“อัสสเดช” ชูภารกิจหุ้นไทย ผสานทุกภาคส่วน - เน้นสอบพฤติกรรมลงทุน
รับตำแหน่ง “ผู้จัดการตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย” หรือ ตลท.คนที่ 14 เต็มตัว “อัสสเดช คงสิริ”เมื่อวันที่ 19 ก.ย. 2567 ที่ผ่านมา และเป็นการเข้ามารับตำแหน่งช่วงที่ตลาดหุ้นไทยกำลังพลิกโฉมไปสู่ “การฟื้นตัว”
ด้วยปัจจัยเศรษฐกิจมีแรงส่งภายใต้รัฐบาลมีสเถียรภาพมากกว่าในอดีต ย่อมส่งผลดีต่อบรรยากาศการลงทุนในตลาดหุ้นไทยที่ห่างหายกับ "ช่วงตลาดหุ้นขาขึ้น" หรือ Bull Market มานาน
ปัจจัยที่ทำให้ตลาดหุ้นไทยโดดเด่นกลับไม่สามารถอาศัยแค่แรงหนุนจากนโยบายภาครัฐได้อย่างเดียว แต่ ยุทธศาสตร์ตลาดหุ้นไทยมีความสำคัญและจำเป็นต้องปรับให้ทัน กับการเปลี่ยนแปลงบริบทโลกทั้งแผนระยะสั้นและระยะยาว ที่ต้อง “มองใกล้ให้ทันและมองไกลให้ขาด” ไม่ให้ตลาดทุนไทยถูกมองข้ามและรั้งผลตอบแทนรั้งท้ายเหมือนปีที่ผ่านมา
‘อัสสเดช’ มองการทำงานในตลาดทุนไทยเป็นการดึงทุกภาคส่วนเข้ามามีส่วนร่วม ผ่านทุกมุมมองที่มีความหลากหลายภายใต้เป้าหมาย คือ"พัฒนาตลาดทุนไทย"
จุดเริ่มต้นที่เข้ามาชิงตำแหน่งจนได้รับการคัดเลือก คือ ความตั้งใจพัฒนาประเทศ ซึ่งตำแหน่งผู้จัดการตลท. เป็นบทบาทที่ทำให้ภาคธุรกิจ บริษัทจดทะเบียน นักลงทุนคนไทยและต่างชาติ เข้าถึงการลงทุนและสร้างศักยภาพทางการเงินให้กับประเทศได้ จึงเป็นแผนงาน
“เพื่อส่วนรวมและความเท่าเทียม” มองว่าเป็นหัวใจสำคัญของตลาดทุนไทยจะนำเสนอคณะกรรมการ ตลท.ช่วงปลาย พ.ย 2567 เพื่อดำเนินแผนทั้งระยะสั้นและระยะยาวผ่าน 5 หัวข้อ
สมดุลเท่าเทียม(Fairness) ช่วงที่ผ่านมามีการพูดถึงประเด็นนี้มากในตลาดทุนและถูกมองว่าเป็น “ตลาดไม่สมดุล ไม่เท่าเทียม ” ไม่ว่าจากรายย่อย กองทุน หรือต่างชาติให้โปรแกรมเทรด โดยพื้นฐานทุกกลุ่มมีโอกาสเข้าถึงการลงทุนเหมือนกันแต่สิ่งที่จำแนกได้ว่าไม่สมดุล ไม่เท่าเทียม คือ พฤติกรรมนักลงทุน เป็นการเอาเปรียบเป็นรายการไม่เหมาะสม ควรพิจารณาหรือสนับสนุน
เข้าถึงทั่วถึง (Inclusiveness) ข้อมูลข่าวสารที่นักลงทุนจำเป็นต้องรับทราบสามารถเข้าถึงได้ ซึ่งข้อมูลดังกล่าวอยู่ในฐานข้อมูลของ ตลท. ที่มีมีจำนวนมาก แต่การเข้าถึงข้อมูลมีความซับซ้อนทำให้ต้องแก้ไขให้ค้นหาง่าย ลักษณะ order on demand ของนักลงทุนเอง รวมไปถึงการเผยแพร่ข่าวสาร ทำความเข้าใจกับนักลงทุน ป้องกันการถูกหลอกลงทุนและส
ตอบโจทย์อนาคตแข่งขันได้ (Re-imagine) รวมไปถึงการ Re-balance เพราะตลาดหุ้นไทยเติบโตและพัฒนามาช่วง 40 กว่าปี มาตลอด มีบจ.ชั้นนำอยู่แนวหน้าของภูมิภาค มีผู้ลงทุนที่อยู่กับตลาดหุ้นไทยมานานไม่หนีไปไหนและมีผู้ลงทุนที่ไม่ได้ลงทุนในไทยแล้ว ต้องทำโจทย์ตรงนี้เพื่อนำเสนอสินค้าไปขายว่า ยังลงทุนและไม่ลงทุนเพราะปัจจัยอะไร
การพลักดันให้ตลาดหุ้นไทยเป็น "ศูนย์กลางการระดมทุน" หรือ Listing Hub มีหลายอุตสาหกรรมที่โดดเด่นทั้งแง่ธุรกิจและกลุ่มเป้าหมาย คือกลุ่ม "เฮลท์แคร์ และ เวลท์เนส" ที่ไม่ได้มาจากแค่ศักยภาพของหมอ หรือ โรงพยาบาล แต่ยังรวมถ
ขณะเดียวกันมีโจทย์ที่จะจูงใจให้ บจ.ไทย สามารถเพิ่มมูลค่าของบริษัทเพิ่มมากขึ้น มีหลายรูปแบบทั้งโปรแกรมที่มีในตลาดหุ้นเกาหลีใต้หรือตลาดหุ้นญี่ปุ่น ซึ่งทำให้ บจ. มองนอกกรอบจากข้อมูลปัจจุบัน จากเดิมดำเนินกลยุทธ์ทางการเงินรักษาเงินสดและสินทรัพย์สภาพคล่องอื่นๆ จำนวนมากไว้ในงบดุล แทนที่จะลงทุนหรือจัดสรรเงินเหล่านั้นในลักษณะที่สามารถสร้างผลตอบแทนที่มากขึ้นได้ (Lasy Balance Sheet )
รับโอกาสและความท้ายทายจากกระแสความยั่งยืน (Sustainability) เกี่ยวข้องกับ บจ.โดยตรงที่ต้องเผชิญกฎเกณฑ์เพิ่มมากขึ้น เนื่องจาก ESG เป็นทั้งโอกาสและความเสี่ยงของบางบริษัทที่ต้องเผชิญ ซึ่งตลท.ในฐานะตัวกลางต้องสร้างสมดุลและระบบจัดการที่มีความเหมาะสม
และ เสริมความเชื่อมั่นตลาดทุนไทย (Trust & Confidence) จากช่วง 2-3 ปีที่ผ่านมามีเหตุการณ์ที่กระทบความเชื่อมั่นตลาดทุนไทย ทางตลท. และทุกหน่วยงานที่เกี่ยวข้องได้ดำเนินการมาตรการป้องกันและสร้างความเชื่อมั่นอย่างต่อเนื่อง ทางปฎิบัติมองแล้วว่า การดำเนินการ “รัดกุมและรวดเร็ว” เกิดขึ้นได้จริงดำเนินการได้ รวมทั้งการ สื่อสารให้รวดเร็วกว่านี้ เพื่อเกิดความตระหนักและไม่เกิดการหลงเชื่อ นักลงทุนสามาารถฉุดใจคิดว่าเหมาะสมหรือไม่
นอกเหนือจากที่มาตการ Uptick Rule ที่ได้ผลทำให้ปริมาณการขายซอร์ตลดลงอย่างชัดเจน การดำเนิน
แผนงานที่ชัดเจนจะมีการเปิดเผยหลังเสนอบอร์ดตลท. ซึ่งการพัฒนาตลาดทุนไทยให้เกิดประโยชน์ต่อเศรษฐกิจและประเทศ การพร้อมรับฟัง ถือว่ามีความสำคัญเช่นกันเพื่อมาปรับใช้
“'งานพัฒนามีความคิดเห็น คำแนะนำที่หลากหลายมุมมอง ฟังแล้วได้เรียนรู้ความรู้ใหม่ มุมมองใหม่ พูดในสิ่งที่เข้าใจแล้วสื่อสารออกไป ดังนั้นใครจะแนะนำ เสนอมุมมองอย่างไร ทั้งด้านติด้านบวก พร้อมน้อมรับฟังและขอฝากตัวในฐานะผู้จัดการตลท. ครับ” ผู้จัดการตลท.กล่าว ทิ้งท้าย