10 ไอเดีย นักออกแบบรุ่นใหม่ เฟอร์นิเจอร์สาธารณะ รับวิถีคนเมือง

10 ไอเดีย นักออกแบบรุ่นใหม่ เฟอร์นิเจอร์สาธารณะ รับวิถีคนเมือง

เพราะการออกแบบเฟอร์นิเจอร์สาธารณะ เป็นได้มากกว่าที่นั่งธรรมดา เพราะสามารถช่วยเติมเต็ม จินตนาการของผู้ใช้งาน สร้างความสุข และนำเอานวัตกรรมมาผนวกใช้กับการออกแบบ ให้มีประโยชน์ต่อการใช้งานมากที่สุด

พื้นที่สาธารณะ (Public Realm) ซึ่งเป็นได้ทั้งพื้นที่ใช้งานร่วมกันของผู้คนในสังคมเมือง พื้นที่ที่แต่ละชุมชนได้เข้ามามีปฏิสัมพันธ์ร่วมกันผ่านบทสนทนา พื้นที่สีเขียวที่อุดมสมบูรณ์เพื่อให้ผู้คนได้หยุดพักจากความวุ่นวาย และมีกิจกรรมส่งเสริมสุขภาพกายและใจภายนอกอาคาร หรือพื้นที่ที่ช่วยยกระดับคุณภาพชีวิต และเปิดโอกาสให้ผู้คนได้เป็นส่วนหนึ่งของสถานที่และพื้นที่ (Places and Spaces)

 

เป็นที่มาของโครงการ One Bangkok Urban Furniture Competition 2022 'Seatscape & Beyond' ในการพัฒนาผลงานเฟอร์นิเจอร์สาธารณะของ One Bangkok โดยคัดเลือกนิสิต นักศึกษา ผู้ชนะทั้ง 10 ทีม จากทั้งหมดกว่า 200 ทีม ร่วมสร้างความเป็น “เมือง-มิตร-ดี” ให้เกิดขึ้น เปิดโอกาสให้เยาวชนนักออกแบบรุ่นใหม่ ได้มีประสบการณ์การทำงานกับโครงการ วัน แบงค็อก รับความรู้ คำแนะนำจากผู้เชี่ยวชาญ และเวิร์กช็อกตลอดระยะเวลา 6 เดือน ซึ่งผลงานออกแบบทั้งหมดจะเข้าสู่กระบวนการผลิต ติดตั้ง และนำไปใช้งานในพื้นที่สาธารณะของโครงการวัน แบงค็อก ต่อไป 

 

พลอยพรรณ ธีรชัย และ เดชา อรรจนานันท์ นักออกแบบและผู้ก่อตั้ง THINKK Studio ที่ปรึกษาของโครงการประกวด One Bangkok Urban Furniture Competition 2022 'Seatscape & Beyond' เผยถึงความโดดเด่นของทีมผู้ชนะทั้ง 10 ทีม ว่า เป็นคนรุ่นใหม่ที่ค่อนข้างเปิดกว้างทางความคิด มีความคิดสร้างสรรค์แปลกใหม่ ในการนำเครื่องมือ เทคโนโลยีใหม่ๆ และแสวงหากลไกวิธีคิดที่บางครั้งคาดไม่ถึงเข้ามาช่วยในการพัฒนาแนวคิดในการออกแบบและกระบวนการคิดในการทำงาน รวมถึงกล้าที่จะใช้วัสดุแปลกใหม่เข้ามาใช้เป็นองค์ประกอบของเฟอร์นิเจอร์

 

10 ไอเดีย นักออกแบบรุ่นใหม่ เฟอร์นิเจอร์สาธารณะ รับวิถีคนเมือง

 

 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง 

 

“ในขั้นตอนของการเวิร์กช็อปจึงมุ่งให้ความรู้ค่อนข้างละเอียดอย่างเป็นขั้นเป็นตอน ในการให้ความรู้เพื่อให้ผู้ชนะทั้ง 10 ทีม เข้าใจระบบและสามารถวางแผนการทำงานได้อย่างเป็นมืออาชีพ ตั้งแต่การใช้วัสดุ คุณสมบัติหรือขนาดมาตรฐานของวัสดุ กระบวนการผลิต เรียนรู้ว่าข้อจำกัดของการทำงาน เพื่อให้สามารถผลิตชิ้นงานออกมาได้จริง โดยยังคงเก็บข้อดีของคอนเซ็ปต์งานออกแบบที่อยู่ในจินตนาการเอาไว้ได้ นอกจากนี้ ยังเฟ้นหา 3 สุดยอดผลงาน จาก 10 ทีม ที่มีพัฒนาการดีที่สุดคว้าเงินรางวัลพิเศษรวมมูลค่ากว่า 300,000 บาท" 

 

3 ทีมคว้ารางวัล Best performance Award

 

อันดับ 1 ทีม FOR THE FRIEND WE HAVEN' T MET YET

 

10 ไอเดีย นักออกแบบรุ่นใหม่ เฟอร์นิเจอร์สาธารณะ รับวิถีคนเมือง

 

Designer

  • กฤตธี วงศ์มณีโรจน์ (คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย)
  • วิภพ มโนปัญจสิริ (คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย)

 

Material & Production : ไฟเบอร์กลาส

 

ด้วยแนวคิดในการเชื่อมความสัมพันธ์ระหว่างคนและพื้นที่เข้าด้วยกันผ่านเก้าอี้นั่งที่มีระดับ ความแตกต่างของความใกล้ชิด ซึ่งส่งผลต่อพฤติกรรมการนั่งที่ต่างกันออกไป ไม่ว่าจะเป็นการ นั่งรอ พูดคุย ไปจนถึงการนั่งรวมตัวของคนกลุ่มใหญ่ในการทํากิจกรรมต่างๆ เพื่อเติมเต็ม ความหมายให้กับพื้นที่ภายในโครงการ

 

การพัฒนาหน้าตาการออกแบบเพื่อเพิ่มบทบาทของเฟอร์นิเจอร์ให้เป็นพื้นที่เชื่อมต่อระหว่างอาคารและพื้นที่ภายนอกได้กลายมาเป็นรูปแบบของเก้าอี้ 3 ชิ้น ที่นําองค์ประกอบพื้นฐานอย่าง จุด เส้น และระนาบ มาเป็นเครื่องมือในการแก้ปัญหาเมื่อเผชิญข้อจํากัดทางพื้นที่ โดยยังคงรองรับกับอิริยาบถการนั่งในทุกรูปแบบ

 

10 ไอเดีย นักออกแบบรุ่นใหม่ เฟอร์นิเจอร์สาธารณะ รับวิถีคนเมือง


 

 

"กฤตธี วงศ์มณีโรจน์" และ "วิภพ มโนปัญจสิริ" ซึ่งขณะนี้เรียนอยู่ชั้นปีที่ 5 เล่าให้ฟังถึงการออกแบบ Urban Furniture โดยตั้งใจอยากจะออกแบบให้เกิดพื้นที่ว่าง ที่เป็นการนั่งล้อมวงกัน ตอบโจทย์การรวมกลุ่ม สร้างปฏิสัมพันธ์ เป็นหัวใจหนึ่งของการเป็นพื้นที่สาธารณะ ตั้งใจให้การตั้งอยู่ของเขาส่งผลต่อพื้นที่โดยรอบ และหันกลับมามองสภาพแวดล้อม รวมถึงบริบทของเมือง 

 

ขณะเดียวกัน เหตุผลที่เลือกวัสดุไฟเบอร์กลาส เนื่องจากผลงานพูดถึงการนั่งบนระนาบ ไม่ใช่เก้าอี้ เป็นที่มาของระนาบที่เราได้ออกแบบให้มีความต่อเนื่อง และลื่นไหล รวมถึงให้เปิดรับผู้คนของเมือง จึงเป็นจุดเด่นของวัสดุไฟเบอร์กลาสที่นำมาดีไซน์ให้เกิดการไหลของระนาบของพนัก ที่ไหลมาบรรจบกับระนาบของที่นั่ง ไฟเบอร์กลาสจึงตอบโจทย์

 

"ทั้งนี้ การได้มีโอกาสร่วมโครงการตลอด 6 เดือนที่ผ่านมา ได้รับทั้งในเรื่องของมุมมอง Urban Furniture ที่มากกว่าการเป็นที่นั่ง แต่เป็นงานศิลปะ เป็นเหมือนที่ๆ ให้คนเข้ามาใช้ชีวิต และเป็นส่วนหนึ่งของโครงการและเมือง อีกทั้งยังได้รับความรู้เกี่ยวกับการใช้งานของเครื่องมือในการออกแบบ โปรแกรมคอมพิวเตอร์ต่างๆ เนื่องจากเรียนเกี่ยวกับสถาปัตยกรรมหลัก ดังนั้น การได้เข้าร่วมโครงการ ทำให้ได้นำความรู้มาใช้ในเรื่องการออกแบบและได้ความรู้ใหม่ๆ อีกด้วย" 

 

ท้ายนี้ ทั้งสองกล่าวว่า อยากเห็นผลงานที่มีการพัฒนาจากวันนี้ สร้าง ผลิต ติดตั้ง ได้จริง มีคนมาใช้งานจริง และเติมเต็มอย่างที่เราตั้งใจไว้จริงๆ 

 

อันดับ 2 B3X

 

10 ไอเดีย นักออกแบบรุ่นใหม่ เฟอร์นิเจอร์สาธารณะ รับวิถีคนเมือง

 

Designer

  • พันธ์วิรา เงาประเสริฐ (คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์และการผังเมือง มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์)
  • ทัดตะวัน ทัศน์กระแส (คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์และการผังเมือง มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์)
  • รัตนาภรณ์ เลิศวิบูลย์กิจ (คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์และการผังเมือง มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์)

 

10 ไอเดีย นักออกแบบรุ่นใหม่ เฟอร์นิเจอร์สาธารณะ รับวิถีคนเมือง

 

Material & Production : โครงสร้างอะลูมิเนียม ปิดผิวด้วยไฟเบอร์กลาส

 

เฟอร์นิเจอร์สาธารณะบริเวณจุดรับส่งผู้โดยสารรถสาธารณะของโครงการที่รองรับลักษณะการใช้งานแบบกึ่งนั่งกึ่งยืน ออกแบบให้เป็นประติมากรรมที่มีลวดลายและสีสันสดใส ตอบโจทย์ไลฟ์สไตล์ของคนรุ่นใหม่ที่จะเข้ามาใช้งานภายในพื้นที่ห้างสรรพสินค้า

 

หน้าตาของผลงานได้รับการพัฒนาผ่านการระดมความคิดของกลุ่มวัยรุ่น ด้วยการเก็บข้อมูลผ่านฟีเจอร์สตอรี่ในอินสตาแกรม เพื่อให้ได้ข้อมูลเชิงลึกเกี่ยวกับการใช้ชีวิตของคนรุ่นใหม่ และนํามาต่อยอดเป็นลวดลายของผลงาน 3 รูปแบบ ได้แก่ อิสระ ค้นหา และน่าตื่นเต้น ขยายให้เห็นมิติที่กว้างขึ้นของวัยรุ่นในปัจจุบันผ่านผลงานเฟอร์นิเจอร์ชิ้นนี้

 

 

อันดับ 3 RIBBON FLOW

 

10 ไอเดีย นักออกแบบรุ่นใหม่ เฟอร์นิเจอร์สาธารณะ รับวิถีคนเมือง

 

Designer

  • ฐิฌาพร โลหุตางกูร (คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี) 
  • ณรงค์ฤทธิ์ รักไทย (คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี) 
  • ณัฐวัฒน์ ปานนิยม (คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี)

 

10 ไอเดีย นักออกแบบรุ่นใหม่ เฟอร์นิเจอร์สาธารณะ รับวิถีคนเมือง

 

Material & Production : เหล็กท่อกลม ปิดพื้นผิวด้วยสแตนเลส

 

เฟอร์นิเจอร์สาธารณะที่มีเป้าหมายในการเป็นแลนด์มาร์คให้กับพื้นที่ของโครงการ เชิญชวน ผู้คนให้เข้ามานั่งพบปะ รวมตัว และสร้างปฏิสัมพันธ์ระหว่างกัน โดยใช้รูปทรงของริบบิ้น เป็นสัญลักษณ์ในการเชื่อมโยงและให้ความหมายที่มากกว่าความงาม และยังใช้สีส้มเพื่อสื่อสารถึงความเบิกบาน ความใส่ใจ และมิตรภาพ

 

รูปทรงของริบบิ้นนำมาใช้เป็นจุดตั้งต้นในการออกแบบเฟอร์นิเจอร์ โดยมีการพัฒนาต้นแบบหลายสิบครั้งเพื่อค้นหาความเป็นไปได้ในการบิดโค้งพลิ้วไปมาให้สวยงาม ขณะเดียวกันก็ยังสามารถใช้งานได้จริงในพื้นที่เมื่อปรับเข้ากับวัสดุที่เป็นแผ่นเหล็ก พร้อมกับออกแบบระยะเชื่อมโยงพื้นที่ทั้งสองฝั่งเข้าหากันโดยไม่กีดขวางเส้นทางสัญจร

 

7 ทีมคว้ารางวัล High Performance

 

ทีม THE CREW SEATSCAPE

 

10 ไอเดีย นักออกแบบรุ่นใหม่ เฟอร์นิเจอร์สาธารณะ รับวิถีคนเมือง

 

Designer

  • พิมพ์ลภา ลักขณานุกูล (คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์)
  • วริทธิ์ธร ทิอวน (คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์)
  • ธนภัทร สิงห์งาม (คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์)

 

Material & Production ไฟเบอร์กลาส

 

เฟอร์นิเจอร์สาธารณะที่รวมการใช้งาน 4 กิจกรรมเข้าไว้ด้วยกันบริเวณที่นั่งแบบขั้นบันได ภายใต้ชื่อทีม CREW ซึ่งมีที่มาจากกิจกรรมต่างๆ อย่าง Chat Relax Eat Work ที่ได้รับการออกแบบและสร้างความเป็นไปได้ใหม่ด้านการใช้งาน ทีมนักออกแบบยังศึกษาและดึงปัจจัยด้านท่าทาง กิจกรรม และขนาดที่นั่งของผู้ใช้ มาเป็นประเด็นสําคัญในการพัฒนาผลงาน การออกแบบคํานึงถึงการใช้งานที่หลากหลายภายใต้ 3 ปัจจัย คือความเป็นส่วนตัว ทิศทาง ของเสียง และระยะการมองเห็น ทั้งยังต่อยอดจนสามารถเคลื่อนย้ายได้เพื่อให้รองรับกับพื้นที่ ที่เป็นศูนย์กลางของกิจกรรม นอกจากนี้ ยังมอบความหมายใหม่ให้แก่การพักผ่อนหย่อนใจภายในพื้นที่

 

ทีม SEE-KLONG

 

10 ไอเดีย นักออกแบบรุ่นใหม่ เฟอร์นิเจอร์สาธารณะ รับวิถีคนเมือง

 

Designer

  • พลนาวี ตรีถัน (คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่)
  • กอไผ่ นนทเปารยะ (คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์และการออกแบบ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี)
  • ณัฏฐภพ วิลาวัณย์วจี (คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์และการออกแบบ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี)

 

Material & Production : เหล็ก

 

จากจุดร่วมเรื่องความโคลงเคลงของเรือสําปั้นสวนและการนั่งแบบไม้กระดก ซึ่งเป็นการเคลื่อนไหวที่ไม่สมดุล เป็นจุดเริ่มต้นของเฟอร์นิเจอร์สาธารณะที่ชวนผู้ใช้มาสร้างความสมดุล ระหว่างพื้นที่สองด้าน สอดคล้องกับแนวคิด Sit to Gather ที่การนั่งมีส่วนสร้างความสมดุล และการรวมกลุ่มระหว่างกัน

 

ด้วยเรื่องราวทางประวัติศาสตร์และ "ภูมิทัศน์กรุงเทพฯ" ในฐานะเมืองที่พึ่งพาอาศัยอยู่กับลําคลอง รูปแบบเรือสําปั้นสวนที่เป็นพาหนะหลักของทั้งการขนส่งและค้าขายของไทยในอดีต กลายเป็นต้นทุนทางความคิดสําหรับการออกแบบผลงานที่สอดรับกับบริบทพื้นที่ สร้างเรื่องเล่าให้กับการใช้งานจริง มอบประสบการณ์ที่ผู้ใช้จะรู้สึกเหมือนได้ล่องเรือ และมีปฏิสัมพันธ์กันภายใต้บริบทร่วมสมัย

 

ทีม SITTING SMOOTH

 

10 ไอเดีย นักออกแบบรุ่นใหม่ เฟอร์นิเจอร์สาธารณะ รับวิถีคนเมือง

 

Designer

  • กําแพง รามสูต (คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่)  
  • อภิญญา สิทธิสงคราม (คณะศิลปกรรมและสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา)

 

Material & Production : เหล็กแผ่นรีดสีแดง

 

เฟอร์นิเจอร์สาธารณะที่สร้างสรรค์ให้ตอบโจทย์ทั้งการนั่ง ยืน พิง และเอนหลัง จัดวางอยู่ในบริเวณพื้นที่ Civic Plaza ที่แวดล้อมด้วยร้านจําหน่ายอาหารและเครื่องดื่มขนาดเล็ก เกิดผลลัพธ์เป็นที่นั่งลักษณะยาวและโค้งต่อเนื่องคล้ายกับแผ่นสไลเดอร์ ชวนให้อมยิ้มและนึกถึงการเล่นที่ไร้ขีดจํากัดในวัยเด็ก

 

การเล่นสนุกได้รับการนํามาปรับให้เข้ากับการออกแบบและบริบทของพื้นที่ เพิ่มฟังก์ชันของที่นั่ง และการใช้งานที่ตอบโจทย์มากขึ้น ตีความแผ่นสไลเดอร์ใหม่ให้เป็นฐานโค้งที่เชื่อมกัน ความรู้สึกลื่นไหลระหว่างการใช้งานเฟอร์นิเจอร์ตลอดทั้งสิ้น ทั้งยังใช้เฉดสีแดงสดใสแบบผลเชอร์รี เพื่อความสนุกและสร้างบรรยากาศของความมีชีวิตชีวา

 

ทีม THE SPECTRUM

 

10 ไอเดีย นักออกแบบรุ่นใหม่ เฟอร์นิเจอร์สาธารณะ รับวิถีคนเมือง

 

Designer 

  • พชรภา พิพัฒน์นัดดา (คณะสถาปัตยกรรม ศิลปะและการออกแบบ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง)
  • ณิชนันท์ กาศิเษฎาพันธ์ (คณะสถาปัตยกรรม ศิลปะและการออกแบบ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง)
  • อรญา คุณากร (คณะนิเทศศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย)

 

Material & Production : หวายเทียม ฟิล์มไดโครอิก และโพลีคาร์บอเนต

 

เพราะรู้ดีว่าแสงแดดเป็นปัจจัยสําคัญที่ทําให้หลายคนเลือกใช้ชีวิตอยู่ภายใต้อาคาร ทีมนักออกแบบ จึงทดลองปรับมุมมองต่อการนั่งในพื้นที่กลางแจ้งใหม่ ด้วยการออกแบบเฟอร์นิเจอร์สาธารณะที่ทําให้การนั่งนั้นสดใสมากขึ้น โดยจําลองการงอกเงยกิ่งก้านของต้นไม้ผ่านโครงสร้างและสะท้อนร่มเงาผ่านวัสดุที่ให้สีสันต่างกันออกไป

 

การทดลองกับวัสดุใหม่อย่างฟิล์มไดโครอิกที่มีคุณสมบัติสะท้อนแสงออกมาได้เป็นหลายเฉดสีให้เอฟเฟกต์เป็นร่มเงาที่ปรับเปลี่ยนตามแสงแดดในแต่ละช่วงเวลา อีกทั้งรูปทรงคล้ายต้นไม้ ที่มีโครงสร้างกิ่ง ก้าน และใบ ซึ่งขยับไปมาได้ไม่ต่างจากต้นไม้จริง สื่อสารและสอดคล้องกับพื้นที่ ขณะเดียวกันก็รองรับต่อการพักผ่อนหย่อนใจ

 

ทีม INVICI 

 

10 ไอเดีย นักออกแบบรุ่นใหม่ เฟอร์นิเจอร์สาธารณะ รับวิถีคนเมือง

 

Designer

  • ธฤต ไทยานนท์ (วิทยาลัยการออกแบบ มหาวิทยาลัยรังสิต)

 

Material & Production : สแตนเลสเคลือบเงา

แรงบันดาลใจจากศิลปะซูพรีมาติสม์ (Suprematism) ศิลปะนามธรรมที่ให้ความสนใจกับรูปทรงเรขาคณิตพื้นฐานและการใช้สีสันที่เรียบง่าย สู่เฟอร์นิเจอร์สาธารณะที่สื่อสารความรู้สึกทางศิลปะต่อผู้ชมมากกว่ารูปทรงเชิงวัตถุ และชวนให้ผู้ใช้งานได้เปิดมุมมองใหม่ๆ

 

จากโจทย์ของพื้นที่ที่เป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า ทําให้ต้องปรับเปลี่ยนรูปทรงของผลงานจากเดิมให้แคบลง พร้อมกับต้องคํานึงถึงการติดตั้งที่ต้องมีกลไกถอดประกอบและเคลื่อนย้ายได้ด้วยเหตุผลด้านความปลอดภัย ทว่า นักออกแบบก็ยังคงรักษาเอกลักษณ์ของผลงานที่ต้องการให้เป็นประติมากรรมทางศิลปะไว้ได้อย่างครบถ้วน

 

ทีม A:R (AROUND)

 

10 ไอเดีย นักออกแบบรุ่นใหม่ เฟอร์นิเจอร์สาธารณะ รับวิถีคนเมือง

 

Designer

  • ณัฐพล สุดโต (คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี)
  • ศิรชัช เส็งหนองแบน (คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี)
  • ศุภกร จงถิรวงศ์ (คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี)

 

Material & Production : เสาเหล็ก ที่นั่งไม้ และโครงล้ออะลูมิเนียมบริเวณเหนือศีรษะ

 

กลไกการหมุนของล้อรถไฟที่เคลื่อนไหวระหว่างสองส่วนไปพร้อมกันถูกนํามาเป็นแนวคิดในการสร้างสรรค์เป็นผลงานเฟอร์นิเจอร์สาธารณะ ชวนให้ผู้ใช้ได้เล่นสนุกกับการนั่งที่เกิดจากการปฏิสัมพันธ์รูปแบบใหม่ระหว่างส่วนที่นั่งและล้อรถไฟเหนือศีรษะอย่างลงตัว

 

หนึ่งในความท้าทายสําคัญของเฟอร์นิเจอร์ชิ้นนี้ คือ การคิดรูปแบบการใช้งานที่ผู้ใช้จะสามารถนั่งและเล่นไปพร้อมกันได้ จึงไม่ได้เพียงพัฒนารูปลักษณ์ของผลงานเท่านั้น แต่ยังต้องพัฒนาระบบและกลไกการเคลื่อนไหวให้ใช้งานได้จริงด้วย เพื่อสร้างสรรค์เป็นเฟอร์นิเจอร์ที่สามารถมอบประสบการณ์การเล่นสนุกให้กับคนทุกกลุ่ม

 

ทีม SE[AT]QUENCE

 

10 ไอเดีย นักออกแบบรุ่นใหม่ เฟอร์นิเจอร์สาธารณะ รับวิถีคนเมือง

 

Designer

  • ณัฐนนท์ จําลองราษฎร์ (คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์และการออกแบบ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี)
  • โคคิ โยชิโมโตะ (คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์และการออกแบบ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี)

 

Material & Production : คอนกรีตพิมพ์สามมิติ

 

จากการสังเกตพฤติกรรมการนั่งที่แปรผันตามระยะเวลาการรอบริเวณป้ายรถเมล์ เป็นจุดเริ่มต้นของแนวคิดการออกแบบเฟอร์นิเจอร์สาธารณะที่รองรับการนั่งที่แตกต่างกัน ตั้งแต่การนั่งปกติ นั่งเอน และนั่งพิง ในบริเวณจุดรับส่งผู้โดยสารรถสาธารณะของโครงการ

 

ด้วยปัจจัยด้านสภาพแวดล้อมและข้อจํากัดบริเวณพื้นที่ติดตั้งผลงาน ทําให้ทีมผู้ออกแบบต้องทดลองกับวัสดุและการผลิตที่ก้าวข้ามเงื่อนไขต่างๆ มาสู่การเลือกใช้คอนกรีตจากกระบวนการ พิมพ์สามมิติ (3D Printing) เพื่อให้ได้เฟอร์นิเจอร์ที่มีรูปทรง ขนาด และน้ำหนัก เหมาะสมต่อการใช้งานจริงภายในพื้นที่