6 หุ้นธุรกิจการบิน รับไฮซีซัน ลุ้น! คนละครึ่ง - เราเที่ยวด้วยกัน กลับมาปีหน้า

6 หุ้นธุรกิจการบิน รับไฮซีซัน ลุ้น! คนละครึ่ง - เราเที่ยวด้วยกัน กลับมาปีหน้า

6 หุ้นธุรกิจการบิน รับไฮซีซัน ต.ค.นี้ นักท่องเที่ยวจีน เตรียมเดินทางเข้าไทยเพิ่ม ช่วงวันชาติจีน ลุ้น! รัฐบาล นำโครงการ คนละครึ่ง - เราเที่ยวด้วยกัน กลับมาปีหน้า

วิจิตร อารยะพิศิษฐ นักกลยุทธ์การลงทุน บล.ลิเบอเรเตอร์ ให้สัมภาษณ์กับ "กรุงเทพธุรกิจ" ว่า ปีนี้ไตรมาส 2/67 กลุ่มท่องเที่ยวไม่ได้แย่เหมือนในอดีต เนื่องจากมีการปลดล็อกฟรีวีซ่าจีนเข้ามา จึงเป็นจุด และเมื่อเข้าสู่ไตรมาส 3/67 ยังมีอีเวนต์ช่วง ต.ค. วันชาติจีนหรือโกลเด้นวีคจะเห็นนักท่องเที่ยวจีนเพิ่มเติมเข้ามาในต้นเดือนหน้าได้ และไตรมาส 4/67 ช่วงไฮซีซันท่องเที่ยว ทำให้มีโมเมนตัมดีขึ้นเรื่อยๆ 

วิจิตร อารยะพิศิษฐ นักกลยุทธ์การลงทุน บล.ลิเบอเรเตอร์ ให้สัมภาษณ์กับ "กรุงเทพธุรกิจ" ว่า ปีนี้ไตรมาส 2/67 กลุ่มท่องเที่ยวไม่ได้แย่เหมือนในอดีต เนื่องจากมีการปลดล็อกฟรีวีซ่าจีนเข้ามา จึงเป็นจุด และเมื่อเข้าสู่ไตรมาส 3/67 ยังมีอีเวนต์ช่วง ต.ค. วันชาติจีนหรือโกลเด้นวีคจะเห็นนักท่องเที่ยวจีนเพิ่มเติมเข้ามาในต้นเดือนหน้าได้ และไตรมาส 4/67 ช่วงไฮซีซันท่องเที่ยว ทำให้มีโมเมนตัมดีขึ้นเรื่อยๆ 

ทั้งนี้ หากไปดูทิศทางของภาครัฐไม่ว่าจะเป็นรัฐบาลชุดไหนจะเข้ามากระตุุ้นท่องเที่ยว ล่าสุดรัฐบาลพยายามหยิบยกโครงการท่องเที่ยวในอดีต อย่างเราเที่ยวด้วยกัน หรือคนละครึ่ง ที่อาจจะนำมาพิจารณาอีกครั้ง ว่าจะออกมาในรูปแบบใด อย่างไรก็ตาม สัญญาณนักท่องเที่ยวมาแล้ว และปีนี้ภาครัฐตั้งไว้ที่ 36.5 ล้านคน และการใช้จ่ายที่เข้ามาในประเทศก่อนหน้านั้นด้วย จึงมีมุมมองเป็นบวกมากขึ้น 

ในส่วนของธุรกิจแอร์ไลน์ หากไปดูในฝั่งของค่าตั๋วยังอยู่ในโซนที่แพง ขณะที่ในตัวของต้นทุนคอร์สน้ำมันจะเห็นว่า ไตรมาส 2-3 ทิศทางราคาน้ำมันเริ่มถอยลง ซึ่งทำให้ได้รับประโยชน์จากต้นทุนที่ลดลงมา จึงมองว่า ธุรกิจแอร์ไลน์มีความน่าสนใจ

ทั้งนี้ ในบ้านเรามีการเทรดหุ้นกลุ่มสายการบินหลักอยู่ 2 หลักทรัพย์ คือ AAV กับ BA แต่ราคาก็ปรับเพิ่มขึ้นมาเรื่อยๆ นักลงทุนอาจจะใช้จังหวะในการย่อเพื่อตั้งรับได้ และยังเป็นหุ้นที่ยังพอมีอัพไซด์ ขณะที่ BAFS ทิศทางดีมานด์มีมากขึ้น หลังจากที่แอร์ไลน์เพิ่มมากขึ้นนั่นเอง 

ส่วน SKY ให้บริการเฉลี่ยต่อหัวของนักท่องเที่ยว หากมีนักท่องเที่ยวขาออก และขาเข้ามากขึ้นจะมีผลกับตัวงบ ซึ่ง SKY มีการเล่นคล้ายๆ กับหุ้น AOT และธุรกิจ SKY ค่อนข้างดี ออกแนวกึ่งสัมปทาน แต่ทว่า P/E ค่อนข้างสูงไปเกือบ 30 เท่า 

และ SAV เป็นฝั่งสนามบินกัมพูชา ตัวเลขนักท่องเที่ยวกัมพูชาดีขึ้นเรื่อยๆ และเป็นธุรกิจที่เป็นสัมปทานผูกขาด ซึ่งมีรายได้อีกด้านจากการขึ้นลงได้รับค่าเหมาลำ และมีรายได้จากการผ่านน่านฟ้ากัมพูชา หากเที่ยวบินในแทบภูมิภาคอาเซียนบินผ่านน่านฟ้ากัมพูชาก็จะได้รับรายได้ด้วย ซึ่งถือว่าเป็นหน้าหุ้นที่น่าสนใจ 

กรรณ์ หทัยศรัทธา นักกลยุทธ์การลงทุน บริษัทหลักทรัพย์ ซีจีเอส-อินเตอร์เนชันแนล (ประเทศไทย) จำกัด ให้ข้อมูลเพิ่มเติมว่า หุ้นกลุ่มสายการบินได้รับประโยชน์ช่วงไฮซีซัน รวมถึงน้ำมันดิบปรับตัวลง ทำให้ต้นทุนไม่เป็นปัญหา และปัจจัยพื้นฐานของหุ้นกลุ่มสายการบินไม่ได้แย่ บวกกับการแข่งขันไม่รุนแรง เพราะฉะนั้นมีมุมมองเป็นบวก แต่ทว่าราคาได้มีการปรับขึ้นมาแล้วในระดับหนึ่ง ดังนั้นนักลงทุนต้องเลือกลงทุน เนื่องจากบางหลักทรัพย์ได้ปรับตัวขึ้นมาค่อนข้างสูง และบางตัวเพิ่งๆ ปรับตัวขึ้นมา

ทั้งนี้ แม้ว่าหุ้น BA และ AAV จะปรับตัวเพิ่มขึ้นมาแล้ว แต่ยังคงชื่นชอบหุ้น BA เนื่องจากมีกองทุนรีท ที่สามารถทำได้ครบวงจรมากกว่า ขณะที่ในส่วน SAV อาจจะไม่ได้เกี่ยวกับไทยโดยตรง แต่จะเกี่ยวข้องกับกัมพูชา เป็นผู้บริหารจัดการครบวงจรของสายการบินกัมพูชาเป็นหลัก เพราะฉะนั้นจะได้รับประโยชน์จากน้ำมันที่ลงมา และมีการบริหารจัดการเหมือน AOT 

ส่วนสถานีบริการน้ำมัน BAFS เติมน้ำมันอากาศยานและการขนส่งทางท่อ ปัจจุบันราคายังไม่ได้ขึ้นมาเท่ากับสายการบิน ซึ่งการเติมน้ำมันในท่าอากาศยานในไตรมาส 2/67 ยังสู้ไตรมาส 1/67 ไม่ได้ ปรับตัวลดลงมาที่ 5% เพราะฉะนั้นนักลงทุนอาจจะต้องรอ แต่มีความมั่นคง แม้จะปรับตัวขึ้นมาช้ากว่าสายการบิน 

อย่างไรก็ดี หากธุรกิจการท่องเที่ยวภายในประเทศปรับตัวดีขึ้น BAFS ก็จะได้รับประโยชน์เช่นกัน และคาดว่าในไตรมาส 3 -4/67 จะปรับตัวดีขึ้น

ทั้งนี้ "กรุงเทพธุรกิจ" สำรวจกลุ่มสายการบิน ที่จะได้รับอานิสงส์ช่วงไฮซีซันมีด้วยกัน 6 หลักทรัพย์ (ข้อมูลตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ณ 24 ก.ย.2567)

1.บริษัท ท่าอากาศยานไทย จำกัด (มหาชน) AOT

  • กีรติ กิจมานะวัฒน์ ผู้อำนวยการใหญ่
  • มาร์เก็ตแคป 903,570.53 ล้านบาท 
  • ราคาสูงสุด/ต่ำสุดในรอบ 52 สัปดาห์ 71.00 / 55.00 บาท 
  • ราคา ณ 24 ก.ย.2567 ที่ 63.25 บาท 
  • ราคา YTD +5.86%
  • กำไรครึ่งปี 2567 ที่ 14,910.35 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 178.23% (งบ 9 เดือนสิ้นสุด ณ 30 มิ.ย.2567)
  • รายได้ครึ่งปี 2567 ที่ 50,746.26 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 53.79% (งบ 9 เดือนสิ้นสุด ณ 30 มิ.ย.2567)

AOT มีการลงทุนขยายศักยภาพสนามบินของไทยในช่วง 5 -10 ปีนี้ มีมูลค่าการลงทุนรวมไม่ต่ำกว่า 693,110 ล้านบาท โดยมีการสร้างสนามบินใหม่ 6 แห่ง มูลค่า 21,6000 ล้านบาท ได้แก่ สนามบินบึงกาฬ สนามบินมุกดาหาร  สนามบินสารสินธุ์ สนามบินพัทลุง  สนามบินพะเยา สนามบินสตูล  และการขยายสนามบินสมุย ของบางกอกแอร์เวย์ส ที่สนามบินสมุยจะเพิ่มอาคารผู้โดยสารเป็น 11 อาคาร และสนามบินตราด ที่จะสร้างอาคารผู้โดยสารเพิ่มเติม และขยายระยะทางวิ่ง เพื่อรองรับเครื่องบินขนาดใหญ่ มูลค่าการลงทุน 2,300 ล้านบาท

และ การลงทุนขยายสนามบินของ AOT ลงทุนกว่า 343,000 ล้านบาท การลงทุนสนามบินใหม่ อย่าง โครงการพัฒนาสนามบินอู่ตะเภา และเมืองการบินภาคตะวันออก ที่เป็นโครงการ PPP ระหว่างรัฐ-UTA มูลค่าการลงทุน 320,000 ล้านบาท

2.บริษัท การบินกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) BA 

  • พุฒิพงศ์ ปราสาททองโอสถ กรรมการผู้อำนวยการใหญ่
  • มาร์เก็ตแคป 48,930.00 ล้านบาท 
  • ราคาสูงสุด/ต่ำสุดในรอบ 52 สัปดาห์ 23.90 / 12.70 บาท 
  • ราคา ณ 24 ก.ย.2567 ที่ 23.40 บาท 
  • ราคา YTD +48.41%
  • กำไรครึ่งปี 2567 ที่ 2,585.42 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 67.36%
  • รายได้ครึ่งปี 2567 ที่ 13,694.72 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 27.98%

ปีที่ผ่านมาบริษัทมีเครือข่ายเส้นทางการบินของบริษัท ครอบคลุมจุดหมายปลายทาง 14 แห่ง ไม่รวมถึงกรุงเทพฯ ใน 6 ประเทศ รวมถึงประเทศไทย 

นอกจากนี้ มีเที่ยวบินร่วม เครือข่ายเส้นทางการบินของบริษัทได้ขยายออกไปครอบคลุมจุดหมายปลายทางในต่างประเทศอีก 27 แห่ง ใน 19 ประเทศ ไม่รวมถึงประเทศไทย บริษัทเน้นให้บริการเส้นทางการบินระยะใกล้ไปยังสนามบินที่อยู่ใกล้เคียงกับบริเวณที่เป็นจุดหมายปลายทางของแหล่งท่องเที่ยว และแหล่งวัฒนธรรมที่สำคัญ 

อย่างไรก็ดี ด้วยความตกลงเที่ยวบินร่วม และความร่วมมือกับสายการบินอื่น ส่งผลให้บริษัท สามารถเข้าถึงผู้โดยสารจากจุดหมายปลายทางอื่น ๆ ทั้งในทวีปยุโรป ทวีปเอเชีย และทวีปออสเตรเลีย

นอกจากนี้ บริษัทเป็นเจ้าของและผู้ดำเนินกิจการสนามบินจำนวน 3 สนามบิน คือ สนามบินสมุย สนามบินตราด และสนามบินสุโขทัย

3.บริษัท เอเชีย เอวิเอชั่น จำกัด (มหาชน) AAV 

  • สันติสุข คล่องใช้ยา ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร
  • มาร์เก็ตแคป 34,181.00 ล้านบาท 
  • ราคาสูงสุด/ต่ำสุดในรอบ 52 สัปดาห์ 2.74 / 1.78 บาท 
  • ราคา ณ 24 ก.ย.2567 ที่ 2.64 บาท 
  • ราคา YTD +33.67%
  • กำไรครึ่งปี 2567 ที่ -325.02 ล้านบาท 
  • รายได้ครึ่งปี 2567 ที่ 25,718.13 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 30.83%

ปี 2566  AAV มีส่วนแบ่งตลาดของผู้โดยสารภายในประเทศสูงสุดเป็นประวัติการณ์กว่า 37% โดยปีที่ผ่านมามีเครือข่ายเส้นทางบินครอบคลุม 17 ประเทศ ในทวีปเอเชีย มีเครือข่ายเส้นทางบินไปยังจุดหมายปลายทางภายในประเทศจำนวน 24 เมือง  และจุดหมายปลายทางระหว่างประเทศจำนวน 16 ประเทศ พร้อมด้วยเส้นทางบินภายในประเทศ 33 เส้นทาง และเส้นทางบินระหว่างประเทศ 56 เส้นทาง รวมทั้งสิ้น 89 เส้นทางบิน 

นอกจากนี้ ผู้โดยสารของ บจ.ไทยแอร์เอเชีย สามารถใช้บริการเดินทางเชื่อมต่อในเครือข่าย เส้นทางบินของสายการบินในกลุ่มแอร์เอเชียได้ ซึ่งประกอบไปด้วย แอร์เอเชียมาเลเซีย แอร์เอเชียอินโดนีเซีย และแอร์เอเชียฟิลิปปินส์

4.บริษัท สกาย ไอซีที จำกัด (มหาชน) SKY

  • สิทธิเดช มัยลาภ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร
  • มาร์เก็ตแคป 16,742.23 ล้านบาท 
  • ราคาสูงสุด/ต่ำสุดในรอบ 52 สัปดาห์ 39.25 / 14.50 บาท 
  • ราคา ณ 24 ก.ย.2567 ที่ 23.30 บาท 
  • ราคา YTD -10.86%
  • กำไรครึ่งปี 2567 ที่ 238.86 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 18.77%
  • รายได้ครึ่งปี 2567 ที่ 3,015.18 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 70.84%

บริษัท สกาย ไอซีที จำกัด (มหาชน) ที่ดำเนินธุรกิจหลักในการให้บริการระบบสารสนเทศเพื่อสนับสนุนการปฏิบัติงานที่เกี่ยวเนื่องกับอุตสาหกรรมการบิน และระบบบริหารจัดการการเดินทาง และข้อมูลการเดินทางของผู้โดยสารที่เดินทางเข้าและออกประเทศไทย รวมถึงแพลตฟอร์มที่เกี่ยวข้องกับการเดินทางและการท่องเที่ยว สำหรับนักท่องเที่ยวที่เดินทางมาท่องเที่ยวในประเทศไทย

โดยการให้บริการระบบบริการผู้โดยสารขึ้นเครื่องท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ ท่าอากาศยานตอนเมือง ท่าอากาศยานภูเก็ต ท่าอากาศยานเชียงใหม่ ท่าอากาศยานหาดใหญ่ และท่า

อากาศยานแม่ฟ้าหลวง เชียงราย ประกอบด้วยระบบงานย่อย 6 กลุ่มหลักดังนี้ 

1.ระบบตรวจบัตรโดยสารขึ้นเครื่อง 

2.ระบบเช็กอินด้วยตนเองอัตโนมัติ

3.ระบบรับกระเป๋าสัมภาระอัตโนมัติ

4.ระบบตรวจสอบยืนยันตัวตนผู้โดยสาร

5.ระบบประตูทางออกขึ้นเครื่องบินอัตโนมัติ

6.ระบบพิสูจน์อัตลักษณ์บุคคล

5.บริษัท สามารถ เอวิเอชั่น โซลูชั่นส์ จำกัด (มหาชน) SAV 

  • ธีระชัย พงศ์พนางาม กรรมการผู้จัดการใหญ่
  • มาร์เก็ตแคป 14,080.00 ล้านบาท 
  • ราคาสูงสุด/ต่ำสุดในรอบ 52 สัปดาห์ 24.70 / 13.00 บาท 
  • ราคา ณ 24 ก.ย.2567 ที่ 22.40 บาท 
  • ราคา YTD +36.65%
  • กำไรครึ่งปี 2567 ที่ 210.57 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 84.71%
  • รายได้ครึ่งปี 2567 ที่ 852.23 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 18.12%

SAV ประกอบธุรกิจบริหารจัดการจราจรทางอากาศ หรือธุรกิจที่เกี่ยวเนื่องกับการจราจรทางอากาศ ปัจจุบันได้มีสัดส่วนการถือหุ้นร้อยละ 100 ในบริษัท แคมโบเดีย แอร์ ทราฟฟิค เซอร์วิส จากัด หรือ CATS เพียงบริษัทเดียวซึ่ง CATS เป็นบริษัทที่จัดตั้ง และจดทะเบียนในประเทศกัมพูชา โดยจดทะเบียนจัดตั้งขึ้นในเดือนเมษายน 2544 เพื่อประกอบธุรกิจดำเนินการจัดตั้งระบบ และให้บริการควบคุมการจราจรทางอากาศในประเทศกัมพูชาทุกสนามบินแต่เพียงผู้เดียวตามสัญญาสัมปทานที่ได้รับจากรัฐบาลประเทศกัมพูชา โดยเริ่มทำสัญญาสัมปทานในปี 2544 และเริ่มนับอายุสัมปทานตั้งแต่ปี 2545 ถึงปี 2594

ปัจจุบัน CATS เป็นผู้ให้บริการบริหารจัดการจราจรทางอากาศแต่เพียงรายเดียวสำหรับทุกสนามบินในประเทศกัมพูชา ซึ่งปัจจุบันมีสนามบิน 6 แห่ง ได้แก่ สนามบินนานาชาติพนมเปญ  สนามบินนานาชาติเสียมเรียบอังกอร์  สนามบินนานาชาติสีหนุ สนามบินพระตะบอง สนามบินเกาะกง และสนามบินสตึงเตรง รวมถึงการให้บริการจัดการจราจรบนพื้นที่น่านฟ้า

6.บริษัท บริการเชื้อเพลิงการบินกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) BAFS

  • ม.ล.ณัฐสิทธิ์ ดิศกุล กรรมการผู้อำนวยการใหญ่
  • มาร์เก็ตแคป 10,136.19 ล้านบาท 
  • ราคาสูงสุด/ต่ำสุดในรอบ 52 สัปดาห์ 28.50 / 11.80 บาท 
  • ราคา ณ 24 ก.ย.2567 ที่  16.00 บาท 
  • ราคา YTD - 33.47%
  • กำไรครึ่งปี 2567 ที่ 126.28 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 102.01%
  • รายได้ครึ่งปี 2567 ที่ 1,740.29 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 10.23%

BAFS ประกอบธุรกิจหลักให้บริการระบบจัดเก็บ และเติมน้ำมันอากาศยาน ณ ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ ท่าอากาศยานดอนเมือง และบริษัทได้ให้บริการเติมน้ำมันอากาศยานสำหรับเครื่องบินให้แก่ สายการบินบางกอกแอร์เวย์ ณ ท่าอากาศยานภูมิภาค 3 แห่ง คือ ท่าอากาศยานสมุย จังหวัดสุราษฎร์ธานี ท่าอากาศยานสุโขทัย จังหวัดสุโขทัย และท่าอากาศยานตราด จังหวัดตราด 

นอกจากนี้ บริษัทอยู่ระหว่างก่อสร้างระบบบริการน้ำมันเชื้อเพลิงอากาศยานเพื่อให้บริการเพิ่มเติมที่ทำอากาศยานนานาชาติคู่ตะเภา โดยมี บมจ.ราชกรุ๊ป บมจ.การบินกรุงเทพ บมจ.ท่าอากาศยานไทย และ บริษัทน้ำมันต่างๆ เป็นผู้ถือหุ้น 

สำหรับจำนวนเที่ยวบินที่ให้บริการเติมน้ำมันอากาศยานแก่สายการบินต่าง ๆ ณ ท่าอากาศยานดอนเมืองและท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ ในรอบปี 2566 มีจำนวน 244,389 เที่ยวบิน เพิ่มขึ้นจากปี 2565 เป็นจำนวน 71,995 เที่ยวบิน ซึ่งคิดเป็นอัตราการเพิ่มขึ้น 41.896 และปริมาณน้ำมันที่บริษัทให้บริการเติมน้ำมันอากาศยานรวม 2 สนามบินข้างต้นมีจำนวน 4,299,5 ล้านลิตร เพิ่มขึ้นจากปี 2565 จำนวน 1,309.4 ล้านลิตร หรือคิดเป็นอัตราการเพิ่มขึ้น 43.8% เมื่อเทียบปีที่ผ่านมา

6 หุ้นธุรกิจการบิน รับไฮซีซัน ลุ้น! คนละครึ่ง - เราเที่ยวด้วยกัน กลับมาปีหน้า
พิสูจน์อักษร....สุรีย์   ศิลาวงษ์