กนง.แจง 4 เหตุผล ‘ไม่ลดดอกเบี้ย’ หวั่นใช้ Policy space ที่มีจำกัดไม่คุ้มค่า!

กนง.แจง 4 เหตุผล ‘ไม่ลดดอกเบี้ย’ หวั่นใช้ Policy space ที่มีจำกัดไม่คุ้มค่า!

เปิดรายงาน กนง. ชี้ 4 เหตุผลที่คณะกรรมการ “คงดอกเบี้ย” 5 ต่อ 2 เสียง ย้ำการลดดอกเบี้ย เพิ่มแรงส่งต่อเศรษฐกิจไทยไม่มาก ท่ามกลางอุปสงค์ยังขยายตัว อีกทั้งยังเป็นการใช้ policy space ที่มีจํากัดอย่างไม่คุ้มค่า ชี้ผ่อนคลายดอกเบี้ยเกินไป ยิ่งกระตุ้นการสร้างหนี้ใหม่

สำหรับรายงานการประชุมคณะกรรมการนโยบายการเงิน (ฉบับย่อ) ครั้งที่ 1/2567 วันที่ 2 กุมภาพันธ์ และวันที่ 7 กุมภาพันธ์ 2567 ที่ผ่านมา กนง.โดยคณะกรรมการมีมติ 5 ต่อ 2 คงอัตราดอกเบี้ยนโยบาย 2.50%  

คณะกรรมการมองว่า อัตราดอกเบี้ยนโยบายในระดับที่เป็นกลางต่อเศรษฐกิจ (neutral interest rate) จะช่วยสนับสนุนการขยายตัวทางเศรษฐกิจที่ยั่งยืน ซึ่งต้องอาศัยการรักษา เสถียรภาพระบบการเงินเป็นพื้นฐานสําคัญ

โดยเห็นว่า (1) เศรษฐกิจที่ขยายตัวชะลอลงในช่วงที่ผ่านมา ส่วนใหญ่เกิดจากแรงส่งจากภาคต่างประเทศที่น้อยลง และผลกระทบจากปัจจัยเชิงโครงสร้าง 

(2) การลด อัตราดอกเบี้ยจะเพิ่มแรงส่งต่อเศรษฐกิจได้ไม่มากนักในบริบทที่อุปสงค์ในประเทศยังขยายตัวต่อเนื่อง และไม่สามารถแก้ปัญหาเชิงโครงสร้างที่ทําให้เศรษฐกิจไทยขยายตัวต่ำได้ อีกทั้งยังเป็นการใช้ policy space ที่มีจํากัดอย่างไม่คุ้มค่า

(3) ปัญหาเชิงโครงสร้างอาจมีนัยต่อ neutral interest rate ซึ่งขึ้นอยู่กับศักยภาพ การขยายตัวของเศรษฐกิจ แต่ผลกระทบดังกล่าวประเมินว่ามีไม่มาก อีกทั้งยังมีความไม่แน่นอนสูง จึงควร ศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมเพื่อให้ได้ความชัดเจนที่มากขึ้น

(4) ต้นทุนของการดําเนินนโยบายการเงินที่ผ่อนคลาย เกินไปคือ การกระตุ้นการสร้างหนี้ใหม่ให้กับระบบเศรษฐกิจที่ปัจจุบันอยู่ในที่ระดับสูงมากอยู่แล้ว และอาจ ทําให้กระบวนการลดหนี้ (deleveraging) ที่กําลังคืบหน้าหยุดชะงัก

นอกจากนี้ อาจเพิ่มพฤติกรรมการแสวงหาผลตอบแทนที่เสี่ยงมากขึ้น (search for yield) ลดทอนแรงจูงใจในการพัฒนาด้านศักยภาพการ ผลิต ส่งผลลบต่อประสิทธิภาพในการจัดสรรทรัพยากรรวมทั้งเพิ่มการสะสมความเปราะบางในระบบเศรษฐกิจ
 

 

 


พิสูจน์อักษร....สุรีย์  ศิลาวงษ์