สช.ยุคใหม่ เน้นคุณภาพ 3 ด้าน ระบุเลือก “โรงเรียนเอกชน” ให้ลูกต้องดูอะไรบ้าง?

สช.ยุคใหม่ เน้นคุณภาพ 3 ด้าน ระบุเลือก “โรงเรียนเอกชน” ให้ลูกต้องดูอะไรบ้าง?

สช.ยุคใหม่ เน้นคุณภาพ 3 ด้าน ผู้เรียนคุณภาพ โรงเรียนคุณภาพ และระบบบริหารจัดการคุณภาพ พร้อมแนะเลือก “โรงเรียนเอกชน” ให้ลูกต้องดูอะไรบ้าง

เทคโนโลยีได้เข้ามามีบทบาทในระบบการศึกษาอย่างมาก รวมทั้งเทรนด์ของคนยุคใหม่ไม่ได้สนใจใบปริญญา ทุกคนสามารถเข้าถึงองค์ความรู้มากมายได้ด้วยตนเอง ทำให้สถานศึกษาไม่ว่าจะในระดับไหนต้องปรับตัว ปรับหลักสูตร ปรับการเรียนการสอนที่ดึงดูดให้เด็กมาเรียนมากขึ้น

ปัจจุบันจำนวนเด็กเกิดใหม่น้อยลง ปีล่าสุดมีเด็กเกิดใหม่เพียง500,000 คน ส่งผลให้เด็กเข้าสู่ระบบการศึกษาน้อยลงกว่าเดิม ขณะที่จำนวนสถานศึกษาในระบบการศึกษา ทั้งภาครัฐ ภาคเอกชน นอกระบบ ในระบบ ล้วนมีมากขึ้น

โรงเรียนเอกชน ในประเทศไทย ซึ่งแบ่งเป็นโรงเรียนในระบบและโรงเรียนนอกระบบ โดยโรงเรียนในระบบ มี 3 ประเภท ได้แก่ สามัญศึกษา นานาชาติ และอาชีวศึกษา ส่วนโรงเรียนนอกระบบ มี 7 ประเภท ได้แก่ สอนศาสนา ศิลปะและกีฬา วิชาชีพ กวดวิชา สร้างเสริมทักษะชีวิต สถาบันศึกษาปอเนาะ ศูนย์การศึกษาอิสลามประจำมัสยิด (ตาดีกา)

ข่าวที่เกี่ยวข้อง:

สช.ถกแนวปฎิบัติรับนร.ปี66หวั่นกระทบรับเด็กเล็กรร.เอกชน

ครม.เห็นชอบเพิ่มเงินอุดหนุน แก่นักเรียนพิการโรงเรียนเอกชน

โรงเรียนเอกชนกว่า 94% จัดสรรเงินเยียวยาถึงมือนร.-ผู้ปกครอง 2 ล้านคน

ศธ.-กสศ.เดินหน้าป้องกันเด็กหลุดออกนอกระบบ

 

สถานการณ์โรงเรียนเอกชนในปัจจุบัน

นายมณฑล ภาคสุวรรณ์ เลขาธิการคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน (กช.) เล่าว่าโรงเรียนเอกชนมี2 ประเภท นั่นคือ โรงเรียนในระบบมีประเภทสามัญศึกษา 3,738 โรง มีนักเรียน  2,033,857 คน ส่วนประเภทนานาชาติ 235 โรง  มีนักเรียน 69,257  คน  ขณะที่การศึกษานอกระบบมีทั้งหมด 7,843 โรง มีนักเรียน 1,211,021 คน

“การเปลี่ยนแปลงทั้งภาวะทางเศรษฐกิจและโครงสร้างประชากร ทำให้สถานการณ์ของโรงเรียนในเอกชนมีความท้าทายทั้งที่เป็นปัญหาและโอกาส โดยในส่วนของโครงสร้างประชากรจำนวนประชากรวัยเรียนลดลงส่งผลกระทบต่อโรงเรียนในระบบ ความคุ้มทุนในการลงทุน และมีค่าใช้จ่ายที่ผันแปรตามนักเรียน  รวมถึงผู้ปกครองที่ประสบปัญหาภาวะโควิดจำนวนมากค้างจ่ายค่าธรรมเนียมการศึกษา และค่าธรรมเนียมอื่น และบางรายขอผ่อนชาระเป็นงวด ส่งผลให้โรงเรียนขาดสภาพคล่องในการบริหารกิจการ ของโรงเรียน ประกอบกับภาวะเงินเฟ้อส่งผลให้ต้นทุนในการจัดการศึกษาของโรงเรียนเอกชนสูงขึ้น ซึ่งกระทบต่อค่าใช้จ่ายของผู้ปกครอง และอาจส่งผลต่อการตัดสินใจในการเลือกเรียนในโรงเรียนเอกชน”นายมณฑล กล่าว

จากภาวะที่เกิดขึ้น ในปี 2565 ส่งผลให้มีโรงเรียนในระบบล้มเลิกกิจการ 45 โรง และมีโรงเรียนเปิดกิจการใหม่ 35 โรง ขณะที่โรงเรียนนอกระบบมีการล้มเลิกกิจการ 145 โรง และเปิดใหม่ 165 โรง


โรงเรียนเอกชนยุคใหม่ ชูคุณภาพ 3 ด้าน 

เลขาธิการกช. เล่าต่อว่าขณะที่ด้านผลสัมฤทธิ์ทางการจัดการ โดยผลการประเมินสมรรถนะผู้เรียนตามมาตรฐานสากล (PISA) ซึ่งประเมินความฉลาดรู้ 3 ด้าน ได้แก่ ด้านการอ่าน ด้านคณิตศาสตร์ ด้านวิทยาศาสตร์ ทุกๆ 3 ปี ผลการประเมิน PISA 2018 พบว่า คะแนนของประเทศไทยยังต่ำกว่ามาตรฐานระดับสากล แต่เมื่อเปรียบเทียบกับสังกัดอื่น โรงเรียนสังกัด สช. มีผลการประเมินสูงกว่าค่าเฉลี่ยของประเทศไทย

เช่นเดียวกับคะแนนผลการทดสอบทางการศึกษาระดับชาติขั้นพื้นฐาน(โอเน็ต) ปีการศึกษา 2564 พบว่า ชั้น ป.6 นักเรียนสังกัด สช. มีคะแนนสูงกว่า คะแนนเฉลี่ยระดับประเทศทุกวิชา ชั้น ม.3 นักเรียนสังกัด สช. มีคะแนนสูงกว่า คะแนนเฉลี่ยระดับประเทศในวิชาภาษาอังกฤษ คณิต ภาษาไทย ชั้น ม.6 นักเรียนสังกัด สช. มีคะแนนสูงกว่า คะแนนเฉลี่ยระดับประเทศในวิชาภาษาอังกฤษ

นายมณฑล เล่าต่อไปว่าแนวทางการทำงาน  จะขับเคลื่อนการศึกษาเอกชน โดยยึดนโยบายและจุดเน้นของกระทรวงศึกษาธิการ ซึ่งจะเน้นคุณภาพ 3 ด้าน ได้แก่ 1.ผู้เรียนคุณภาพ ซึ่งจะส่งเสริมให้ผู้เรียนเป็นคนเก่ง คนดี มีคุณภาพ โดยเน้นการส่งเสริม พัฒนาหลักสูตร การจัดการเรียนการสอน การวัดและประเมินผล การสร้างคุณลักษณะที่พึงประสงค์ พัฒนาทักษะอาชีพและเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขัน 

2.สถานศึกษาคุณภาพ ต้องส่งเสริมสถานศึกษาให้มีคุณภาพ มีความเข้มแข็ง โดยผลักดันการแก้ไขพระราชบัญญัติโรงเรียนเอกชนฯ  ทบทวน และปรับลดกฎระเบียบที่เป็นปัญหาอุปสรรคต่อการส่งเสริมการศึกษาเอกชนตามหลักการบริหารจัดการภาครัฐแนวใหม่  ศึกษาแนวทางการอุดหนุนค่าใช้จ่ายในการจัดการศึกษาขั้นพื้นฐานสำหรับผู้เรียน   ศึกษาแนวทางการขอรับการสนับสนุนเงินอุดหนุนอาหารกลางวันสำหรับนักเรียนโรงเรียนเอกชนเพิ่มเติม  ส่งเสริมสิทธิประโยชน์ และการลดหย่อนภาษีให้แก่สถานศึกษาทั้งในระบบและนอกระบบ  และมุ่งเน้นการจัดการศึกษาเพื่อความปลอดภัยต่อผู้เรียน

3.การบริหารจัดการคุณภาพ  จะมุ่งการขับเคลื่อนการส่งเสริมการศึกษาเอกชนผ่านกลไกของคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน (กช.) ซึ่งมีรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ เป็นประธาน รวมถึงคณะอนุกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน 

รวมถึง ประสานการดำเนินงานและการสื่อสารกับหน่วยงานในส่วนภูมิภาคอย่างใกล้ชิด (สำนักงานศึกษาธิการจังหวัด (ศธจ.) และสำนักงานการศึกษาเอกชนจังหวัด (สช.จังหวัด)) เพื่อให้การขับเคลื่อนงานระหว่างส่วนกลางและส่วนภูมิภาค มีความรวดเร็ว ราบรื่น เป็นไปในทิศทางเดียวกัน 

อีกทั้ง ส่งเสริมการดำเนินงานร่วมกับเครือข่ายการศึกษาเอกชน (คณะกรรมการประสานและส่งเสริมการศึกษาเอกชนจังหวัด (ปส.กช.) / สมาคมทางการศึกษาเอกชน)  พัฒนาข้าราชการ บุคลากร และระบบการบริหารจัดการให้มีประสิทธิภาพ มีความทันสมัย ก้าวทันการเปลี่ยนแปลง และ เพิ่มประสิทธิภาพศูนย์ข้อมูลความปลอดภัยและเครือข่ายเฝ้าระวังของสถานศึกษาเอกชน

หลากหลายตอบสนองผู้เรียนทุกกลุ่ม

"การศึกษาเอกชนมีความหลากหลาย ตอบสนองความต้องการของผู้เรียน ผู้ปกครอง ชุมชน สังคม อย่างทั่วถึงทุกกลุ่ม ทั้งการศึกษาในระบบซึ่งผู้เรียนสามารถรับภาระค่าใช้จ่ายทางการศึกษาที่มีคุณภาพสูง เช่น การจัดหลักสูตรพิเศษด้านภาษาต่างประเทศ คณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์ ดนตรี กีฬา รวมถึงการมีนวัตกรรมและสื่อการเรียนการสอนที่ทันสมัย"นายมณฑล กล่าว

อีกทั้งการศึกษานอกระบบยังเป็นทางเลือก ในการสร้างอาชีพของผู้ด้อยโอกาส ผู้พิการ ผู้มีรายได้น้อย สามารถให้บริการและสนองตอบความ ต้องการของกลุ่มนักเรียนและผู้ปกครองได้อย่างหลากหลาย

สช.จะเพิ่มให้การทำงานมีความคล่องตัว ปรับเปลี่ยนได้เร็ว จัดการศึกษาที่ทันสมัย เป็นทางเลือกด้านคุณภาพ การศึกษาเอกชน มีความคล่องตัว ปรับเปลี่ยนได้รวดเร็ว ทันสมัย โดยเป็นผู้ริเริ่มนำนวัตกรรมและการศึกษารูปแบบต่างๆ มาสู่การศึกษาของไทย เช่น การจัดการสอนแบบมอนเตสซอรี การจัดการสอนแบบโครงงาน โรงเรียนพัฒนาทักษะการคิด (Thinking School) โรงเรียนที่จัดการสอนเป็นภาษาอังกฤษ (English Program) หลักสูตรนานาชาติ เป็นต้น

ความท้าทายของโรงเรียนเอกชน 

 เลขาธิการ กช. เล่าอีกว่าในระบบการศึกษาไทยยังมีความเหลื่อมล้าในการสนับสนุนค่าใช้จ่ายในการจัดการศึกษาขั้นพื้นฐานจากภาครัฐ เช่น เงินอุดหนุน รายหัวยังไม่สะท้อนต้นทุนที่แท้จริงในการจัดการศึกษาที่มีคุณภาพ เงินอุดหนุนอาหารกลางวันสำหรับ นักเรียนโรงเรียนเอกชนทุกคน 

ขณะที่จากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด-19 ทำให้ครูและบุคลากรทางการศึกษา ต้องปรับแนวทางการจัดการเรียนการสอนแบบออนไลน์โดยใช้เทคโนโลยีเข้ามาช่วยครบูางส่วนยังไม่ สามารถปรับเปลี่ยนรูปแบบวิธีการจัดการเรียนการสอน รวมทั้ง สิทธิสวัสดิการรักษาพยาบาลกองทุนสงเคราะห์ โดยปัจจุบัน กำหนดวงเงินที่ 150,000 บาท ต่อคนต่อปี และยังไม่มีระบบเบิกจ่ายตรง ทำให้ครูได้รับสวัสดิการไม่เพียง

นอกจากนั้น ทำให้มีภาระค่าใช้จ่ายที่เพิ่มขึ้นจากโควิด-19  เช่น ฉากกั้น เครื่องวัดไข้ เจลล้างมือ หน้ากากอนามัย สาหรับครูและนักเรียนความขาดสภาพคล่องในการบริหารจัดการเนื่องจากผู้ปกครองผ่อนชาระค่าธรรมเนียมการศึกษา และค่าธรรมเนียมอื่น หรือบางรายไม่สามารถเก็บค่าธรรมเนียมได้  และภาระด้านภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างและภาษีป้าย

แนวทางการขับเคลื่อนการศึกษาเอกชน 

  • ส่งเสริมให้ผู้เรียนให้มีคุณลักษณะที่พึงประสงค์ในศตวรรษที่21พัฒนาทักษะอาชีพและเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขัน
  • สร้างภูมิคุ้มกันจากภัยคุกคามรูปแบบใหม่ (ภัยความรุนแรง,ยาเสพติด,ภัยพิบัติ,อุบัติเหตุ,
  • อาชญากรรมไซเบอร์, การค้ามนุษย์, โรคอุบัติใหม่, การคุกคามชีวิตและทรัพย์สิน)
  • สนับสนุนกระบวนการสอนแบบ Active learning/ Project Based Learning / Coding / STEM
  • ส่งเสริมการเพิ่มห้องเรียนอาชีพ
  • หลักสูตรฐานสมรรถนะ/พื้นที่นวัตกรรม
  • การบูรณาการรายวิชาภาษาไทยและวิชาสามัญอื่นๆ ควบคู่กับศาสนาอิสลามในโรงเรียนเอกชนจังหวัดชายแดนภาคใต้
  • สนับสนุนให้นักเรียนที่เรียนโรเรียนนอกระบบสามารถกู้ยืมทุนจาก กยศ.ได้
  • ศึกษาแนวทางการอุดหนุนค่าใช้จ่ายในการจัดการศึกษาขั้นพื้นฐานสาหรับผู้เรียน ศึกษาแนวทางการขอรับ
  • การสนับสนุนเงินอุดหนุนอาหารกลางวันสาหรับนักเรียนโรงเรียนเอกชนเพิ่มเติม
  • จัดตั้งศูนย์พัฒนาสมรรถนะและองค์ความรู้ให้แก่ครูและบุคลากรทางการศึกษาโดยใช้แฟลตฟอร์ม ดิจิทัล และ E - Learning มาใช้ในการพัฒนา
  • จัดทำหลักสูตรพัฒนาครูให้ก้าวทันต่อการเปลี่ยนแปลง
  • การสร้างความปลอดภัยและป้องกันยาเสพติดในสถานศึกษา
  • สนับสนุนการจัดทาหลักสูตรที่เชื่อมโยงกับมาตรฐานอาชีพในโรงเรียนนอกระบบ
  • การสร้างความร่วมมือกับต่างประเทศ
  • ส่งเสริมสิทธิประโยชน์ และการลดหย่อนภาษีให้แก่สถานศึกษาทั้งในระบบและนอกระบบ ด้านการบริหารจัดการ
  • สำนักงานอัตโนมัติ รองรับการดำเนินงานตามระราชบัญญัติการปฏิบัติราชการทางอิเล็กทรอนิกส์
  • ผลักดันการแก้ไขพระราชบัญญัติโรงเรียนเอกชนฯ
  • ปรับลดกฎระเบียบที่เป็นปัญหาอุปสรรคต่อการส่งเสริมการศึกษาเอกชนตามหลักการบริหารจัดการภาครัฐ
  • ลดการใช้ดุลพินิจในการดำเนินงาน พัฒนาข้าราชการ บุคลากร และระบบการบริหารจัดการให้มีประสิทธิภาพ มีความทันสมัย ก้าวทันการเปลี่ยนแปลง
  • ส่งเสริมการดำเนินงานร่วมกับเครือข่ายการศึกษาเอกชน (คณะกรรมการ ปส.กช.) / สมาคมทางการศึกษาเอกชน)

โรงเรียนเอกชนต้องปรับตัว เพื่อความอยู่รอด

"ตอนนี้ต้องยอมรับว่า ระบบเอกชน อาจจะตามไปได้ไม่เร็วมาก เมื่อเด็กมาเรียนก็ต้องเป็นไปตามหลักสูตร แต่จะมีความยืดหยุ่นมากขึ้น โดยหลักการในการดำเนินกิจการเอกชน เป็นหลักการร่วมระหว่างรัฐ หรือเอกชน โรงเรียนเอกชนต้องพยายามหาจุดแข็งให้แก่โรงเรียนจนเอง ทั้งหลักสูตร การจัดการเรียนการสอน และการเพิ่มสมรรถนะ ทักษะที่แตกต่างจากที่อื่นๆ"เลขาธิการ กช. กล่าว

สช.จะส่งเสริมความร่วมมือกับหน่วยงานทางการศึกษาต่างๆ เพื่อจัดทำธนาคารหน่วยกิต เด็กสามารถในโรงเรียนเอกชนแล้วเรียนและเลือกเรียนในมหาวิทยาลัยที่ตนเองต้องการได้ เด็กจะได้มีทางเลือกมากขึ้น โรงเรียนเอกชนจึงต้องปรับตัว ถ้าไม่ปรับตัว จะไม่สามารถดึงดูดผู้เรียนได้ 

พ่อแม่เลือกโรงเรียนเอกชน ต้องดูอะไร?

ผู้ปกครอง จะเลือกเรียนโรงเรียนเอกชน ควรพิจารณาจาก

  1. ความไว้วางใจ ความปลอดภัยของโรงเรียน
  2. รวมถึงต้องพิจารณาจากหลักสูตร นวัตกรรมการศึกษา สมรรถนะที่ลูกจะได้รับ
  3. โรงเรียนใกล้บ้าน ที่มีความน่าเชื่อถือในศักยภาพของโรงเรียน
  4. สภาพแวดล้อมของโรงเรียน 
  5. ระบบการดูแลนักเรียน ดูแลสุขภาพนักเรียน ช่วยเหลือนักเรียน
  6. คุณภาพอาจารย์ผู้สอน