ความเสี่ยงเชิงภูมิรัฐศาสตร์แนวโน้มรุนแรงขึ้น 'โบรก' แนะลดความเสี่ยง 'ถือเงินสด' เพิ่มกว่าปกติ

ความเสี่ยงเชิงภูมิรัฐศาสตร์แนวโน้มรุนแรงขึ้น  'โบรก' แนะลดความเสี่ยง 'ถือเงินสด' เพิ่มกว่าปกติ

บล.เอเชีย พลัส เผย ความตึงเครียดตะวันออกกลางต้องติดตามอย่างใกล้ชิด และระมัดระวังเหตุการณ์ที่ไม่คาดฝันในช่วงวันหยุด หากเหตุการณ์ทวีความรุนแรงขึ้น แนะลดความเสี่ยง 'ถือเงินสด' เพิ่มกว่าปกติ

บล.เอเชีย พลัส ระบุว่า สถานการณ์สู้รบในตะวันออกกลางมีแนวโน้มรุนแรงขึ้น หลังอิสราเอล ส่งสัญญาณโจมตีกลับไปที่อิหร่าน โดยจะเน้นไปที่โครงสร้างพื้นฐานด้านพลังงาน ขณะที่มีการเดินหน้าโจมตีเข้าไปในเลบานอนต่อเนื่อง ภาวะดังกล่าวทำให้ระดับความเสี่ยงเชิงภูมิรัฐศาสตร์สูงขึ้น นักลงทุนต้องติดตามสถานการณ์ใกล้ชิดเฉพราะอยางยิ่ง ในช่วงวันหยุดสุดสัปดาห์นี้ในเชิงกลยุทธ์เห็นว่าควรลดความเสี่ยงให้กับพอร์ตลงทุน โดยถือเงินสดเพิ่มขึ้นกว่าปกติ

อย่างไรก็ตามสถานการณ์ดังกล่าวยังมีหุ้นที่ได้ประโยชน์ได้แก่ หุ้นที่เกี่ยวเนื่องกับราคาน้ำมัน โดยเรามองว่าหุ้น PTTEP, PTT รวมถึง TOP ราคายัง LAGGARD ส่วนในบ้านเราวานนี้มีการพูดคุยกันระหว่าง ผู้ว่าฯธปท. และ รมว.คลัง ซึ่งดูเหมือนยังไม่มีบทสรุปที่สำคัญ
 

ส่วนการประชุม กนง. 16 ต.ค.นี้ คาด คงดอกเบี้ยฯ ระดับความเสี่ยงเชิงภูมิรัฐศาสตร์สูงขึ้น โดยในช่วงใกล้วันหยุดแนะนำถือเงินสดมากกว่าปกติเพื่อลดความเสี่ยง วันนี้คาดเคลื่อนไหวในกรอบ 1430 –1453 จุด หุ้น TOP PICK วันนี้เลือก CK, PTTEP และ TASCO

ทั้งนี้ ความเสี่ยงภูมิรัฐศาสตร์ สูงขึ้น หนุนเม็ดเงินเข้า SAFE HAVEN วานนี้ ราคาน้ำมันดิบโลกดีดตัวขึ้นมาแรงราว 5% ทำให้ค่าเฉลี่ยราคาน้ำมันดิบ WTI เดือน ต.ค. 67 ขยับตัวเพิ่มขึ้น +3.6%MOM หลังความตึงเครียดตะวันออกกลางกลับมาเป็นที่น่ากังวลมากขึ้น จากกรณิอิหร่านได้ยิงขีปนาวุธนับร้อยโจมตีอิสราเอลเมื่อต้นเดือน

ขณะที่ล่าสุดมีกระแสข่าว ปธน. โจ ไบเดน ของสหรัฐฯ กำลังหารือกับอิสราเอลเกี่ยวกับความเป็นไปได้ในการโจมตีคลังน้ำมันของอิหร่าน ทั้งนี้ หากสถานการณ์ทวีรุนแรงเสี่ยงกระทบ SUPPLY การผลิตน้ำมันปรับตัวลดลง ไปจนถึงการปิดช่องแคบฮอร์มุซ ซึ่งจะทำให้ค่าพรีเมียมความเสี่ยงถูกเพิ่มลงไปในราคาน้ำมัน

ส่วนผลพวงที่ตามมา หากราคาน้ำมันดีดตัวสูงขึ้น คือ “ปัญหาเงินเฟ้อสหรัฐฯ เสี่ยงเข้าสู่กรอบเป้าหมายช้าลง” ซึ่งอาจทำให้ FED ปรับลดดอกเบี้ยน้อยกว่าที่ตลาดคาดการณ์ไว้ได้โดยหลังจากการประชุม FED เดือน ก.ย. ที่ผ่านมา FED WATCH TOOL ประเมินว่า FED จะลดดอกเบี้ย 0.5% ในครั้งถัดไป ด้วยความน่าจะเป็น 55% แต่ล่าสุดคาด FED จะลดดอกเบี้ยแค่ 0.25% ด้วยความน่าจะเป็น 69% ในการประชุมรอบเดือน พ.ย.นี้

ทั้งปัจจัยความเสี่ยงเชิงภูมิรัฐศาสตร์ บวกกับ FED อาจไม่รีบปรับลดดอกเบี้ยลงเร็วจากความกังวลเรื่องเงินเฟ้อ ล้วนหนุนให้DOLLAR พลิกกลับมาแข็งค่าขึ้น ทำให้ในเชิงเปรียบเทียบเงินบาทอ่อนค่าขึ้นมายืนเหนือ 33 บาท/เหรียญฯ ซึ่งอาจส่งผลให้ FUND FLOW ชะลอการไหลเข้าบ้านเราได้ในช่วงสั้นๆ