ปลุกพลังอาชีวะ แกนนำป้องกันปัจจัยเสี่ยงเปลี่ยนสังคม!

ปลุกพลังอาชีวะ แกนนำป้องกันปัจจัยเสี่ยงเปลี่ยนสังคม!

สสส.ผนึกสอศ.มูลนิธิรณรงค์หยุดพนัน  เปิดเวทีถอดบทเรียนทำงานนำร่อง 25 สถาบันอาชีวะ ยกระดับพัฒนาสู่การเป็นวิทยาลัยต้นแบบป้องกันมหันตภัย “เหล้า บุหรี่” 2 ปัจจัยเสี่ยงรุกคืบ ในสถานศึกษา พร้อมลุยผลักดันทำงานขยายเครือข่ายครอบคลุมทั่วประเทศ 

สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา(สอศ.) ได้ร่วมหารือกับ สำนักสนับสนุนการควบคุมปัจจัยเสี่ยงหลัก สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) พิจารณาวิทยาลัยในสังกัดเข้าร่วมกิจกรรมภายใต้โครงการพัฒนาเครือข่ายและหนุนเสริมศักยภาพครูและแกนนำนักศึกษาอาชีวศึกษา ป้องกันปัจจัยเสี่ยง (เหล้า บุหรี่) ในสถานศึกษา

โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อขับเคลื่อนนโยบายสู่การปฏิบัติและพัฒนากลไก  ลดปัจจัยเสี่ยงเพิ่มปัจจัยบวกในการส่งเสริมสุขภาวะ และช่วยเหลือกลุ่มเสี่ยงต่อพฤติกรรมที่เป็นปัญหาในนักเรียน นักศึกษาระดับอาชีวะศึกษา

ปลุกพลังอาชีวะ แกนนำป้องกันปัจจัยเสี่ยงเปลี่ยนสังคม!  

ล่าสุด สสส.ร่วมกับ สำนักมาตรฐานการอาชีวศึกษาและวิชาชีพ สอศ. มูลนิธิรณรงค์หยุดพนัน จัดเวทีสรุปผลงานการดำเนินโครงการพัฒนาเครือข่ายและหนุนเสริมศักยภาพครูและแกนนำนักศึกษาอาชีวศึกษาป้องกันปัจจัยเสี่ยง (เหล้า บุหรี่) ในสถานศึกษา

ภายใต้โครงการพัฒนาเครือข่ายและหนุนเสริมศักยภาพครูและแกนนำนักศึกษาอาชีวศึกษา ป้องกันปัจจัยเสี่ยง (เหล้า บุหรี่) ในสถานศึกษา โดยมีวิทยาลัยเข้าร่วมโครงการกว่า 25 แห่ง

ข่าวที่เกี่ยวข้อง:

CIBA โชว์เคสนักศึกษาก่อนเข้าวงการ Startup

ท้องตอนอายุเยอะ 35++ ดูแลอย่างไร? ไม่ให้เสี่ยง

เช็กสัญญานเสี่ยงจากการติดพนันในช่วงบอลโลก พร้อมดูแลสุขภาพไม่ให้โทรม

เปิด 5 หลักสูตรระดับ World-Class ทันโลกไปกับธุรกิจที่ใช่

 

ปลุกพลังอาชีวะลดปัจจัยเสี่ยงในสถานศึกษา

เรืออากาศโท สมพร  ปานดำ รองเลขาธิการคณะกรรมการการอาชีวศึกษา กล่าวว่า ขณะนี้โครงการฯ ได้สนับสนุนงบประมาณให้กับวิทยาลัยในสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา จำนวน 25 แห่ง ในการดำเนินการจัดกิจกรรมรณรงค์ลดปัจจัยเสี่ยงในสถานศึกษาเป็นที่เรียบร้อย เพื่อให้เกิดบทเรียน เกิดการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ถอดบทเรียน และพัฒนาสู่การเป็นวิทยาลัยต้นแบบป้องกันปัจจัยเสี่ยง (เหล้า บุหรี่) ในสถานศึกษา

ท้ายที่จะสุดจะนำไปซึ่งการตระหนักในการป้องกันตนเอง ในพิษภัยของอบายมุขเหล่านั้นในการดำรงชีวิต และเป็นพลังที่สร้างสรรค์ในสังคมต่อไป ขณะเดียวกันเรามีความมุ่งหวัง ในฐานะสถานศึกษาต้นแบบ ป้องกันปัจจัยเสี่ยง จะได้ทำงานเป็นภาคีเครือข่ายระหว่างสถานศึกษาเพื่อแก้ไขปัญหา จับมือกันทำงานร่วมกันเพื่อให้เยาวชนของเราปลอดจากเหล้า บุหรี่ ต่อไป 

ปลุกพลังอาชีวะ แกนนำป้องกันปัจจัยเสี่ยงเปลี่ยนสังคม!

ด้าน น.ส.รุ่งอรุณ  ลิ้มฬหะภัณ  ผู้อำนวยการสำนักสนับสนุนการควบคุมปัจจัยเสี่ยงหลัก สสส. กล่าวว่า นับได้ว่ากิจกรรมภายใต้โครงการพัฒนาเครือข่ายฯ ซึ่งเราได้ดำเนินร่วมกับพันธมิตร ทั้งสอศ. และภาคีเครือข่ายมูลนิธิรณรงค์หยุดการพนัน ภายใต้ความร่วมมือ ร่วมใจกันจนกิจกรรมสำเร็จเรียบร้อย

"เราจะไม่ได้หยุดอยู่แค่เพียงเท่านี้ แต่ยังคงดำเนินการต่อเนื่องในการสรุปบทเรียน  จากก้าวแรกสู่ก้าวต่อไปเครือข่ายอาชีวะลดปัจจัยเสี่ยง เพื่อถอดบทเรียนหัวใจของการทำงาน ผลักดันการการทำงานไปยังแหล่งสถานศึกษาอาชีวะทั่วประเทศต่อไป ขณะเดียวกันก็ยังเป็นต้นแบบให้กับสถานศึกษา ที่จะร่วมกันขับเคลื่อนทำงานเพื่อสร้างเสริมสุขภาวะ และช่วยเหลือกลุ่มนักเรียน กลุ่มเสี่ยงต่างๆในสถานศึกษาทั่วประเทศ" น.ส.รุ่งอรุณ กล่าว

 

อัตราการสูบบุหรี่ในกลุ่มเยาวชน ร้อยละ12.7

สสส. ได้ดำเนินการขยายแนวร่วมในการทำงานเพื่อสร้างภูมิคุ้มกันเยาวชนให้รู้เท่าทันปัจจัยเสี่ยง เหล้า บุหรี่ ที่เป็นต้นเหตุต่อเนื่องไปยังปัจจัยเสี่ยงอื่นๆ เช่น ยาเสพติด รวมถึงปัจจัยเสี่ยงด้านการพนันมาอย่างต่อเนื่อง ทั้งการสร้างความรู้ความเข้าใจ การช่วยเหลือกลุ่มเสี่ยง กลุ่มเปราะบาง ตลอดจนการร่วมดูแลสิ่งแวดล้อม

โดยที่ผ่านมาในการดำเนินกิจกรรม มีครู นักเรียน นักศึกษาเข้าร่วมโครงการจำนวนมาก ซึ่งเป็นตัวแทนจากทุกแผนกวิชาเข้าร่วมฝึกฝนทักษะ จนเกิดเป็นแกนนำครู นักเรียน นักศึกษา เพื่อเป็นกำลังสำคัญในการช่วยป้องกันปัจจัยเสี่ยง ส่งผลหลายด้าน ต่อนักเรียน นักศึกษา นำไปสู่ ผลการเรียนดีขึ้น ลดการเกิดอุบัติเหตุ ลดการบาดเจ็บ การเสียชีวิต จากปัจจัยเสี่ยงต่างๆ

จากรายงานการสำรวจพฤติกรรมการสูบบุหรี่และการดื่มสุราของประชากรไทยปี 2564 โดยสำนักงานสถิติแห่งชาติ พบว่า อัตราการสูบบุหรี่ในกลุ่มเยาวชน อายุ 15-24 ปี อยู่ที่ร้อยละ12.7 ซึ่งลดลงจากปี 2560 (ร้อยละ15.4)  ซึ่งสอดคล้องกับอัตราการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ในกลุ่มเยาวชนอยู่ที่ร้อยละ 20.9 ก็ลดลงเช่นกัน

ปลุกพลังอาชีวะ แกนนำป้องกันปัจจัยเสี่ยงเปลี่ยนสังคม!

แต่จากสถานการณ์การสูบบุหรี่ไฟฟ้า พบ 78,742 คนสูบบุหรี่ไฟฟ้าโดยมีสัดส่วนเป็นเยาวชน 15-24 ปีมากที่สุด (ร้อยละ 30.5) ซึ่งกลุ่มเยาวชนควรได้รับข้อมูลที่ถูกต้องเพื่อประกอบการตัดสินใจ

"ส่วนสถานการณ์พนันประจำปี 2562 โดยศูนย์ศึกษาปัญหาการพนัน พบประชากรอายุ 15 ปีขึ้นไป พบว่าร้อยละ 98.9 เกิดจากการอยู่ในสภาพแวดล้อมที่มีคนรอบข้างเล่นการพนัน โดยมีเยาวชนที่อายุ 15-25 ปี เล่นการพนันจำนวน 4.3 ล้านคน และมีพฤติกรรมเข้าข่ายเป็นปัญหาอยู่ 6 แสนคน จึงควรมีการสร้างภูมิคุ้มกันเยาวชนให้รู้เท่าทันปัจจัยเสี่ยง" น.ส.รุ่งอรุณ ระบุ

อาจารย์พยนค์  น้อยนาดี  วิทยาลัยเทคนิคพังงา  กล่าวว่า ต้องขอบคุณสสส.ที่สนับสนุนโครงการดีๆแบบนี้ให้กับวิทยาลัยทั้ง25แห่ง ทำให้วิทยาลัยมีความคล่องตัว ที่จะเปิดโอกาสให้นักศึกษาได้เรียนรู้ เดิมทีวิทยาลัยของเราได้ทำโครงการเกี่ยวกับเรื่องนี้ผ่านโครงการพิเศษ พอมีงบประมาณเข้ามาสนับสนุน ความพร้อมของสถานศึกษาก็มีมากขึ้น เกิดประโยชน์กับนักศึกษามากขึ้น เชื่อมความสัมพันธ์กันมากขึ้น

ทั้งนี้ ภาพรวมของปัจจัยเสี่ยงที่ยังน่าเป็นห่วงคือ เริ่มต้นจากสิ่งแวดล้อม วัยรุ่นอยากรู้อยากลอง เพื่อนชักชวนไปในทางที่ไม่ดี เกิดพฤติกรรมที่เกี่ยวกับความเสี่ยง บุหรี่ เหล้า เพศ การพนัน ยาเสพติด ซึ่งเราต้องสร้างภูมิคุ้มกันให้เขาตั้งแต่ต้นทาง เชื่อว่าปัจจัยเสี่ยงเหล่านี้จะถอยห่างออกไป