เส้นทางวิกฤตของเศรษฐกิจจีน มุ่งสู่หายนะของฟองสบู่อสังหาฯ

เส้นทางวิกฤตของเศรษฐกิจจีน มุ่งสู่หายนะของฟองสบู่อสังหาฯ

เศรษฐกิจจีนดูเหมือนแข็งแกร่ง แต่มีระเบิดเวลาอยู่ลูกหนึ่ง ซึ่งรอวันที่จะสร้างปัญหาร้ายแรงขึ้นมา ระเบิดลูกนี้ก็คือ “วิกฤติในภาคอสังหาริมทรัพย์”

ฉากหน้าของเศรษฐกิจจีนอาจดูเหมือนแข็งแกร่ง แต่มันมีระเบิด เวลาอยู่ลูกหนึ่ง ซึ่งรอวันที่จะสร้างปัญหาร้ายแรงขึ้นมา และมันเคยเกือบจะเป็นวิกฤตครั้งใหญ่มาแล้ว แต่จีนสามารถแก้ปัญหาเฉพาะหน้ามาได้ ทว่าการแก้ปัญหาดังกล่าวดูยังดูจะเป็นเพียงการซื้อเวลาเท่านั้น เพราะตอนนี้ระเบิดเวลาถูก จุดชนวนขึ้นมาอีกครั้ง

ระเบิดลูกนี้ก็คือ “วิกฤติในภาคอสังหาริมทรัพย์” ซึ่งก็เหมือนกับประเทศอื่นๆ ที่หาก อสังหาริมทรัพย์ล้มแล้วหรือฟองสบู่ระเบิดตูขึ้นมาแล้ว มันจะส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจอย่างรุนแรง แต่ฟองสบู่อสังหาฯ ของจีนมัน มีอะไรที่ซับซ้อนกว่านั้น เพราะมันเป็น “ทุกสิ่งทุกอย่างของคนจีน”

ทำไมภาคอสังหาริมทรัพย์จีนถึงเป็นทุกสิ่งทุกอย่างของจีน?

อุตสาหกรรมอสังหาริมทรัพย์คิดเป็นประมาณ 20% ของ เศรษฐกิจจีน และทรัพย์สินในครัวเรือนของจีนยังเก็บไว้ในรูป ของอสังหาริมทรัพย์สูงถึง 60% หมายความว่าคนจีนเก็บเงิน และความมั่งคั่งส่วนใหญ่ หรือเกินครึ่งหนึ่งเอาไว้ในภาคอสังหาฯ นั่นเอง ต่างจากคนในประเทศอื่นที่เก็บในรูปของเงินฝาก หรือการลงทุนกองทุนต่างๆ

เมื่อเปรียบเทียบกับประเทศอื่นๆ การลงทุนในตลาดหุ้น และสินทรัพย์อื่นๆ ของจีนนั้นยากกว่าเนื่องจากรัฐบาลควบคุม สกุลเงินภายในประเทศ และพลเมืองเข้าถึงการลงทุนจากต่างประเทศได้อย่างจำกัด พลเมืองจีนยังเผชิญกับแรงกดดันทาง วัฒนธรรมที่ส่งเสริมให้มีบ้านเป็นของตัวเอง โดยเฉพาะสำหรับผู้ชายที่กำลังจะหาคู่ครอง เป็นผลให้ชาวจีนจำนวนมากหันมา ลงทุนอสังหาฯ หลายแห่ง เนื่องจากเป็นหนึ่งในไม่กี่วิธีที่ค่อนข้างง่ายที่จะทำเงินให้เติบโตและรักษาความมั่งคั่ง

แต่การทำแบบนี้ นำไปสู่การเก็งกำไรและทำให้อสังหาฯ แพงเกินกว่าเหตุ ทั้งๆ ที่ควรจะเป็นของจำเป็นสำหรับประชาชน โดยเฉพาะในจีนที่มีที่ดินจำกัดแต่มีประชากรนับพันล้านคน ทำให้ความต้องการอสังหาฯ สูงตามธรรมชาติอยู่แล้ว เมื่อมัน ถูกทำให้เป็นสินทรัพย์การลงทุนและการเก็งกำไร ปัญหาจึงก่อตัวขึ้น นักเศรษฐศาสตร์จำนวนมากจึงคาดเดามานานว่าจะเกิด ฟองสบู่อสังหาริมทรัพย์ภายในเศรษฐกิจจีน 

นี่คือตัวการที่ทำให้ฟองบู่เกิดขึ้นในจีน

รัฐบาลต้องการกระตุ้นเศรษฐกิจโดยกำหนดอัตราดอกเบี้ยต่ำและให้มีการปล่อยเงินกู้จากธนาคารเพิ่มขึ้น เริ่มต้นในปี 2003 สมัยรัฐบาลของนายกรัฐมนตรี เวินเจียเป่า ซึ่งอนุญาตให้ปล่อยสินเชื่อราคาถูกสำหรับการก่อสร้างและการซื้อ อสังหาริมทรัพย์ ขณะเดียวกันก็ทำให้การลงทุนในตราสารหนี้น่าดึงดูดน้อยลง ทำให้คนไม่ลงทุนในตราสารหนี้แต่หันไปลงทุนในอสังหาฯ

ในขณะเดียวกัน เนื่องจากจีนปกคตรองโดยระบอบ “คอมมิวนิสต์” ซึ่งในแง่หนึ่งสินทรัพย์หลักๆ จะเป็นของรัฐ เช่น ที่ดิน ชาวจีนไม่มีสิทธิถือครองที่ดินเป็นของตนเอง แต่จะต้องเช่าจากรัฐ (หรือซื้อขายจากรัฐ) โดยระยะเวลา 70 ปี แต่จะสามารถต่ออายุสัญญาเช่า (หรือในทางปฏิบัติคือสัญญาซื้อ) ได้เรื่อยๆ จนเหมือนกับเป็นเจ้าของจริงๆ ในทางปฏิบัติ ดังนั้น รัฐบาลท้องถิ่นจึงอาศัยการขายที่ดินเพื่อหารายได้ (คิดเป็น สัดส่วนสูงถึง 50% ของรายได้) กระตุ้นให้มีการขายและพัฒนาที่ดินอย่างต่อเนื่อง

ความต้องการเงินเอามาลงทุนในอสังหาฯ มีมากจนธนาคารทั่วไปไม่สามารถตอบสนองพลเมืองได้เต็มที่ เพราะการจัดหาสินเชื่อจากธนาคารหลักทั้งสี่แห่งของประเทศไม่เพียงพอและยังมีข้อจำกัดด้านกฎระเบียบเกี่ยวกับสินเชื่อที่มีความเสี่ยง ทำให้พลเมืองจีนหันไปพึ่งพาธนาคารเงา คือการปล่อยเงินกู้ใต้ดินที่อยู่นอกกฎระเบียบของรัฐ ประเทศจีนมีอุตสาหกรรมธนาคารเงาที่ใหญ่ที่สุดแห่งหนึ่ง โดยสินเชื่อคงค้างของประเทศประมาณ 40% เชื่อมโยงกับกิจกรรมธนาคารเงา

ต่อมาในระหว่างที่โลกเกิดวิกฤตการเงินระหว่างปี 2007– 2008 จีนพยายามหลีกเลี่ยงผลกระทบ โดย สภาแห่งรัฐแห่งสาธารณรัฐประชาชนจีนใช้มาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจมูลค่า 4 ล้านล้านหยวน (586,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐ) มีเป้าหมาย เพื่อลดผลกระทบจากวิกฤตการณ์ทางการเงิน ผลก็คือการเติบโตทางเศรษฐกิจของจีนที่ลดลงเหลือเกือบ 6% ภายในสิ้นปี 2008 และฟื้นตัวขึ้นมามากกว่า 10% ในช่วงกลางปี 2009 แต่สิ่งที่ตามมาก็คือ ทำให้เกิดหนี้มหาศาลในรัฐบาลท้องถิ่นและรัฐวิสาหกิจ

เส้นทางวิกฤตของเศรษฐกิจจีน มุ่งสู่หายนะของฟองสบู่อสังหาฯ
ในช่วงที่จีนกระตุ้นเศรษฐกิจ ยังทำให้เกิดความต้องการเงินมาลงทุนอย่างมาก ทำให้ธนาคารเงาเติบโตอย่างรวดเร็วไปด้วย ด้วยเงินที่ได้มาง่ายๆ และความต้องการในอสังหาฯ สูงมากไม่ว่าจะเป็นเพราะความต้องการบ้านและความต้องการ สิ่งของมาเก็งกำไร ทำให้ราคาอสังหาฯ แพงเกินเหตุ แต่ในที่สุดความต้องการเก็งกำไรก็สูงกว่าความต้องการบ้านจริงๆ ทำให้มีการสร้างอสังหาฯ เป็นจำนวนมากมายมหาศาล แต่ไม่มีคนเข้าอยู่อาศัย

ความต้องการบ้านยิ่งลดลงเรื่อยๆ เพราะบ้านแพงเกินกว่าคนที่ต้องการจะซื้อบ้านมาอศัยจริงจะทำได้ เช่นที่เซี่ยงไฮ้ ราคาอสังหาริมทรัพย์เพิ่มขึ้นมากกว่า 150% ระหว่างปี 2003 - 2010 เมื่อความต้องการจริงๆ ลดลง ความต้องการปลอมๆ ที่เกิดจากการเก็งกำไรเพิ่มขึ้น ความเสี่ยงก็เพิ่มขึ้นมา

ในขณะเดียวกัน เพราะเงินไหลเข้ามามหาศาล ทำให้ บริษัทอสังหาฯ ใหญ่ๆ กระจายการลงทุนไปยังธุรกิจรูปแบบอื่นๆ ที่ไม่เกี่ยวกับธุรกิจหลัก เช่น อุตสาหกรรมรถยนต์ ขณะเดียวกันอุตสาหกรรมอื่นๆ ที่ไม่เกี่ยวกับอสังหาฯ เลย เช่น อุตสาหกรรมเคมี เหล็ก สิ่งทอ และรองเท้าก็ยังหันมาเปิดแผนก อสังหาริมทรัพย์ โดยคาดหวังผลตอบแทนที่สูงกว่าธุรกิจหลักของพวกเขา ทำให้เศรษฐกิจจีนผูกเข้ากับอสังหาฯ จนเกินกว่าเหตุ

นี่คือสถานการณ์ตอนที่จีนเกิดฟองสบู่อสังหาริมทรัพย์ ระหว่างปี 2005–2011 ซึ่งจีนสามารถหลีกเลี่ยงได้ เพราะระหว่างปี 2010 ถึง 2011 มีการประกาศใช้นโยบายเพื่อควบคุม ไม่ให้ฟองสบู่แย่ลงหรือป้องกันไม่ให้เกิดขึ้น รัฐบาลเริ่มควบคุมกระเสเงินเก็งกำไร และกำหนดให้ครอบครัวที่ซื้อบ้านหลังที่ สองต้องชำระเงินดาวน์อย่างน้อย 40% ในช่วงต้นปี 2011 ทางการปักกิ่งสั่งห้ามการขายบ้านให้กับผู้ที่ไม่ได้อาศัยอยู่ใน ปักกิ่งเป็นเวลา 5 ปี 

ปักกิ่งยังจำกัดจำนวนบ้านที่ครอบครัวชาว ปักกิ่งโดยกำเนิดสามารถเป็นเจ้าของได้เพียงสองหลัง และ อนุญาตให้มีบ้านเพียงหลังเดียวสำหรับครอบครัวที่ไม่ใช่ชาว ปักกิ่ง ทั้งหมดนี้เพื่อป้องกันการซื้อบ้านเกินความจำเป็น ซึ่งหมายถึงการซื้อเพื่อเก็งกำไรหรือเพื่อใช้เป็นสินทรัพย์การลงทุน ด้วยมาตรการต่เหล่านี้ในปี 2011 ฟองสบู่อสังหาฯ ของจีนจึงไม่แตก แต่ยุบลงไป

แต่มันยังไม่จบแค่นั้น

จีนเผชิญกับฟองสบู่อสังหาริมทรัพย์ ระหว่างปี 2005–2011 แม้ว่ามันจะยุบลงก็จริง แต่ปัญหายังอยู่ และต้นตอของปัญหา ยังไม่ถูกแก้ เพียงแค่มันถูกกดลงไปไม่ให้พองขึ้นมาจนแตก ดังนั้นภายในปลายปี 2014 กองทุนการเงินระหว่างประเทศ หรือ IMF จึงเตือนว่าเกิดปัญหาอุปทานล้นตลาดด้าน อสังหาริมทรัพย์ซึ่งอาจส่งผลเสียต่อเศรษฐกิจจีน โดยเฉพาะใน เมืองระดับ 2 และ 3 ซึ่งเป็นเมืองขนาดใหญ่ของประเทศรอง จากเซี่ยงไฮ้หรือปักกิ่ง

มาถึงตอนนี้ ปัญหาของคนจีนไม่ใช่บ้านแพงจนซื้อไม่ไหว อีกแล้ว เพราะราคาเริ่มลดลง แต่ปัญหาที่ตามมาคือบริษัทต่างๆ ลงทุนในอสังหาฯ หนักมาก แต่ผลตอบแทนได้คืนมาแทบไม่มี เพราะบ้านขายไม่ออก อัตราบ้านเหลือสูงมาก ภายในต้นปี 2016 รัฐบาลจีนได้ออกมาตรการหลายชุดเพื่อเพิ่มการซื้ออสังหาริมทรัพย์ ซึ่งรวมถึงการลดภาษีการขายบ้าน การจำกัดการขายที่ดินสำหรับโครงการพัฒนาใหม่ และมาตรการที่สามในชุดการลดเงินดาวน์จำนอง

แต่จีนมาเจอเข้ากับเรื่องคาดไม่ถึงทางเศรษฐกิจเข้าเสีย ก่อน นั่นคือสหรัฐฯ ทำสงครามการค้ากับจีน ส่งผลกระทบต่อภาคการผลิตและส่งออกของจีนซึ่งเป็นตัวขับเคลื่อสำคัญของเศรษฐกิจ และทำให้บริษัทในจีนเริ่มสายป่านขาด เพราะขาด กระแสเงิน เนื่องจากถูกสหรัฐฯ ตัดห่วงโซ่อุปทาน ต่อมาจีนและทั่วโลกยังเผชิญกับการระบาดของโควิด-19 ยิ่งทำให้เศรษฐกิจ ของจีนได้รับผลกระทบอย่างรุนแรงเพราะอุปสงค์ลดลงอย่าง รวดเร็ว สิ่งเหล่านี้ทำให้เศรษฐกิจของจีนชะลอตัวลง

ในขณะที่เศรษฐกำลังแย่ๆ และปัญหาอสังหาฯ ยังแก้ไม่สำเร็จ มันก็ระเบิดขึ้นมาอีกครั้ง ย้อนกลับไปตอนที่ในช่วงที่จีน กระตุ้นเศรษฐกิจเพื่อหลีกเลี่ยงวิกฤตการเงินระหว่างปี 2007– 2008 ตอนนั้นภาคอสังหาฯ บูมขึ้นมา พร้อมๆ กับ ทำให้เกิดหนี้ มหาศาลในรัฐบาลท้องถิ่นและรัฐวิสาหกิจ ซึ่งเป็นเจ้าของที่ดิน และผู้ลงทุนรายใหญ่ ปัญหานี้ยังคงรุนแรงจนกระทั่งก่อนเกิด โควิด-19 คือในปี 2018 รัฐบาลกลางมีความกังวลอย่างมากกับขนาดของหนี้ของรัฐบาลท้องถิ่นจากการพัฒนาที่ดิน จน ประกาศว่าจะไม่ช่วยลูกหนี้ที่ไม่สามารถชำระคืนได้

เส้นทางวิกฤตของเศรษฐกิจจีน มุ่งสู่หายนะของฟองสบู่อสังหาฯ ในระหว่างที่เกิดโควิด-19 นั่นเอง ในปี 2020 รัฐบาลก็เริ่ม ควบคุมตลาดอสังหาริมทรัพย์หนักขึ้นโดยยึดหลักการที่ว่า "อสังหาริมทรัพย์นั้นมีไว้ให้อยู่อาศัย ไม่ใช่ที่เอาไว้เก็งกำไร" ในเดือนสิงหาคม 2020 รัฐบาลจีนได้ออกกฎหมาย กฎ "เส้นสี แดงสามเส้น" เพื่อควบคุมภาคการพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ที่มี หนี้สูง กฎทั้ง 3 ข้อบังคับให้บริษัทจะควบคุมเงินกู้หรือหนี้ของ ตัวเองเพื่อคำนวณจากหนี้สินต่อเงินสด หนี้สินต่อทุน และหนี้สินต่อสินทรัพย์

"เส้นสีแดงสามเส้น" ส่งผลกระทบต่อบริษัทใหญ่ๆใน ทันที เพราะส่วนใหญ่จะกู้หนี้มาหมุนเงินโดยรอหวังผลข้างหน้า ไม่ได้พิจารณาว่าเงินสดของตัวเองมีพอชำระคืนหรือไม่ ผลก็คือ Evergrande Group ซึ่งเป็นผู้พัฒนาอสังหาริมทรัพย์รายใหญ่ อันดับสองของจีน ล้ำเส้นสีแดงสามเส้นเข้าอย่างจัง และไม่ใช่ แค่ Evergrande Group เท่านั้น ภายในเดือนตุลาคม 2021 นักพัฒนารายใหญ่ที่สุดของจีน 14 รายจากทั้งหมด 30 รายได้ ละเมิดกฎ “เส้นสีแดงสามเส้น"อย่างน้อยหนึ่งเส้น

แต่ Evergrande Group ไปไม่รอดก่อนใคร เพราะ Evergrande Group ดำเนินการขยายธุรกิจเชิงรุก รวมถึงการลงทุนในยานพาหนะไฟฟ้า สวนสนุก พลังงาน และภาคส่วน อื่นๆ อีกมากมายที่ไม่เกี่ยวกับอสังหาฯ การหมุนเงินและกู้เงิน มหาศาลทำให้บริษัทนี้เสี่ยงมากหากเกิดภาวะช็อค และมันจะส่งผลกระทบรุนแรงมากต่อเศรษฐกิจจีน ตัวอยางเช่น จากข้อมูลในเดือนกันยายน 2021 บริษัทนี้มีหนี้สินถึง 2 ล้านล้านหยวน (310 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ)

ในที่สุด หลังจากการแชร์จดหมายออนไลน์อย่างกว้าง ขวางในเดือนสิงหาคม 2021 ซึ่งมีรายงานว่า Evergrande Group เตือนรัฐบาลมณฑลกวางตุ้งว่ามีความเสี่ยงที่จะประสบภาวะวิกฤติทางการเงิน หุ้นในบริษัทร่วงลง ส่งผลกระทบต่อ ตลาดโลก และนำไปสู่การชะลอตัวของการลงทุนจากต่างประเทศอย่างมีนัยสำคัญในประเทศจีนในช่วงเดือนสิงหาคมถึงตุลาคม2021และในเดือนธันวาคม2021 Evergrande Group ก็ผิดนัดชำระหนี้

สถานการณ์ยืดเยื้อมาข้ามปี พร้อมๆ กับบริษัทอื่นๆ ที่ทยอยมีปัญหารุนแรงขึ้นเรื่อยๆ จนเมื่อวันที่ 17 สิงหาคม 2023 Evergrande Group ได้ยื่นขอล้มละลายในนิวยอร์ก เมื่อวันที่ 3 ธันวาคม และศาลล้มละลายในฮ่องกงสามารถสั่งให้เลิกบริษัท ได้ทันทีในวันรุ่งขึ้น ในเดือนกันยายน 2023 ประธานบริษัทผู้เป็นมหาเศรษฐีของ Evergrande Group ถูกตำรวจควบคุมตัวไว้ อดีตประธานเจ้าหน้าที่บริหารและอดีตประธานเจ้าหน้าที่ฝ่ายการเงินก็ถูกทางการจีนควบคุมตัว

จากนั้นยังมีบริษัทอื่นๆ ที่ร่วงตาม Evergrande Group เรื่อยๆ พร้อมๆ กับเศรษฐกิจจีนที่ซบเซาลงเรื่อยๆ สถานการณ์ นี้ยังคงดำเนินอยู่จนถึงเวลานี้