กรุงไทย มั่นใจ 3 พันธมิตร Virtual bank แกร่ง คาด 5 ปีถึงจุดคุ้มทุน

กรุงไทย มั่นใจ 3 พันธมิตร Virtual bank แกร่ง คาด 5 ปีถึงจุดคุ้มทุน

กรุงไทย เร่งขับเคลื่อนธุรกิจร่วม “3 พันธมิตรแกร่ง” เพื่อรุกธุรกิจ “เวอร์ชวลแบงก์” ที่มาพร้อม “ดาต้า-อีโคซิสเต็ม” ประเมินจะถึง “จุดคุ้มทุน” ราว 5 ปี

KEY

POINTS

 

 

บนยุคของ “ดิจิทัล” หลายธุรกิจปรับตัวและมุ่งไปสู่ดิจิทัลมากขึ้น ทั้งการใช้ดิจิทัลมาเป็นส่วนสำคัญในการดำเนินธุรกิจ รวมถึงการใช้ดิจิทัลมายกระดับการให้บริการที่ดีขึ้น เพื่อตอบโจทย์ผู้บริโภคในยุคดิจิทัลที่เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว เช่นเดียวกับภาคสถาบันการเงิน ที่มีการปรับตัวและใช้ดิจิทัลมาเป็นส่วนสำคัญในการดำเนินธุรกิจมาอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะการใช้เทคโนโลยีใหม่ๆ ในการขับเคลื่อนธุรกิจมากขึ้น

เช่นเดียวกันธนาคารกรุงไทย ที่มุ่งการดำเนินธุรกิจผ่าน “ดิจิทัล” ต่อเนื่อง

นายผยง ศรีวณิช กรรมการผู้จัดการใหญ่ ธนาคารกรุงไทย กล่าวว่า การดำเนินธุรกิจของธนาคารช่วงที่ผ่านมา โดยเฉพาะการให้สินเชื่อธนาคาร ซึ่งมีการปล่อยสินเชื่อผ่านดิจิทัลในช่วง 2-3 ปีที่ผ่านมา โดยใช้ปัญญาประดิษฐ์ หรือ AI เข้ามาช่วยเป็น Small Ticket ซึ่งไม่ใช้คน ดังนั้น ทำให้ยอดสินเชื่อปลายปีก่อนอยู่ที่ 7,000 ล้านบาท และคาดปีนี้การปล่อยสินเชื่อผ่าน Digital Lending เติบโต 14,000 ล้านบาท

ทั้งนี้ การปล่อยสินเชื่อดังกล่าวอยู่บนอัตราดอกเบี้ยราว 20% ขณะที่อุตสาหกรรมอยู่ที่ราว 25-33% โดยมีหนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ หรือ “เอ็นพีแอล” ไม่เกิน 4%

“การปล่อยสินเชื่อบนดิจิทัลเลนดิ้งที่แบงก์ปล่อยสินเชื่อ คาดหนี้เสียไม่เกิน 4% นั่นหมายความว่าทุกๆ 1 บาท ที่ปล่อยจะได้ผลตอบแทนมากกว่าของเดิมที่ปล่อยถึง 3 เท่า ถ้าหากคุม NPL ไม่ให้เกิน 4% ซึ่งตอนนี้ก็คุมอยู่ ขณะที่คู่เทียบทะลุไป 10% แม้เราจะมาช้ากว่าคนอื่น แต่ก็มีความมั่นคง”

กรุงไทย มั่นใจ 3 พันธมิตร Virtual bank แกร่ง คาด 5 ปีถึงจุดคุ้มทุน อย่างไรก็ตาม การปล่อยสินเชื่อผ่าน Digital Lending เป็นเพียงการปล่อยสินเชื่อผ่านกรุงไทยเท่านั้น แต่อนาคตกรุงไทยมีแผนขับเคลื่อนธุรกิจร่วมกับพันธมิตรเพื่อทำธนาคารพาณิชย์ไร้สาขา (Virtual Bank) และพันธมิตรซึ่งมีทั้งระบบนิเวศและข้อมูล อย่าง ผู้ใช้บริการปั๊มน้ำมัน และ SME ในชุมชนจะช่วยให้เข้าไปในกลุ่ม Underserve ได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น

โดยภายใต้ Virtual Bank มีพันธมิตรที่หลากหลาย โดยเฉพาะบริษัท แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส (ADVANC) ที่มีร้านเทเลวิช ซึ่งมีการขายมือถือ , อินเตอร์เน็ต , ไฟเบอร์ ขณะที่ บริษัท กัลฟ์ เอ็นเนอร์จี ดีเวลลอปเมนท์ (GULF) ก็มีเรื่อง Digital Asset กัลฟ์ไบแนนซ์ มีพลังงานสะอาด เรื่อง Data Center ที่มีที่ Economy of Scale และบริษัท ปตท. น้ำมันและการค้าปลีก (OR) ก็มีธุรกิจพลังงาน , ปั๊มน้ำมัน ภายใต้พันธมิตรเหล่านี้ถือว่ามีความแข็งแกร่งทั้ง Data และ Ecosystem

“เรื่อง Beyond แบงกิ้ง AIS ซึ่งแข็งแกร่งมาก ในระดับ Region คือ Contact Center ใช้เทคโนโลยี Agentic AI เข้ามาตอบปัญหาลูกค้า ที่จะมาตอบโจทย์เรื่อง Virtual Banking ด้าน Bottom Line ขนาดมีเพียง Data ของธนาคาร ยังรุกคืบได้ขนาดนี้ ถ้ามี Partner อีก 2 รายที่ทรงพลังจะยิ่งตอบโจทย์ เป็น Inclusive Financing พร้อมๆ กับมี Fair Share ของสภาพคล่องในระบบ”

ทั้งนี้ ภายใต้การดำเนินธุรกิจ Virtual Bank ครั้งนี้ ธนาคารมองจะถึงจุดคุ้มทุนประมาณ 5 ปีบวกลบ โดยคาดการดำเนินธุรกิจจะต้องพร้อมก่อนที่แบงก์ชาติจะเปิดให้ Virtual Bank ดำเนินธุรกิจอย่างเป็นทางการ

“หลายประเทศที่ทำ Virtual bank ยังไม่รอด เพราะมี NPL สูง เช่น สิงคโปร์ NPL ของ Virtual Bank ระดับ 10% อินโดนีเซีย 8-11% คำถามคือ แล้วของไทยจะอยู่ตรงไหน ขณะที่หลายคนมองว่า Virtual Banking ไม่เอื้อต่อการแข่งขัน ผู้เล่นไม่พอ ต้องเรียนว่าผมเห็นต่างอย่างมาก เพราะหนึ่งเวลาพูดถึง Financial Inclusion หมายถึง เงินกู้เป็นหลัก เงินฝากนอนแบงก์มากคำถามคือ ทำไมต่างชาติถึงออกจากธุรกิจรายย่อยต่อเนื่อง”

นายผยง ยังกล่าวอีกว่า โจทย์การให้บริการ Virtual Bank เกิดจากบริบทข้อจำกัด และความบกพร่องแต่ละพื้นที่ โดยเฉพาะในต่างประเทศ ขณะที่ไทยแม้จะมีพร้อมเพย์เพื่อใช้ตอบโจทย์ด้านการชำระเงินต่างๆ แต่อุปสรรคคือ การปล่อยกู้เพราะไทยไม่มี Data ที่เพียงพอ ส่วน Data ที่มีอยู่ก็ใช้กันเต็มที่แล้ว

สำหรับ กรุงไทยเป้าหมายคือ อยากเข้าถึงคนในชุมชนใหม่ๆ ซึ่ง การมี AIS , OR จะเข้ามามีส่วนช่วยให้การเข้าถึงชุมชนเหล่านั้นดีขึ้นด้วย ด้วยต้นทุนที่ต่ำลงได้  

ดังนั้น เชื่อว่าทั้ง 3 Partnership ภายใต้ Virtual Bank มีความแข็งแรงที่สุด ในบรรดาพันธมิตรทุกราย ทั้งการทำ Virtual Bank ต้องมีทั้งเทคโนโลยี และ Data ดังนั้น จุดชี้ขาดคือ Data และความสามารถในการวิเคราะห์ Data โดยมองการที่มีคู่แข่งขันเข้ามาในระบบมากขึ้น มีโอกาสที่จะทำให้ต้นทุนดอกเบี้ยการปล่อยสินเชื่อผ่าน Digital Lending ลดลงได้

“การให้บริการผ่าน Virtual Bank คงต้องมองตรงไหนเป็น Red Ocean และ Blue Ocean คงไปใน Area ของนอนแบงก์ เพราะถ้าไปในส่วนของลูกค้าแบงก์ใหญ่มาร์จินก็ไม่มี ต้นทุนการให้บริการก็สู้ไม่ได้ และไม่ได้มี Incentive อะไรให้ต้องเปลี่ยนระบบ สำหรับกลุ่ม Underserve ที่จะเข้าไปต้องสะดวกตอบโจทย์ อีกด้านหนึ่งอยากได้ลูกค้า และต้องเป็นลูกค้าดี เป็นช้างเผือก ทั้งจากข้อมูลพันธมิตร จะทำให้เห็นถึงข้อมูลเชิงพฤติกรรม ที่ข้อมูลปกติของธนาคารไม่เห็น ซึ่งข้อมูลนี้ เป็นตัวบ่งชี้ เป็นประโยชน์ในการเข้าถึงลูกค้า การติดตาม และแยกแยะลูกหนี้ได้เหมาะสมมากขึ้น”