KEX ไตรมาส 3/66 ขาดทุน 889 ล้านบาท หวังปี 67 พลิกมาเป็น ‘กำไร’
KEX เผยไตรมาส 3 ปี 66 ขาดทุนเพิ่มเป็น 889 ล้านบาท จากช่วงเดียวกันปีก่อนที่ขาดทุน 674 ล้านบาท วางเป้าหมายกลับมามี “กำไร” อีกครั้งภายในปี 2567
บริษัท เคอรี่ เอ็กซ์เพรส (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน) หรือ KEX รายงานผ่านตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (ตลท.) ว่า ผลประกอบการไตรมาส 3 ปี 2566 และงวด 9 เดือน ปี 2566 มีขาดทุนสุทธิ 889.86 ล้านบาท ขาดทุนเพิ่มขึ้น 15% จากช่วงเดียวกันปีก่อนที่ขาดทุนสุทธิ 674.64 ล้านบาท
ขณะที่งวด 9 เดือน ปี 2566 ขาดทุนสุทธิเพิ่มขึ้นเป็น 2,725.08 ล้านบาท จากช่วงเดียวกันปีก่อนที่มีขาดทุนสุทธิ 1,898.08 ล้านบาท
สำหรับ “จุดเด่น” สำคัญประจำไตรมาส 3 ปี 2566
๐ ภาวะเศรษฐกิจของประเทศไทยถูกคาดการณ์ว่ามีแนวโน้มฟื้นตัวต่อเนื่อง และอาจพบกับความท้าทายจากความไม่แน่นอนของภาวะเศรษฐกิจโลก การชะลอตัวของเศรษฐกิจในประเทศจีน และความตึงเครียดด้านภูมิรัฐศาสตร์ในประเทศอิสราเอลที่อาจยืดเยื้อหรือขยายวงกว้าง ซึ่งอาจส่งผลต่อราคาน้ำมันดิบในตลาดโลกให้ผันผวนต่อไปอีกช่วงเวลาหนึ่งขณะที่ตลาดพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์(E-commerce) ยังคงเติบโตอย่างต่อเนื่อง แต่ในขณะเดียวกันธุรกิจขนส่งพัสดุด่วนก็ยังมีแนวโน้มการแข่งขันที่รุนแรง (โดยเฉพาะอย่างยิ่งในส่วนอุปสงค์จากบริการจัดส่งพัสดุผ่านแพลตฟอร์มพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์) โดยทั้งด้านราคาและคุณภาพการให้บริการยังคงเป็นปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจเลือกผู้ให้บริการ อย่างไรก็ดีความรุนแรงในการแข่งขันด้านราคาโดยรวมเริ่มมีแนวโน้มผ่อนคลายลงจากช่วงที่ผ่านมา
๐ ปริมาณการจัดส่งพัสดุในไตรมาส 3/2566 ปรับลดลงเล็กน้อยเมื่อเทียบกับไตรมาสก่อนหน้า ซึ่งเป็นผลจากการลดลงของปริมาณการจัดส่งจากแพลตฟอร์มพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์อันเนื่องมาจากอุปสงค์ที่อ่อนตัวลงในช่วงปลายไตรมาส 3/2566 ทั้งนี้บริษัทยังคงให้ความสำคัญในการขยายตลาดและเพิ่มผู้ใช้บริการใหม่ที่มีศักยภาพเพื่อทดแทนปริมาณการขนส่งที่ลดลงจาก แพลตฟอร์มพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์สำหรับสัดส่วนรายได้จากผู้ใช้บริการประเภท C2C ต่อรายได้รวมอยู่ที่ร้อยละ 45ในไตรมาส 3/2566และคาดว่าจะเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญในไตรมาส 4/2566 ตามแผนของบริษัทในการคงจำนวนสาขาแฟรนไชส์ และจุดให้บริการรายย่อย (RTSP) ที่มีศักยภาพเท่านั้น
บริษัทยังมีแผนในการเพิ่มกลุ่มผู้ใช้บริการที่มียอดใช้จ่ายต่อพัสดุสูง (ได้แก่ ผู้ใช้บริการประเภท C2C องค์กร ผู้ใช้บริการส่งพัสดุระหว่างประเทศ และผู้ใช้บริการขนส่งสินค้ำภายในงานมหกรรมต่าง ๆ) เพื่อเพิ่มสัดส่วนรายได้ของผู้ใช้บริการประเภท C2C ให้สูงขึ้น ขณะที่ยังให้ความสำคัญกับการรักษาตำแหน่งผู้ให้บริการส่งพัสดุด่วนที่ดีแก่ผู้ให้บริการพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์
๐ ในไตรมาส 3/2566 บริษัทได้เริ่มติดตั้งระบบคัดแยกพัสดุอัตโนมัติเพื่อประยุกต์ใช้ในศูนย์คัดแยกพัสดุของบริษัทในบางภูมิภาค หลังจากที่มีการทดลองโครงการในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และภาคใต้บริษัทได้ปิดศูนย์คัดแยกพัสดุบางส่วนเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการคัดแยกพัสดุตามแผนการปรับปรุงพัฒนาเครือข่ายและระบบปฏิบัติการซึ่งสามารถช่วยลดค่าใช้จ่ายทั้งในส่วนของต้นทุนคงที่ และต้นทุนผันแปรจากค่าใช้จ่ายในการเช่าพื้นที่และค่าใช้จ่ายพนักงานในศูนย์คัดแยกพัสดุลงได้อย่างมีประสิทธิภาพ นอกจากนี้บริษัทได้เริ่มประยุกต์การให้บริการรับและส่งพัสดุที่สามารถดึงศักยภาพในการดำเนินงานของพนักงานขนส่งพัสดุได้อย่างมีประสิทธิภาพตั้งแต่ไตรมาส 3/2566 เป็นต้นไป
ขณะที่แผนการลงทุนของบริษัทยังเป็นไปตามเป้าหมายและได้รับการสนับสนุนอย่างเต็มที่จากผู้ถือหุ้นหลักทั้งในด้านการเงินและด้านการปฏิบัติงาน ซึ่งบริษัทยังคงดำเนินแผนการควบคุมต้นทุนการดำเนินงานอย่างใกล้ชิดด้วยเป้าหมายที่ชัดเจนเพื่อลดการขาดทุนจากการดำเนินงาน และเสริมสร้างการดำเนินธุรกิจที่มีประสิทธิภาพอันโดดเด่นเพื่อให้ผลการดำเนินงานกลับมามีกำไรอีกครั้งภายในปี 2567 เนื่องจากเครือข่ายพัสดุส่งด่วนที่มีคุณภาพจำเป็นต้องมีระบบที่ล้ำหน้ารวมถึงอุปกรณ์และความชำนาญในด้านเทคโนโลยี บริษัทจึงปรับปรุงกลยุทธ์โดยมุ่งเน้นเป้าหมายในการสร้างกำไรที่แข็งแกร่งควบคู่ไปกับคุณภาพที่ยอดเยี่ยม
๐ สำหรับกลยุทธ์ทางธุรกิจในปี 2566 บริษัทตั้งเป้าเพื่อให้ได้รับการยอมรับในฐานะผู้เชี่ยวชาญด้านการขนส่งพัสดุด่วนครบวงจร โดยใช้การปรับใช้กลยุทธ์แบ่งส่วนระดับตลาดเพื่อให้บรรลุเป้าหมายการสร้างรายได้ต่อพัสดุที่สูงขึ้น โดยมุ่งเน้นที่ผู้ใช้บริการประเภท C-end องค์กรอุตสาหกรรม บริการส่งพัสดุระหว่างประเทศ และผู้ใช้บริการในตลาดอื่นๆ ได้แก่ บริการจัดส่งผลไม้ ผลิตภัณฑ์จากทะเล สินค้ำหัตถกรรมลูกค้ำในงานมหกรรม โดย มุ่งเน้นกลุ่มเป้าหมายผู้ใช้บริการระดับกลาง ถึง สูง และสร้างบริการอันเป็นเลิศเพื่อตอบโจทย์กลุ่มผู้ใช้บริการ
นอกจากนี้สำหรับช่องทางให้บริการผู้ใช้บริการรายย่อย บริษัทได้ขยายสาขาร้านค้าของบริษัท และจุดให้บริการในศูนย์คัดแยกพัสดุ (DCSP) เพื่อรองรับความต้องการจัดส่งพัสดุที่เพิ่มขึ้นของกลุ่มลูกค้ำประเภท C-end โดยแผนการขยายจุดให้บริการของบริษัทได้ผ่านการประเมินทั้งมุมมองด้านรายได้และต้นทุนอย่างละเอียดเพื่อให้สอดคล้องกับปริมาณการจัดส่งและความต้องการของผู้ใช้บริการที่คาดว่าจะเพิ่มขึ้น ในส่วนของการปฏิบัติงานบริษัทยังคงให้ความสำคัญในการยกระดับเครือข่ายและระบบเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการดำเนินงาน
นอกจากนี้บริษัทยังมุ่งเน้นการปรับปรุงผลกำไรโดยปรับการดำเนินงาน และกลยุทธ์ทางธุรกิจให้เหมาะสม รวมถึงการปรับปรุงให้บริษัทมีจำนวนต้นทุนที่ต่ำที่สุด เพื่อให้แน่ใจว่ากลยุทธ์ธุรกิจของบริษัทในระยะยาวสอดคล้องกับแนวทางของ เอสเอฟ เอ็กซ์เพรส ที่ดำเนินอยู่ในประเทศจีนและเอเชียตะวันออกเฉียงใต้