ไอคิว-อีคิวเด็กไทยล่าสุด เร่งอัปให้ทะลุ 103 อีคิวปกติ 85 %
กรมสุขภาพจิตรุกงานดูแลสุขภาพจิตเด็ก-วัยทำงาน-ผู้สูงอายุ ติดตามดูแลผู้พยายามฆ่าตัวตายไม่กลับทำซ้ำในระยะเวลา 1ปี บำบัดรักษาผู้ป่วยซึมเศร้า อาการทุเลาใน 6 เดือน อีก 3 ปี คนไทย85% มีสุขภาพจิตดี ไอคิวเด็กไทยทะลุ 103 มีอีคิวปกติ 85 %
ระหว่างที่นายสมศักดิ์ เทพสุทิน รมว.สาธารณสุขตรวจเยี่ยมกรมสุขภาพจิตเมื่อเร็วๆนี้ นพ.พงศ์เกษม ไข่มุกด์ อธิบดีกรมสุขภาพจิต มีการนำเสนอ การการดำเนินงานที่สำคัญในปีงบประมาณ 2567 แบ่งเป็น
1.การดูแลสุขภาพจิตเด็กและเยาวชน ด้วยการส่งเสริมและกระตุ้นพัฒนาการเด็กปฐมวัย ,TO BE NUMBER ONE เสริมสร้างภูมิคุ้มกันทางจิตใจ ,ดูแลช่วยเหลือเด็กวัยเรียนวัยรุ่นกลุ่มเสี่ยง, เพิ่มการเข้าถึงบริการสุขภาพจิตและจิตเวช ที่ได้มาตรฐานในกลุ่มเด็กและเยาวชน ทั้งเด็กที่มีพัฒนาการล่าช้า เด็กออทิสติก (ASD) เด็กสมาธิสั้น (ADHD) และผู้ป่วยบกพร่องด้านสติปัญญา (ID)
2.ด้านสุขภาพจิตวัยทำงาน ส่งเสริมและป้องกันปัญหาสุขภาพจิตประชาชนวัยทำงาน
3.ด้านสุขภาพจิตวัยสูงอายุ ดูแลช่วยเหลือผู้สูงอายุกลุ่มเสี่ยง จากภาวะซึมเศร้าและการฆ่าตัวตาย ,ส่งเสริมป้องกันปัญหาพฤติกรรม และจิตใจในผู้สูงอายุกลุ่มเสี่ยง
นอกจากนี้ ดำเนินการป้องกันและแก้ไขปัญหาการฆ่าตัวตาย โดยที่ผู้พยายามฆ่าตัวตายเข้าถึงบริการ และการติดตามดูแลผู้พยายามฆ่าตัวตาย ไม่กลับมาทำร้ายตนเองซำในระยะเวลา 1 ปี
รวมถึง การป้องกันและแก้ไขปัญหาซึมเศร้า ด้วยการส่งเสริมการบำบัดรักษาดูแลผู้ป่วยโรคซึมเศร้า หายทุเลา และอาการทุเลาในการติดตาม 6 เดือน และผู้ป่วยจิตเวชที่มีความเสี่ยงสูง ต่อการก่อความรุนแรง (SMI-V)และจิตเวชยาเสพติด โดยการบำบัดรักษาผู้ป่วย SMI-V และการบำบัดรักษาผู้ป่วยจิตเวชยาเสพติด
สำหรับแผนขับเคลื่อนการดำเนินงานปีงบประมาณ 2568-2570 สุขภาพจิตเด็กและเยาวชน ไอคิวเฉลี่ยไม่ต่ำกว่า 103 อีคิวอยู่ในเกณฑ์ปกติ 85 % โดยมาตรการพัฒนาทักษะพ่อแม่ ผู้ดูแล,เสริมทักษะทางอารมณ์ สังคม ,พัฒนามาตรฐานการดูแลสุขภาพจิต และพัฒนาระบบเฝ้าระวัง บริการ และฟื้นฟูเยาวชนและครอบครัว
- การดูแลผู้ป่วยจิตเวชและจิตเวชยาเสพติดที่เสี่ยงต่อการก่อความรุนแรง (SMI-V) อุบัติการณ์ความรุนแรงจากบุคคลคลุ้มคลั่ง/ จิตประสาท/อารมณ์ ไม่เกิน 33 ต่อแสนประชากร
มาตรการ วัคซีนใจ(Prevention) ใฝ่ค้นหา (Pre-Hospital) รีบรักษา (In-Hospital) หาที่ยืน คืนสังคม(Post-Hospital)
- การป้องกันและแก้ไข ปัญหาการฆ่าตัวตาย อัตราการฆ่าตัวตายสำเร็จ ไม่เกิน 7.8 ต่อประชากรแสนคน ใช้มาตรการพัฒนาสื่อความรู้ออนไลน์ พัฒนาระบบบริการสุขภาพจิตดิจิทัล พัฒนานวัตกรรมข้ามภาคส่วน พัฒนาสารสนเทศเพื่อป้องกันการฆ่าตัวตาย
- และการส่งเสริมให้ คนไทยสุขภาพจิตดี โดยคนไทย85% มีสุขภาพจิตดี มาตรการพัฒนาทักษะส่วนบุคคล เสริมสร้างภูมิคุ้มกันทางใจ สร้างความรอบรู้สุขภาพจิต พัฒนาฐานข้อมูลสุขภาพจิต และพัฒนาเครือข่ายส่งเสริมป้องกันปัญหาสุขภาพจิต
ผู้สื่อข่าวการสำรวจระดับสติปัญญาและความฉลาดทางอารมณ์ของเด็กไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 ประจำปี 2564 ทั่วประเทศ ของกรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุข พบว่า
เด็กไทย มีระดับสติปัญญา (ไอคิว) เฉลี่ย 102.8 ถือว่าอยู่ในเกณฑ์ปกติและผ่านเป้าหมายของแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 12 ที่กำหนดให้เด็กไทยมีไอคิวไม่ต่ำกว่าเกณฑ์มาตรฐาน 100
- เด็กที่ไอคิวต่ำกว่า 90 ลดลงจาก 31.8% เหลือ 21.7%
- เด็กที่มีไอคิวในเกณฑ์บกพร่องที่ต่ำกว่า 70 อยู่ถึง 4.2% สูงกว่ามาตรฐานสากลที่กำหนดให้ไม่เกิน 2%
- เด็กที่มีระดับสติปัญญาในเกณฑ์ฉลาดมาก คือ ไอคิวมากกว่า 130 พบส 10.4%
- ผลสำรวจความฉลาดทางอารมณ์ (อีคิว) พบอยู่ในเกณฑ์ปกติ 83.4%