มข. เปลี่ยน "บริการวิชาการ" แบบเดิม สู่การใช้องค์ความรู้ บริการชุมชน

มข. เปลี่ยน "บริการวิชาการ" แบบเดิม สู่การใช้องค์ความรู้ บริการชุมชน

"มข." จัดมหกรรม KKU CSV “มหาวิทยาลัยขอนแก่นบริการชุมชน” ครั้งที่ 2 เดินหน้ายุทธศาสตร์ เปลี่ยนการบริการวิชาการจากแบบเดิม ให้เป็นการบริการวิชาการที่ใช้องค์ความรู้ เทคโนโลยี และนวัตกรรม เพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน

มหาวิทยาลัยขอนแก่น จัดมหกรรม KKU CSV “มหาวิทยาลัยขอนแก่นบริการชุมชน” ครั้งที่ 2 โดยมี รศ.นพ.ชาญชัย  พานทองวิริยะกุล อธิการบดีมหาวิทยาลัยขอนแก่นเป็นประธานในการเปิดงาน อาจารย์ณัฐสมล ธนกุลรังสฤษดิ์  ผู้ช่วยอธิการบดีฝ่ายกิจการพิเศษ มหาวิทยาลัยขอนแก่น กล่าวรายงานการจัดงาน ในการนี้มีคณะผู้บริหารมหาวิทยาลัยขอนแก่น ร่วมในพิธีเปิดเป็นจำนวนมาก ณ บริเวณลานชั้น 1 สถานีรถไฟขอนแก่น จังหวัดขอนแก่น


สำหรับงาน “มหกรรมมหาวิทยาลัยขอนแก่นบริการชุมชน” เป็นกิจกรรมภายใต้โครงการ KKU CSV มหาวิทยาลัยขอนแก่นร่วมสร้างคุณค่าสู่สังคม ประจําปี 2565 มีวัตถุประสงค์เพื่อปลูกฝังค่านิยม และ วัฒนธรรมองค์กร “การอุทิศเพื่อสังคม” ของประชาคมชาวมหาวิทยาลัยขอนแก่น โดยใช้องค์ความรู้ต่าง ๆ และความเชี่ยวชาญที่มี ในการรับใช้สังคมอย่างเป็นระบบและมีประสิทธิภาพ


รศ.นพ.ชาญชัย พานทองวิริยะกุล อธิการบดีมหาวิทยาลัยขอนแก่น กล่าวว่า มหกรรมมหาวิทยาลัยขอนแก่นบริการชุมชน KKU CSV หรือ Creating Shared Value สอดคล้องกับ ปรัชญาการอุทิศเพื่อสังคมของมหาวิทยาลัย โดยทิศทางการทำงานอุทิศเพื่อสังคมนั้น เป็นเสมือนเครื่องเตือนใจให้คนในองค์กรนึกถึงประชาชน

 

มข. เปลี่ยน \"บริการวิชาการ\" แบบเดิม สู่การใช้องค์ความรู้ บริการชุมชน

อาจารย์ณัฐสมล ธนกุลรังสฤษดิ์ ผู้ช่วยอธิการบดีฝ่ายกิจการพิเศษ มหาวิทยาลัยขอนแก่น เปิดเผยว่า ในปีนี้มหาวิทยาลัยขอนแก่น จัดมหกรรมการบริการชุมชน ยิ่งใหญ่กว่าปีที่ผ่านมา เนื่องจากในปีนี้มีหน่วยงานภายใน และ หน่วยงานภายนอก มาร่วมจัดกิจกรรมถึง 41 หน่วยงาน   โดยปีนี้ได้รับความร่วมมือจากภาคีเครือข่าย หน่วยงานภายนอกทั้งภาครัฐและเอกชน และ การให้บริการในปีนี้ ครอบคลุมทุกเพศ ทุกวัย ทุกช่วงอายุ มีประชาชนมารอเข้ารับบริการเป็นจำนวนมาก

 

"ปกติเวลาพี่น้องประชาชนเข้ารับ บริการสาธารณสุข จะต้องไปที่โรงพยาบาล แต่ในวันนี้เรานำบริการต่างๆ ของ โรงพยาบาลศรีนครินทร์ มาให้บริการที่นี่ เป็นบริการที่ครบถ้วน มีความหลากหลายครอบคลุมทั้งร่างกาย รวมไปถึงการดูแลสุขภาพฟันของคณะทันตแพทยศาสตร์ด้วย เห็นแล้วชื่นใจที่พี่น้องให้ความสนใจมากมายขนาดนี้ ทำให้เห็นว่าบริการที่มหาวิทยาลัยขอนแก่น และ ภาคีเครือข่าย เตรียมไว้ตรงกับความต้องการของประชาชน"

 

ทางด้าน นายชาญณรงค์  ประสารกก พยาบาลวิชาชีพชำนาญการ ศูนย์หัวใจสิริกิติ์ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ  คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น บุคลากรที่มาให้บริการประชาชนในวันนี้ เปิดเผยว่า วันนี้ศูนย์หัวใจสิริกิติ์ นำทีม CPR ของทางศูนย์หัวใจฯมาให้ความรู้ประชาชน เพราะการ CPR เป็นสิ่งที่ทำได้ง่าย แต่ช่วยชีวิตคนได้สูงมาก ทั้งนี้ การ CPR สามารถทำให้ผู้เรียนรู้กลายเป็นฮีโร่ได้ เพราะการใช้แค่มือสองข้างแต่ทำได้ถูกต้อง ก็สามารถทำให้ผู้เรียนรู้ช่วยชีวิตคนได้

 

มข. เปลี่ยน \"บริการวิชาการ\" แบบเดิม สู่การใช้องค์ความรู้ บริการชุมชน

"วันนี้จึงนำหุ่นที่ใช้ในการสอนประชาชน และอุปกรณ์คอร์สในการอบรมของพวกเรามาทั้งหมด ซึ่งการที่เราออกมาสอนนอกสถานที่นี้จะช่วยให้ประชาชนที่ไม่มีโอกาสในการเข้าไปเรียนรู้ที่ศูนย์ฯได้รับการเทรนง่ายขึ้น มีผู้มาเรียนรู้หลากหลายมากขึ้น โดยในวันนี้สอนประชาชนตั้งแต่นักเรียนชั้น ม.1 จนถึงอายุประมาณ 70 ปี ทำให้เรามีการกระจายองค์ความรู้ด้านนี้ออกไปในสังคมได้มากขึ้น สามารถเพิ่มฮีโร่ในการช่วยเหลือคนได้อีกหลายคน"


นางสาวณัชชา จันทร์ทรงกลด นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนหนองเรือวิทยาคมจังหวัดขอนแก่น ผู้เรียนรู้การทำ CPR ของ ศูนย์หัวใจสิริกิติ์ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ในวันนี้เปิดเผยว่า สนใจเรียนกู้ชีพเบื้องต้นเพราะว่าจะได้เป็นความรู้ติดตัว และ หากต้องไปเจอสถานการณ์ที่ฉุกเฉินจะได้ช่วยเหลือได้ทัน


“ทีม CPR ของทางศูนย์หัวใจฯ สอนเป็นกันเองมาก วิธีการสอน คือ อาจารย์จะเปิดกล่องให้ดู และ ในกล่องนั้นจะมีขั้นตอนทีละขั้นตอนแล้วก็ปฏิบัติตามที่ในกล่องบอก การที่มหาวิทยาลัยขอนแก่นมาจัดกิจกรรม และ มาจัดสอนกู้ชีพนอกสถานที่ เป็นสิ่งที่ดีมากเพราะได้ความรู้และเป็นการเปิดประสบการณ์ได้ความรู้ที่แปลกใหม่ในสถานที่ใหม่ๆ”

 

มข. เปลี่ยน \"บริการวิชาการ\" แบบเดิม สู่การใช้องค์ความรู้ บริการชุมชน


นางสาวภัทรวดี บุตรโคตร นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนหนองเรือวิทยาคมจังหวัดขอนแก่น ผู้เรียนรู้การทำ CPR ของ ศูนย์หัวใจสิริกิติ์ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เปิดเผยว่า ที่สนใจมาเรียนกู้ชีพพื้นฐานเพราะว่าเป็นสถานการณ์ที่สามารถเจอได้ทั่วไป และเป็นความรู้ติดตัว


นางสาวภัทรวดี บุตรโคตร นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนหนองเรือวิทยาคมจังหวัดขอนแก่น ผู้เรียนรู้การทำ CPR ของ ศูนย์หัวใจสิริกิติ์ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เปิดเผยว่า ที่สนใจมาเรียนกู้ชีพพื้นฐานเพราะว่าเป็นสถานการณ์ที่สามารถเจอได้ทั่วไป และเป็นความรู้ติดตัว


สำหรับมหกรรม KKU CSV “มหาวิทยาลัยขอนแก่นบริการชุมชน” ครั้งที่ 2 นี้ นับเป็นงานมหกรรมการบริการชุมชนที่สอดคล้องกับปรัชญาการอุทิศเพื่อสังคม และยุทธศาสตร์การบริหารงานของมหาวิทยาลัย ด้านการปรับเปลี่ยนการบริการวิชาการจากแบบเดิม ให้เป็นการบริการวิชาการที่ใช้องค์ความรู้ เทคโนโลยี และนวัตกรรม เพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน  ซึ่งประชาคมชาวมหาวิทยลัยขอนแก่นเชื่อมั่นเป็นอย่างยิ่งว่าการทุ่มเท แรงกายแรงใจ ในการทำงานครั้งนี้ จะส่งเสริมให้ประชาชนมีความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น และจะส่งผลดีต่อการขับเคลื่อนประเทศไทยในองค์รวมต่อไป

 

มข. เปลี่ยน \"บริการวิชาการ\" แบบเดิม สู่การใช้องค์ความรู้ บริการชุมชน