บลจ. พร้อมใจชี้แจงนโยบายกองทุน “หุ้น-ตราสารหนี้” หวังสกัดนักลงทุน แพนิก EA

บลจ. พร้อมใจชี้แจงนโยบายกองทุน “หุ้น-ตราสารหนี้” หวังสกัดนักลงทุน แพนิก EA

บลจ. ออกโรง แจงนโยบายกองทุน "หุ้น-ตราสารหนี้” EA หลัง ก.ล.ต.กล่าวโทษผู้บริหารทุจริต สกัดนักลงทุนแพนิกไถ่ถอนเงินลงทุนก่อนกำหนด

จากประเด็นข่าวที่สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) กล่าวโทษผู้บริหารของบริษัท พลังงานบริสุทธิ์ จำกัด (มหาชน) หรือ EA กรณีร่วมกระทำการทุจริต การจัดซื้ออุปกรณ์จากต่างประเทศ และ/หรือทุจริตการจัดซื้อโปรแกรมซอฟต์แวร์เพื่อใช้ในโครงการก่อสร้างโรงไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ของ EA ผ่านบริษัทย่อย 2 บริษัทดังกล่าว เป็นเหตุให้บุคคลทั้ง 3 รายได้รับผลประโยชน์ จำนวนรวม 3,465.64 ล้านบาท  

บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุนรวม (บลจ.) ต่างๆ ออกมาชี้แจงให้ผู้ลงทุนทราบว่า “กองทุนรวม” ของแต่ละบลจ. ได้มีการลงทุนในหุ้นหรือหุ้นกู้ของ EA หรือไม่  และหากมีการลงทุนที่เกี่ยวข้องกับ EA  กองทุนนั้นๆ จะมีวิธีการบริหารจัดการอย่างไรต่อไป เพื่อไม่ให้เกิดผลกระทบต่อผู้ลงทนของกองทุนนั้น และลดความตื่นตระหนกของนักลงทุนที่จะไม่ให้ส่งผลกระทบต่อภาพรวมของอุตสาหกรรมกองทุน
 

วานนี้(15 ก.ค.)  บลจ.ต่างๆ ได้ออกมาชี้แจงกับนักลงทุนแล้ว ดังนี้

สำหรับ บลจ. ที่กองทุนทุกประเภท “ไม่มีการลงทุน” ในหุ้นและตราสารหนี้ของ EA ได้แก่ บลจ.บัวหลวง  


ทางด้าน บลจ.ที่มีการลงทุนใน “หุ้น EA แต่จำกัด”   และ ไม่มีการลงทุนในตราสารหนี้ของ EA  ได้แก่  บลจ.กสิกรไทย รายงานว่า มีการลงทุนเฉพาะกลุ่มกองทุนดัชนี (Passive Fund) เท่านั้น  โดยเป็นไปตามนโยบายของกองทุน สำหรับกองทุนที่มีนโยบายการลงทุนแบบอิงดัชนี ได้แก่ กองทุน K-TNZ, K-SET50, K-ENERGY, KS50RMF และ KS50LTF ซึ่งหุ้น EA จะมีสัดส่วนในดัชนีไม่เกิน 0.5% ยกเว้น K-ENERGY ที่มีสัดส่วนในดัชนีประมาณ 1.5%  ส่วนกองทุนตราสารทุนอื่น ๆ ทุกกองทุนที่ทาง KAsset ลงทุนจะไม่มีการลงทุนในหุ้น EA 

บลจ. พร้อมใจชี้แจงนโยบายกองทุน “หุ้น-ตราสารหนี้” หวังสกัดนักลงทุน แพนิก EA

บลจ. พร้อมใจชี้แจงนโยบายกองทุน “หุ้น-ตราสารหนี้” หวังสกัดนักลงทุน แพนิก EA

เช่นเดียวกับ บลจ.กรุงไทย  รายงานว่า  มีการลงทุนในหุ้นของ EA ในกองทุนรวมที่มีการเสนอขายนักลงทุนทั่วไป 5 กองทุน โดยลงทุนใน กองทุนที่มีกลยุทธ์การลงทุนเชิงรับ (Passive) จำนวน 4 กองทุน ได้แก่ กองทุนเปิดกรุงไทย SET50 (KT-SET50) สัดส่วน 0.43% , กองทุนเปิดกรุงไทย SET50 เพื่อการเลี้ยงชีพ (KTSET50RMF) สัดส่วน 0.43% , กองทุนเปิดกรุงไทยหุ้นระยะยาว SET50 (ชนิด LTF) (KSET50LTF-L) สัดส่วน 0.43% และกองทุนเปิด KTAM SET Energy ETF Tracker (ENY)  สัดส่วน  0.13%  รวมถึงกองทุนที่มีกลยุทธ์การลงทุนเชิงรุก (Active) จำนวน 1 กองทุน ได้แก่ กองทุนเปิดกรุงไทย เวลท์ แคร์ ฟันด์ (ชนิด สะสมมูลค่า) (KT-CARE-A) สัดส่วน 0.13% เท่านั้น 

บลจ. พร้อมใจชี้แจงนโยบายกองทุน “หุ้น-ตราสารหนี้” หวังสกัดนักลงทุน แพนิก EA
บลจ.กรุงไทย ยืนยันในหลักการจัดการกองทุนที่ดี มีกระจายการลงทุนไปในตราสารที่หลากหลาย โดยคำนึงถึงการบริหาร ความเสี่ยงที่เหมาะสม เน้นลงทุนในตราสารคุณภาพดีที่ผู้ออกมีความมั่นคงและมีสภาพคล่องสูง

ทั้งนี้ บลจ. ยังคงมุ่งมั่นที่จะ บริหารกองทุนโดยคำนึงถึงผลประโยชน์ของนักลงทุนเป็นหลักเสมอไป อย่างไรก็ตาม บลจ.จะดำเนินการด้วยความระมัดระวัง ต่อสถานการณ์ที่เกิดขึ้น พร้อมทั้งติดตามสถานการณ์อย่างใกล้ชิดต่อไป 
 

ขณะที่ บลจ.ที่ไม่มีการลงทุนในหุ้น EA แต่มีการลงทุนใน ตราสารหนี้ (หุ้นกู้) EA  ซึ่งได้บริหารจัดการโดยนำออกจากทรัพย์สินอื่น ๆ ของกองทุนรวมแล้ว  (Side Pocket) ซึ่งการดำเนินการดังกล่าวเป็นไปตามประกาศสำนักงาน ก.ล.ต.  โดยบริษัทจัดการจะไม่นำหุ้นกู้ดังกล่าวมาคำนวณรวมในมูลค่าทรัพย์สินสุทธิของกองทุน ตั้งแต่วันที่ 15 กรกฎาคม 2567 เพื่อให้เกิดความเป็นธรรมและเป็นการดูแลผลประโยชน์ของผู้ถือหน่วยลงทุนทุกราย  


“โดยหุ้นกู้ EA จะไม่นำมารวมคำนวณใน NAV ของกองทุน มีผลให้การเปลี่ยนแปลงด้านราคาของหุ้นกู้ EA จะไม่ส่งผลกระทบต่อกองทุน เพื่อให้เกิดความเป็นธรรมในการคำนวณมูลค่า NAV และผู้ลงทุนที่เข้าลงทุนในกองทุนภายหลังไม่ต้องรับผลกระทบจากหุ้นกู้ EA”  


บลจ.วรรณ ในฐานะบริษัทจัดการของกองทุนเปิด วรรณ ดีไลท์ (ONE-DELIGHT) และกองทุนเปิดวรรณตราสารหนี้ปันผล (ONE-DI) ชี้แจงว่า กองทุน ONE-DELIGHT และ ONE-DI ได้มีการลงทุนในหุ้นกู้ของบริษัทพลังงานบริสุทธิ์ จำกัด (มหาชน) (“หุ้นกู้ EA”) ครั้งที่ 22562 ชุดที่ 2 ครบกำหนดไถ่ถอนปี พ.ศ. 2567 (EA248A) ซึ่งจะครบกำหนดอายุในวันที่ 15 สิงหาคม 2567   ทั้งนี้  กองทุน ONE-DELIGHT  มีสัดส่วน 7.06%  ของNAV และกองทุน  ONE- DI มีสัดส่วน 1.15%  ณ วันที่ 12 สิงหาคม 2567

บลจ. พร้อมใจชี้แจงนโยบายกองทุน “หุ้น-ตราสารหนี้” หวังสกัดนักลงทุน แพนิก EA

บลจ.วรรณ ยืนยันว่า ผ่านมาบริษัทจัดการได้มีการติดตามสถานการณ์และประเมินผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นต่อกองทุนอย่างต่อเนื่อง ทั้งนี้ ภายหลังจากที่บริษัท ทริสเรทติ้ง จำกัด ได้ปรับลดอันดับความน่าเชื่อถือของหุ้นกู้ EA   และรวมถึงเหตุการณ์เมื่อวันที่ 12 กรกฎาคม 2567 ที่ได้มีการกล่าวโทษกรรมการและผู้บริหารโดยสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (“สำนักงาน ก.ล.ต.” ต่อกรมสอบสวนคดีพิเศษ (DSI) และได้ส่งเรื่องต่อไปยังสำนักงานป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน (ปปง.) โดยจากสถานการณ์ดังกล่าวบริษัทจัดการพิจารณาแล้วเห็นว่าหุ้นกู้ EA อาจมีแนวโน้มขาดสภาพคล่อง และไม่สามารถจำหน่ายหลักทรัพย์ได้ด้วยราคาที่เหมาะสม
อย่างไรก็ดี ผู้ถือหน่วยลงทุนจะยังคงได้รับผลประโยชน์ใด ๆ ที่พึงมีจากการลงทุนในหุ้นกู้ EA โดยหากกองทุนรวมได้รับการชำระหนี้คืนจากบริษัท พลังงานบริสุทธิ์ จำกัด (มหาชน เมื่อหุ้นกู้ครบกำหนดอายุในวันที่ 15 สิงหาคม 2567 บริษัทจัดการจะดำเนินการคืนเงินให้กับผู้ถือหน่วยลงทุนที่มีชื่ออยู่ในทะเบียน ณ วันที่ 15 กรกฎาคม 2567 เวลา 08.00 น. ภายใน 45 วันหลังจากวันที่กองทุนได้รับการชำระหนี้คืน และผู้ถือหน่วยลงทุนที่ทำรายการตั้งแต่วันที่ 15 กรกฎาคม 2567 เป็นต้นไป มูลค่าหน่วยลงทุนจะไม่ได้รับผลกระทบจากการลงทุนในหุ้นกู้ดังกล่าว

ทั้งนี้ บริษัทจัดการขอให้ความเชื่อมั่นแก่ผู้ถือหน่วยลงทุน/ผู้ลงทุนทุกท่านว่า การดำเนินการดังกล่าวเป็นไปเพื่อประโยชน์สูงสุดของผู้ถือหน่วยลงทุน/ผู้ลงทุนทุกราย และการดำเนินการดังกล่าวไม่ได้ส่งผลต่อสภาพคล่องของกองทุนแต่อย่างใด ผู้ถือหน่วยลงทุนยังคงสามารถทำรายการซื้อ ขาย และสับเปลี่ยนหน่วยลงทุนได้ตามปกติ 

บลจ.อีสท์สปริง ได้ติดตามสถานการณ์และประเมินผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นต่อกองทุนอย่างต่อเนื่อ และได้พิจารณาแยกส่วนการลงทุนที่เป็นหุ้นกู้ EA ออกจากทรัพย์สินอื่น ๆ ของกองทุนรวม (Set Aside) และจะไม่นำหุ้นกู้ EA มาคำนวณรวมใน NAV ของกองทุนตั้งแต่วันที่ 15 กรกฎาคม 2567 ซึ่งทำให้การทำรายการตั้งแต่วันที่ 15 กรกฎาคม 2567 เป็นต้นไป ไม่ได้รับผลกระทบด้านราคามูลค่าหน่วยลงทุนจากการลงทุนในหุ้นกู้ EA ทั้งนี้ ผู้ถือหน่วยลงทุนจะยังคงได้รับผลประโยชน์ใด ๆ ที่พึงมีจากการลงทุนในหุ้นกู้ EA โดย บลจ.อีสท์สปริง จะนำเงินคืนแก่ผู้ถือหน่วยลงทุนที่มีชื่ออยู่ในทะเบียน ณ วันที่ 15 กรกฎาคม 2567 เวลา 08.00 น. 

ทั้งนี้ กองทุนที่มีการดำเนินการ Set Aside มี 7 กองทุน ดังนี้ (ข้อมูล ณ วันที่ 12 กรกฎาคม 2567)  
1.กองทุนเปิดอีสท์สปริง ธีรสมบัติ (ES-TSB) สัดส่วน  4.21%  ของNAV 2.กองทุนเปิดอีสท์สปริง General Fixed Income เพื่อการเลี้ยงชีพ (ES-FIXEDRMF) สัดส่วน 3.65% ของNAV 

3.กองทุนเปิดอีสท์สปริง ธนสาร (ES-TSARN) สัดส่วน 2.74% ของ NAV   4. กองทุนเปิดอีสท์สปริง ตราสารหนี้ เพื่อการออม (ES-FIXEDSSF ) สัดส่วน  2.48%
 ของ NAV 5.กองทุนเปิดอีสท์สปริง เสกียรทรัพย์ปันผล (ES-STSD)  สัดส่วน 2.10% ของ NAV 6.กองทุนเปิดอีสท์สปริง Multi Income (ES-MULTIINCOME) สัดส่วน 1.50% ของ NAV และ 7.กองทุนเปิดอีสท์สปริง Government Bonds เพื่อการเลี้ยงชีพ (ES-GOVRMF
สัดส่วน 0.36% ของNAV 

บลจ. พร้อมใจชี้แจงนโยบายกองทุน “หุ้น-ตราสารหนี้” หวังสกัดนักลงทุน แพนิก EA

บลจ.อีสท์สปริง ขอให้ความเชื่อมั่นกับผู้ถือหน่วยลงทุนทุกท่านว่าการดำเนินการดังกล่าวไม่ส่งผลต่อสภาพคล่องของกองทุน ผู้ถือหน่วยยังสามารถทำรายการได้ตามปกติ บลจ.อีสท์สปริง จะดำเนินการอย่างเต็มความสามารถเพื่อดูแลรักษาผลประโยชน์สูงสุดให้กับผู้ถือหน่วยลงทุน 

บลจ.ไทยพาณิชย์ ( SCBAM ) เปิดเผยว่า จากสถานการณ์ของ EA ที่เกิดขึ้น SCBAM ขอเรียนแจ้งว่ากองทุนรวมภายใต้การจัดการของ SCBAM ไม่มีการลงทุนในหุ้นของ EA แต่มีการลงทุนในหุ้นกู้ของ EA โดย SCBAM พิจารณาแล้วเห็นว่า EA มีความเสี่ยงที่สถานะทางการเงินของบริษัทจะถดถอยลง สอดคล้องกับแนวโน้มอันดับความน่าเชื่อถือของทริสเรตติ้งที่ “Negative” ทั้งนี้ SCBAM ได้ดำเนินการด้วยความพยายามสูงสุดในการปรับลดสัดส่วนการลงทุนในหุ้นกู้ EA มาอย่างต่อเนื่อง อย่างไรก็ตาม ด้วยข้อจำกัดด้านสภาพคล่องของตราสาร การปรับลดสัดส่วนการลงทุนอาจต้องใช้ระยะเวลาในการดำเนินการดังกล่าว

ในการนี้เพื่อประโยชน์สูงสุดของผู้ลงทุน SCBAM จึงพิจารณาแยกส่วนการลงทุนในหุ้นกู้ EA ออกจากทรัพย์สินอื่นของกองทุนรวม ด้วยการใช้เครื่องมือบริหารความเสี่ยงด้านสภาพคล่อง Side Pocket ตามเกณฑ์สำนักงาน ก.ล.ต. กำหนด ตั้งแต่วันที่ 15 กรกฎาคม 2567 โดยหุ้นกู้ EA จะไม่นำมารวมคำนวณใน NAV ของกองทุน มีผลให้การเปลี่ยนแปลงด้านราคาของหุ้นกู้ EA จะไม่ส่งผลกระทบต่อกองทุน เพื่อให้เกิดความเป็นธรรมในการคำนวณมูลค่า NAV และผู้ลงทุนที่เข้าลงทุนในกองทุนภายหลังไม่ต้องรับผลกระทบจากหุ้นกู้ EA

รายชื่อกองทุนที่จะดำเนินการตั้ง Side Pocket หุ้นกู้ EA (ข้อมูล ณ 12 กรกฎาคม 2567) มี 8 กองทุน  ได้แก่ 
1.SCB2576 สัดส่วน  3.33%  ของ NAV  2.SCBSMART3FUND  สัดส่วน 2.36%ของ NAV    3.SCBSMARTZFUND สัดส่วน 1.53%ของ NAV   4.SCBFLX สัดส่วน 1.00% ของ NAV 5. SCBFPFUND สัดส่วน 0.90%  ของ NAV  6.SCBMPLUS สัดส่วน 0.73% ของ NAV   7.SCBPLUSFUND สัดส่วน 0.59% ของ NAV   8. SCBLT1FUND  สัดส่วน 0.20%ของ NAV   บลจ. พร้อมใจชี้แจงนโยบายกองทุน “หุ้น-ตราสารหนี้” หวังสกัดนักลงทุน แพนิก EA

นอกจากนี้  บลจ.แอสเซท พลัส แจ้งผ่านเว็บไซต์บริษัทระบุว่า กองทุน ASP-DPLUS-A ลงทนตั๋วแลกเงินระยะสั้น EA จำนวน 4 ชุดมูลค่ารวม 1,160 ล้านบาท สัดส่วนเพียง 4.7% ของ NAV ทยอยครบกำหนดไถ่ถอนชุดแรก 23 ก.ค.นี้ มูลค่า 300ล้านบาท เดือนส.ค.ครบอีก 2 ชุด รวม 850 ล้านบาท ที่เหลือเดือนธ.ค. เชื่อมั่น :A ชำระหนี้คืนที่จะครบกำหนดภายในปีนี้ นำกระแสเงินสดจากโรงไฟฟ้ามาเคลียร์หนี้ ด้านพอร์ตลงทุนกองทุนได้คัดแยกส่วนลงทุน EA ออกจากกองทุนและไม่คำนวณ NAV ตั้งแต่ 15 ก.ค.67

สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์ และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) ถอด EA ออกจาก “หุ้นยั่งยืน” 
และจากการติดตามของ ก.ล.ต. พบว่า กองทุนรวม Thai ESG และกองทุนรวมอื่นๆ มีสัดส่วนการลงทุนในบริษัท EA เพียงเล็กน้อยเมื่อเทียบกับอุตสาหกรรม โดย บลจ. มีหน้าที่ใช้ความระมัดระวังในการพิจารณาลงทุนตามความเหมาะสมด้วย

โดยยืนยันว่า การลงทุนของกองทุนรวมไทยเพื่อความยั่งยืน (กองทุนรวม Thai ESG) ทุกกองทุน ยังเป็นไปตามเกณฑ์การกระจายการลงทุน มีสัดส่วนการลงทุนในหุ้น EA เพียง 0.35% ของมูลค่าทรัพย์สินสุทธิ (NAV) ของกองทุนรวม Thai ESG ทั้งหมด   ในส่วนกองทุนรวมอื่นๆ มีมูลค่าการลงทุนในหลักทรัพย์ของบริษัท EA คิดเป็น 0.06% ของ NAV รวมทั้งอุตสาหกรรม โดย บลจ. มีหน้าที่ใช้ความระมัดระวังในการพิจารณาลงทุนตามความเหมาะสมด้วย