รู้ไว้สักนิด! ก่อนและหลังฉีดวัคซีน ต้องดูแลตัวเองอย่างไร

รู้ไว้สักนิด! ก่อนและหลังฉีดวัคซีน ต้องดูแลตัวเองอย่างไร

หลังฉีด“วัคซีน”ป้องกันไวรัสโควิด หลายคนไม่มีอาการใดๆ แต่หลายคนมีอาการไม่พึงประสงค์ จะมีอาการอย่างไรบ้าง มาเตรียมตัวเตรียมใจไว้ดีกว่า...

 

ข้อปฏิบัติ หลังรับการฉีดวัคซีนโควิด 19 จากกรมควบคุมโรค (เผยแพร่วันที่ 19 พฤษภาคม 2564)

1 พักดูอาการ ณ จุดที่ฉีดวัคซีน 30 นาที หากมีอาการผิดปกติ เช่น เวียนศีรษะ คลื่นไส้อาเจียน หรือมีอาการแพ้รุนแรง เช่น ชาครึ่งซีก แขนขาอ่อนแรง ปากเบี้ยว ให้รีบแจ้งเจ้าหน้าที่และพบแพทย์ทันที

2 หลังจากฉีดวัคซีน 4-6 ชั่วโมง ถ้ามีไข้หรือปวดเมื่อยมาก ให้รับประทานยาพาราเซตามอลขนาดตามน้ำหนักตัว 10 มิลลิกรัม/กิโลกรัม (500 มิลลิกรัม/50 กิโลกรัม) ทุก 4-6 ชั่วโมง

3 เมื่อกลับบ้านแล้ว ต้องสังเกตอาการต่ออีก 2-3 วัน หากพบ อาการผิดปกติที่รุนแรง เช่น ชาครึ่งซีก แขนขาอ่อนแรง ปากเบี้ยว ให้รีบไปพบแพทย์ทันที

4 เลี่ยงการใช้แขนข้างที่ฉีด ในการยกของหนักอย่างน้อย 4 ชั่วโมง

คำแนะนำการปฏิบัติตัวหลังฉีดวัคซีน โดยกรมควบคุมโรค (เผยแพร่วันที่ 30 พฤษภาคม 2564)

1 ควรงดกิจกรรมที่ทำให้ร่างกายล้าในวันที่ฉีดวัคซีน

บันทึกความผิดปกติทุกอย่างที่พบ หลังฉีดวัคซีนในช่วง 1 เดือน

แจ้งอาการข้างเคียงจากเข็มแรกแก่เจ้าหน้าที่ก่อนฉีดเข็มถัดไป

สังเกตอาการต่อที่บ้าน หากมีอาการบวม แดง ร้อน บริเวณที่ฉีด สามารถประคบเย็นเพื่อบรรเทาอาการได้

หากมีอาการไข้ สามารถกินยาลดไข้ได้ตามปกติและนอนพัก หากมีอาการข้างเคียงที่รุนแรง ควรไปโรงพยาบาล หรือ โทร 1669 เพื่อรับบริการทางการแพทย์ฉุกเฉิน

 อาการข้างเคียงหลังฉีดวัคซีนโควิด19 โดยกรมควบคุมโรค (เผยแพร่เมื่อวันที่ 2 มีนาคม 2564)

ชนิดไม่รุนแรง

-มีไข้ต่ำ คลื่นไส้อาเจียน อ่อนเพลีย ปวดบริเวณที่ฉีด

ชนิดรุนแรง

-ไข้สูง แน่นหน้าอก หายใจไม่ออก ปวดศีรษะรุนแรง ปากเบี้ยว กล้ามเนื้ออ่อนแรง มีเลือดออกจำนวนมาก มีผื่นขึ้นทั้งตัว อาเจียนมากกว่า 5 ครั้ง ชักหมดสติ หากมีอาการดังนี้ควรรีบแจ้งแพทย์ทันที

ที่ผ่านมา มีรายงานอาการข้างเคียง หลังได้รับวัคซีนโควิด 19 ในคนไทย เผยแพร่โดย กรมควบคุมโรค ประมวลโดย กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัย และนวัตกรรม (อว.) เมื่อวันที่ 13 พฤษภาคม 2564 ระบุไว้ว่า

-ไม่พบผลข้างเคียง 89.19 %

-พบผู้ที่มีอาการไม่พึงประสงค์ 10.81 % ของผู้ที่ได้รับวัคซีนทั้งหมด

แยกเป็น ปวดกล้ามเนื้อ 6.56% ปวดศีรษะ 4.37% เหนื่อย อ่อนเพลีย ไม่มีแรง 3.23% ปวด บวม แดง ร้อน บริเวณที่ฉีด 3.18% ไข้ 2.08% คลื่นไส้ 1.56% ท้องเสีย 1.23% ปวดกล้ามเนื้อ กล้ามเนื้ออ่อนแรง 0.91% ผื่น 0.7% อาเจียน 0.4% อื่นๆ 1.34%

-พบผู้ที่มีอาการไม่พึงประสงค์รุนแรงที่ได้รับการยืนยันจากคณะผู้เชี่ยวชาญ 14 ราย ( 7 ในล้านราย)

-แพ้รุนแรง (Anaphylaxis) 6.5 ในล้านราย

-ชา (polyneurophaty) 0.5 ในล้านราย

162303614194

ส่วนรายงานการฉีดวัคซีน ตั้งแต่ 28 กุมภาพันธ์-6 มีนาคม 2564 จาก กรมควบคุมโรค โดย ศูนย์ปฏิบัติการด้านนวัตกรรมการแพทย์ และการวิจัยและพัฒนา สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม เผยแพร่ว่า

-พบผู้มีอาการไม่พึงประสงค์ หลังได้รับวัคซีน 828 ราย จากจำนวนผู้ได้รับการฉีดวัคซีนโควิด 25,864 ราย

อาการข้างเคียง 828 ราย หรือ 3.2% จากผู้ได้รับวัคซีน แยกเป็น 

อักเสบบริเวณที่ฉีด 157 ราย (0.61%) 

คลื่นไส้ 140 ราย (0.54%) 

อาเจียน 107 ราย (0.41%) 

ปวดเมื่อยเนื้อตัว 91 ราย (0.35%) 

มีผื่น 82 ราย (0.32%) 

ท้องเสีย 66 ราย (0.26% )

ปวดศีรษะ 57 ราย (0.22%) 

เหนื่อย 31 ราย (0.12%) 

อื่นๆ 31 ราย (0.12%)

คำแนะนำสำหรับผู้ที่ยังไม่ได้ฉีดวัคซีน ก่อนฉีดวัคซีนควรปฏิบัติตัวดังนี้

1 พักผ่อนให้เพียงพอ

2 งดออกกำลังกายหนักๆ อย่างน้อย 2 วัน

3 หากเจ็บป่วย มีไข้ ให้เลื่อนการฉีดวัคซีนออกไปก่อน

4 เลี่ยงดื่มแอลกอฮอล์ ชา กาแฟ

ข้อมูลสำคัญที่ควรแจ้งหรือปรึกษาแพทย์

1 มีโรคประจำตัว หรือ มียาที่ต้องรับประทาน

2 มีประวัติแพ้ยา หรือ วัคซีน

3 อยู่ระหว่างตั้งครรภ์น้อยกว่า 12 สัปดาห์

คำแนะนำ วันที่เข้ารับการฉีดวัคซีน

1 ควรดื่มน้ำอย่างน้อย 500-1000 ml

2 สวมเสื้อที่สะดวกต่อการฉีดวัคซีน

3 เตรียมเอกสารที่ต้องใช้ เช่น บัตรประจำตัวประชาชน, ข้อมูลการลงทะเบียน (และ ปากกา เพื่อความสะดวกในการกรอกเอกสารต่างๆ )

4 หากมีโรคประจำตัว สามารถทานยาได้ตามปกติ

...............

หมายเหตุ ข้อมูลจากเฟซบุ๊ค Dentalfunfun เผยแพร่ไว้ว่า ก่อนและหลังฉีดวัคซีน ให้หลีกเลี่ยงยาแก้ปวดกลุ่ม NSAIDs ที่อาจทำให้มีผลข้างเคียงไม่พึงประสงค์ได้ ให้ใช้ยาแก้ปวดประเภทพาราเซตามอลแทน 

162303658634