BYD ตอบกลับ ตลท. ชี้ตัวเลขให้ "ไทยสมายล์บัส" กู้ 9.6 พ้นล้าน คลาดเคลื่อน

BYD ตอบกลับ ตลท. ชี้ตัวเลขให้ "ไทยสมายล์บัส" กู้ 9.6 พ้นล้าน คลาดเคลื่อน

"บล. บียอนด์" ชี้แจง ตลท. ที่ตั้งข้อสังเกตปล่อยกู้ "ไทย สมายล์บัส" อิงข้อมูลงบ Q2/67 เท่ากับ 9.6 ล้าน โดยแย้งโครงการใช้เงินลงทุนรวมจริง 8.7 พันล้าน กิจการโบรกยังคงมีสภาพคล่อง 1.4 ล้าน และมี NCR ถึง 312.4% สูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนด 7% อีกทั้งปัจจุบันยังไม่เข้าเงื่อนไขเบี้ยวหนี้

นายชัยพัชร์ นาคมณฑนาคุ้ม ประธานเจ้าหน้าที่บริหารกลุ่ม บริษัทหลักทรัพย์ บียอนด์ จำกัด (มหาชน) (BYD) ชี้แจงตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (ตลท.) ที่ตั้งข้อสังเกตในงบการเงินว่า กรณีบริษัทให้เงินกู้ยืมกับบริษัท ไทย สมายล์บัส จำกัด (TSB) (นำไปใช้เช่าซื้อรถ) จำนวน ณ สิ้นไตรมาสที่ 2 ปี 2567 เท่ากับ 9,697 ล้านบาท นั้น

บริษัทขอยืนยันว่า ข้อมูลดังกล่าวคลาดเคลื่อนจากความเป็นจริง โดยสาระสำคัญของการนำเงินจากการกู้ยืมไปใช้ ปรากฏดังตารางดังนี้

BYD ตอบกลับ ตลท. ชี้ตัวเลขให้ \"ไทยสมายล์บัส\" กู้ 9.6 พ้นล้าน คลาดเคลื่อน

จากข้อมูลตามตารางโครงการใช้เงินลงทุน TSB รวมใช้จริงเท่ากับ 8,798 ล้านบาท 

โดยเปฺ็นไปตามมติที่ประชุมวิสามัญผู้ถือหุ้น ครั้งที่ 1/2565 เมื่อวันที่ 11 สิงหาคม 2565 ที่อนุมัติให้ความช่วยเหลือทางการเงินแก่ TSB จำนวน 8,550 ล้านบาท เพื่อสนับสนุนโครงการการลงทุนขยายธุรกิจของ TSB และนำเงินไปใช้ตามวัตถุประสงค์ที่ตกลงกันเท่านั้น โดยมีหุ้นสามัญ และหุ้นบุริมสิทธิ์ของบริษัท เอซ อินคอร์ปอเรชั่น จำกัด (ACE)  ที่ผู้ร่วมทุนถืออยู่ทั้งหมดมาเป็นหลักประกัน

ทั้งนี้ ACE เป็นบริษัทร่วมที่ ณ ปัจจุบันบริษัทถือหุ้นสามัญและหุ้นบุริมสิทธิรวมกัน 49.39% ของทุนชำระแล้ว และ ACE ถือหุ้นใน TSB ทั้งหมด 100% 

นอกจากนี้ หากพิจารณาสภาพคล่องของบริษัทตามเกณฑ์ของทางการ จะพบว่า ณ วันที่ 17 กันยายน 2567 บริษัทยังมีสินทรัพย์สภาพคล่อง (NC) จ านวน 1,470.8 ล้านบาท และอัตราส่วนสินทรัพย์สภาพคล่องสุทธิ (NCR) 312.4% ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ที่ทางการกำหนดไว้ที่ 7% 

แสดงได้ว่า การไม่มีกระแสเงินสดจากดอกเบี้ยรับจาก TSB ไม่ได้มีผลกระทบต่อฐานะการเงิน ผลการดำเนินงาน และสภาพคล่องของบริษัทแต่อย่างใด

สำหรับประเด็นข้อสอบถามจากทาง ตลท. ชี้แจงดังนี้

1.ผลกระทบจากการพักชำระหนี้ให้กับ TSB ต่อฐานะการเงิน ผลการดำเนินงานและสภาพคล่องของบริษัท

จากที่ประชุมวิสามัญผู้ถือหุ้น ครั้งที่ 1/2567 เมื่อวันที่ 30 มกราคม 2567 ได้มีมติอนุมัติตามคำขอของ TSB ปรับเงื่อนไขและข้อตกลงภายใต้สัญญากู้ยืมเงิน โดยขยายระยะเวลา Grace period และพักการชำระดอกเบี้ย (ซึ่งในระหว่างการพักการชำระดอกเบี้ยยังคงมีการคำนวณคิดดอกเบี้ยอยู่ เพียงแต่ยังไม่มีการชำระเท่านั้น) ออกไปอีกไม่เกิน 3 ปี 3 เดือนนั้นไม่ได้ส่งผลกระทบต่อฐานะการเงินผลการดำเนินงานและสภาพคล่องของบริษัท 

รายได้ธุรกิจหลักทรัพย์มีการเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องตามแผนการขยายธุรกิจหลักทรัพย์ของบริษัทโดยตั้งแต่ไตรมาส 1 ปี 2567 ได้มีการรับผู้บริหารและพนักงานทางด้านการตลาดเพิ่มขึ้นจำนวนมากเพื่อรองรับการขยายตัวของธุรกรรมด้านธุรกิจหลักทรัพย์ ด้านการบริหารจัดการความมั่งคั่ง (Wealth Management) และธุรกรรมที่เกี่ยวกับผลิตภัณฑ์ต่างประเทศ 

ซึ่งการขยายตัวของธุรกรรมดังกล่าว บริษัทต้องมีการลงทุนทั้งอาคาร สถานที่ อุปกรณ์และระบบต่างๆ เพื่อให้เป็นบริษัทหลักทรัพย์ที่ให้บริการที่ครบวงจรและตอบสนองตามความต้องการของลูกค้า จึงทำให้ผลการดำเนินงานในช่วงแรกมีผลขาดทุนเพิ่มขึ้น 

สำหรับฐานะการเงิน และสภาพคล่องของบริษัท ก็ยังดำเนินธุรกิจได้ตามปกติไม่มีผลกระทบใดๆ ต่อสภาพคล่องของบริษัท บริษัทยังสามารถดำรงเงินกองทุนสภาพคล่องสุทธิและอัตราส่วนเงินกองทุนสภาพคล่องสุทธิสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนดโดยสำนักงาน ก.ล.ต. ที่กำหนดให้ดำรงเงินกองทุนสภาพคล่องสุทธิไม่ต่ำกว่า 25 ล้านบาท และมีอัตราส่วนเงินกองทุนสภาพคล่องสุทธิไม่ต่ำกว่า 7% ของหนี้สินทั่วไปและทรัพย์สินที่ต้องวางเป็นประกัน 

2.นโยบายการตั้งค่าเผื่อหนี้สงสัยจะสูญของเงินให้กู้ยืมกับ TSB เนื่องจากปี 2566 ทาง TSB มีผลการดำเนินงานขาดทุนและส่วนของผู้ถือหุ้นติดลบ

จากการประชุมวิสามัญผู้ถือหุ้น ครั้งที่ 12567 ผู้ถือหุ้นมีมติอนุมัติปรับเงื่อนไขและข้อตกลงภายใต้สัญญากู้ยืมเงินระหว่างบริษัทและ TSB ให้ขยายระยะเวลาการชำระคืนเงินต้นและดอกเบี้ยออกไปไม่เกิน 3 ปี 3 เดือน โดยให้เริ่มชำระไม่เกินวันที่ 31 มกราคม 2570

ซึ่งบริษัทได้พิจารณาเหตุดังกล่าวตาม TFRS 9 และถือว่าเป็นการเปลี่ยนแปลงสัญญากู้ยืมเงิน เนื่องจากมีการเปลี่ยนแปลงกระแสเงินสุดตามสัญญา ดังนั้นบริษัทจึงได้ทำการคำนวณผลกระทบและรับรู้ผลขาดทุนทางบัญชีจำนวน 102.91 ล้านบาท แสดงอยู่ในงบกำไรขาดทุนในไตรมาสที่ 1/2567 เรียบร้อยแล้ว ดังนั้นการประเมินการด้อยค่าของเงินให้กู้ยืมของบริษัท ณ วันที่ 30 มิถุนายน 2567 จึงประเมินโดยยึดตามเงื่อนไขและตารางการจ่ายเงินใหม่

โดยทำการประเมินตามหลักการของ TFRS 9 ซึ่งการพิจารณาการด้อยค่า (ECL) ของเงินให้กู้ยืมบริษัทได้พิจารณาใน 2 แง่มุมได้แก่ 1.จำนวนเงินที่คาดว่าจะได้รับคืน และ 2.ระยะเวลาที่จะได้รับคืน

  • จำนวนเงินที่คาดว่าจะได้รับคืน

บริษัทพิจารณาจากข้อเท็จจริงสนับสนุนหลายประการ เช่น ประมาณการกระแสเงินสดของกลุ่ม TSB ว่าสามารถสร้างกระแสเงินสดได้เพียงพอจ่ายคืนเงินกู้ยืมของบริษัทซึ่งจะเห็นได้จากผลประกอบการของ TSB ที่ดีขึ้นเนื่อง จาก ขสมก. ถอดถอนเส้นทางที่วิ่งทับซ้อนกับเส้นทางที่กลุ่ม TSB มีสิทธิโดยถูกต้องตามกฎหมาย ตั้งแต่ปลายปี 2566 ต่อเนื่องจนถึงต้นไตรมาสที่ 3/2567 

ส่งผลให้จากเดิมที่มีผู้โดยสารเฉลี่ย 280,998 คน/วัน เพิ่มขึ้นเป็น 328,839 คน/วัน (ผู้โดยสารสูงสุดที่ 372,531 คน/วัน) ซึ่งบริษัทได้ทำการประเมินประมาณการกระแสเงินสดที่สะท้อนปัจจัยดังกล่าวแล้ว พบว่า TSB ยังมีกระแสเงินสดเพียงพอจ่ายคืนเงินกู้ยืมและคาดว่าจะได้รับเงินให้กู้ยืมคืนทั้งจำนวน

อีกทั้งบริษัทยังได้พิจารณาการด้อยค่าของเงินลงทุนในบริษัทร่วม พบว่าเงินลงทุนในบริษัทร่วมยังไม่ด้อยค่า เนื่องจากประมาณการกระแสเงินสดที่คำนวณได้หักเงินให้กู้ยืมจำนวนดังกล่าวแล้วยังเหลือพอที่จะคืนเงินลงทุนในบริษัทร่วม

  • ระยะเวลาที่จะได้รับคืน

จากการประชุมวิสามัญผู้ถือหุ้น ครั้งที่ 1/2567 ผู้ถือหุ้นมีมติอนุมัติให้ปรับเงื่อนไขและข้อตกลงซึ่ง ณ วันที่ 30 มิถุนายน 2567 เงินให้กู้ยืมดังกล่าวยังไม่ถึงกำหนดชำระคืน และถือว่ายังไม่มีเหตุผิดนัดชำระ

บริษัทยังเชื่อว่าความเสี่ยงด้านเครดิตของ TSB ไม่ได้เปลี่ยนแปลงไปจากวันแรก บริษัท จึงพิจารณา ECL ที่คาดว่าจะเกิดขึ้นใน 12 เดือนข้างหน้าเท่านั้น พบว่ายังไม่ถึงกำหนดชำระและไม่มีเหตุผิดนัดเกิดขึ้นตามเงื่อนไข

นอกจากนี้จากการพิจารณาประมาณการกระแสเงินสุดของ TSB ภายหลัง 12 เดือนข้างหน้า บริษัทเชื่อว่าTSB ยังคงสามารถจ่ายคืนเงินให้กู้ยืมได้ตามกำหนดชำระภายใต้เงื่อนไขและข้อตกลงที่ได้รับการอนุมัติให้เปลี่ยนแปลงจากผู้ถือหุ้น 

3.ความเพียงพอของมูลค่าหลักประกันเงินให้กู้ยืมกับ TSB และมาตรการดูแลความเสี่ยงและการดำเนินการของบริษัทในการดูแลลูกหนี้ TSB

หาก TSB มีการผิดนัดชำระเงินต้นและดอกเบี้ย บริษัทสามารถยึดหลักประกันซึ่งเป็นหุ้นสามัญและหุ้นบุริมสิทธิของ ACE ที่ถือโดยผู้ร่วมทุนซึ่งเป็นผู้ถือหุ้นใหญ่ของ ACE อันเป็นในไปตามสัญญากู้ยืมเงิน ซึ่งกรณีดังกล่าวจะทำให้บริษัทสามารถเข้าไปจัดการทรัพย์สินและหนี้สินของ TSB ทั้งหมดได้ต่อไป

ณ ปัจจุบัน บริษัทมีการติดตามการดำเนินงานของ TSB และบริษัทย่อย ทั้งจากรายงานการปฏิบัติการรายเดือน การเข้าตรวจสอบของผู้ตรวจสอบภายใน การเข้าตรวจสอบของผู้สอบบัญชี และการเข้าร่วมประชุมกับฝ่ายบริหารของ TSB ตลอดจน เข้าตรวจเยี่ยมกิจการเป็นระยะๆ เพื่อติดตามการใช้จ่ายลงทุนตามแผนงานที่ได้แจ้งต่อบริษัทไว้ ให้คำแนะนำ สนับสนุนการดำเนินงาน และพัฒนาธุรกิจร่วมกันต่อไป 

ทั้งนี้ ได้มีการรายงานให้ที่ประชุมคณะกรรมการบริหารรับทราบเป็นประจำทุกเดือน และรายงานให้คณะกรรมการบริษัทรับทราบทุกไตรมาส

พร้อมกันนี้ นับตั้งแต่ปี 2564 เป็นต้นมา ภายหลังจากมีการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างการจัดการคณะกรรมการบริษัททำการกำกับและติดตามอย่างเข้มงวด เพื่อให้มั่นใจว่า บริษัทมีการประกอบธุรกิจหลักทรัพย์โดยคำนึงถึงความเพียงพอของเงินทุน การมีสภาพคล่องที่มากเพียงพอสำหรับการขยายธุรกิจหลักทรัพย์ การบริหารบริหารความเสี่ยง การปฏิบัติให้เป็นไปตามกฎเกณฑ์ที่กำกับดูแล และมีการเปิดเผยข้อมูลอย่างโปร่งใสต่อตลาดหลักทรัพย์ฯ มาโดยตลอด 

อีกทั้งให้ความสำคัญอย่างยิ่งในการดูแลทรัพย์สินของลูกค้าให้ปลอดภัย สำหรับกรณีที่บริษัทเข้าลงทุนใน TSB นั้น บริษัทได้เปิดเผยข้อมูลอย่างชัดเจนมาเป็นลำดับ 

การที่ตลาดหลักทรัพย์ขอให้บริษัทชี้แจงรายการในครั้งนี้ ส่งผลให้ลูกค้า พนักงาน และบุคคลภายนอกเกิดความกังวล และสอบถามเข้ามายังบริษัทผ่านช่องทางต่างๆ

ดังนั้น บริษัทจึงหวังว่า คำชี้แจงให้เห็นภาพรวมทั้งหมด รวมถึงการเปิดเผยถึงสถานะและสภาพคล่องของบริษัทในครั้งนี้ จะสร้างความเข้าใจที่ถูกต้อง และชัดเจนได้