สวัสดิการจึ้ง องค์กรไร้ลำดับขั้น 'เมอร์เซอร์' เข้าใจสไตล์คนรุ่นใหม่

สวัสดิการจึ้ง องค์กรไร้ลำดับขั้น 'เมอร์เซอร์' เข้าใจสไตล์คนรุ่นใหม่

HR ในปัจจุบัน ไม่ได้มีหน้าที่เพียงคัดคนเข้าทำงาน สัมภาษณ์งาน แต่ต้องเข้าใจโลกของธุรกิจที่เปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็ว และมีความเป็นพาสเนอร์กับผู้บริหารระดับสูงมากขึ้น

KEY

POINTS

  • คนรุ่นใหม่ไม่ได้มองเฉพาะเงินเดือนที่สูง หรือสวัสดิการเท่านั้น แต่พวกเขามองหาการเติบโต สนใจความเป็นแบรนด์
  • “เมอร์เซอร์ ประเทศไทย” เป็นงาน Consultant เปลี่ยนแปลง ไม่มีอะไรตายตัว ได้มีการปรับเปลี่ยนค่อนข้างมาก ทั้งด้านสวัสดิการ หรือการจัดกิจกรรม การดูแลทางด้านจิตใจ หรือสภาพแวดล้อมในการทำงาน และมีความยืดหยุ่น 
  • ต้องเข้าใจธรรมชาติของคนรุ่นใหม่ ตอนนี้เทรนด์อายุงานน้อยลงเรื่อยๆ ไม่มีน้องๆ หรือพนักงานคนไหนจะอยู่กับองค์กรระยะยาว น้องๆ อาจจะอยู่กับเรา 3-5 ปี หรือน้อยกว่านั้น เราต้องช่วยให้น้องๆ ได้เติบโตในแบบที่เขาต้องการ

 

HR ในปัจจุบัน ไม่ได้มีหน้าที่เพียงคัดคนเข้าทำงาน สัมภาษณ์งาน แต่ต้องเข้าใจโลกของธุรกิจที่เปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็ว และมีความเป็นพาสเนอร์กับผู้บริหารระดับสูงมากขึ้น เป็นสายงานที่ต้องรู้จักองค์กร ธุรกิจ กลยุทธ์ เข้าใจถึงความต้องการของทุกภาคส่วน โดยเฉพาะพนักงาน ซึ่งเป็นหัวใจสำคัญขององค์กร ทุกบริษัทต่างพัฒนาศักยภาพของพนักงานอย่างเต็มที่ ให้มีความก้าวหน้า ความสุขในการทำงาน

อย่างเช่น “บริษัท เมอร์เซอร์ (ประเทศไทย) จำกัด” ที่ปรึกษาด้านทรัพยากรบุคคลระดับโลกในด้านสวัสดิการ ความสามารถ การเกษียณอายุและการลงทุน ให้คำแนะนำและบริการ เพื่อสร้างอนาคตที่ดีต่อสุขภาพและธุรกิจที่แข็งแกร่ง ก็พยายามปรับองค์กรให้ตอบโจทย์ความต้องการของคนรุ่นใหม่ และโลกที่กำลังเปลี่ยนแปลงไป มีการนำ AI เข้ามาช่วยเสริม และการพัฒนาคนอย่างต่อเนื่อง

ข่าวที่เกี่ยวข้อง:

งานแบบไหนที่คนรุ่นใหม่ SAY YES อยากทำงานด้วยมากที่สุด

เทรนด์ใหม่ Gen Z แห่ทำงานสายอาชีพ ยุคไหนก็ไม่ตกงาน เงินเดือนสูงไม่แพ้ ป.ตรี

เลือกคนที่เข้ากับวัฒนธรรมองค์กร

“พิรทัต ศรีสัจจะเลิศวาจา” กรรมการผู้จัดการ และผู้อำนวยการสายธุรกิจที่ปรึกษาทรัพยากรมนุษย์ บริษัท เมอร์เซอร์ (ประเทศไทย) จำกัด ให้สัมภาษณ์ “กรุงเทพธุรกิจ”ว่า HR ตอนนี้ไม่ได้เป็นเพียงคนทำงานเอกสารอย่างเดียว เพราะแรงงานมีน้อยลง พฤติกรรมของผู้คนเปลี่ยนแปลงไป ทุกคนจบมาแล้วอยากเป็นเจ้าของธุรกิจ อยากทำอาชีพอิสระ ดังนั้นคนที่จะเข้าสู่องค์กรจริงๆ ค่อนข้างจำกัด ทำให้บางธุรกิจ บางอุตสาหกรรมขาดแคลนกำลังคน หน้าที่ของ HR จึงต้องค้นหาวิธีการและแรงจูงใจที่ทำให้คนอยากมาทำงานในองค์กร

“คนรุ่นใหม่ไม่ได้มองเฉพาะเงินเดือนที่สูง หรือสวัสดิการ แต่พวกเขามองหาการเติบโต สนใจความเป็นแบรนด์ ดังนั้น คนที่เข้ามาทำงานกับเมอร์เซอร์ เราเข้าใจเงื่อนไขเหล่านี้ และเราจะคัดเลือกคนที่เหมาะสมกับการทำงานในแต่ละส่วน ผ่านการทดสอบ การสัมภาษณ์ ทักษะ และความเข้ากันได้ สอดคล้องกับวัฒนธรรมองค์กรของเมอร์เซอร์” พิรทัต กล่าว

ทั้งนี้ เมอร์เซอร์ ประเทศไทย มีพนักงานประมาณ 40-50 คน โดยคนทำงานส่วนใหญ่จะเป็นกลุ่ม GenY และGen Z อายุเฉลี่ยของคนทำงานในองค์กรประมาณ 20-30 ปีปลายๆ และมีกลุ่ม GenX บ้างเล็กน้อย ซึ่งความแตกต่างระหว่างวันย่อมมีอยู่ในทุกองค์กร

สวัสดิการจึ้ง องค์กรไร้ลำดับขั้น \'เมอร์เซอร์\' เข้าใจสไตล์คนรุ่นใหม่

Core Competency “เมอร์เซอร์”

“พิรทัต” กล่าวต่อว่า ในแง่การทำงานร่วมกัน เมอร์เซอร์เป็นที่ปรึกษาให้หลายบริษัท และทำงานในลักษณะโครงการ ทำให้ต้องคิดตลอดเวลา เพราะแต่ละงานที่เข้ามามีความหลากหลาย และคนทำงานมีความถนัดแตกต่างกัน ทุกคนในเมอร์เซอร์จะหมุนเวียนทำในแต่ละโปรเจคทั้งในไทยและต่างประเทศ พนักงานเมอร์เซอร์จึงพร้อมเรียนรู้ และอยากเรียนรู้สิ่งใหม่ๆ ซึ่งบริบทขององค์กรไม่เหมือนกัน

“Core Competency ของพนักงานเมอร์เซอร์ ต้องมีสัญชาตญาณความเป็นนักสู้ ช่างสงสัย มุ่งเน้นการทำงานออกมาดี เนื่องจากต้องทำงานร่วมกับคนหลากหลายกลุ่ม โดยเฉพาะผู้บริหารระดับสูง บางครั้งคนใหม่ๆ เข้ามาก็จะมีความเกร็งบางเมื่อถึงเวลาประสานงานกัน เมอร์เซอร์ จะเปิดกว้างให้ทุกคนแสดงความคิดเห็น ฝึกทักษะการสื่อสารและความสามารถในการปรับตัวให้เข้ากับผู้บริหาร” พิรทัต กล่าว

สวัสดิการจึ้ง องค์กรไร้ลำดับขั้น \'เมอร์เซอร์\' เข้าใจสไตล์คนรุ่นใหม่

ผู้นำเปิดกว้าง รับฟังทุกคน

“เมอร์เซอร์ ประเทศไทย” เป็นองค์กรไม่มีลำดับขั้น ซึ่งไม่ได้หมายถึงไม่มีตำแหน่งงาน แต่ผู้บริหารเปิดกว้างให้ความร่วมมือกับน้องๆ ไม่มีห้องทำงานที่ชัดเจน ไม่ได้มีอภิสิทธิ์ และทุกคนเท่าเทียมกัน บรรยากาศการทำงานไม่มีลำดับขั้นของผู้บังคับบัญชา ทุกคนแสดงความคิดเห็นได้เต็มที่ และหากน้องๆ พนักงานเสนอแผนงานอะไรมา มั่นใจในแผนงานของตนเอง ต่อให้ผู้บริหารจะมองแล้วว่ามีข้อผิดพลาดอย่างไรก็จะต้องให้พวกเขาลองทำ และคอยชี้แนะ แก้ปัญหาร่วมกัน

“พิรทัต” กล่าวต่อว่า ผู้บริหารของเมอร์เซอร์มีความหลากหลายในตัวของผู้บริหารเอง และมีความสามารถในการช่วยทำงาน รับฟังปัญหา และเป็นเพื่อนคู่คิดให้แก่น้องๆ ในทีม ยิ่งการทำงานกับคนรุ่นใหม่ เขามีไฟ มีไอเดีย และมีมุมมองแตกต่าง เวลาเราพูดคุยกัน ผู้บริหาร หรือซีเนียร์จะถูกสอนมาให้คิดถึงชั่วโมงที่ตัวเองเป็นเด็ก และต้องการให้พี่ๆ ที่ทำงานทำอะไร ซึ่งสิ่งที่ทุกคนต้องการ คือ การรับฟัง พอเราเป็นพี่ผู้บริหาร หรือซีเนียร์ เราต้องรับฟังน้องๆ ให้น้องๆ เสนอได้อย่างเต็มที่

“ในฐานะผู้บริหาร บางครั้งต้องหลับตาข้างหนึ่ง ยอมเรียนรู้กับความล้มเหลวบางอย่างร่วมกับน้องๆ และการทำงานในปัจจุบัน ต้องมองว่าเป็นการเรียนรู้แบบทดลองแต่ต้องอยู่ในขอบเขตที่สามารถยอมรับความเสี่ยงได้ เช่น เวลาไปพบลูกค้า ด้วยประสบการณ์ผู้บริหาร หรือหัวหน้าอาจรู้ว่าจะเจออะไร รับมืออย่างไร แต่น้องๆรุ่นใหม่เขาไม่รู้ เราต้องให้เขาทดลองทำ มีเวลาทำ และมีกรอบในการบริหารจัดการ โดยที่ผู้บริหารต้องเข้าใจน้องๆ และช่วยชี้แนะเมื่อเข้าพลาด ขณะเดียวกันก็ต้องเรียนรู้ไปพร้อมกับน้องๆ ถึงสิ่งที่เกิดขึ้น เนื่องจากบางครั้งความคิดของน้องๆ อาจจะทำให้เกิดมุมมองใหม่ๆแก่ผู้บริหาร” พิรทัต กล่าว

สวัสดิการจึ้ง องค์กรไร้ลำดับขั้น \'เมอร์เซอร์\' เข้าใจสไตล์คนรุ่นใหม่

ดูแลกาย ใจ เติบโตไปด้วยกัน

โครงสร้างองค์กร “เมอร์เซอร์ ประเทศไทย” เป็นงาน Consultant เปลี่ยนแปลง ไม่มีอะไรตายตัว ได้มีการปรับเปลี่ยนค่อนข้างมาก ทั้งด้านสวัสดิการ หรือการจัดกิจกรรม การดูแลทางด้านจิตใจ หรือสภาพแวดล้อมในการทำงาน มีความยืดหยุ่น จะมีทุนให้พนักงานก้อนหนึ่ง เพื่อให้นำไปพัฒนาตัวเองตามทักษะ เมนูที่องค์กรกำหนด หรือไปซื้อไอเทม อุปกรณ์การทำงานที่พวกเขาต้องการ และในวันหยุดเมื่อเขาไปใช้ชีวิต ท่องเที่ยว สามารถมาเคลมเงินบางส่วนจากองค์กรได้

“พิรทัต”กล่าวด้วยว่าพยายามปรับในองค์กรให้ตอบโจทย์ความต้องการของคนรุ่นใหม่ และโลกที่กำลังเปลี่ยนแปลงไป การทำงานที่มีการนำ AI เข้ามาช่วยเสริม และการพัฒนาคนอย่างต่อเนื่อง ไม่ว่าจะเป็น ค่าตอบแทน สวัสดิการ และสภาพแวดล้อมในการทำงาน มุ่งเน้นการสร้างประสบการณ์ในองค์กร ดูแลสุขภาพร่างกาย จิตใจ บริหารด้านอารมณ์ และพร้อมให้ทุกคนได้เรียนรู้ เติมเต็มทักษะที่พวกเขาต้องการ และมีการสนับสนุนความก้าวหน้า การเติบโตในหน้าที่การงาน

“เราต้องรู้ว่าพนักงานของเราเป็นอย่างไร และต้องเข้าใจธรรมชาติของคนรุ่นใหม่ ตอนนี้เทรนด์อายุงานน้อยลงเรื่อยๆ ไม่มีน้องๆ หรือพนักงานคนไหนจะอยู่กับองค์กรระยะยาว น้องๆ อาจจะอยู่กับเรา 3-5 ปี หรือน้อยกว่านั้น เราต้องช่วยให้น้องๆ ได้เติบโตในแบบที่เขาต้องการ อะไรที่สามารถสนับสนุนดูแลได้ในขณะที่เขาทำงานกับเราต้องส่งเสริม และทำให้พนักงานในองค์กรมีความสุข อีก 3-5 ปีข้างหน้า เมอร์เซอร์อยากเป็นผู้เล่นหลัก ส่วนแบ่งในตลาดที่เติบโตขึ้น แต่เราจะทำแบบนั้นไม่ได้ หากไม่ได้พัฒนาคน สนับสนุนคนของเราให้เติบโตพร้อมไปด้วยกัน” พิรทัต กล่าวทิ้งท้าย

สวัสดิการจึ้ง องค์กรไร้ลำดับขั้น \'เมอร์เซอร์\' เข้าใจสไตล์คนรุ่นใหม่

สวัสดิการจึ้ง องค์กรไร้ลำดับขั้น \'เมอร์เซอร์\' เข้าใจสไตล์คนรุ่นใหม่