สำรวจ 9 หุ้นอดีตมูลค่าหลักแสนล้าน วันนี้ดิ่งจัด เหลือระดับหมื่นล้าน
สำรวจ 9 หุ้นอดีตมูลค่าหลักแสนล้าน วันนี้ดิ่งจัด เหลือระดับหมื่นล้าน หุ้น JMT มารฺ์เก็ตแคปหายวูบมากสุด 63,822.85 ล้านบาท หรือ 63.39%
ช่วงนี้ตลาดหุ้นไทยผันผวนหนัก ต้องเผชิญทั้งปัจจัยภายนอกและภายในกดดันอย่างหนัก และในภาพรวมของปี 66 นี้ มีหลายหลักทรัพย์ที่ราคาปรับลดลงมากอย่างมาก ทำให้มาร์เก็ตแคปลดลงตามไปด้วย ซึ่งบางหลักทรัพย์เคยรุ่งเรือง มีมาร์เก็ตแคประดับหลักแสนล้านบาท แต่ทว่า วันนี้เหลือมาร์เก็ตแคปแค่หลักหมื่นล้านบาทเท่านั้น
“กรุงเทพธุรกิจ” ได้สำรวจตลอดช่วงระยะเวลาตั้งแต่ปี 62 ถึง ณ ปัจจุบัน มีด้วยกัน 9 หลักทรัพย์ ที่ในอดีตบางปีช่วงระยะเวลาดังกล่าวเคยสุดพีคมาร์เก็ตแคปกว่าแสนล้าน แต่ปัจจุบันเหลือแค่หลักหมื่นล้านบาท
1.บริษัท เจ เอ็ม ที เน็ทเวอร์ค เซอร์วิสเซ็ส จำกัด (มหาชน) หรือ JMT
- สิ้นปี 62 ที่ 17,759.82 ล้านบาท
- สิ้นปี 63 ที่ 35,139.29 ล้านบาท
- สิ้นปี 64 ที่ 93,660.74 ล้านบาท
- สิ้นปี 65 ที่ 100,681.27 ล้านบาท
- ณ 14 พ.ย.66 ที่ 36,858.42 ล้านบาท
เทียบกับปี 62 ที่มีมาร์เก็ตแคปมากสุด เท่ากับหายไป 63,822.85 ล้านบาท หรือ 63.39%
2.บริษัท ผลิตไฟฟ้า จำกัด (มหาชน) หรือ EGCO
- สิ้นปี 62 ที่ 172,680.52 ล้านบาท
- สิ้นปี 63 ที่ 101,344.51 ล้านบาท
- สิ้นปี 64 ที่ 92,394.61 ล้านบาท
- สิ้นปี 65 ที่ 90,815.21 ล้านบาท
- ณ 14 พ.ย.66 ที่ 66,861.06 ล้านบาท
เทียบกับปี 62 ที่มีมาร์เก็ตแคปมากสุดเท่ากับหายไป 105,819.46 ล้านบาท หรือ 61.28%
3.บริษัท บี.กริม เพาเวอร์ จำกัด (มหาชน) หรือ BGRIM
- สิ้นปี 62 ที่ 136,862.25 ล้านบาท
- สิ้นปี 63 ที่ 126,434.65 ล้านบาท
- สิ้นปี 64 ที่ 105,579.45 ล้านบาท
- สิ้นปี 65 ที่ 103,624.28 ล้านบาท
- ณ 14 พ.ย.66 ที่ 61,001.46 ล้านบาท
เทียบกับปี 62 ที่มีมาร์เก็ตแคปมากสุดเท่ากับหายไป 75,860.79 ล้านบาท หรือ 55.42%
4.บริษัท บีทีเอส กรุ๊ป โฮลดิ้งส์ จำกัด (มหาชน) หรือ BTS
- สิ้นปี 62 ที่ 173,636.46 ล้านบาท
- สิ้นปี 63 ที่ 122,397.20 ล้านบาท
- สิ้นปี 64 ที่ 123,085.73 ล้านบาท
- สิ้นปี 65 ที่ 110,608.16 ล้านบาท
- ณ 14 พ.ย.66 ที่ 96,123.76 ล้านบาท
เทียบกับปี 62 ที่มีมาร์เก็ตแคปมากสุด เท่ากับหายไป 77,512.7 ล้านบาท หรือ 44.64%
5.บริษัท โอสถสภา จำกัด (มหาชน) หรือ OSP
- สิ้นปี 62 ที่ 121,651.88 ล้านบาท
- สิ้นปี 63 ที่ 106,633.13 ล้านบาท
- สิ้นปี 64 ที่ 102,878.44 ล้านบาท
- สิ้นปี 65 ที่ 84,855.94 ล้านบาท
- ณ 14 พ.ย.66 ที่ 70,888.50 ล้านบาท
เทียบกับปี 62 ที่มีมาร์เก็ตแคปมากสุดเท่ากับหายไป 50,763.38 ล้านบาท หรือ 41.72%
6.บริษัท คาราบาวกรุ๊ป จำกัด (มหาชน) หรือ CBG
- สิ้นปี 62 ที่ 84,000.00 ล้านบาท
- สิ้นปี 63 ที่ 114,500.00 ล้านบาท
- สิ้นปี 64 ที่ 119,500.00 ล้านบาท
- สิ้นปี 65 ที่ 96,750.00 ล้านบาท
- ณ 14 พ.ย.66 ที่ 71,000.00 ล้านบาท
เทียบกับปี 64 ที่มีมาร์เก็ตแคปมากสุด เท่ากับหายไป 48,500 ล้านบาท หรือ 40.58%
7.บริษัท เมืองไทย แคปปิตอล จำกัด (มหาชน) หรือ MTC
- สิ้นปี 62 ที่ 135,150.00 ล้านบาท
- สิ้นปี 63 ที่ 125,080.00 ล้านบาท
- สิ้นปี 64 ที่ 124,550.00 ล้านบาท
- สิ้นปี 65 ที่ 80,560.00 ล้านบาท
- ณ 14 พ.ย.66 ที่ 86,920.00 ล้านบาท
เทียบกับปี 62 ที่มีมาร์เก็ตแคปมากสุดหายไป 48,230 ล้านบาท หรือ 35.68%
8.บริษัทแลนด์แอนด์เฮ้าส์ จำกัด (มหาชน) หรือ LH
- สิ้นปี 62 ที่ 117,107.19 ล้านบาท
- สิ้นปี 63 ที่ 95,000.22 ล้านบาท
- สิ้นปี 64 ที่ 105,157.48 ล้านบาท
- สิ้นปี 65 ที่ 118,302.16 ล้านบาท
- ณ 14 พ.ย.66 ที่ 89,025.36 ล้านบาท
เทียบกับปี 65 ที่มีมาร์เก็ตแคปมากสุด เท่ากับหายไป 29,276.8 ล้านบาท หรือ 24.74%
9.บริษัท สยามโกลบอลเฮ้าส์ จำกัด (มหาชน) หรือ GLOBAL
- สิ้นปี 62 ที่ 68,064.96 ล้านบาท
- สิ้นปี 63 ที่ 74,827.37 ล้านบาท
- สิ้นปี 64 ที่ 92,033.42 ล้านบาท
- สิ้นปี 65 ที่ 107,558.90 ล้านบาท
- ณ 14 พ.ย.66 ที่ 84,530.47 ล้านบาท
เทียบกับปี 65 ที่มีมาร์เก็ตแคปมากสุด เท่ากับหายไป 23,028.43 ล้านบาท หรือ 21.41%
ประกิต สิริวัฒนเกตุ กรรมการผู้จัดการ บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน (บลจ.) เมอร์ชั่นพาร์ทเนอร์ จำกัด ให้ข้อมูลกับกรุงเทพธุรกิจว่า เป็นไปตามสภาพตลาดโดยเฉพาะ หุ้น EGCO และ BGRIM ช่วงนี้ถูกนโยบายรัฐบาลเข้ามากดดันส่งผลให้ราคาหุ้นปรับตัวลงมา
แต่อย่างไรก็ตาม ต้องยอมรับว่า ในอดีตเทรดกันอยู่ที่ P/E 20 -30 เท่าถือว่าค่อนข้างแพง ขณะเดียวกันหุ้นโรงไฟฟ้าก็ไม่ได้สามารถจ่ายปันผลได้ดี ในยุคที่อัตราดอกเบี้ยอยู่ในช่วงขาขึ้น ส่งผลให้ปันผลไม่มีแรงจูงใจมากนัก
วทัญ จิตต์สมนึก ผู้อำนวยการฝ่ายวิเคราะห์กลยุทธ์ บล.พาย ให้ข้อมูลเพิ่มเติมว่า หากย้อนกลับไปในอดีตหุ้น MTC มีการเติบโตดีมาก เช่นปี 60 กำไรเติบโตถึง 70% ปี 61 กำไรโต 48% ในขณะที่ปี 62 ปรากฎว่า จากที่เคยเติบโตถึง 70% ตกลงมาเหลือ 14% ทำให้เห็นอัตราการเติบโตเริ่มลดน้อยลง
ทั้งนี้ ช่วงที่ผ่านมาในกลุ่มดังกล่าวไม่ว่าจะเป็น SAWAD TIDLOR MTC เป็นกลุ่มที่นักลงทุนหรือว่าตลาดมองว่า เป็นหุ้น Growth Stock เป็นหุ้นที่เติบโตสูง เพราะอยู่ในธุรกิจเรียก Blue Ocean หรือที่เรียกว่า ธุรกิจที่เน้นการแข่งขันในด้านความต้องการ ซึ่งตลาดที่เป็นลูกค้าของกลุ่มนี้มีทั้งรายกลาง รายย่อย รายเล็ก จำนวนประชากรค่อนข้างใหญ่มาก เพราะว่า คนกลุ่มเหล่านี้ไม่สามารถเข้าถึงการกู้สินเชื่อธนาคารได้ เนื่องจากอาจจะไม่มีสลิปเงินเดือน ทำงานอิสระ จึงทำให้ราคาหุ้นค่อนข้างผันผวน
“ก่อนหน้านี้นักลงอาจมองว่า หุ้นกลุ่มดังกล่าวมีการเติบโตได้จากกลุ่มลูกค้ารายกลาง รายย่อย รายเล็ก จำนวนประชากรค่อนข้างใหญ่ ที่ผ่านมาจีงมีการเทรด Valuation ที่ค่อนข้างแพง อย่าง MTC เคยขึึ้นไปเทรดที่ Price to Book Value เกือบ ๆ 11 เท่า แต่พอหลังจากนั้นประสบกับปัญหาโควิด ลูกค้ากลับมีการผิดนัดชำระหนี้เกิดขึ้น จึงทำให้กำไร ทั้งกลุ่มหดหายไป และปัจจุบันเทรด Price to Book Value ลงมาแค่ 2.8 เท่า”
นอกจากนี่้ ช่วงที่ผ่านมาจึงเห็นทิศทาง NPL ปรับขึ้นมา จึงทำให้มีการตั้งสำรองสูงขึ้น ส่งผลให้การตั้งสำรองเร่งตัวขึ้นมา แน่นอนกำไรก็หายไป และ Valuation ที่ตลาดมองว่าจะมีการเติบโต จึงถูกลดทอนลงมา เพราะไม่ได้เติบโตเหมือนในอดีตที่ผ่านมาแล้ว