนี้รายนั้น​ เป็นคนที่ไม่สมควรจะคบค้าสมาคม, ไม่สมควรจะทำธุรกิจด้วย​ หรือไม่สมควรที่จะได้สินเชื่อใหม่ที่กำลังยื่นขออยู่

       2.ประวัติการชำระหนี้ที่อยู่​ในรายงานเครดิตบูโรนั้นมาได้อย่างไร​ คำตอบคือ​ สถาบันการเงิน​สมาชิกของเครดิตบูโร​เป็นคนส่งมาให้ทุกเดือนครับ​ มาตามที่กฏหมายกำหนด ใครมาเป็นสมาชิกก็ต้องส่งข้อมูล​มาครับ​ คนทำธุรกิจจำนำทะเบียนหลายๆรายที่จดทะเบียนใน​ SET.เขาไม่มาเป็นสมาชิก​ เขาก็ไม่ได้ส่งข้อมูล​มาครับ​ สหกรณ์​ออมทรัพย์​หลายรายก็แบบเดียวกัน​ และการมาเป็นสมาชิกเครดิตบูโร​ก็ด้วยความสมัครใจของสถาบั​นการเงิน​นั้นเอง​ หลายธนาคารต่างประเทศ​ก็ไม่ได้เป็นสมาชิกของเครดิตบูโร​

     ดังนั้นใครไปเป็นลูกหนี้กับสถาบันการเงิน​เหล่านั้น​ ข้อมูล​ประวัติการชำระหนี้สินเชื่อของท่านก็ไม่มาที่ระบบเครดิตบูโร​ครับ

     3.ประวัติที่ถูกส่งมายังระบบเครดิตบูโร​คือประวัติการชำระหนี้​ตามที่ลูกค้ามีบัญชีอยู่​ครับ​ ถ้าจ่ายได้ตามกำหนด​ ตามสัญญา​ ข้อมูล​จะบอกว่า​ ไม่ค้างชำระ​ แต่ถ้าไม่ได้ไปจ่ายด้วยเหตุผลใดก็ตาม​ รายงานก็จะระบุว่าค้างชำระ​ ตามความจริงเป๊ะ​ เพราะถ้าคนส่งข้อมูล​ไม่ดูแลความถูกต้อง​ เขาจะมีความผิดในการส่งข้อมูลและมีโทษในทางอาญา​ครับ​

      ดังนั้น​ CEOของสถาบันการเงิน​สมาชิกเครดิตบูโร​จะเข้มงวดเรื่องนี้มาก

      ทีนี้สมมติว่าเดือนเมษา​ 65​ ไม่ได้จ่ายชำระหนี้​ มันก็จะรายงานว่า เดือนเมษา​ยน​ 2565​ ค้างชำระ​ พอเดือนพฤษภา​ 65​ ลูกหนี้เอาเงินไปเคลียร์​สองยอด​ ยอดแรกคือของเก่าเดือนเมษา​ และยอดครบกำหนดปัจจุบัน​คือเดือนพฤษภา​ได้เรียบร้อย​ ประวัติก็จะแสดงว่า​ เดือนพฤษภา​ 2565​ ไม่ค้างชำระ​

      ตามความเข้าใจของผมคือพรรคการเมือง​เขาเสนอให้ลบความจริงเดือนเมษา​ยน​ 2565​ ออกไป​ คำถามคือ​ เราลบความจริงในประวัติเพื่อให้คนพิจารณา​เงินกู้ไม่เห็น​ ไม่ให้แสดงความจริง​ กฏหมายมันบอกว่าสถาบันการเงินสมาชิกเครดิตบูโร​ต้องส่งข้อมูลให้ถูกต้อง​ ครบถ้วน​ ทันสมัย​ ย้ำว่าต้องถูกต้อง

       ทีนี้ถ้าลบแล้วข้อมูล​ประวัติมันก็แหว่งสิ่ครับ​ เพราะมันหายไปเดือนนึง​ คือเดือนเมษา​ คนพิจารณา​ให้กู้เขาก็จะรู้โดยอ้อมหรือไม่​ว่าข้อมูล​ผิดปกติ แล้วคนฝากเงินที่เขาเอาเงินมาฝากเพื่อให้สถาบันการเงิน​เอาเงินไปให้กู้ต่อ​ เขาจะสบายใจมั้ยว่า​ สถาบัน​การเงินจะมีข้อมูล​ครบในการพิจารณา​สินเชื่อ​ เราๆท่านๆเคยมีประสบการณ์​ที่เกิดในปี​ 2540​ มาแล้วนะครับ​ว่าเพราะคนปล่อยกู้มีข้อมูล​ไม่ครบ​ ไม่เห็นนิสัย​ ประวัติการชำระหนี้​ แต่ปล่อยกู้ไป​ ความเสียหายก็เกิดขึ้นนับเป็นเงินระดับล้านๆบาท​ ผ่านมา​ 20กว่าปีก็ยังใช้ไม่หมด​

    คนเสนอนโยบายก็มีประสบการณ์​ร่วมในเหตุการณ์​นั้นด้วยใช่มั้ยครับ​ ลืมแล้วหรือไร

      เรากำลังจะลบความจริงเพื่อให้คนขอกู้ไปเอาเงินฝากผ่านคนกลางที่พิจารณา​เรื่องโดยมีข้อมูล​แห่วง​ ไม่ครบ​ เราคิดจะทำอย่างนั้นจริงๆ​เหรอครับ​

      ความจริงเป็นสิ่งไม่ตายนะครับ​ ถ้าอย่างนั้นต่อไป​ จะแก้ปัญหา​คนไม่ได้งาน​ เพราะนายจ้างมีระบบคัดกรอง​ เราก็สนับสนุนให้ไปสมัครงาน​ โดยเอาใบเกรด​ 4ปี​ 8เทอมไปให้คนสัมภาษณ์​ดู​ แต่เราก็สามารถ​ลบวิชาที่เราสอบได้คะแนนไม่ดีออกไปได้​ จะได้เหลือแต่วิชาที่สอบได้ดี​ เพื่อจะได้ผ่าน​การคัดกรอง มีงานทำ​ เรากำลังคิดจะทำกันแบบนี้เลยเหรอครับ

       4.แน่นอนครับว่าระบบการให้สินเชื่อเรายังไม่ตอบโจทย์​ ยังมีคนตัวเล็ก​ SME​ ขนาดจิ๋ว​ ยังเข้าไม่ถึงสินเชื่อ​ หรือถ้าเข้าได้ก็โดนดอกแพง​ ยิ่งหลังโควิดมีแผลเป็นจากการชำระหนี้

    เช่นเป็นคนเคยค้างแต่ตอนนี้ดีแล้วเป็นคนเคยประนอมหนี้แต่ตอนนี้กลับมาชำระปกติได้แล้ว
เป็นคนที่ยังมีคนค้าขายด้วย​ มีคนสั่งซื้อของแต่มีประวัติว่าเคยค้าง​ หรือแม้แต่​ ปี​ 2562ก่อนโควิดชำระหนี้ได้ทุกบัญชี​ ชำระหนี้ได้เต็มปี​ เต็มคาราเบล​ 12เดือน​ พอปี​ 63เจอโควิด​ ปี​ 64เจอเดลต้า​ ปี65​ เป็นหนี้เสียค้างเกินสามงวด​ เกิน​ 90วัน​ เป็นหนี้​ NPLs. รหัส​ 21 เวลานี้เศรษฐกิจ​กลับมาแล้ว​ แต่แผลเป็นคือเป็นหนี้เสีย​ เข้าไม่ถึงเพราะกติกามันบอกว่าต้องปรับโครงสร้าง​หนี้​ก่อนถึงจะใส่เงินใหม่​ หนี้ใหม่เข้าไปได้​

      5.การจะได้เงินใหม่​ หนี้ใหม่​ มันก็ต้องมีข้อมูล​ว่ามีรายได้แล้วนะ​ ชัวร์​นะ​ มีแน่นอนนะ​ ที่ผ่านมารายได้มันหดหาย​ ภาษาเทพ​ ภาษาพรหมคือ​ income shock เกิดหลุมรายได้​

      ข้อมูล​ด้านอื่นๆเช่น​ ใช้น้ำใช้​ไฟ​      ชำระหนี้ค่าน้ำค่าไฟ​ ค่าโทรศัพท์​ตรงเป๊ะ​ ไม่ค้างนะ​ ไม่เหนียวหนี้​ หรือแม้แต่เป็นลูกจ้าง​ Platform.ขายอาหาร​ ส่งของ​ ส่งสินค้า​ หรือมีข้อมูล​จากผู้ซื้อที่เป็นกิจการของเจ้าสัว​ ว่าตัวเราเป็น​ซัพพลายเออร์​ของเค้านะ​ มียอดขายรายเดือนเท่านั้นเท่านี้​ ถ้าเรามีข้อมูล​แบบนี้ที่เรียกว่าข้อมูล​ทางเลือก(Alternative​ data) ไปให้กับคนขอกู้ได้มันก็จะไปช่วยสมานแผลเป็นจากประวัติชำระหนี้ค้าง​ คิดง่ายๆคือเราต้องการฮีรูดอยล์เอาไปทาแผลเป็นให้ผิวเราดีและสวยใกล้เคียงเดิม​ แนวคิดนี้ในหลายประเทศข้างๆเราก็ทำเช่น​

       เครดิตบูโร​ของลาว​ ที่เอาข้อม​ูลค่าน้ำค่าไฟ​เข้าระบบ​ เครดิตบูโร​กัมพูชา​เอาข้อมูล​เช็คเด้งเข้าระบบ​ เพราะเขารู้ว่ามันมีแผลเป็นครับ​ บ้านเราข้อมูล​เหล่านั้นอยู่ในมือกิจการขนาดใหญ่​ Platform​ รัฐวิสาหกิจ​ ถ้าท่านเหล่านั้นยอมส่งข้อมูล​ไปยังสถาบันการเงินตามคำขอของลูกค้า​

     ในฐานะเจ้าของข้อม​ูล​ ภายใต้กฏหมายคุ้มครองข้อมูล​ส่วนบุคคล​ ทำเป็นขั้นตอนทางดิจิทัล​ ผ่านมือถือ​ มันก็จะทัดเทียมประเทศ​อื่นๆเขา​ ประเด็นคือการใช้​ การแชร์​ การส่งต่อข้อมูล​ ในโลกหลังโควิดครับ​ ข้อมูล​เพิ่มมันก็จะช่วยให้รู้จักลูกค้าเพิ่ม​

      แต่ในทางกลับกัน​ ถ้าลูกค้าท่านเหนียวหนี้​ ท่านไม่ไปจ่ายหนี้สาธารณูปโภค​ ท่านก็ไม่ได้สินเชื่อ​ แล้วเราต้องมีนโยบายเลือกตั้งครั้งหน้าให้ลบประวัติการค้างชำระหนี้พวกนี้อีกมั้ย... อันนี้ขอถาม

      6.ถ้าเราเอาข้อมูล​ทั้งระบบเก่าคือประวัติการชำระหนี้​ กับข้อมู​ลทางเลือกใหม่​ มาผสมกันแบบที่ธนาคาร​โลกสนับสนุน​ และบ้านเราก็มีมติครม.ให้หน่วยงานไปดำเนินการมากว่า​ 5-7ปีที่แล้วในเรื่อง​ Ease of Doing business ถ้าเราทำให้จบเวลานั้น​ เราคงไม่มาพูดกันในเวลานี้​ แต่ไม่เป็นไรครับ​ มันไม่สายที่จะทำ​ แม้แต่ทางธุรกิจโทรคมนาคมเข้ามีหนังสืออย่างเป็นทางการขอส่งและแลกข้อมูล​ของมือถือ(Mobile​ data) กฏหมายและผู้คุมกฏหมายก็ยังไม่อนุมัติ​ให้ทำได้​

      เพราะกฏหมายในปัจจุบันมันไม่เปิดช่อง(ตีความแล้ว)​ถ้าท่านนักการเมืองที่กำลังเสนอตัวมาทำตรงนี้ท่านทำได้จริง​ ทะลุกฏหมายล้าสมัยได้จริง​ ผมจะขออนุโมทนา​ สาธุครับ​

      การกลับไปลบความจริงที่เกิดขึ้นในการชำระหนี้ตามความเข้าใจของผมแล้วเชื่อว่ามันจะช่วย​ อยากให้ช่วยกันคิดให้ครบ​ อย่าสุกเอาเผากิน​ ใช้ความรู้จริง อย่าใช้ความรู้สึก​ นโยบายต้องมาจากความจริง​ ความดี​ มันถึงจะงอกเป็นความงาม​ มันต้องไม่ทำร้ายระบบเศรษฐกิจ​ไทยที่อ่อนแอ​

      สิ่งที่นำเสนอมาเป็นเรื่องที่ดีมากครับ​ เปิดทางให้ผมได้เสนอข้อมูล​ ผมเห็นด้วย​ รายงานวิชาการก็เห็นด้วย​ มติครม.ก็มีแล้ว​ มันไม่ใช่เรื่องใหม่แต่เป็นเรื่องที่ต้องลงมือทำด้วยความรู้และความกล้า​ เพื่อพัฒนาชาติ​ ประเทศ​ เศรษฐกิจ​ของไทย​

       เห็นด้วยครับในเรื่องปรับปรุงแนวคิดระบบการให้สินเชื่อของประเทศ​ไทยเรา​ เพราะเรามีแผลเป็นจากโควิดในตัวคนกู้มากมาย​ และเขาต้องไปต่อ​

      หากแต่เราจะไปยกเลิกในสิ่งที่มันไม่มีอยู่จริง​ ไม่เคยมี​ เป็นเรื่องของสิ่งที่พูดกันต่อๆมา​ ตามความเชื่อ​ ไม่มีหลักฐาน​ เราคงไม่ทำอย่างนั้น​แน่​ เพราะเรามีสติปัญญาความกล้าหาญ​มากกว่านั้น​แน่นอน

     สุดท้าย​ ในศีล​ 5ข้อจะมีเรื่องของการไม่โกหก​ ไม่พูดเท็จ​ ไม่ทำให้คนอื่นเชื่อในความเท็จ​ คนไทยต้องกล้าครับ​ กล้าที่จะแก้ไข​ ต้องไม่กล้าที่จะส่งเสริมการลบความจริง​ มันมีนวัตกรรม​ทางความคิดที่ดีมากในส่วนที่สองคือ​ หาข้อมูล​เป็นฮีรูดอยล์มาบรรเทาความทุกข์​จากแผลเป็นที่ทำให้เราดูไม่ดีจนคนเค้าไม่เชื่อที่จะให้เรายืมเงินอ่ะครับ