บลจ.ยูโอบี ยกระดับกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ นำ ESG ผสานการลงทุน หนุนเกษียณยั่งยืน

บลจ.ยูโอบี ยกระดับกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ นำ ESG ผสานการลงทุน หนุนเกษียณยั่งยืน

"บลจ.ยูโอบี" เดินหน้ายกระดับกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ ผนวก ESG เข้ากับการลงทุน หนุนเกษียณยั่งยืน พร้อมปั้น "UOBAM Line OA" ตอกย้ำกลยุทธ์การเป็นผู้นำด้าน Sustainability

ปัจจุบัน "การพัฒนาอย่างยั่งยืน" เป็นสิ่งที่ทั่วโลกให้ความสำคัญ โดยเฉพาะอย่างยิ่งการขับเคลื่อนในระดับประเทศที่องค์การสหประชาชาติได้เข้ามามีบทบาทสำคัญในการสนับสนุนนโยบายการพัฒนาอย่างยั่งยืนที่ชัดเจน และเป็นรูปธรรม เช่น การกำหนดเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (Sustainable Development Goals: SDGs) และหลักปฏิบัติการลงทุนที่มีความรับผิดชอบ (Principles for Responsible Investment : PRI) ซึ่งประเทศต่างๆ ได้นำหลักการและแนวคิดมาพัฒนา โดยจะเห็นได้จากการตื่นตัวของภาครัฐและภาคเอกชนที่ให้ความสำคัญกับการขับเคลื่อนธุรกิจด้วยแนวคิดอย่างยั่งยืน และขยายวงกว้างในระยะเวลา 2-3 ปีที่ผ่านมา

ผู้นำและริเริ่มการผนวก ESG กับลงทุน 

การเติบโตในมิติ "การลงทุนอย่างยั่งยืน" ได้รับความนิยมจากนักลงทุนทั่วโลก ซึ่งสอดคล้องกับวิสัยทัศน์ของ บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน ยูโอบี (ประเทศไทย) จำกัด หรือ บลจ.ยูโอบี ได้ตระหนักถึงความสำคัญของการจัดการลงทุนที่คำนึงถึงหลักการพัฒนาขององค์กรอย่างยั่งยืนมาโดยตลอด 

กลุ่มบลจ.ยูโอบี ซึ่งมีสาขาอยู่ทั่วภูมิภาคเอเชียนับเป็นผู้ริเริ่มและเป็นผู้นำการลงทุนในด้าน ESG เป็นผู้จัดการกองทุนรายแรกๆ ในเอเชียที่นำปัจจัยด้าน ESG มาบูรณาการเข้ากับปรัชญา กระบวนการลงทุน และกลยุทธ์การลงทุน นอกจากนั้นยังเป็นผู้จัดการกองทุนรายแรกในเอเชียที่เข้าร่วมเป็นส่วนหนึ่งของ United Nations Principles for Responsible Investment (UNPRI) ตั้งแต่ปี 2563 อีกทั้ง บลจ.ยูโอบี ได้เข้าร่วมการประกาศเจตนารมณ์ความร่วมมือ "Sustainable Thailand 2021" ในปี 2564 ซึ่งเป็นความร่วมมือระหว่างภาครัฐ นักลงทุนสถาบัน และธนาคารกว่า 40 องค์กร เพื่อร่วมกันผลักดันธุรกิจการเงินไทยสู่การพัฒนาประเทศที่ยั่งยืนอีกด้วย

บลจ.ยูโอบี ยกระดับกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ นำ ESG ผสานการลงทุน หนุนเกษียณยั่งยืน

บลจ.ยูโอบี มีการจัดตั้งคณะทำงานเพื่อส่งเสริมการลงทุนอย่างยั่งยืน (Local Sustainable Group) เพื่อกำหนดนโยบาย การดำเนินการให้เป็นไปตามเป้าหมายที่กำหนดไว้ รวมทั้งทบทวนนโยบายการลงทุนอย่างยั่งยืน และกระบวนการคัดเลือกลงทุนเป็นประจำทุกปี ที่สำคัญได้นำ ESG มาผนวกเป็นองค์ประกอบหนึ่งในกระบวนการลงทุน และใช้หลัก ESG Integration ประกอบการพิจารณาลงทุน โดยใช้คะแนน ESG Ratings (UOBAM ESG Proprietary Score in Security Selection Process) เป็นส่วนหนึ่งในกระบวนการคัดเลือกหลักทรัพย์ ทั้ง ตราสารหนี้ และ ตราสารทุน

นอกจากนี้ยังมีกระบวนการในการติดตามการดำเนินงานของบริษัทที่ลงทุนอย่างสม่ำเสมอ เพื่อประเมินสถานการณ์ ผลประกอบการ และศักยภาพระยะยาว รวมทั้งการพิจารณาว่าบริษัทที่ลงทุนมีแผน นโยบาย การปฏิบัติงานทางด้าน ESG อย่างไรบ้าง สามารถปรับตัวกับกฎระเบียบ ปัจจัยที่ส่งผลกระทบกับธุรกิจได้ดีเพียงใด ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของ Engagement Program ของบริษัทฯ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง เพื่อช่วยในการระบุสถานการณ์ที่ควรเข้าแทรกแซง เพื่อกระตุ้นให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในบริษัทที่ลงทุน และสร้างโอกาสในการมีส่วนร่วมในการแก้ไขปัญหาหรือฟื้นมูลค่าการลงทุนในบริษัทที่ลงทุนได้ตั้งแต่ในระยะเริ่มต้น

ผสานกลยุทธ์ลงทุน ESG ในกองทุนสำรองเลี้ยงชีพของ บลจ.ยูโอบี

การบริหาร กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ หรือ PVD ที่มีวัตถุประสงค์เป็น "การออมเพื่อให้มีเงินใช้หลังจากเกษียณ" จึงได้นำ ESG เข้ามาเป็นส่วนหนึ่งของกระบวนการลงทุน โดยมีกลยุทธ์ในการปรับพอร์ตลงทุน เพื่อให้บรรลุเป้าหมายทางด้าน Sustainable Investing ประกอบไปด้วยขั้นตอนต่างๆ ดังต่อไปนี้

  1. Portfolio Assessment : วิเคราะห์พอร์ตการลงทุนด้วยปัจจัย ESG เพื่อให้เข้าใจถึงความเสี่ยงและโอกาสการลงทุน ด้าน ESG และความสามารถในการสร้างผลตอบแทนในระยะยาว
  2. Opportunity Identification : ใช้ข้อมูล ESG ในการวิเคราะห์โอกาสที่จะได้รับประโยชน์จากแนวโน้มของ ESG เช่น การเปลี่ยนผ่านไปสู่ เศรษฐกิจคาร์บอนต่ำ ส่งผลดีต่อการลงทุนในบริษัทที่อยู่ในกลุ่มธุรกิจพลังงานทางเลือก
  3. Rebalancing : บริษัทใช้ข้อมูล ESG เพื่อปรับเปลี่ยนพอร์ตการลงทุน เช่น การเพิ่มน้ำหนักการลงทุนในบริษัทที่มีโอกาสเติบโตในธุรกิจยั่งยืน และลดสัดส่วนการลงทุนในบริษัทที่มีผลกระทบเชิงลบด้าน ESG
  4. Monitoring : ประเมิน performance และผลกระทบจากการปรับพอร์ตการลงทุน รวมทั้งติดตามข่าวที่อาจก่อให้เกิดผลกระทบเชิงลบด้าน ESG (ESG Controversy News System) สำหรับทุกๆ หลักทรัพย์ที่อยู่ใน Universe เป็นประจำ และมีการทำ Engagement กับบริษัทที่ลงทุน เพื่อวิเคราะห์ผลกระทบที่ส่งผลต่อการดำเนินธุรกิจของบริษัท

ผลลัพธ์ของการลงทุนอย่างยั่งยืน 

สำหรับการนำ ESG เข้ามาเป็นส่วนหนึ่งของกระบวนการลงทุนกองทุนสำรองเลี้ยงชีพของ บลจ.ยูโอบี มองว่า จะส่งผลดีและเป็นประโยชน์หลายด้าน ตัวอย่างเช่น

  1. ศักยภาพของผลตอบแทนที่ยั่งยืนในระยะยาว : การลงทุนแบบ ESG นั้น เกี่ยวข้องโดยตรงกับการเลือกลงทุนในบริษัทที่มีความแข็งแกร่งและสามารถเติบโตอย่างยั่งยืนในระยะยาว สร้างผลตอบแทนที่ดีในระยะยาวควบคู่ไปกับการช่วยสร้างผลกระทบเชิงบวกและลดผลกระทบเชิงลบ ต่อสิ่งแวดล้อม สังคม และธรรมาภิบาล
  2. การบริหารความเสี่ยง : การพิจารณาความเสี่ยงด้าน ESG ช่วยลดความเสี่ยงของพอร์ตการลงทุน โดยการไม่ลงทุนในธุรกิจที่สร้างผลกระทบเชิงลบทั้ง 3 มิติ เช่น ธุรกิจที่ทำลายสิ่งแวดล้อม ธุรกิจค้าอาวุธ ผู้บริหารมีการทุจริตและไม่ปฏิบัติตามกฎระเบียบ เป็นต้น
  3. การเข้าถึงโอกาสใหม่ : การลงทุนใน ESG ช่วยเพิ่มโอกาสการลงทุนในอุตสาหกรรมใหม่ๆ ที่เติบโตอย่างยั่งยืน เช่น ธุรกิจพลังงานทางเลือก EV และ Solar technology เป็นต้น

ด้วยความมุ่งมั่นของการเป็นผู้นำการลงทุนอย่างยั่งยืน ทำให้ บลจ.ยูโอบี ได้รับรางวัล ESG manager จาก Asia Asset Management นับเป็นรางวัล ESG รางวัลแรกที่ได้รับ และล่าสุดได้รับรางวัล Best Sustainable Investment จาก Citywire Asean Awards 2022/23 สะท้อนให้เห็นถึงความเป็นผู้นำในการผลักดัน ESG เข้าสู่กระบวนการลงทุนอย่างยั่งยืน

บลจ.ยูโอบี ยกระดับกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ นำ ESG ผสานการลงทุน หนุนเกษียณยั่งยืน

ปั้นช่องทางใหม่ UOBAM Line OA

ทั้งนี้เพื่อตอกย้ำกลยุทธ์ผู้นำด้านความยั่งยืน บลจ.ยูโอบี พร้อมเปิดตัวการสื่อสารช่องทางใหม่ UOBAM Thailand Line Official Account (Line OA) เพื่อเป็นช่องทางส่งผ่านข้อมูลความรู้ด้านการลงทุนอย่างยั่งยืน และเพิ่มความสะดวกสบายในการเข้าถึงการให้บริการให้แก่ลูกค้าปัจจุบัน รวมถึงโอกาสในการเข้าถึงฐานลูกค้าใหม่ในอนาคต โดยช่องทางนี้จะรองรับการให้บริการทุกธุรกิจภายใต้การบริหารจัดการของบลจ. ยูโอบี ได้แก่ ธุรกิจกองทุนรวม กองทุนส่วนบุคคล กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ และสามารถเชื่อมโยงความต้องการของนักลงทุนในแต่ละธุรกิจได้อย่างไร้รอยต่อ (Seamless Linkage) โดย UOBAM Line OA ได้บริการอย่างเป็นทางการตั้งแต่วันที่ 1 กรกฎาคม 2566 สามารถเพิ่มเพื่อนเพื่อไม่ให้พลาดการรับข้อมูลข่าวสาร รวมถึงโปรโมชันต่างๆ และกิจกรรมดีๆ จาก UOB Group รวมถึงพันธมิตรทางธุรกิจทั้งในและต่างประเทศ

บลจ.ยูโอบี วางแผนพัฒนา UOBAM Line OA ออกเป็น 2 ระยะ โดยในระยะแรกจะรองรับการให้ข้อมูลข่าวสารในรูปแบบ "One way communication" นักลงทุนจะสามารถติดตามข่าวสาร ภาพรวมตลาดการลงทุน (Market outlook & Fund Update) ในรูปแบบต่างๆ เช่น บทวิเคราะห์ผ่าน Market in Brief หรือ Weekly Podcast ได้อย่างสม่ำเสมอ

ทั้งนี้ เพื่อให้สามารถตอบรับความต้องการของลูกค้าได้ตรงประเด็นและเข้าถึงได้ง่าย จึงได้จัดวางการให้บริการผ่าน 6 MENU HIGHLIGHTS ได้แก่

  1. กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ ซึ่งให้บริการสำหรับผู้ที่สนใจ รวมถึงผู้ที่เป็นสมาชิกกองทุนและมีฐานข้อมูลที่ UOBAM โดยสามารถเชื่อมต่อเข้าสู่ระบบทะเบียนรวมถึงบริการติดต่อสอบถามได้ทันที 
  2. ผลิตภัณฑ์กองทุน ที่จะนำลูกค้าสู่หน้าแสดงข้อมูลกองทุนตามประเภทการลงทุนที่ต้องการ 
  3. การเปิดบัญชีกองทุน ฟังก์ชันที่พร้อมคำแนะนำโดยละเอียดที่จะช่วยให้การเปิดบัญชีกองทุนของลูกค้าเป็นเรื่องง่าย พร้อมทั้งสิทธิประโยชน์ต่างๆ
  4. บทวิเคราะห์ แหล่งรวบรวมบทวิเคราะห์โดยบลจ. ยูโอบี ในรูปแบบต่างๆ 
  5. บทความทางการเงิน รวบรวมบทความ ความรู้ทางการเงิน และการวางแผนการออมการลงทุนเพื่อความยั่งยืน
  6. ข่าวสารประชาสัมพันธ์ ช่องทางสื่อสารข่าวสาร และข้อมูลโปรโมชันพิเศษต่างๆ 

นางสาวกุสุมาพร หิรัณยัษฐิติ ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการ ฝ่ายธุรกิจลูกค้าสถาบันและกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ บลจ.ยูโอบี (ประเทศไทย) จำกัด กล่าวว่า บลจ.ยูโอบี ค่อนข้างให้ความสำคัญในการส่งเสริมให้ความรู้ด้านการเงินและการลงทุนเพราะเราเชื่อว่าข้อมูลเหล่านี้จะเป็นประโยชน์กับนักลงทุนได้อย่างยั่งยืนในระยะยาว จึงจัดให้มีการเผยแพร่บทความที่เป็นประโยชน์อย่างสม่ำเสมอ สามารถติดตามบทความอ่านย้อนหลังได้ที่เมนู "บทความทางการเงิน" และขออนุญาตประชาสัมพันธ์กิจกรรมสัมมนาให้ความรู้ดีๆ ที่เราจัดมาเป็นปีที่ 2 ในหัวข้อ Money Planning Series 2023 ซึ่งจัดขึ้นเป็นรายไตรมาส สำหรับผู้ที่สนใจสามารถติดตามได้ในช่วงเดือนกันยายนและธันวาคม ซึ่งกิจกรรมนี้ต่อยอดจากเสียงตอบรับที่ดีในปีที่ผ่านมา และเรายังไม่หยุดพัฒนา โดยในระยะที่สองจะมีการพัฒนาในขั้น "Two way communication" มีการรองรับการตอบคำถามให้กับสมาชิก รวมถึงผู้สนใจลงทุนได้โดยตรงผ่านทาง Chat box

เผยมูลค่ากองทุน PVD ในประเทศจากปี 2560-2565 มีอัตราเติบโตอยู่ที่ 27.74% 

ปัจจุบันอุตสาหกรรม กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ ในไทย ณ 30 เมษายน 2566 ทางสมาคมบริษัทจัดการลงทุน (AIMC ) ระบุว่า มีมูลค่าทรัพย์สินที่ 1,373.14 ล้านบาท ถ้าเทียบการเติบโตย้อนหลัง ตั้งแต่เดือนธันวาคม 2560-ธันวาคม 2565 คิดเป็นร้อยละ 27.74 หรือเติบโตเฉลี่ยเพียงร้อยละ 5.55 ต่อปี เท่านั้น ซึ่งถือว่าอัตราการเติบโตไม่ได้สูงมากเทียบกับข้อมูลในอดีต

โดยมีเหตุจากหลายปัจจัย แต่ที่เห็นได้ชัดเจนคือเรื่องสังคมผู้สูงอายุ (Aging Society) เพราะในระยะเวลาเดียวกันนี้เอง มีจำนวนสมาชิกลดลงกว่าร้อยละ 2.97 ถึงแม้ว่ากฎหมายจะเปิดให้สมาชิกสามารถคงเงินหรือรับเงินเป็นงวดได้ก็ตาม

บลจ.ยูโอบี ยกระดับกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ นำ ESG ผสานการลงทุน หนุนเกษียณยั่งยืน

ส่วนแนวโน้มในระยะ 5 ปีข้างหน้าจะเป็นอย่างไรนั้น น่าจะยังเป็นคำถามที่หาคำตอบได้ยากที่สุด เพราะทางภาครัฐจะจัดให้มีกองทุนภาคบังคับที่เรียกว่า กบช.หรือกองทุนบำเหน็จบำนาญแห่งชาติ โดยบริษัทเอกชนทุกบริษัทต้องเข้าระบบกบช. ซึ่งจะมีการกำหนดเกณฑ์โดยกำหนดจากจำนวนลูกจ้างในระยะแรก ซึ่งการกำหนดเงินสมทบและเงินสะสม จากนายจ้างและลูกจ้าง จะเริ่มต้นเมื่อไร ก็ยังขึ้นอยู่กับ ภาครัฐว่าจะผ่าน "กฎหมาย" ออกมาบังคับใช้เมื่อใด 

อย่างไรก็ตาม หากพิจารณาจากแนวทางของกบช. ล่าสุด ที่เปิดให้มีทางเลือกของ Qualified PVD ซึ่งเป็นกองทุนสำรองเลี้ยงชีพที่มีการปรับปรุงให้มีกฎเกณฑ์ไม่ด้อยไปกว่ากบช.แล้ว บลจ.ยูโอบี มองว่า น่าจะทำให้บลจ.ที่บริหารจัดการกองทุนสำรองเลี้ยงชีพในปัจจุบัน มีทางเลือกเพิ่มขึ้น 

"ถ้าอยู่บนสมมติฐานที่ว่า มีแต่กองทุนสำรองเลี้ยงชีพอย่างเดียวคิดว่าอัตราการเติบโตเฉลี่ยต่อปีจะสูงกว่านี้ เนื่องจากปัจจุบันมีลูกค้าหลายรายที่รอความชัดเจนเรื่อง กบช. รวมถึงกองทุนสำรองเลี้ยงชีพบางกองทุนยังไม่ได้เปิดโอกาสให้สมาชิกที่ลาออกจากองทุนฯ สามารถสมัครเข้ามาใหม่ได้" นางสาวกุสุมาพร กล่าว

ตั้งเป้าโตปี 66 โตเด่นกว่าตลาด และโอกาสการขยายธุรกิจ

ปี 2566 บลจ.ยูโอบี ยังมุ่งมั่นและตั้งเป้าหมายมีสินทรัพย์ภายใต้การบริหารจัดการ (AUM) ของ กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ สูงกว่าค่าเฉลี่ยอัตราการเติบโตของตลาดต่อปี เนื่องจากกองทุนสำรองลี้ยงชีพ เป็นธุรกิจที่ให้ประโยชน์ทั้งกับนายจ้างและลูกจ้างในระยะยาว จึงมองถึงโอกาสในการเติบโตและร่วมสร้างความยั่งยืนให้แก่ลูกค้าไปพร้อมๆ กัน โดยจะช่วยให้คำแนะนำ จัดทำโครงสร้างสำหรับลูกค้าใหม่ (Structural) ช่วยสนับสนุนการเติบโตของลูกค้าแต่ละรายให้มีศักยภาพ ด้วยทางเลือกผลิตภัณฑ์คุณภาพที่หลากหลาย (Supportive) และช่วยทบทวนตรวจสอบเป้าหมายเพื่อความยั่งยืน (Sustainability) 

ปัจจุบันลูกค้าที่อยู่ภายใต้การบริหารจัดการของ บลจ.ยูโอบี มีทั้งรัฐวิสาหกิจและบริษัทเอกชนขนาดใหญ่หลายแห่ง โดยเมื่อครบสัญญา บลจ.ยูโอบี ยังคงได้รับความไว้วางใจให้บริหารจัดการกองทุนในรอบสัญญาใหม่อย่างต่อเนื่อง และยังได้รับความไว้วางใจในการแนะนำลูกค้าใหม่จากกลุ่มลูกค้าธุรกิจขนาดกลางถึงขนาดเล็กในปัจจุบันอย่างสม่ำเสมอ 

โดยเสียงตอบรับที่ดีนอกเหนือจากผลการดำเนินงานก็คือ ความพร้อมในการให้บริการทั้งในส่วนหน้าจากทีม Marketing & Wealth Service และส่วนหลังโดยทีมนายทะเบียนสมาชิก (Member Registrar) ที่ให้บริการทั้งในรูปแบบ Online ผ่านเว็บไซต์ uobam หรือ Mobile Application : UOBAM INVEST Thailand และ Offline ผ่านการติดต่อจากเจ้าหน้าที่โดยตรง ทั้งนี้ การให้บริการด้านงานทะเบียนสมาชิกที่ บลจ. ยูโอบี เป็นผู้พัฒนาขึ้นเองและเปิดให้บริการมาตั้งแต่ปี 2543 นับเป็นอีก 1 จุดแข็งของ บลจ. ยูโอบี เพราะบริการนี้ไม่ได้มีสำหรับทุกบริษัทจัดการ

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับ กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ ติดต่อได้ที่ 02 786 2000 ต่อ 2031-5 อีเมล หรือ เว็บไซต์