ผลสุ่มตรวจ "เครื่องสำอางกัญชงกัญชา" SMEs/ OTOP-ร้านออนไลน์

ผลสุ่มตรวจ "เครื่องสำอางกัญชงกัญชา" SMEs/ OTOP-ร้านออนไลน์

ศูนย์วิทยาศาสตร์การแพทย์ที่ 9 นครราชสีมาสุ่มตรวจเครื่องสำอางผสมกัญชงกัญชาจากผู้ประกอบการ SMEs/ OTOP ในพื้นที่ -ร้านค้าออนไลน์ ตรวจไม่พบสารCBD ถึง 71.4 %

ภายในงานการประชุมวิชาการวิทยาศาสตร์การแพทย์ ครั้งที่ 32 ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2567 ภายใต้หัวข้อ “นวัตกรรมวิทยาศาสตร์การแพทย์จากแล็บสู่ชีวิต” Medical Sciences Innovations : From Lab to Life ระหว่างวันที่ 5-7 มิ.ย.2567 ที่ ศูนย์การประชุม อิมแพ็ค ฟอรั่ม เมืองทองธานี จัดโดยกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ ร่วมกับ มูลนิธิกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์

มีการนำเสนอ เรื่อง  “การศึกษาปริมาณสารแคนนาบิไดออล และเตตราไฮโดรแคนนาบินอลในผลิตภัณฑ์เครื่องสําอางผสมกัญชง กัญชา”ของธัญญาภัทร์ วัชรชัยพัฒน์, จิระเดช นาสุข และกัลยรัตน์ อําพันธ์ทอง ศูนย์วิทยาศาสตร์การแพทย์ที่ 9 นครราชสีมา กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์
ในปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 ศูนย์วิทยาศาสตร์การแพทย์ที่ 9 นครราชสีมา ร่วมกับสํานักงานสาธารณสุขจังหวัดนครราชสีมา เก็บตัวอย่างจากผู้ประกอบการ SMEs/ OTOP

ในพื้นที่ และจากร้านค้าออนไลน์ จํานวน 21 ผลิตภัณฑ์ จําแนกเป็น ครีมและโลชั่น 8 ตัวอย่าง คิดเป็น 38.1 % , ออยล์เซรั่ม และสบู่ ชนิดละ 3 ตัวอย่าง คิดเป็น 42.9%, ลิปบาล์ม เอสเซนส์ เจล และแชมพู ชนิดละ 1 ตัวอย่าง คิดเป็น 19 %นํามาตรวจวิเคราะห์ปริมาณสาร แคนนาบิไดออล (CBD) และ เตตราไฮโดรแคนนาบินอล (THC)  ด้วยวิธีโครมาโทกราฟีชนิดของเหลวประสิทธิภาพสูง เพื่อเฝ้าระวังคุณภาพและความปลอดภัยผลิตภัณฑ์เครื่องสําอางในพื้นที่

ผลการตรวจวิเคราะห์ตรวจไม่พบสาร THC ในทุกตัวอย่าง พบสาร CBD 6 ตัวอย่าง คิดเป็น 28.6 % ซึ่งมีปริมาณอยู่ระหว่าง 0.004 - 0.031 ร้อยละโดยน้ำหนัก( %w/w) และตรวจไม่พบสาร CBD 15 ตัวอย่าง คิดเป็น 71.4 % ซึ่งตามประกาศตามประกาศกระทรวงสาธารณสุข พ.ศ. 2564 เรื่อง การใช้สารสกัดที่มีสาร CBD จากกัญชาและกัญชงในเครื่องสําอาง ให้เครื่องสําอางพร้อมใช้มีสาร CBD ไม่เกิน 1 %w/w และ สาร THC ไม่เกิน 0.2 %w/w

จากข้อมูลแสดงให้เห็นว่ากระบวนการผลิต ผลิตภัณฑ์เครื่องสําอางของผู้ประกอบการ SMEs/ OTOPยังไม่มีคุณภาพมาตรฐาน ดังนั้น หน่วยงานที่เกี่ยวข้องต้องเฝ้าระวังและพัฒนาผู้ประกอบการในการผลิตสูตรตํารับและกระบวนการผลิตให้มีคุณภาพ เพื่อความปลอดภัยและมาตรฐานของผลิตภัณฑ์

ขณะที่การศึกษาปริมาณ THC และCBD กัญชา 3 สายพันธุ์ ของเสนีย์ พลราช ,ประชาพร ผลสิน ,ธนพร เทพพิทักษ์ ศูนย์วิทยาศาสตร์การแพทย์ที่ 10 อุบลราชธานี ซึ่งการศึกษาทำในกัญชาจากแปลงทดลองในพื้นที่ศูนย์วิทยาศาสตร์การแพทย์ที่ 10 ที่ได้รับสนับสนุนเมล็ดพันธุ์ 3 สายพันธุ์ คือ พันธุ์ตะนาวศรีก้านแดง ,พันธุ์จากอ.ลืออำนาจ และพันธุ์จากอ.สิรินธร  เพื่อเปรียบเทียบปริมาณสาระสำคัญกับระยะเวลาการเก็บเกี่ยวของกัญชาทั้ง 3 สายพันธุ์ โดยเก็บเกี่ยวใบที่มีอายุ  2 และ 3 เดือนและช่อดอกจากต้นตัวเมียอายุ 4 เดือน 

พบว่า  ช่อดอกจากต้นตัวเมียมีปริมาณTHC สูงสุด คือ พันธุ์จากอ.สิรินธร  เท่ากับ 11.10 % พันธุ์จากอ.ลืออำนาจ 6.5 % พันธุ์ตะนาวศรีก้านแดง 0.38 % ส่วนที่มีปริมาณCBD สูงสุด คือ พันธุ์ตะนาวศรีก้านแดง 5.7 % พันธุ์จากอ.สิรินธร  0.37% พันธุ์จากอ.ลืออำนาจ0.34%

จากผลการศึกษานี้สายพันธุ์กัญชาที่เหมาะสมจะนำไปปลูกเพื่อให้ได้สารTHCสูง คือ พันธุ์จากอ.สิรินธร  ส่วนที่เหมาะสมจะนำไปลุกเพื่อให้ได้สารCBDสูง คือ พันธุ์ตะนาวศรีก้านแดง ทั้งนี้ ปัจจัยเรื่องสายพันธุ์ วิธีการปลูก การเก็บเกี่ยว มีผลต่อปริมาณสารด้วย