เดอะแบก บทบาทลูกน้องยุคใหม่ ที่หัวหน้าต้องไม่ละเลย
ในทีมของเรา มีใครเป็น “เดอะแบก” กันบ้างไหมครับ?“เดอะแบก” เป็น คำศัพท์ที่คนรุ่นใหม่คุ้นเคยกันดี ซึ่งหมายถึง คนในทีมที่ต้องแบกรับงาน ความรับผิดชอบต่างๆ นานา ใครมีอะไรก็โยนให้เค้าทำทุกสิ่งอย่าง
เดิมที คำว่าเดอะแบก ในภาษาอังกฤษ คือ “Carry role” โดยที่มา ก็จากเกมนี่แหละครับ ซึ่งสมาชิกทีมที่รับบทบาทนี้ จะต้องเป็นคนที่มีทักษะสูงและบทบาทอย่างมาก ที่จะนำพาให้ทีมนั้นชนะการแข่งขันได้ จึงนับได้ว่าเป็นคนที่มีความสำคัญและสมาชิกในทีมให้การยกย่องเป็นอย่างมาก
แต่เมื่อมาเป็น “เดอะแบก” ในการทำงาน ความหมายกลับแตกต่างไปจากเดิม แม้ว่า “เดอะแบก” ยังต้องเบกภาระการทำงานหลายอย่างในกับทีม แต่ทุกคนกลับมองข้ามความสำคัญ ไม่ได้ยกย่อง หรือ เห็นคุณค่าในความสามารถของพวกเขาเท่าที่ควร ตรงกันข้ามกลับโยนงานให้พวกเขารับผิดชอบหนักขึ้นทุกวัน
ข่าวที่เกี่ยวข้อง:
'Gen Y' รับบทเดอะแบก! เป็นเสาหลักที่บ้าน มาทำงานก็แบกทั้งลูกน้อง-เจ้านาย
KKP ชี้ผลสำรวจ ตลท.คนไทย 30% ไม่มีเงินเก็บวัยเกษียณ อีก 60% มีเงินไม่ถึง 2 แสน
สาเหตุที่หัวหน้า หรือ สมาชิกในทีมมักโยนงานให้กับคนกลุ่มนี้ ก็เพราะว่า
ความใจดี เดอะแบกมักจะเป็นคนใจดี ชอบช่วยเหลือผู้อื่น และเป็น Yes Man ที่ไม่ค่อยปฏิเสธคำขอความรับผิดชอบ เดอะแบกมักจะเป็นคนที่รับผิดชอบสูง ไม่ปฏิเสธงาน และทำงานเสร็จตามกำหนด บางทีก็ทำงานได้ ไม่เว้นแม้แต่เป็นวันหยุดราชการความสามารถ เดอะแบกมักจะมีความสามารถพิเศษ ทำงานได้ดี และเสร็จเร็ว ทำให้คนอื่นๆ มองว่าเป็นที่พึ่งได้
การมีเดอะแบกในทีมอาจดูเหมือนเป็นเรื่องดี เพราะงานต่างๆ จะเสร็จเร็ว แต่ในระยะยาวแล้วจะส่งผลเสียต่อทั้งตัวเดอะแบกเอง ทีมงาน แม้กระทั่งองค์กร เพราะนั่นหมายถึง เรากำลังปล่อยให้คนๆ หนึ่งกำลังรับ “ภาระงานแทนคนอื่นเกินพอดี” (Work overload) เกิดภาวะหมดไฟในการทำงานครับ (Burnout) และภาวะที่ว่านี้ จะชนวนที่ส่งผลกระทบอื่นๆ อีกหลายอย่าง เช่น
Mental Health การทำงานหนักเกินไปเป็นเวลานาน จะทำให้เดอะแบกเกิดความเครียด หมดไฟ และอาจนำไปสู่ปัญหาสุขภาพจิต เช่น เกิดความเครียด ภาวะความกังวล หรือภาวะซึมเศร้าPerformance ประสิทธิภาพและประสิทธิผลในการทำงานลดลง เช่น การทำงานที่ล่าช้า หรือ คุณภาพลดลง เพราะความเหนื่อยล้า และความเครียด จะเป็นตัวบั่นทอนความสามารถในการคิดสร้างสรรค์ และกระทบต่อการสร้างนวัตกรรมในองค์กรได้ หรือ อาจทำให้เกิดอุบัติเหตุ
ความผิดพลาดต่างๆในการทำงานTurnover Rate ในระยะยาว องค์กรกำลังสูญเสียคนดี คนเก่ง และคนที่มีศักยภาพในอนาคต แล้วใครอยากจะมาแบกอยู่คนเดียว โดยที่ไม่มีทีมงานที่ดีล่ะ จริงไหมครับ?Employer Brandingก็เสีย เพราะ ชื่อเสียด้านการทำงานหนัก มันไม่ได้เป็นความลับนะครับ แม้ว่าบริษัทจะพยายามเก็บ แต่คนภายนอกเค้าก็รู้กันอยู่ครับ ไม่เชื่อก็ลองค้นหาข่าวบริษัทที่ใช้งานคนหนักดู ผมเชื่อว่าเรามีภาพและชื่อบริษัทในใจแน่นอน
ซึ่งล่าสุดการสำรวจจาก Deloitte ก็พบกว่า 3 ปัจจัยใน “การเลือกงาน” ของคนไทย คือWork-Life Balanceโอกาสพัฒนาตัวเองและทักษะจากงานงานที่มีความหมายกับชีวิต นั่นหมายความว่า บริษัทอาจได้รับผลกระทบจากชื่อเสียง ในการดึงดูดพนักงานที่มีความสามารถเข้ามาร่วมกับองค์กรแน่นอนครับCost& Revenue ทั้งต้นทุนโดยตรงและต้นทุนแฝงที่มองเห็นได้ยาก เช่น ผลลัพธ์จากการทำงานที่ลดลง สวัสดิการในการดูแลพนักงาน การสูญเสียโอกาสทางธุรกิจที่พนักงานที่มีคุณภาพลาออก ขาดความคิดสร้างสรรค์ ฯลฯ
ผลเสียที่ว่ามา หากคิดดีๆ จะมีมากมายจนนับไม่ทันเลยครับ แต่เพราะหลายด้านมองเห็นได้ยากจริงๆ เราจึงมักเห็น “เดอะแบก” ในองค์กรอยู่ และได้ยินเสียงบ่นและการตัดพ้อ ผ่านประเด็นทางโซเชี่ยลมีเดียเสมอ หากองค์กรใดที่เริ่มมองเห็นคุณค่าของพนักงาน ก็จะเริ่มปรับเปลี่ยนตัวเอง โดยเฉพาะในยุคนี้ องค์กรใหญ่ๆ ก็เริ่มหันมาใส่ใจคุณภาพชีวิตของพนักงานมากขึ้น และปรับโฉมบริษัทไปเยอะทั้งผลตอบแทน สวัสดิการ การใส่ใจต่างๆ
นอกจากนี้ ยังมีแนวทางง่ายๆ ที่ไม่ต้องถึงมือองค์กร แต่คนที่เป็นผู้นำทีมสามารถทำได้ทันที คือ
แบ่งงานกันทำอย่างเท่าเทียม:หัวหน้าทีมควรแบ่งงานให้สมาชิกในทีมทุกคนได้ทำอย่างเท่าเทียมกันให้ความสำคัญกับความคิดเห็นของทุกคน:สนับสนุนให้สมาชิกในทีมทุกคนได้แสดงความคิดเห็นและมีส่วนร่วมในการตัดสินใจสร้างวัฒนธรรมองค์กรที่ดี: สร้างบรรยากาศการทำงานที่เป็นกันเอง สนับสนุนให้เกิดการทำงานเป็นทีมให้รางวัลกับผู้ที่ทำงานดี: เพื่อเป็นการสร้างแรงจูงใจให้กับสมาชิกในทีมพัฒนาศักยภาพของสมาชิกในทีม:จัดอบรมหรือให้โอกาสสมาชิกในทีมได้เรียนรู้ทักษะใหม่ๆ
ผมอยากเน้นในส่วนข้อสุดท้ายเป็นพิเศษ เพราะการพัฒนาแก่พนักงานของคุณ จะเป็นการแก้ไขที่รากแก้วปัญหาเลยครับ เช่น สร้างหัวหน้าให้เป็นผู้นำ จะทำให้พวกเขาเป็นตัวแทนองค์กรในการดูแลพนักงานอย่างเหมาะสม ทั้งในเรื่องงานและความสัมพันธ์ที่สำคัญได้ ในขณะที่การพัฒนาพนักงานในทีมไปพร้อมๆ กัน ก็จะเป็นสร้างภูมิคุ้มกันให้พนักงาน ทั้งในด้านทักษะและทัศนคติ (Skills & mindsets) เพื่อเป็นเครื่องมือในการจัดการงานและจิตใจของตัวเอง รวมถึงเห็นอกเห็นใจสมาชิกทีมคนอื่นๆ จนเกิดทีมสปิริต พร้อมร่วมแรงร่วมใจ ช่วยกัน “แบ่งเบา” งาน และพากันไปสู่เป้าหมายได้
เพียงเท่านี้ ก็ไม่มีใครต้องรับบทเป็น “เดอะแบก” อีกต่อไป ทุกคนก็จะมีคุณภาพชีวิตที่ดีในการทำงาน “เพิ่มขึ้น” และนำพลังนี้ไปขับเคลื่อนองค์กรให้เติบโตยิ่งขึ้นในยุคใหม่นี้ อีกด้วยครับ