กูรูยกอินเดียขุมทรัพย์ใหม่ ชี้ตลาดหันสนใจแทนจีน หลังสงครามการค้าส่อระอุ
“กองทุนหุ้นรวมอินเดีย” ทั้งระบบ ณ 31 ต.ค.67 “มีAUM 18,700 ล้านบาท 41 กองทุน “ผู้จัดการกองทุน” คาดช่วง 3-5 ปี โตปีละ 10-15% ได้ประโยชน์จากตลาดเริ่มหันมาสนใจ “อินเดีย” แทน “จีน” ส่งผลกระทบทางด้านการค้ากับสหรัฐ ด้าน “ผลตอบแทน” ตั้งแต่ต้นปีจนถึง 11 พ.ย.67 อยู่ที่ 11.47%
“บดินทร์ พุทธอินทร์” ผู้อำนวยการฝ่ายกลยุทธ์การลงทุน บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน (บลจ.) อีสท์สปริง (ประเทศไทย) เปิดเผยว่า ตลาดหุ้นอินเดียยังคงมีแนวโน้ม “เชิงบวก” หลังการเลือกตั้งในปี 2567 ของอินเดีย นายกฯ Modi ยังสามารถชนะการเลือกตั้งและตั้งรัฐบาลต่อเนื่องอีกหนึ่งสมัย ทำให้นโยบายการบริหารประเทศมีความต่อเนื่อง
สะท้อนภาพที่ Modi มีนโยบายยกระดับภาคอุตสาหกรรมของประเทศ เพื่อ “ดึงดูดเม็ดเงินต่างชาติ” เข้ามาลงทุน ทั้งตั้งโรงงาน และจ้างงานคนในประเทศ โดยเฉพาะในภาคที่เติบโตได้ดีที่สุดในยุคนี้อย่าง กลุ่มเทคโนโลยี เนื่องจากประชากรชาวอินเดียมีทักษะด้านเทคโนโลยี อาทิ การเขียนโปรแกรม ทำให้ง่ายต่อการย้ายฐานการผลิต
นอกจากนั้น โครงการโครงสร้างพื้นฐานขนาดใหญ่ ไม่ว่าจะเป็นท่าเรือน้ำลึก ทางด่วน ทางรถไฟข้ามจังหวัด ที่ Modi เริ่มต้นก่อสร้างในช่วงโควิด-19 มีกำหนดจะเสร็จสิ้นโครงการปี 2567-2568 จำนวนมาก ซึ่งจะยิ่งทำให้อินเดียเป็นจุดหมายปลายทางการย้ายฐานผลิตง่ายยิ่งกว่าเดิม
ด้าน “ปัจจัยกดดัน” ของอินเดีย มีมุมมอง 2 มิติ คือ “ไม่เร่งลดดอกเบี้ยของธนาคารกลางอินเดีย” แม้สหรัฐและชาติตะวันตกมีแนวโน้มจะลดดอกเบี้ยประกอบกับ “ระดับราคาหุ้นค่อนข้างสูง” เกินค่าเฉลี่ย forward P/E 10 ปีย้อนหลัง อาจทำให้ตลาดหุ้นเผชิญกับความผันผวนระยะสั้น
อย่างไรก็ตาม มองปัจจัยกดดันดังกล่าวจะถูกชดเชยด้วยการเติบโต “เศรษฐกิจ” และ “กำไร” บริษัทจดทะเบียน (บจ.) เชื่อว่านักลงทุนในตลาดไม่ได้ต้องการลงทุนแค่สินทรัพย์ที่ถูก แต่นักลงทุนต้องการสินทรัพย์คุณภาพดีในราคาที่เหมาะสม ซึ่งอินเดียจะเป็นหนึ่งในสินทรัพย์แบบนั้น
“บดินทร์ พุทธอินทร์” ผู้อำนวยการฝ่ายกลยุทธ์การลงทุน บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน (บลจ.) อีสท์สปริง (ประเทศไทย) เปิดเผยว่า ตลาดหุ้นอินเดียยังคงมีแนวโน้ม “เชิงบวก” หลังการเลือกตั้งในปี 2567 ของอินเดีย นายกฯ Modi ยังสามารถชนะการเลือกตั้งและตั้งรัฐบาลต่อเนื่องอีกหนึ่งสมัย ทำให้นโยบายการบริหารประเทศมีความต่อเนื่อง
สะท้อนภาพที่ Modi มีนโยบายยกระดับภาคอุตสาหกรรมของประเทศ เพื่อ “ดึงดูดเม็ดเงินต่างชาติ” เข้ามาลงทุน ทั้งตั้งโรงงาน และจ้างงานคนในประเทศ โดยเฉพาะในภาคที่เติบโตได้ดีที่สุดในยุคนี้อย่าง กลุ่มเทคโนโลยี เนื่องจากประชากรชาวอินเดียมีทักษะด้านเทคโนโลยี อาทิ การเขียนโปรแกรม ทำให้ง่ายต่อการย้ายฐานการผลิต
นอกจากนั้น โครงการโครงสร้างพื้นฐานขนาดใหญ่ ไม่ว่าจะเป็นท่าเรือน้ำลึก ทางด่วน ทางรถไฟข้ามจังหวัด ที่ Modi เริ่มต้นก่อสร้างในช่วงโควิด-19 มีกำหนดจะเสร็จสิ้นโครงการปี 2567-2568 จำนวนมาก ซึ่งจะยิ่งทำให้อินเดียเป็นจุดหมายปลายทางการย้ายฐานผลิตง่ายยิ่งกว่าเดิม
ด้าน “ปัจจัยกดดัน” ของอินเดีย มีมุมมอง 2 มิติ คือ “ไม่เร่งลดดอกเบี้ยของธนาคารกลางอินเดีย” แม้สหรัฐและชาติตะวันตกมีแนวโน้มจะลดดอกเบี้ยประกอบกับ “ระดับราคาหุ้นค่อนข้างสูง” เกินค่าเฉลี่ย forward P/E 10 ปีย้อนหลัง อาจทำให้ตลาดหุ้นเผชิญกับความผันผวนระยะสั้น
อย่างไรก็ตาม มองปัจจัยกดดันดังกล่าวจะถูกชดเชยด้วยการเติบโต “เศรษฐกิจ” และ “กำไร” บริษัทจดทะเบียน (บจ.) เชื่อว่านักลงทุนในตลาดไม่ได้ต้องการลงทุนแค่สินทรัพย์ที่ถูก แต่นักลงทุนต้องการสินทรัพย์คุณภาพดีในราคาที่เหมาะสม ซึ่งอินเดียจะเป็นหนึ่งในสินทรัพย์แบบนั้น
ทางด้าน “ตลาดหุ้นอินเดีย” อ้างอิงดัชนี SENSEX ให้ผลตอบแทนตั้งแต่ต้นปีที่ 10.51% และให้ผลตอบแทนเฉลี่ย 14.66% ต่อปีในช่วง 5 ปีที่ผ่านมา (ข้อมูล ณ 5 พ.ย. 2567) มองในช่วง 5 ปีที่ผ่านมาอินเดียได้รับปัจจัยหนุนจากการเปลี่ยนแปลงของ Supply Chain โลก ก่อให้เกิดการย้ายฐานผลิต นโยบายหนุนภาคอุตสาหกรรมของนายกฯ Modi และได้รับการเพิ่มน้ำหนักดัชนีตลาดหุ้นและตราสารหนี้ สำหรับใน 5 ปีข้างหน้า คาดตลาดหุ้นอินเดียจะทำผลตอบแทนกลับเข้าสู่ระดับค่าเฉลี่ยของภูมิภาค 10-12% ต่อปี
สำหรับกลยุทธ์ลงทุนตลาดหุ้นอินเดีย “ระยะสั้น” มีมุมมอง “เป็นกลาง” จากอินเดียเป็นสินทรัพย์ที่ทำผลตอบแทนได้ค่อนข้างดีในช่วง 2 ปีที่ผ่านมา ทำให้ระดับราคาค่อนข้างนำหน้า “ปัจจัยบวก” ที่กำลังสนับสนุนเศรษฐกิจอย่างช้าๆ ขณะที่ระยะสั้นอาจโดน “กดดัน” การฟื้นตัวของเงินเฟ้อ นำมาสู่การลดดอกเบี้ยที่ช้ากว่าประเทศอื่นๆในภูมิภาค
ทั้งนี้ ใน “ระยะยาว” ยังคง “ชื่นชอบ” อินเดียจากแนวโน้มการเติบโตทางเศรษฐกิจซึ่งนำโดยการเปลี่ยนแปลง Supply Chain ในภาคอุตสาหกรรม นอกจากนั้นแรงหนุนจากการปรับเพิ่มน้ำหนักพันธบัตรอินเดียในดัชนีตราสารหนี้ประเทศเกิดใหม่ที่ได้รับความนิยมในชาติตะวันตกในปี 2567 จะยิ่งเรียกความเชื่อมั่นให้กับนักลงทุนต่างชาติเข้าลงทุนสินทรัพย์อินเดียในระยะยาว
“มองการลงทุนในกองทุนรวมหุ้นอินเดีย ถือเป็นการลงทุนกระจุกตัวในประเทศใดประเทศหนึ่ง และอยู่ในกลุ่มประเทศกำลังพัฒนา แม้อินเดียจะเป็นผู้นำในภูมิภาค แนะนำให้มีสัดส่วนในพอร์ตไม่มากจนเกินไปที่ระดับ 10-15% ของสัดส่วนที่จะลงทุนสินทรัพย์เสี่ยง”
“วจนะ วงศ์ศุภสวัสดิ์” รองกรรมการผู้จัดการ สายงานจัดการลงทุน บลจ. กสิกรไทย กล่าวว่า บริษัทในอินเดียมีความสามารถการ “ทำกำไร” ของบริษัทที่มากกว่าประเทศอื่นๆ นอกจากนี้ ตลาดหุ้นยังมีอุตสาหกรรมที่หลากหลาย เช่น นอกจากกลุ่มการเงิน ยังมี สินค้าฟุ่มเฟือย อุตสาหกรรม และวัสดุก่อสร้าง อัตราผลตอบแทนกำไรต่อผู้ถือหุ้น (ROE) เฉลี่ยตั้งแต่ปี 2547-2566 อยู่ที่ 16.2% ในอินเดีย สูงกว่าภูมิภาคอื่นๆ เช่น เอเชียไม่รวมญี่ปุ่น อยู่ที่ 11.9% ตลาดเกิดใหม่ อยู่ที่ 13.0% และทั่วโลก อยู่ที่ 12.7% นอกจากนี้เศรษฐกิจอินเดียมีการเติบโตจากภายในประเทศที่แข็งแกร่ง จากรัฐบาลมุ่งเน้นการปฏิรูปมีความต่อเนื่อง เข้มแข็ง และเป็นมิตรกับภาคเอกชนและธุรกิจ
ด้านกลยุทธ์ลงหุ้นอินเดียหลังจากนี้ มอง “ระยะสั้น” 1 ปีข้างหน้า จะ “ปรับลดน้ำหนัก” หุ้นอินเดียในพอร์ตลงทุนบ้าง และมีการปรับมุมมองลดลงเล็กน้อยมาเป็น “Neutral” เนื่องจาก Valuation ที่อยู่ในระดับสูง และกำไรของบจ. ที่เริ่มชะลอตัว และมองปัจจัยบวกในด้าน Geopolitics ที่อินเดียเป็นประเทศเป็นกลาง และได้ประโยชน์จากการย้ายถิ่นฐานการผลิตได้ price in เข้าไปในราคาแล้วแต่การลงทุนระยะยาว 3 ปีข้างหน้า ด้วยปัจจัยพื้นฐานที่แข็งแกร่ง ยังคงมีมุมมองต่ออินเดีย เป็น “Overweight” ในพอร์ตลงทุน
“ไชยวัฒน์ คมโสภาพงศ์” ผู้ช่วยผู้อำนวยการ ฝ่ายกลยุทธ์การลงทุน บลจ.เอ็มเอฟซี กล่าวว่า นับตั้งแต่ต้นปีมานี้ ดัชนี Nifty 50 ของตลาดหุ้นอินเดีย ปรับขึ้นมากว่า 18% ก่อนที่ปรับฐานลงในเดือน ต.ค.ที่ผ่านมานี้ โดยปรับฐานจากจุดสูงสุดที่บริเวณ 26,277 จุด ลงมา 9.0% จาก Valuation ที่ค่อนข้างตึงตัว และเม็ดเงินฟันด์โฟลว์ไหลออก เป็นผลจากการ Rebalance หลังตลาดหุ้นจีนปรับตัวขึ้นในช่วงเดือน ก.ย. ที่ผ่านมา ประกอบกับหลายบริษัทในดัชนีนี้ ประกาศงบไตรมาส 3 ออกมาน้อยกว่าที่นักวิเคราะห์คาด
มองว่า “ปัจจัยพื้นฐาน” ของหุ้นอินเดีย “ยังมีน่าสนใจ” โดย Bloomberg consensus คาดกำไรของบริษัทจดทะเบียน (EPS) เติบโตที่ 6.3% ในปีนี้ และ 13.2% ในปีหน้า นอกจากนี้ ดัชนี PMI ทั้งภาคผลิต และภาคบริการ บ่งชี้แนวโน้มถึงสภาวะการขยายตัว
ทำให้ตลาดหุ้นอินเดียมีความโดดเด่น ในด้านการเติบโต EPS ของบจ. ในปี 2567 และ 2568 โดยเฉพาะหุ้นขนาดกลาง-เล็ก ยังไม่เป็นที่รู้จักของนักลงทุนทั่วไป รวมถึงนักวิเคราะห์ ทำให้ได้หุ้นที่ราคายังไม่แพง
โดยมองตลาดหุ้นอินเดียปรับฐานรอบนี้สามารถ “ทยอยเข้า” ลงทุนได้ เหมาะสำหรับจัดพอร์ตลงทุน “ระยะยาว” เพราะตลาดหุ้นอินเดียมีการเติบโตเชิงโครงสร้าง จากผลตอบแทนย้อนหลัง 5 ปี ที่ผ่านมา ดัชนี Nifty 50 ผลตอบแทนเฉลี่ย 17% ต่อปี ขณะที่ดัชนี MSCI India Index ผลตอบแทนเฉลี่ย 18% ต่อปี (ข้อมูลสิ้นสุด ณ วันที่ 31 ต.ค.67)
ทางด้าน “ตลาดหุ้นอินเดีย” อ้างอิงดัชนี SENSEX ให้ผลตอบแทนตั้งแต่ต้นปีที่ 10.51% และให้ผลตอบแทนเฉลี่ย 14.66% ต่อปีในช่วง 5 ปีที่ผ่านมา (ข้อมูล ณ 5 พ.ย. 2567) มองในช่วง 5 ปีที่ผ่านมาอินเดียได้รับปัจจัยหนุนจากการเปลี่ยนแปลงของ Supply Chain โลก ก่อให้เกิดการย้ายฐานผลิต นโยบายหนุนภาคอุตสาหกรรมของนายกฯ Modi และได้รับการเพิ่มน้ำหนักดัชนีตลาดหุ้นและตราสารหนี้ สำหรับใน 5 ปีข้างหน้า คาดตลาดหุ้นอินเดียจะทำผลตอบแทนกลับเข้าสู่ระดับค่าเฉลี่ยของภูมิภาค 10-12% ต่อปี
สำหรับกลยุทธ์ลงทุนตลาดหุ้นอินเดีย “ระยะสั้น” มีมุมมอง “เป็นกลาง” จากอินเดียเป็นสินทรัพย์ที่ทำผลตอบแทนได้ค่อนข้างดีในช่วง 2 ปีที่ผ่านมา ทำให้ระดับราคาค่อนข้างนำหน้า “ปัจจัยบวก” ที่กำลังสนับสนุนเศรษฐกิจอย่างช้าๆ ขณะที่ระยะสั้นอาจโดน “กดดัน” การฟื้นตัวของเงินเฟ้อ นำมาสู่การลดดอกเบี้ยที่ช้ากว่าประเทศอื่นๆในภูมิภาค
ทั้งนี้ ใน “ระยะยาว” ยังคง “ชื่นชอบ” อินเดียจากแนวโน้มการเติบโตทางเศรษฐกิจซึ่งนำโดยการเปลี่ยนแปลง Supply Chain ในภาคอุตสาหกรรม นอกจากนั้นแรงหนุนจากการปรับเพิ่มน้ำหนักพันธบัตรอินเดียในดัชนีตราสารหนี้ประเทศเกิดใหม่ที่ได้รับความนิยมในชาติตะวันตกในปี 2567 จะยิ่งเรียกความเชื่อมั่นให้กับนักลงทุนต่างชาติเข้าลงทุนสินทรัพย์อินเดียในระยะยาว
“มองการลงทุนในกองทุนรวมหุ้นอินเดีย ถือเป็นการลงทุนกระจุกตัวในประเทศใดประเทศหนึ่ง และอยู่ในกลุ่มประเทศกำลังพัฒนา แม้อินเดียจะเป็นผู้นำในภูมิภาค แนะนำให้มีสัดส่วนในพอร์ตไม่มากจนเกินไปที่ระดับ 10-15% ของสัดส่วนที่จะลงทุนสินทรัพย์เสี่ยง”
“วจนะ วงศ์ศุภสวัสดิ์” รองกรรมการผู้จัดการ สายงานจัดการลงทุน บลจ. กสิกรไทย กล่าวว่า บริษัทในอินเดียมีความสามารถการ “ทำกำไร” ของบริษัทที่มากกว่าประเทศอื่นๆ นอกจากนี้ ตลาดหุ้นยังมีอุตสาหกรรมที่หลากหลาย เช่น นอกจากกลุ่มการเงิน ยังมี สินค้าฟุ่มเฟือย อุตสาหกรรม และวัสดุก่อสร้าง อัตราผลตอบแทนกำไรต่อผู้ถือหุ้น (ROE) เฉลี่ยตั้งแต่ปี 2547-2566 อยู่ที่ 16.2% ในอินเดีย สูงกว่าภูมิภาคอื่นๆ เช่น เอเชียไม่รวมญี่ปุ่น อยู่ที่ 11.9% ตลาดเกิดใหม่ อยู่ที่ 13.0% และทั่วโลก อยู่ที่ 12.7% นอกจากนี้เศรษฐกิจอินเดียมีการเติบโตจากภายในประเทศที่แข็งแกร่ง จากรัฐบาลมุ่งเน้นการปฏิรูปมีความต่อเนื่อง เข้มแข็ง และเป็นมิตรกับภาคเอกชนและธุรกิจ
ด้านกลยุทธ์ลงหุ้นอินเดียหลังจากนี้ มอง “ระยะสั้น” 1 ปีข้างหน้า จะ “ปรับลดน้ำหนัก” หุ้นอินเดียในพอร์ตลงทุนบ้าง และมีการปรับมุมมองลดลงเล็กน้อยมาเป็น “Neutral” เนื่องจาก Valuation ที่อยู่ในระดับสูง และกำไรของบจ. ที่เริ่มชะลอตัว และมองปัจจัยบวกในด้าน Geopolitics ที่อินเดียเป็นประเทศเป็นกลาง และได้ประโยชน์จากการย้ายถิ่นฐานการผลิตได้ price in เข้าไปในราคาแล้วแต่การลงทุนระยะยาว 3 ปีข้างหน้า ด้วยปัจจัยพื้นฐานที่แข็งแกร่ง ยังคงมีมุมมองต่ออินเดีย เป็น “Overweight” ในพอร์ตลงทุน
“ไชยวัฒน์ คมโสภาพงศ์” ผู้ช่วยผู้อำนวยการ ฝ่ายกลยุทธ์การลงทุน บลจ.เอ็มเอฟซี กล่าวว่า นับตั้งแต่ต้นปีมานี้ ดัชนี Nifty 50 ของตลาดหุ้นอินเดีย ปรับขึ้นมากว่า 18% ก่อนที่ปรับฐานลงในเดือน ต.ค.ที่ผ่านมานี้ โดยปรับฐานจากจุดสูงสุดที่บริเวณ 26,277 จุด ลงมา 9.0% จาก Valuation ที่ค่อนข้างตึงตัว และเม็ดเงินฟันด์โฟลว์ไหลออก เป็นผลจากการ Rebalance หลังตลาดหุ้นจีนปรับตัวขึ้นในช่วงเดือน ก.ย. ที่ผ่านมา ประกอบกับหลายบริษัทในดัชนีนี้ ประกาศงบไตรมาส 3 ออกมาน้อยกว่าที่นักวิเคราะห์คาด
มองว่า “ปัจจัยพื้นฐาน” ของหุ้นอินเดีย “ยังมีน่าสนใจ” โดย Bloomberg consensus คาดกำไรของบริษัทจดทะเบียน (EPS) เติบโตที่ 6.3% ในปีนี้ และ 13.2% ในปีหน้า นอกจากนี้ ดัชนี PMI ทั้งภาคผลิต และภาคบริการ บ่งชี้แนวโน้มถึงสภาวะการขยายตัว
ทำให้ตลาดหุ้นอินเดียมีความโดดเด่น ในด้านการเติบโต EPS ของบจ. ในปี 2567 และ 2568 โดยเฉพาะหุ้นขนาดกลาง-เล็ก ยังไม่เป็นที่รู้จักของนักลงทุนทั่วไป รวมถึงนักวิเคราะห์ ทำให้ได้หุ้นที่ราคายังไม่แพง
โดยมองตลาดหุ้นอินเดียปรับฐานรอบนี้สามารถ “ทยอยเข้า” ลงทุนได้ เหมาะสำหรับจัดพอร์ตลงทุน “ระยะยาว” เพราะตลาดหุ้นอินเดียมีการเติบโตเชิงโครงสร้าง จากผลตอบแทนย้อนหลัง 5 ปี ที่ผ่านมา ดัชนี Nifty 50 ผลตอบแทนเฉลี่ย 17% ต่อปี ขณะที่ดัชนี MSCI India Index ผลตอบแทนเฉลี่ย 18% ต่อปี (ข้อมูลสิ้นสุด ณ วันที่ 31 ต.ค.67)