Digital Economy โอกาสใหม่ ดึงไทยหลุดพ้น ‘กับดักเศรษฐกิจ’

Digital Economy โอกาสใหม่ ดึงไทยหลุดพ้น ‘กับดักเศรษฐกิจ’

ประเทศไทยเป็นหนึ่งในประเทศที่ติดกับดัก “รายได้ปานกลาง” ที่ต้องพึ่งพา “เฮฟวี่อินดีสตรี่” อย่างอุตสาหกรรมรถสันดาบและการท่องเที่ยวเป็นหัวใจสำคัญในการขับเคลื่อนประเทศในช่วงทศวรรษที่ผ่านมา แต่อาจกลายเป็นฟันเฟืองที่ล้าสมัยสำหรับอนาคต อาจทำให้ประเทศไทยตกขบวนแห่งความรุ่งเรืองและเสียโอกาสอย่างมหาศาล

“ท๊อป บิทคับ” หรือ จิรายุส ทรัพย์ศรีโสภา ผู้ก่อตั้งและประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท บิทคับ แคปปิตอล กรุ๊ป โฮลดิ้งส์ จำกัด หนึ่งในผู้นำของอุตสาหกรรมสินทรัพย์ดิจิทัลไทย และผู้ผลักดันให้ไทยก้าวเข้าสู่”เศรษฐกิจดิจิทัล ที่กำลังจะกลายเป็นวาระสำคัญของโลกในอนาคต

3 คีย์เวิร์ดสำคัญสร้าง Digital Economy

     จิรายุสมองว่า 3 คีย์เวิร์ดสำคัญในการสร้างโครงสร้างประเทศไทยคือ “ดิจิทัล กรีน เรโวรูชัน” ซึ่งขณะนี้ไทยอยู่ในช่วงสร้างการรับรู้สู่โอกาสใหม่ที่กำลังจะเกิดขึ้น เพื่อเดินตามทิศทางของโลก ซึ่งอาจใช้เวลาเพียงแค่ 10 ก็สามารถกลับขึ้นมาเป็นกลุ่มประเทศผู้นำได้ โดยจะต้องอัปเดท“ฮาร์ทแวรและซอร์ฟแวร์" พร้อมกับ”แก้ไขปัญหา”ในระยะสั้นและระยะยาว

อัปเดท ฮาร์ดแวร์-ซอร์ฟแวร์

     เมื่อการมาถึงของ ”เทคโนโลยี” ทำให้โมเดลธุรกิจเปลี่ยนไปสู่อินฟาสตรักเจอร์ใหม่ทั้งหมด จึงต้องอัปเดท “ฮาร์ดแวร์” ทั้งอินเตอร์เน็ต IOT (InternetOfThing) AI บิ้กเดต้า 3D Printing บล็อกเชน ดิจิทัลแอสเสท เพื่อดึงดูดเม็ดเงินลงทุนเข้ามา เพราะการลงทุนจะไปสู่การลงทุนรูปแบบใหม่ที่มีความ”พรีเมี่ยม”มากขึ้น

      รวมทั้ง Green Economy และ Climate Technology  เช่น “ซีเมนต์สีเขียว” สำหรับการสร้างบ้านอย่างยั่งยืน หรือ “กรีนไรซ์” ในการพัฒนาปลูกข้าวที่ลดการปล่อยสารมีเทน เพื่อมุ่งสู่การเป็น”ซัพพลายเชนสีเขียว”ตั้งแต่ต้นน้ำถึงปลายน้ำ จึงจะทำให้ไทยสามารถสร้างสินค้าที่มีคุณภาพและส่งออกโดยไม่โดนการกีดกันทางการค้า ซึ่งการที่จะพัฒนาอุตสาหกรรมใหม่ๆนั้นเราต้องเตรียมบุคลากรที่มีความสามารถ

สู่การอัปเกรด “ซอร์ฟแวร์” หรือ ฮิวเมนท์แคปปิตอล โดยการอัพสกิลและรีสกิลคนไทยให้พร้อมรับเม็ดเงินลงทุนในปี 2567 ที่จะหลั่งไหลเข้ามาภูมิภาคอาเซียน

     ตอนนี้ประเทศไทยเปรียบเสมือนหมู่บ้านที่มี”ผู้นำ” คือผู้ใหญ่บ้านที่พัฒนา”เทียนไข”ซึ่งหมายถึง”กับดับรายได้ปานกลาง”มาโดยตลอด แต่อยู่ดีๆโอกาสใหม่เกิดขึ้นมาคือ การมาของ”ไฟฟ้า”ที่ไม่ได้มาจากการพัฒนาเทียนไขในอดีต

     ฉะนั้นการที่เราจะสร้างโอกาสให้กับประเทศไทยในอนาคตได้นั้น ต้องบ่มเพาะบุคลากรในประเทศให้สามารถคิดค้นไฟฟ้าให้ได้ ซึ่งถ้านโยบายและบุคลากรไม่สอดคล้องเพื่อสนับสนุนการคิดค้นและพัฒนาไฟฟ้า จะทำไฟฟ้าไปเกิดที่ต่างประเทศและไทยต้องซื้อไฟฟ้าเพื่อแสงสว่างที่ดีกว่าเทียนไขในท้ายที่สุด

ดังนั้นโอกาสของไทยตอนนี้ต้อง”พัฒนาคน” และ”สนับสนุน”การสร้างไฟฟ้า พร้อมกับรักษาการพัฒนาเทียนไขให้เป็นรากฐานที่แข็งแรง เพื่อหลุดออกจากกับดับรายได้ปานกลางประเทศไทยต้องแก้ปัญหาทั้งใน”ระยะสั้น”และ”ระยะยาว”เพื่อให้ไทยฟื้นตัวขึ้นมาสู่ยุครุ่งเรืองอีกครั้ง

เร่งแก้ปัญหาระยะสั้น-ระยะยาว

     อย่างแรกที่ต้องเร่งแก้ไขในระยะสั้น คือไทยเป็นหนี้ครัวเรือนพุ่งกว่า 90% ของ GDP ซึ่งถ้าคนไทยไม่สามารถจ่ายหนี้ครัวเรือนไหวและหนี้ครัวเรือนระเบิด อาจทำให้เศรษฐกิจไทยถดถอยเป็นระยะเวลานาน

ถัดมาคือ ไทยเป็นประเทศเดียวในอาเซียนที่มีประชากรผู้สูงอายุมากที่สุด ขณะที่เวียดนาม อินโดนีเซียมีประชากรอายุเฉลี่ยที่ 30 ปีเท่านั้น

     และสิ่งที่ต้องวางโครงสร้างในระยะยาว คือ ต้องมีทิศทางที่สอดคล้องกับทิศทางของโลก และมีความยืดหยุ่น เพราะในอุตสาหกรรมเศรษฐกิจดิจิทัลมีความไม่แน่นอนสูง จึงต้องมีการปรับเปลี่ยนได้ตลอดเวลา ดังนั้นต้องมีกฎหมายที่ยืดหยุ่น

     รวมทั้ง“เอ็นดาวน์เมนท์” หรือต้นทุนของประเทศไทยที่ได้เปรียบกลุ่มประเทศอาเซียน ทั้งสภาพทางภูมิศาสตร์ ทะเล ภูเขา อาหาร สินค้าและบริการต่างๆ ที่สามารถดึงนักลงทุนและคนที่สามารถมายังประเทศไทยเพื่อช่วยเสริมสร้างให้ประเทศไทยกลายเป็น”ศูนย์กลาง”ของเศรษฐกิจดิจิทัลได้ แต่กลับถูกตีกรอบด้วยข้อจำกัดหลายประการ เช่นทุนจดทะเบียนของชาวต่างชาติ

     ประเทศไทยสามารถทำได้ดีกว่านี้ โดยการมีผู้นำที่ผลักดัน และเห็นความสำคัญของกระทรวงดิจิทัลและเศรษฐกิจ และกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติ ในการจัดสรรงบประมาณเพื่อผลักดัน “ดิจิทัลกรีนเรเวอรูชัน” และอนาคตของเงินจะถูกเปลี่ยนไปสู่ “เงินดิจิทัล” เพื่อสอดคล้องกับประเทศที่พัฒนาแล้ว เช่น”จีน”ที่ 44% ของ GDP ถูกผลักดันด้วยเศรษฐกิจดิจิทัล

     ขณะนี้ทิศทางของแบงก์ชาติทั่วโลก มีทิศทางในการสร้าง CBDC หรือ สกุลเงินดิจิทัลแห่งชาติ ซึ่งธนาคารกลางแห่งประเทศไทยได้ให้ความสำคัญในเรื่องของ ดาต้าเบสและอนาคตของการเงิน โดยเริ่มพัฒนา CBDC ตั้งแต่ 2560 และพัฒนาอย่างต่อเนื่องถึงปัจจุบัน เรียกได้ว่าติดอันดับ 10 ของโลกในการพัฒนา CBDC ในระดับแอดวานซ์  แม้ว่าการสร้างความเข้าใจที่ถูกต้องเป็นเรื่องที่ต้องใช้เวลา แต่ภายใน 5 ปีข้างหน้าทุกคนจะคุ้นชินกับ”เงินดิจิทัล”มากขึ้น

     รวมถึงนโยบาย”เงินดิจิทัล” ของรัฐบาลใหม่นั้นไม่น่าเป็นห่วงในเรื่องของเทคโนโลยี แต่ต้องให้ความสำคัญเรื่องของ "เศรษฐศาสตร์"เป็นหลัก สำหรับผลกระทบต่อระบบเศรษฐกิจไทย

     สิ่งสำคัญสำหรับการขับเคลื่อนเศรษฐกิจดิจิทัลคือ ภาครัฐและเอกชนต้องร่วมมือเพื่อแก้ปัญหาและวางแผนโครงสร้างประเทศไทยให้มีความแข็งแรง รวมถึงการสร้างความสามัคคีของทุกคนในดีโคซิสเต็มเพื่อเดินไปสู่เป้าหมายเดียวกัน ถ้าหากประเทศไทยทำได้ จะทำให้เราหลุดจากกับดักรายได้ปานกลางได้ เพราะสิ่งที่กำลังจะเกิดขึ้นใน 5-10 ปีข้างหน้า จะมีมูลค่ามากกว่า 50 ปีที่ผ่านมารวมกัน