โรงงานเวียดนามหวั่น ผู้ผลิตย้ายกลับจีน เหตุปัญหาเศรษฐกิจ-ดีมานด์ตลาดลด

โรงงานเวียดนามหวั่น ผู้ผลิตย้ายกลับจีน เหตุปัญหาเศรษฐกิจ-ดีมานด์ตลาดลด

เศรษฐกิจโลกป่วน และความต้องการผู้บริโภคซบเซา กระทบการขยายฐานการผลิตของธุรกิจเสื้อผ้า ทำให้โรงงานเวียดนามหวั่นผู้ผลิตย้ายกลับจีน หลังจากเมื่อไม่นานมานี้ยอดสั่งซื้อระยะยาวในเวียดนามลดลง ในขณะที่จีนได้เปรียบฐานการผลิตทั้งด้าน"คุณภาพ-ปริมาณ-ราคา"

Keypoint:

  • ธุรกิจบางส่วนมีท่าทีย้ายกลับมาจีนหลังย้ายไปยังเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
  • เศรษฐกิจโลกป่วน และความต้องการผู้บริโภคซบเซากระทบการขยายฐานการผลิต
  •  จีนได้เปรียบฐานการผลิตทั้งด้าน"คุณภาพ-ปริมาณ-ราคา"
  • ยอดสั่งซื้อระยะยาวในเวียดนามลดลง
  • ปีนี้เวียดนามตั้งเป้าส่งออกเครื่องแต่งกายมูลค่า 4 หมื่นล้านดอลลาร์

หลังจากที่ผู้ผลิตเครื่องแต่งกายและรองเท้าอย่างอาดิดาส (Adidas AG) และไนกี้ (Nike Inc.) ได้ฐานการผลิตออกจากจีน หลังจากความตึงเครียดทางภูมิรัฐศาสตร์ที่เกิดจากความขัดแย้งระหว่างสหรัฐอเมริกาและจีน และต้นทุนการผลิตของประเทศเวียดนามที่ถูกกว่า ทำให้ปัจจุบันเวียดนามแซงหน้าจีนขึ้นเป็นแหล่งผลิตรองเท้ารายใหญ่

สำนักข่าวบลูมเบิร์ก (Bloomberg) รายงานว่าท่ามกลางความไม่แน่นอนของเศรษฐกิจโลกที่เพิ่มขึ้น และความต้องการของผู้บริโภคที่ลดลง ทำให้ธุรกิจการผลิตรองเท้าค้นหาศูนย์กลางการผลิตทางเลือก และมีท่าทีในการย้ายฐานการผลิตกลับมา"จีน"อีกครั้ง

"คุณภาพ-ปริมาณ-ราคา" ดันจีนได้เปรียบฐานการผลิตแกร่ง

ลอร่า มาจิลล์ (Laura Magill) หัวหน้าฝ่ายความยั่งยืนระดับโลกของแบรนด์รองเท้า บาจา กรุ๊ป(Bata Group) กล่าวถึงระบบนิเวศที่เข้มแข็งของฐานการผลิตในจีน ได้เติบโตเต็มที่หลังจากที่ก่อตั้งขึ้นมานานหลายทศวรรษ ซึ่งไม่เพียงแต่รับประกันราคาที่แข่งขันกับตลาดได้เท่านั้น แต่ยังมอบคุณภาพในการผลิตจำนวนมากที่มีความมั่นคง ทำให้ไม่มีตลาดใดสามารถเทียบจีนได้ ทั้งคุณภาพ ปริมาณ และราคา

หลิน เฟิง (Lin Feng) วัย 50 ปี เป็นนักธุรกิจเจ้าของโรงงานเครื่องแต่งกายที่ตั้งอยู่ในและรอบๆ เมืองกวางโจว ซึ่งอยู่ทางตอนใต้ของจีน โดยโรงงานของเขาผลิตเสื้อผ้าสำหรับลูกค้าในสหรัฐฯ และยุโรปเป็นหลัก

ย้อนไปในช่วงล็อกดาวน์จากวิกฤติโควิดปี 2563 โรงงานเริ่มสายการผลิตใหม่สำหรับชุดสตรีในฮานอย ประเทศเวียดนามเพื่อ "ทดสอบตลาด" โดยโรงงานมีค่าจ้างรายเดือนของแรงงานที่น้อยกว่าแรงงานในกวางโจวถึงครึ่งหนึ่ง แต่กลับพบว่าคำสั่งซื้อจากลูกค้าต่างประเทศมี "อุปทานลดลง" เพราะมีระดับสินค้าค้างสต็อกจำนวนมาก

ทำให้ปีที่แล้วโรงงานต้องย้ายฐานการผลิตออกจากเวียดนามและกลับไปที่กวางโจวอีกครั้ง ด้วยอุปสงค์ที่อ่อนแอ จึงไม่มีประโยชน์ที่จะพูดถึงการขยายตัวในต่างประเทศ แม้ว่ามีค่าแรงที่ต่ำ และการยกเว้นภาษีก็ไม่มีความหมาย

ทั้งนี้สภาสิ่งทอและเครื่องนุ่งห่มแห่งชาติของจีน ระบุว่าการถดถอยของเศรษฐกิจมีความเสี่ยงทำให้การใช้จ่ายประมาณ 1.8 พันล้านดอลลาร์หายไป จากผู้ผลิตในประเทศจีนหันไปหาเพื่อนบ้านในเอเชีย เช่น เวียดนามและไทย ในช่วงหลายปีที่ผ่านมา ทำให้หลายประเทศเหล่านั้นมียอดการส่งออกไปยังประเทศที่พัฒนาแล้วเติบโตขึ้น 

โรงงานเวียดนามหวั่น ผู้ผลิตย้ายกลับจีน เหตุปัญหาเศรษฐกิจ-ดีมานด์ตลาดลด

อัตราผลผลิต-ทักษะคนงานจีนเพิ่ม

การขยายการผลิตในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ไม่ใช่ "การตัดสินใจที่สมเหตุสมผล จากแนวโน้มธุรกิจจะชะลอตัวต่อไปใน1-2ปีหน้า”

กี(Kee) แหล่งข่าวจากผู้จัดการโรงงานเครื่องแต่งกายในมณฑลกวางตุ้ง เผยว่าเป็นเวลากว่า 20 ปีที่เขาดำเนินการสายการผลิตในประเทศกัมพูชาที่ผลิตกางเกงยีนส์ โดยในช่วงทศวรรษที่ผ่านมาพบว่า อุตสหกรรมเห็นอัตรากำไรที่ลดลงมากขึ้น เนื่องจากค่าแรงขั้นต่ำพุ่งสูงขึ้น

จากอัตราเงินเดือนของแรงงานในเมืองจงซานในจีน นั้นมากกว่าในกัมพูชาเพียง 30% ถือว่ามีสัดส่วนที่ใกล้เคียงกันมากเมื่อเทียบกับ 10 ปีที่แล้ว ประกอบกับอัตราผลผลิตที่โรงงานในจีนดีขึ้นประมาณ 20% และคนงานมีทักษะมากขึ้น

แท้จริงแล้ว จีนเป็นส่วนสำคัญในห่วงโซ่อุปทานเครื่องนุ่งห่มระดับโลก แม้แต่เวียดนามยังต้องพึ่งพาจีน

โดยมาจิลล์ ตั้งคำถามถึงการเป็นศูนย์กระจายสินค้าเคมีภัณฑ์และวัตถุดิบ ที่ต้องมีความรู้ในประเทศสำหรับเครื่องผสมสารเคมีเกี่ยวกับวิธีการผลิตจำนวนมากด้วย

เนื่องจากอุตสาหกรรมเสื้อผ้าของเวียดนามยังคงพึ่งพาวัสดุของจีนเป็นส่วนใหญ่ เช่น กระดุม ด้าย ฉลาก และบรรจุภัณฑ์ โดยมีเพียงประมาณ 30% ถึง 40% ของวัสดุที่ผลิตในท้องถิ่น ตามการระบุของ ดวง ถิ หง็อก ดุง ( Duong Thi Ngoc Dung) รองประธานสมาคมสิ่งทอและเครื่องนุ่งห่มของเวียดนาม

โรงงานเวียดนามหวั่น ผู้ผลิตย้ายกลับจีน เหตุปัญหาเศรษฐกิจ-ดีมานด์ตลาดลด

รวมทั้งภาษาและการเปลี่ยนแปลงทางวัฒนธรรมยังเป็นอุปสรรคต่อการบริหารจัดการคนงานในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ซึ่งพนักงานบางคนมีประสบการณ์น้อยกว่าพนักงานในจีน

โรงงานผลิตเวียดนามระส่ำ ยอดสั่งซื้อระยะยาววูบ

ไมเคิล ลาสเคา (Michael Laskau) นักธุรกิจในเวียดนามที่ทำธุรกิจผู้ผลิตเครื่องแต่งกายในท้องถิ่นร่วมกับพาร์ทเนอร์จากต่างประเทศ กล่าวว่าในขณะที่ความตึงเครียดทางการเมืองได้กระตุ้นให้ลูกค้าบางรายของเขาเปลี่ยนมาเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ แต่ก็มี “ความกลัวที่จะย้ายฐานการผลิตไปจีนและปักหลักอยู่ที่นั่น” ซึ่งกระทบกับยอดคำสั่งซื้อที่มั่นคงกับโรงงานในท้องถิ่นและทำให้ผู้ผลิตเสื้อผ้าบางรายต้องดิ้นรนเพื่ออยู่รอด

ลาสเคา กล่าวว่าลูกค้าส่วนใหญ่ที่สั่งซื้อกับโรงงานในเวียดนามกำลังเลี่ยงการทำสัญญาระยะยาว เนื่องจากกังวลเกี่ยวกับอุปสงค์ทั่วโลกที่อ่อนแอ เท่ากับว่าเมื่อโรงงานในเวียดนามไม่มีข้อผูกมัดระยะยาว บริษัทตัดเย็บเสื้อผ้าจำนวนมากก็จะมีรายได้เข้ามาแบบเดือนต่อเดือน ทำให้โรงงานบางแห่งวางแผนที่จะลดการทำงานลงเป็น 4 วันต่อสัปดาห์เพื่อลดต้นทุน

อย่างไรก็ตามสมาคมสิ่งทอและเครื่องนุ่งห่มของเวียดนาม กล่าวว่าเวียดนามยังคงตั้งเป้าส่งออกเครื่องแต่งกายมูลค่า 40,000 ล้านดอลลาร์ในปีนี้ แม้ว่าลูกค้าบางรายในประเทศมีความลังเลที่จะพึ่งพาจีนมากเกินไป โดยเผยว่าการส่งออกเครื่องแต่งกายมีมูลค่า 18.6 พันล้านดอลลาร์ในช่วงครึ่งปีแรก ซึ่งคิดเป็น11.3% ของการส่งออกโดยรวมของเวียดนาม

ทั้งนี้ ลาสเคา เผยว่าโรงงานตัดเย็บเสื้อผ้าแห่งหนึ่งลงทุน 80 ล้านดอลลาร์เพื่อผลิตผ้าโดยใช้วิธีที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมมากขึ้น บริษัทได้สะท้อนต้นทุนบางส่วนของโรงงานแห่งใหม่นี้ในราคาของสิ่งทอ เพียงแต่กลับพบว่าตัวเองถูกคู่แข่งในจีนเอาชนะด้วย"ราคาที่ถูกกว่า" จึงเป็นสถานการณ์ที่กลืนไม่เข้าคายไม่ออกเพราะลูกค้าอยากได้ผ้าที่ผลิตในเวียดนามแต่ไม่อยากจ่ายราคาที่แพงกว่า

อินเดีย เป็นอีกหนึ่งประเทศฐานการผลิตที่ได้รับผลประโยชน์จากการเปลี่ยนแปลงของผู้ผลิตบางรายในการกระจายธุรกิจออกจากประเทศจีน ทั้ง ยูนิโคล่(Uniqlo) จาก Fast Retailing Co. และแอปเปิล Apple Inc. ก็ขยายขนาดการผลิตไปยังอินเดียด้วย เพื่อมองหาการกระจายความหลากหลายจากศูนย์กลางหลักในแผ่นดินใหญ่

อ้างอิง bloomberg