ที่มาของธนาคารกลาง (ตอน 2) | ศุภวุฒิ สายเชื้อ

ที่มาของธนาคารกลาง (ตอน 2) | ศุภวุฒิ สายเชื้อ

ครั้งที่แล้ว ผมเขียนถึงที่มาของธนาคารกลางสหรัฐที่ชื่อภาษาอังกฤษคือ Federal Reserve ซึ่งจากการสืบสาวเรื่องราวในอดีต ก็จะเห็นได้ว่า เป็นธนาคารกลางที่ถูกตั้งขึ้นมาเพื่อป้องกันไม่ให้เกิดวิกฤติสถาบันการเงิน (banking crisis) เป็นหลัก

จึงมีชื่อที่แปลตรงตัวว่า เป็น “กองทุนสำรองของรัฐบาลกลาง” ไม่ใช่ธนาคารกลางของสหรัฐอเมริกา และไม่ได้มีวัตถุประสงค์หลักในการควบคุมเงินเฟ้อให้อยู่ที่ระดับต่ำอย่างเฉพาะเจาะจงแต่อย่างใด

กฎหมาย Federal Reserve นั้น ได้ถูกแก้ไข 3 ครั้งในช่วง 2520 ถึง 2543 เพื่อมอบหน้าที่การรักษาเสถียรภาพของราคา (อัตราเงินเฟ้อต่ำ) ให้ Federal Reserve ไปปฏิบัติ ซึ่งผมจะขอนำเอาข้อความที่ระบุเอาไว้ในกฎหมายดังกล่าว มาให้อ่านกันเป็นภาษาอังกฤษดังนี้

(the Federal Reserve) “shall maintain long run growth of the monetary and credit aggregates commensurate with the economy's long run potential to increase production, so as to promote effectively the goals of maximum employment, stable prices, and moderate long-term interest rates.”

ข้อกฎหมายนี้ ธนาคารกลางสหรัฐตีความว่า เป็นการมอบอำนาจให้ธนาคารกลางของสหรัฐมีเป้าหมายหลัก 2 เป้าหมาย (dual mandate) ในส่วนของการรักษาเสถียรภาพของราคา คือการควบคุมให้เงินเฟ้ออยู่ที่ 2% ต่อปี

และในส่วนของการทำให้เศรษฐกิจสหรัฐอยู่ในภาวะที่มีการจ้างงานเต็มศักยภาพ (maximum employment) ก็คือการดูแลให้อัตราว่างงานในสหรัฐไม่สูงไปกว่า 4-5%

แต่จะเห็นได้ว่า มีประโยคประธานก่อนหน้าว่า ธนาคารกลางสหรัฐต้องบริหารให้การขยายตัวของปริมาณเงินสอดคล้อง (commensurate with) กับศักยภาพของการขยายตัวในระยะยาวของเศรษฐกิจเพื่อ เพิ่มการผลิต (increase production)

ซึ่งผมตีความว่า เป็นการให้น้ำหนักกับการดูแล ให้การผลิตขยายตัวเพียงพอที่จะมีการสร้างงานให้ประชาชนทุกคนได้มีงานทำ ไม่ได้มีการตอกย้ำการเป็น “อิสระ”จากระบบเศรษฐกิจจริง หรือความเป็น “อิสระ” จากภาครัฐแต่อย่างใด

ธนาคารกลางอังกฤษ (Bank of England)

เป็นธนาคารกลางที่เก่าแก่เป็นที่ 2 ของโลก รองลงมาจากธนาคารกลางของประเทศสวีเดน ก่อตั้งขึ้นโดยกษัตริย์สมัยนั้นคือ King William เป็นธนาคารที่ถูกจัดตั้งขึ้น เพื่อแสวงหาเงินทุนที่ต้องการนำมาใช้ทำสงครามกับประเทศฝรั่งเศสในปี 2237

ธนาคารกลางอังกฤษนั้น ต่อมาได้รับอำนาจหน้าที่เพิ่มขึ้น ในปี 2387 ได้รับอำนาจให้เป็นผู้ที่พิมพ์เงินออกมาใช้ได้แต่เพียงผู้เดียวในประเทศอังกฤษ แต่ก็ยังเป็นธนาคารของเอกชน (ผู้ถือหุ้นคือกษัตริย์และขุนนางต่างๆ) จนกระทั่งปี 2489 จึงจะได้ถูกโอนมาให้เป็นของรัฐบาล

ธนาคารกลางของอังกฤษได้ถูกปรับสถานะเป็นองค์กรอิสระของสาธารณชน (independent public organization) เมื่อปี 2541 โดยในปีดังกล่าว กฎหมายอังกฤษระบุให้ธนาคารกลางของอังกฤษเป็นของ (wholly owned by) ทนายของกระทรวงการคลัง (Treasury Solicitor) โดยเป็นเจ้าของแทนรัฐบาลอังกฤษ

สำหรับอำนาจหน้าที่ของธนาคารกลางของอังกฤษเกี่ยวกับเสถียรภาพทางการเงิน (Financial Stability Objective) นั้นมีดังนี้

“An objective of the Bank shall be to protect and enhance the stability of the financial of the United Kingdom (the Financial Stability Objective).

In pursuing the Financial Stability Objective, the Bank shall aim to work with other relevant bodies (including the Treasury and the Financial Conduct Authority).”

ดูจากโครงสร้างการเขียนข้อบทกฎหมายตรงนี้แล้ว จะเห็นได้ว่า คล้ายคลึงกับ มาตรา 7 ของ พ.ร.บ.ธนาคารแห่งประเทศไทยอย่างมาก โดยมีวรรคหนึ่งและวรรค 2 เหมือนกัน แต่ความสาระของวรรค 2 นั้น แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญ

กล่าวคือ สำหรับธนาคารกลางอังกฤษนั้น การให้ได้มาซึ่งเสถียรภาพทางการเงินนั้น ธนาคารกลางของอังกฤษจะต้อง “การจะบรรลุถึงเป้าหมายเสถียรภาพทางการเงินนั้น ธนาคารฯ จะต้องทำงานร่วมกับ (“shall aim to work with”) หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง” (คือกระทรวงการคลัง)

แต่สำหรับกฎหมาย ธปท.นั้นจะระบุเพียงว่า “การดำเนินภารกิจตามวรรคหนึ่งต้องคำนึงถึงการดำเนินนโยบายทางเศรษฐกิจของรัฐบาลด้วย”

ธนาคารกลางจีน (People’s Bank of China หรือ PBoC)

องค์กรทุกองค์กรในประเทศจีนจะต้องอยู่ภายใต้การควบคุมและกำกับดูแลโดยพรรคคอมมิวนิสต์จีนอย่างเบ็ดเสร็จ

อย่างไรก็ดี การเปลี่ยนแปลงในประเทศจีนนั้น ได้มีการลงข่าวว่ารัฐบาล “กระชับพื้นที่” และเข้ามาควบคุม PBoC เพิ่มขึ้นอย่างมากในปี 2564 เช่น การรายงานข่าวของ Wall Street Journal เมื่อวันที่ 8 ธันวาคม 2564 ตามลิงค์นี้

หากท่านผู้อ่านมีเวลาผมขอให้อ่านบทความดังกล่าว แต่หากสาระสำคัญก็คือ

The PBOC was never independent but it has tried to establish good communication with markets. Xi Jinping’s financial shake-up is changing that.

“In recent weeks, Communist Party discipline inspectors from China’s top anticorruption agency have visited the central bank’s headquarters in central Beijing.

Officials briefed on the matter said the inspectors asked questions, reviewed documents and brought an unusually stern message: Beijing has little tolerance for any talk of central-bank independence; the monetary authority, just like any other part of the government, answers to the party.”

ข้อสรุปคือรัฐบาลปักกิ่งไม่ต้องการให้แม้แต่การพูดถึงความเป็นอิสระของธนาคารกลาง ดังนั้น เราคงจะต้องดูกันต่อไปว่า การที่พรรคคอมมิวนิสต์จีนครอบงำธนาคารกลางของจีน ไม่ให้มีความเป็นอิสระเลย และต้องสนองนโยบายของรัฐบาลนั้น จะทำให้เศรษฐกิจ “หายนะ” หรือไม่.